สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะแมร์ลือ,เขมร,ฟ้อนรำ,สุรินทร์
Author เครือจิต ศรีบุญนาค
Title การฟ้อนรำของชาวไทยเขมรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 331 Year 2534
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
Abstract

การศึกษาเรื่องการฟ้อนรำของคนไทยเขมร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ศึกษาการฟ้อนรำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิมในด้านกำเนิดการฟ้อนรำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยคนในท้องถิ่น จากพื้นฐานความเชื่อในเรื่องผีและความศรัทธาในพุทธศาสนา และเกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติ ประเภทของการฟ้อนรำแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ์ และในงานประเพณี และองค์ประกอบการฟ้อนรำที่มีผู้รำทั้งหญิงและชาย แต่งกายแบบพื้นเมืองสุรินทร์ เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลองกันตรึม ปี่ ซอ ตะโพน ฉิ่ง กรับ โหม่ง บรรเลงเพลงกันตรึมมีเนื้อร้องและทำนองเขมร ท่าทางฟ้อนรำแยกเป็นการฟ้อนรำแม่บทหรือแบบดั้งเดิม และ ท่าฟ้อนรำอิสระ คือ ท่าที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากกิริยาท่าทางของคนและสัตว์ ตลอดจนธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว การฟ้อนรำมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมด้านความเชื่อและพิธีกรรม ความศรัทธาในพุทธศาสนา และการรักษาคนป่วยจากโรคที่ทราบสาเหตุ และมีบทบาทต่อชุมชน ในการสร้างความบันเทิง ความสามัคคี บทเพลงและท่าทางเป็นเครื่องสื่อสารข่าวคราว ความรู้สึกนึกคิดให้รับรู้ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ด้านประเพณี ใช้แสดงในงานประจำปีของจังหวัด ดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง (บทคัดย่อ )

Focus

ศึกษาการฟ้อนรำที่เป็นแบบแผนดั้งเดิมของชาวสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมร ในด้านกำเนิดการฟ้อนรำ ประเภทและองค์ประกอบของการฟ้อนรำ และศึกษาความสัมพันธ์ของการฟ้อนรำกับโครงสร้างทางสังคมด้านความเชื่อและพิธีกรรม ความสัมพันธ์ภายในชุมชน ประเพณีและเศรษฐกิจ (หน้า 4)

Theoretical Issues

บทบาทของการฟ้อนรำที่มีต่อสังคม ได้แก่ การสร้างความบันเทิง ความสนุกสนานให้กับสังคม เป็นเครื่องผ่อนคลายความกดดันด้านจิตใจ รวมทั้งการระบายความเก็บกดทางเพศ เนื่องจากสังคมไทยเคร่งครัดในเรื่องเพศ จึงระบายออกด้วยสัญลักษณ์แทนในบทเพลง มีการถูกเนื้อต้องตัวกันในเทศกาล หรือร้องโต้ตอบกันเป็นกลอนสด และเกี้ยวพาราสี การฟ้อนรำยังสร้างความสามัคคี การรวมกลุ่มกันทางสังคม เป็นเครื่องสื่อสารข่าวคราวความรู้สึกนึกคิดและปฏิกริยาทางสังคม รวมทั้งเป็นการสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นของปัจเจกบุคคล (หน้า 305-307)

Ethnic Group in the Focus

ชาวสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 7)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาเขมร (หน้า 7)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2531 - ตุลาคม พ.ศ.2533 (หน้า 7)

History of the Group and Community

จากหลักฐานด้านโบราณสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีการตั้งชุมชนในจังหวัดสุรินทร์และบริเวณใกล้เคียงตั้งแต่สมัยขอม ตามพงศาวดารเมืองสุรินทร์กล่าวว่า มีคนไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่า "ส่วย" หรือ "กูย" อพยพมาจากเมืองอัตปือ แสนแป ในแคว้นจำปาศักดิ์ข้ามลำน้ำโขงเข้ามาสู่ผั่งขวาเมื่อประมาณ พ.ศ.2200 และแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่างๆ ส่วย หรือ กูย เป็นที่รู้จักของทางราชการในเมืองหลวง ในสมัยอยุธยา พ.ศ.2301 รัชสมัยของสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อครั้งช้างเผือกแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเมืองพิมาย โดยมีส่วยได้ตามและช่วยจับช้างกลับมา จนได้รับพระราชทานยศ เมื่อ พ.ศ.2321 ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีหัวเมืองกรุงศรีสัตนาคนหุต ตีได้เวียงจันทน์ ได้ปูนบำเหน็จให้เจ้าเมืองประทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน) เจ้าเมืองขุขันธ์ และเจ้าเมืองสังฆะบุรี เป็นพระยา เพราะได้ช่วยเกณฑ์กำลังไปช่วยรบ ในสงครามครั้งต่อมาเมื่อมีการเกิดจลาจลที่กัมพูชา ทำให้คนเขมรส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาและได้มีการแต่งงานกันระหว่างส่วยกับเขมร เมืองประทายสมันต์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุรินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และมีเจ้าเมืองครองสืบต่อมา จนเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการรวมหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางเข้ามาปกครอง ภายหลังเรียกข้าหลวงประจำจังหวัด และเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปี พ.ศ. 2494 (หน้า 15-24)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

อาชีพส่วนใหญ่ คือ การทำนา นอกจากนั้น มีการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีการค้าภายในท้องที่และชุมชน มีอุตสาหกรรมขนาดเล็กบ้าง เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด ไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (หน้า 29)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชาวสุรินทร์มีประเพณีไหว้พระสำคัญในรอบปี คือ งานขึ้นเขาเดือน 5 เพื่อไหว้พระบนเขาสวาย ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ (หน้า 29)

Education and Socialization

มีสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัย 5 แห่ง นอกนั้นเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษา (หน้า 29)

Health and Medicine

ยังคงมีการใช้พิธีกรรมในการรักษาโรค ในพิธีกรรมเรือมมม็วต ที่เชื่อว่าโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากการกระทำของภูตผี โดยมีครูมม็วตติดต่อกับผีหรือเทพ ในพิธีกรรมต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบซึ่งอาจมีส่วนช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ลดความเครียดทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (หน้า 294)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การฟ้อนรำในยุคแรกของจังหวัดสุรินทร์ เกิดขึ้นเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาของชาวบ้านและการเฉลิมฉลองในงานเทศกาล การฟ้อนรำของจังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การฟ้อนรำในประเพณีพิธีกรรม และ การฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ์ ซึ่งเป็นการฟ้อนรำที่มีลักษณะเป็นทั้งการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ และเป็นการสืบทอดกันมาด้วยการบอกเล่าหรือจดจำ (หน้า 69) การฟ้อนรำในประเพณีพิธีกรรม - เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยจากภูตผีที่เข้าสิงร่างของผู้ป่วย โดยมีนางทรงซึ่งมีเทพมาประทับทรงคอยทำพิธีติดต่อเจรจากับภูติผี และล่ามคอยถามถึงอาการของผู้ป่วย (หน้า 70) - เรือมมองก็วจจองได "มองก็วจจองได" หมายถึง มงคลผูกข้อมือ เรือมมองก็วจจองได เป็นการฟ้อนรำประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพลงร้องใช้ทำนองเพลงกันตรึม คำร้องเป็นภาษาเขมร แสดงเป็นคู่ 3-5 คู่ รำมานั่งรอบบายศรี เมื่อรำจบ ผู้รำจะนำฝ้ายที่อยู่ในบายศรีไปผูกข้อมือผู้มาร่วมงาน (หน้า 71-73) - เรือมตรุษ หมายถึง รำตรุษ นิยมเล่นในประเพณีตรุษสงกรานต์ เพื่อขอบริจาคจตุปัจจัย และนำไปทำบุญที่วัดต่อไป ในวงรำจะมีหัวหน้ากลอนเป็นผู้นำร้อง เนื้อร้องเป็นบทอวยพรเจ้าของบ้านในวันปีใหม่ของไทย ชมเชย ยกย่อง หรือบทเกี้ยวพาราสี (หน้า 74) การฟ้อนรำในงานนักขัตฤกษ์ - เรือมอันเร หมายถึง รำสาก หรือเต้นสาก เป็นการฟ้อนรำระหว่างชายหญิงที่มีสากตำข้าวเป็นอุปกรณ์ให้จังหวะในการแสดง นิยมเล่นกันในวันหยุดสงกรานต์ มีชายหญิงรำเป็นคู่ 5 ,10 คู่ หรือมากกว่านี้ เครื่องดนตรีประกอบมีโทน ปี่ ซอ ตะโพนฉิ่ง ฉาบ กรับ และอุปกรณ์สำคัญในการแสดง คือ สากตำข้าว 1 คู่ ยาว 2-3 เมตร (หน้า 74-75) - เรือมกันตรึม กันตรึมเป็นการละเล่นเพลงพื้นบ้านของคนไทยในเขตอีสานใต้บริเวณที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีษะเกษ โดยนำเอา "สโกล" หรือ กลองกันตรึมมาใช้ประกอบวงดนตรี ใช้แสดงในงานมงคล หรือรับแขกที่มาเยี่ยมเยียน (หน้า 76) - เรือมอายัย เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่มีลักษณะเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว มีบทร้องโต้ตอบกลอนระหว่างชายหญิง เพลงอายัยเป็นเพลงปฏิพากย์ที่เล่นกันในประเทศกัมพูชา ใช้แสดงในงานรื่นเริง (หน้า 77) - เรือมกโน้บติงตอง "กโน้บติงตอง" แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว เป็นการแสดงเลียนแบบจากลีลาการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนที่กำลังเกี้ยวพาราสีกัน ใช้แสดงในงานรื่นเริง การแต่งกายจะใช้ผ้าสีเขียวใบไม้ตัดเป็นชุดตั๊กแตน (หน้า 78-80) - เรือมจับกรับ แปลว่า รำกรับ เป็นการรำที่ให้กรับประกอบการแสดง ให้แสดงร่วมกับวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึม ในงานมงคลต่าง ๆ ไม่มีท่ารำที่เป็นแบบแผน ใช้การย่อตัวรำตามจังหวะดนตรี (หน้า 81-82 ) - เรือมศรีผไทสมันต์ เป็นการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นจากขั้นตอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการทอผ้าไหมออกมาเป็นผืน เพื่อนำไปแสดงที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ที่จังหวัดสกลนครเมื่อปี พ.ศ.2525 ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน ใช้วงกันตรึมบรรเลงเพลงประกอบ (หน้า 82) - ระบำสุ่ม เป็นระบำที่แสดงถึงอาชีพในการจับปลาของชาวประมง สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวกัมพูชา เป็นการแสดงที่ปรับปรุงมาจาก "Fishing dance" ของชาวกัมพูชาที่ศูนย์อพยพกาบเชิงจังหวัดสุรินทร์ ผู้แสดงชายจะถือสุ่ม ส่วนหญิงถือเฉนียง ใช้วงดนตรีกันตรึมบรรเลง ( หน้า 83-84) - ระบำกะลา เป็นระบำที่ปรับปรุงมาจากการละเล่นของเขมรที่ใช้กะลามะพร้าวเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง ดัดแปลงมาจากเกมส์กะลา ที่เล่นในงานแต่งงาน งานหมั้น และในขบวนขันหมาก มีผู้แสดงทั้งหญิงและชายจำนวนเท่า ๆ กัน (หน้า 85-87) - ระบำร่ม เป็นระบำสวยงามชุดหนึ่งที่ใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง และแสดงให้เห็นลีลาการใช้ร่มประกอบกับอารมณ์สนุกสนานของชายหนุ่มหญิงสาว ใช้แสดงในงานรื่นเริง ( หน้า 88) - ระบำซาปาดาน เป็นระบำที่คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่สำหรับทำนองเพลงซาปาดานซึ่งเป็นเพลงบรรเลงอวยพร เพื่อแสดงในโอกาสอวยชัยให้พรต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และงานรื่นเริง ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนถือพานดอกไม้โปรยอวยพรเมื่อพบเพลง (หน้า 89-90) ดนตรีและการร้อง - เจรียง หมายถึง การร้อง ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ เจรียงซันตูจ หรือร้องตกเบ็ด โดยชายหนุ่มจะนำขนม ข้าวต้ม หรือผลไม้ไปผูกที่ปลายเบ็ด ไปหย่อนตรงหน้าหญิงสาว ถ้าหญิงสาวรับก็หมายถึงการรับรัก เจรียงนอรแกว เป็นการร้องโต้ตอบระหว่างหญิงชายที่เป็นพ่อเพลงแม่เพลง เจรียงปังนา หรือเจรียงปางนา คล้ายกับเจรียงนอรแกว แต่จังหวะเร็วกว่า และมีแทรกสร้อยเพลง เจรียงกันตรอบกัย เป็นการเล่นเจรียงคนเดียว ใช้ตบมือหรือสีซอประกอบ เป็นกลอนสดแบบตลก เจรียงตรัว เป็นการร้องโต้ตอบ 2 คนเกี่ยวกับนิทาน ประวัติสถานที่หรือตำนานต่าง ๆ มีซอประกอบ เจรียงจเปย เป็นเจรียงคนเดียว เจรียงเป็นนิทานพอจบวรรคหนึ่งก็ดีดกระจับปี่ เจรียงจรวง เป็นเจรียงที่นั่งโต้ถามกันเป็นเรื่องตำนานสุภาษิตต่าง ๆ เครื่องดนตรีที่ให้เป็นปี่อังโกล ปัจจุบันหายากมากจึงใช้ซอแทน เจรียงเบริน เป็นการร้องเพลงคลอไปกับซอ มักเล่นเป็นเรื่อง พุทธศาสนา (หน้า 91-92) - กันตรึม เป็นวงดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์ มีการร้องและรำประกอบทำนอง โดยร้องเป็นคู่ระหว่างชายหญิง หรือ ชาย 1 คน หญิง 2 คน - อายัย เป็นเพลงของไทย - เขมร เป็นเพลงร้องโต้ตอบเชิงเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง มีซอด้วง ซออู้ โทน ฉิ่ง ฉาบและกรับเป็นดนตรีประกอบ เพลงอายัยเป็นเพลงที่ได้มาจากกัมพูชาในสมัยสงครามอินโดจีน (หน้า 29 - 31) - ลิเกเขมร เป็นลิเกชนิดหนึ่งที่แสดงเป็นเรื่อง ได้รับวิวัฒนาการมาจากการเล่นลิเกของภาคกลาง เรื่องที่นำมาแสดง เป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ใช้ภาษาเขมรพูด เจรจาและร้อง ลักษณะการเล่นเหมือนกับลิเกภาคกลาง (หน้า 92-93)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การฟ้อนรำเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของกลุ่มทางวัฒนธรรม เป็นความสามารถในการถ่ายทอดความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึกตามธรรมชาติออกมาเป็นเพลงจังหวะดนตรี และท่าร่ายรำท้องถิ่น และยังคงมีการสืบทอด เล่นต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคนจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดเป็นประเพณี ด้วยการถ่ายทอดด้วยปากหรือการบอกเล่าต่อ ๆ กันไป หรือสอนกันในครอบครัวและชุมชน รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา ตลอดจนครูในโรงเรียนประถมและมัธยม (หน้า 301, 309 , 316) ในด้านของภาษาและวัฒนธรรม เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และการอพยพของเขมรเข้าสู่ไทยเมื่อครั้งเกิดสงครามในอดีตทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชนชาติและวัฒนธรรม ทำให้มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ โดยพูดภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น มีดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะทั้งวงปี่พาทย์และวงกันตรึมที่ยังคงใช้อยู่จากอดีตจนปัจจุบัน รวมทั้งการฟ้อนรำด้วย (หน้า 318)

Social Cultural and Identity Change

การฟ้อนรำและการละเล่นที่มีการคิดกลอนโต้ตอบ ในเนื้อหาก็มักสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การสร้างถนนหนทาง มีการปรับปรุงระบำของชาวกัมพูชาที่อยู่ในค่ายอพยพมาเป็นการแสดงในท้องถิ่น รวมทั้งมีการปรับปรุงการแสดงขึ้นเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เช่น การแสดงเรือมอันเรที่มีการปรับปรุงขึ้นใน พ.ศ.2498 โดยการนำท่ารำมาตรฐานมาผสมผสานกับท่ารำพื้นเมือง และเปลี่ยนจุดมุ่งหมายจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานหลังเก็บเกี่ยวไปเป็นการนำมาแสดงในงานช้างเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ ในด้านการฟ้อนรำก็มีการแต่งกายที่เปลี่ยนไป และท่ารำจากไม่มีแบบแผน ก็มีรูปแบบที่แน่นอน (หน้า 302 ,313)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG คะแมร์ลือ, เขมร, ฟ้อนรำ, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง