สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,เศรษฐกิจ,สังคม,การเมืองการปกครอง,การปรับตัว,เชียงใหม่
Author ชาญชัย จิรวรรธนกิจ
Title การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยของชาวลัวะในภาคเหนือของประเทศไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 174 Year 2529
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองของลัวะบ้านเมืองก๊ะในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามีการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมหรือการกลืนกลายทางวัฒนธรรม (acculturation) ระหว่างวัฒนธรรมลัวะกับล้านนาไทย กล่าวคือ ทั้งสองฝ่ายเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับวัฒนธรรมโดยไม่รู้ตัว ไม่มีการบังคับ หรือไม่มีข้อกำหนดใด ๆ แน่ชัด โดยจะมีลักษณะเป็นการเรียนรู้จากจิตใต้สำนึก ทั้งสองฝ่ายต่างก็พยายามปรับตัวเข้าหากัน หรือทำตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมนั้น ระยะต่อมาจึงเกิดการผสมกลมกลืนกันขึ้น เช่น ลัวะบ้านเมืองก๊ะได้พัฒนารูปแบบการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย เป็นการทำนาแบบขั้นบันไดตามแบบอย่างชาวไทยล้านนา ส่วนชาวไทยล้านนาก็ได้รับความเชื่อเรื่องการปลูกบ้านจากลัวะ ได้แก่ การปลูกบ้านต้องลงเสามงคล (เสาเอก) ก่อน และมีการทำหลังคาจั่ว มีไม้ไขว้ เรียกว่า "กาแล" เป็นต้น (หน้า 156, 172-173)

Focus

ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและการปรับตัวของลัวะกับสังคมล้านนา

Theoretical Issues

ผู้เขียนศึกษาค้นคว้าเรื่องการปรับตัวของลัวะให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยในภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการผสมผสานทางวัฒนธรรม (หน้า 26) วิเคราะห์การแลกเปลี่ยนถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ระหว่างวัฒนธรรมไทยล้านนากับวัฒนธรรมลัวะ เช่น ชาวล้านนาได้รับความเชื่อ และประเพณีอย่าง ประเพณีการอยู่ไฟ (อยู่เดือน) ของสตรีหลังการคลอดบุตร ความเชื่อเรื่องผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีบ้าน ผีบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องการปลูกบ้านหลังคาจั่วทำไม้ไขว้ (กาแล) มาจากลัวะ เป็นต้น ส่วนลัวะบ้านเมืองก๊ะได้รับเอาวัฒนธรรมล้านนาไทยไปปฏิบัติ เช่น การทำนาแบบขั้นบันได ระบบการชลประทานเหมืองฝาย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การยอมรับนับถือศาสนาพุทธ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น การยอมรับวัฒนธรรมที่ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องสมดุลย์กันนี้ เป็นกระบวนการที่จัดได้ว่าแบบยุคลวิธี (two-way process) (หน้า 156, 172)

Ethnic Group in the Focus

ลัวะบ้านเมืองก๊ะ หมู่ที่ 5 ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 13)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลัวะบ้านเมืองก๊ะเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติค (Austro-Asiatic) กลุ่มข่าโล๊ะ (Khalo) หรือพะโล๊ะ (Plalo) แตกต่างไปจากภาษาลัวะบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด และบ้านอุ้มผาย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดเชียงใหม่ ภาษาลัวะบ้านเมืองก๊ะสามารถใช้พูดคุยกันรู้เรื่องเพียง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านเมืองก๊ะ และบ้านปางไฮ อีกทั้งยังใช้พูดคุยกับลัวะซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่าได้ด้วย ในอดีตลัวะไม่มีภาษาเขียนมีแต่ภาษาพูด ต่อมาเมื่อมีการนับถือพุทธศาสนา จึงได้นำเอาอักษรไทยยวนมาใช้ในการบันทึกภาษาเขียน ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ลัวะบ้านเมืองก๊ะที่ไปศึกษาในโรงเรียนของรัฐ ใช้ภาษาคำเมืองพูดคุยกันในหมู่บ้าน เพราะละอายที่จะพูดภาษาลัวะ มีเพียงผู้อาวุโสที่ยังใช้ภาษาลัวะอยู่ (หน้า 92-94, 123, 162)

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2527 และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่เดือน มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2528 (หน้า 29)

History of the Group and Community

ลัวะเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองก๊ะเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎ มีแต่เรื่องเล่าของขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งเป็นหัวหน้าของคนเผ่าลัวะ ได้นำทัพเข้าทำสงครามกับอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) ของพระนางจามเทวี กษัตริย์ชนเผ่ามอญ แต่พ่ายแพ้พระนางจามเทวี ในที่สุดก็สิ้นชีวิตลง ดังนั้น นามมงคลหมู่บ้านเมืองก๊ะ จึงหมายถึงเมืองของขุนหลวงวิรังคะ เพราะคำว่า "วิรังคะ" เรียกให้สั้นลงเป็น "ก๊ะ"(คะ) อีกทั้งยังมีหอผี (ศาล) ของขุนหลวงวิรังคะ ตั้งอยู่ที่หน้าวัดเมืองก๊ะวนาราม นอกจากนั้นทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีผาสูง ชาวบ้านเรียกว่า "ผาเวียง" และห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตรจะมีร่องน้ำเป็นทางยาวมีรูปลักษณะคล้ายคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่กลางป่าทึบ ชาวบ้านเรียกว่า "เวียงหินแมน" บริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านมีซากโบราณสถานเป็นวัดร้างหลายแห่ง ส่วนดอยคว่ำหล้อง เชื่อว่า เป็นสถานที่ฝังศพขุนหลวงวิรังคะซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน (หน้า 35-42)

Settlement Pattern

ชุมชนบ้านเมืองก๊ะตั้งอยู่บนที่ราบสูงหุบเขาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หน้า 35) หมู่บ้านเมืองก๊ะมีบ้านเรือนจำนวน 27 หลังคาเรือน ปัจจุบันมีบ้านลัวะเพียง 2 หลังคาเรือน ที่ปลูกบ้านแบบลัวะ โดยปลูกบ้านด้วยไม้ไผ่ยกพื้นสูง หลังคามุงด้วยหญ้าคาคล่อมลงมาเกือบติดพื้นดิน มีห้องโถงเดียว ใช้เป็นห้องครัวและห้องนอน สำหรับบ้านอีก 25 หลังคาเรือน ปลูกบ้านแบบบ้านคนเมือง สร้างด้วยไม้จริง แยกห้องเป็นสัดส่วน มีห้องนอน และห้องครัว (หน้า 164)

Demography

ลัวะบ้านเมืองก๊ะ หมู่ที่ 5 ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรทั้งสิ้นจำนวน 113 คน แบ่งเป็นครอบครัวได้จำนวน 27 หลังคาเรือน (หน้า 13)

Economy

ลักษณะเศรษฐกิจบ้านเมืองก๊ะเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยสังคมภายนอกมากนัก สามารถเลี้ยงตนเองได้ด้วยการรวมตัวกันเป็นชุมชน ชาวบ้านสามารถหาอาหารได้จากการล่าสัตว์ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ตะกวด ไก่ป่า เป็นต้น อีกทั้งยังหาพืชผักได้จากบริเวณทุ่งนา และชายป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ รากไม้ ส่วนบริเวณรอบบ้าน จะปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ต้นหอม ขิง ตะไคร้ มะกรูด และมะนาว เป็นต้น อาชีพที่สามารถเพิ่มรายได้ในครัวเรือน คือ การทำใบตองมวนยาสูบ การทำตอกมัดเมี่ยง การทอผ้าและเกษตรกรรม มีการทำนาแบบขั้นบันไดควบคู่ไปกับการทำไร่ข้าวเลื่อนลอย พืชที่ใช้ในการเพาะปลูก คือข้าวเหนียว มีกลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงานในการผลิตที่เรียกว่า "การลงแขก" (การเอามื้อ) ใช้แรงงานคน สัตว์ และที่ดิน ไม่ใช้แรงงานรับจ้าง ผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณเพียงพอสำหรับบริโภค และขายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงบ้างเล็กน้อย แต่มีปัญหาด้านการคมนาคมไม่สะดวกในฤดูฝน ส่งผลให้รายได้ถัวเฉลี่ยในครัวเรือนมีเพียง 4,200 บาท/ปี อีกทั้งในหมู่บ้านไม่มีตลาดประจำ ชาวบ้านจึงซื้อสินค้าจากพ่อค้าเร่คนเมือง (หน้า 69, 44-47,159-161) นอกจากนี้หมู่บ้านเมืองก๊ะยังมีระบบสินเชื่อและให้กู้ยืม จากการตั้งกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเอกชน เข้ามาดำเนินงานพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ (หน้า 75-76)

Social Organization

ระบบครอบครัวลัวะบ้านเมืองก๊ะเป็นแบบครอบครัวขยาย มีสมาชิกอยู่รวมกัน 3 รุ่น (generation) ได้แก่ รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย รุ่นลูก และรุ่นหลาน มีครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกันหรือบางครอบครัวก็อยู่ภายในหลังคาบ้านเดียวกัน ลัวะแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เคร่งครัดต่อการมีสามีและภรรยาเดียว และไม่เชื่อในการหย่าร้าง หลังจากแต่งงานฝ่ายหญิงจะไปอยู่อาศัยกับฝ่ายชาย และนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายชาย บุตรชายคนโตจะเป็นผู้แยกครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนใหม่เมื่อแต่งงาน ส่วนบุตรชายคนสุดท้องเป็นผู้รับมรดก และเลี้ยงดูพ่อแม่ มีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวตามเพศและอายุ ผู้ชายมีหน้าที่ทำไร่ไถนาและล่าสัตว์ ผู้หญิงมีหน้าที่เก็บผัก ตัดฟืน และทำงานในบ้าน ส่วนงานเพาะปลูกเก็บเกี่ยวทั้งสองฝ่ายช่วยกันทำ รวมทั้งสมาชิกในวัยแรงงานทุกคนในครอบครัวด้วย ด้านพิธีกรรมต่าง ๆ ผู้ชายทำหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด (หน้า 79) รูปแบบสังคมบ้านเมืองก๊ะเป็นแบบสังคมพลังน้ำที่มีการรวมตัวกันจัดสร้างชลประทานขนาดเล็ก และจัดตั้งองค์กรบริหารงานกันเองในชุมชน ผลิตสิ่งของบริโภคเอง ไม่ต้องพึ่งพาระบบตลาด ระบบเหมืองฝายจัดทำขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาชนชั้นปกครองเข้ามาจัดการ (หน้า 78)

Political Organization

ลักษณะการเมืองการปกครองบ้านเมืองก๊ะ เป็นไปตามรูปแบบการบริหารตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำทางการ มีภารกิจสำคัญ คือ เข้าร่วมประชุมประจำเดือนที่ที่ว่าการอำเภอแม่ริม เพื่อรับทราบนโยบาย คำสั่งต่างๆ ของรัฐบาล จากนั้นก็มาแจ้งให้ลูกบ้านทราบในการประชุมหมู่บ้าน เช่น การเข้ารับตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร การเสียภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใหญ่บ้านยังเป็นผู้รักษากฎระเบียบของหมู่บ้าน มีการนำเอากฎหมายมาปรับใช้กับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีดั้งเดิมของหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ไกล่เกลี่ข้อพิพาทในหมู่บ้าน เป็นหัวหน้าแรงงานกลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงานต่าง ๆ ที่ทำกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่น การลงแขกปลูกข้าว ปลูกบ้าน การสร้างและซ่อมแซมเหมืองฝาย รูปแบบการปกครองภายในหมู่บ้าน ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 9 ฝ่าย ดังนี้ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายรักษาความสงบ ฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายสวัสดิการและสังคม ฝ่ายการคลัง ฝ่ายส่งเสริมอาชีพ นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่จากทางราชการช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพชาวบ้านเมืองก๊ะ มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจด้วย (หน้า 124-125, 168-169)

Belief System

ลัวะบ้านเมืองก๊ะนับถือพุทธศาสนาควบคู่ไปกับความเชื่อเรื่องผีสางเวทมนตร์ วัดเมืองก๊ะวนารามเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางด้านศาสนา สังคม การเมืองการปกครอง และนันทนาการ ชาวบ้านมักไปส่งอาหารถวายพระที่วัดในฤดูเข้าพรรษาทุกวัน (หน้า 97-98) ส่วนความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษ (ขุนหลวงวิรังคะ) นั้นยังปรากฏอยู่ใน ช่วงเดือน 9 ของทุกปี ชาวบ้านจะทำพิธีเซ่นบวงสรวงวิญญาณขุนหลวงวิรังคะ โดยมีความเชื่อว่าท่านจะสามรถปกป้อง คุ้มครองลัวะบ้านเมืองก๊ะได้ (หน้า 109-112) ด้านกิจกรรมทางการเกษตรนั้น จะมีความผูกพันกับความเชื่อและพิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมตั้งแต่พิธีการไถ หว่าน และ ดำนา พิธีกรรมการเก็บเกี่ยว พิธีกรรมการนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง พิธีกรรมการนวดข้าว และการเรียกขวัญข้าว โดยมีความเชื่อว่า การประกอบพิธีดังกล่าว เป็นการขอให้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยป้องกันมิให้ภัยธรรมชาติ หรือแมลงศัตรูพืชทำลายพืชผลเสียหาย ตลอดจนช่วยดลบันดาลให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ (หน้า 48-55)

Education and Socialization

สมัยก่อนลัวะบวชเรียนในวัด ต่อมาเกิดโรคระบาดในหมู่บ้านเมืองก๊ะ ทำให้ผู้คนเรียนน้อยลง ในปีพุทธศักราช 2514 มีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านเมืองก๊ะ ปัจจุบันปีพุทธศักราช 2528 เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และได้เปิดสอนการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 1 และ 2 ในเวลากลางคืน มีกลุ่มแม่บ้านเข้ารับการศึกษา แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะบางคนรู้สึกว่าตนแก่เกินไปที่จะเรียน บางคนเห็นว่าการเรียนหนังสือไม่มีความสำคัญ ทำให้เสียเวลาทำมาหากิน แต่ทุกครัวเรือนเห็นด้วยในการที่บุตรได้รับการศึกษาที่โรงเรียน และจบการศึกษาภาคบังคับ จนกระทั่งได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไปอีก แต่ก็ยังขาดแคลนทุนทรัพย์ (หน้า 92-93)

Health and Medicine

ลัวะบ้านเมืองก๊ะมีปัญหาทางด้านสาธารณสุขและการอนามัย คือ ในหมู่บ้านมีส้วมซึมที่ถูกสุขลักษณะจำนวนน้อย มีเพียง 6 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 27 หลังคาเรือน ส่วนด้านสุขอนามัย คือ การดื่มน้ำไม่สะอาดจากบ่อน้ำ หรือลำห้วย ด้วยสาเหตุดังกล่าว จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคทางเดินอาหาร เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยลัวะก็จะเดินทางไปรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัย หรือที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด เพราะชื่อว่าเป็นการรักษาที่ถูกวิธี และจะทำให้อาการเจ็บป่วยหายขาด กลุ่มสตรีลัวะที่สมรสแล้ว นิยมการวางแผนครอบครัว ต้องการมีบุตรเพียง 2 คน เพราะการมีบุตรมากทำให้พ่อแม่เลี้ยงดูบุตรได้ไม่เต็มที่ ลัวะได้รับคำแนะนำการวางแผนครอบครัวจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยบ้านสะลวง จากญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน และได้ยินจากการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสารมวลชน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการทานยา อีกวิธีหนึ่ง คือการทำหมันชาย (หน้า 100-104,123, 167)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ปัจจุบันการแต่งกายของลัวะบ้านเมืองก๊ะ คล้ายคลึงกับคนเมืองทุกประการ ไม่มีการแต่งกายแบบวัฒนธรรมลัวะ (หน้า 163)

Folklore

ผู้เขียนกล่าวถึงลัวะในเรื่องเล่า ตำนานต่าง ๆ ดังนี้ (1) ตำนานสุวรรณคำแดงกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการประกอบพิธีบูชาเสาอินทขิลของลัวะ (2) ตำนานวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กล่าวถึงลัวะเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า (3) ตำนานวัดพระธาตุช่อแฮ ก็กล่าวถึงลัวะเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเช่นกัน (4) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าลัวะเป็นผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ (5) เรื่องเล่าเกี่ยวกับพิธีเขินค่ำลัวะของพวกไตเขิน ซึ่งเป็นพิธีสำคัญสำหรับเจ้าฟ้าองค์ใหม่ที่จะขึ้นนั่งเมือง จะต้องทำพิธีไล่ลัวะ โดยจัดสำรับกับข้าวตั้งไว้บนหอคำ แล้วสั่งให้พวกลัวะขึ้นไปนั่งกินอาหารอยู่บนหอนั้น ในขณะนั้นพวกไตเขินก็จะเปลือยดาบวิ่งไปขับไล่พวกลัวะให้ลงไปจากหอ แล้วเชิญเจ้าฟ้าองค์ใหม่ขึ้นไปนั่งบนแท่นในหอคำแทน (6) ตำนานเชียงตุงก็เล่าว่า เมื่อสร้างหอคำที่เวียงแก้วเสร็จก็ทำพิธีนั่งเมือง ให้พวกลัวะมานั่งกินข้าวอยู่บนหอคำแล้วจัดคนถือแส้ไปทำการขับไล่ จากนั้นพระยาน้ำท่วมจึงขึ้นนั่งบนแท่นในหอคำแทน (7) ตำนานเมืองยอง กล่าวถึงพิธีราชาภิเศกเจ้าฟ้าเชียงตุง โดยให้ลัวะขึ้นไปอยู่บนหอคำ สมมุติให้พวกลัวะเป็นเจ้าของหอคำ มีการต่อรองขอซื้อหอคำจากลัวะ หลังจากนั้นลัวะก็นั่งล้อมวงกินข้าว ในขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่พนักงานถือแส้หวายมาขับไล่ลัวะลงจากหอคำไป จากนั้นก็ตกแต่งทำความสะอาดหอคำ แล้วเชิญเจ้าฟ้านั่งบนหอคำ เป็นต้น (หน้า 142-148)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การติดต่อกับสังคมภายนอกของชาวบ้านเมืองก๊ะ เกิดจากเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งงาน การประกอบอาชีพ การศึกษา การค้าขายหรือรับจ้าง และการปกครอง ด้านการแต่งงาน จากจำนวนลักษณะชาติพันธุ์ของสามีและภรรยาในหมู่บ้านเมืองก๊ะ พบว่า สามีเป็นคนเมือง (คนไทยภาคเหนือ) กับภรรยาลัวะ มีจำนวนมากที่สุด คือมีจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.6 รองลงมา คือ สามีลัวะกับภรรยาคนเมือง จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.0 (หน้า 85) ด้านการประกอบอาชีพ คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ มักจะเดินทางเข้าไปทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ หรือที่อื่น ได้แก่ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ใช้แรงงานฝีมือต่างๆ (หน้า 96) ด้านการศึกษา ในปี พ.ศ.2528 มีเด็กกะเหรี่ยง จำนวน 35 คน ไปเรียนที่โรงเรียนประชาบาล ณ บ้านเมืองก๊ะ (หน้า 92) ด้านการค้าขายและรับจ้าง คนพื้นเมืองมาเปิดร้านค้าของชำในหมู่บ้าน เวลาไปซื้อสินค้าในเมืองก็จะมีชาวบ้านที่ต้องการจะออกไปยังตัวอำเภอหรือจังหวัดขอโดยสารรถไปด้วย ถ้าเป็นฤดูแล้งก็จะเก็บค่าโดยสารคนละ 5 บาท ถ้าเป็นฤดูฝน การคมนาคมไม่สะดวก รถติดหล่ม ผู้โดยสารต้องช่วยเข็นรถและจ่ายค่าโดยสารคนละ 10-20 บาท ส่วนอัตราจ้างเหมารถคิดเป็นเที่ยว ๆ ละ 500 บาท (หน้า 96-97) ด้านการปกครอง ผู้ใหญ่บ้านเมืองก๊ะ เป็นผู้ที่จะต้องติดต่อกับทางการมากที่สุด คือต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนที่ว่าการอำเภอแม่ริม เพื่อรับทราบนโยบาย คำสั่งต่างๆ ของรัฐบาล จากนั้นก็มาแจ้งให้ลูกบ้านทราบในการประชุมหมู่บ้าน (หน้า 125)

Social Cultural and Identity Change

ระบบเกษตรกรรมในชุมชนบ้านเมืองก๊ะ มีการพัฒนาจากรูปแบบการปลูกข้าวไร่เลื่อนลอยแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการทำนาแบบขั้นบันไดควบคู่กันไปกับการทำไร่ข้าวเลื่อนลอยตามแบบชาวไทยล้านนา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางด้านเศรษฐกิจภายในชุมชน เช่น พืชที่ปลูกและบริโภคเป็นหลัก คือ ข้าวเจ้า ก็เปลี่ยนเป็น ข้าวเหนียวแทน มีการนำระบบชลประทานเหมืองฝายมาใช้ และมีพิธีบูชาผีฝาย ตลอดจนความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมตั้งแต่ การเพาะปลูก (พิธีแรกนา) จนถึงการเก็บเกี่ยว (พิธีเรียกขวัญ) ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนของรัฐมากขึ้น เพราะความเชื่อกันว่าผู้ที่รู้หนังสือจะได้รับการยกย่องนับถือ เป็นที่ยอมรับจากสังคมทั่วไป ภาษาที่ใช้พูดคุยกันในหมู่บ้านเป็นภาษาคำเมืองมากกว่าภาษาลัวะ เพราะคนรุ่นใหม่อายที่จะพูดภาษาลัวะ และไม่ต้องการให้ตนเองมีความแตกต่างทางด้านภาษาไปจากคนอื่น การแต่งงานกับคนต่างถิ่นและต่างเผ่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการอพยพของคนหนุ่มสาวที่ออกไปหางานทำนอกหมู่บ้านและในตัวเมือง การคมนาคมได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์กับคนเมืองและคนต่างถิ่นมากขึ้น ลัวะบ้านเมืองก๊ะในปัจจุบัน แต่งกายคล้ายกับคนเมืองทุกประการ ไม่มีการแต่งกายแบบอย่างวัฒนธรรมลัวะ โดยจะซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากตลาดในตำบลหรือในอำเภอ หรือที่จังหวัด เนื่องจากมีราคาถูก มีสีสันสวยงาม และมีแบบให้เลือกมากกว่าการทอผ้า หรือการตัดเย็บเสื้อผ้าแบบลัวะ ซึ่งต้องใช้เวลานาน และมีแบบเดียว ก่อให้เกิดการพึ่งพาระบบตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้านเรือนจากแบบลัวะ ซึ่งแต่เดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ยกพื้นสูง หลังคามุงด้วยหญ้าคาคล่อม ลงมาเกือบถึงพื้นดิน ห้องนอนและห้องครัวแยกเป็นสัดส่วน ปัจจุบันมีเพียง 2 หลังคาเรือน ส่วนอีก 25 หลังคาเรือนมีลักษณะเป็นบ้านแบบคนเมือง (หน้า 159-164)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ การศึกษาศาสนาจะเริ่มที่บ้านตนเอง หรือบ้านญาติ (หน้า 9) หญิงมุสลิมจะมาเรียนศาสนา ทุกวันศุกร์ที่มัสยิด (หน้า 11) การเรียนศาสนา ในโรงเรียนสอนศาสนา (หน้า 12) สาวมุสลิมรับจ้างทำเครื่องถมที่บ้าน (หน้า 16) เด็กหญิงรับจ้างทำอวนในวันหยุด (หน้า 17) หญิงสูงอายุ รับจ้างทำอวน (หน้า 18) ชุด "ยูเบาะ" ของหญิงมุสลิม แผนภาพ ครอบครัวเดี่ยว (หน้า 23) ครอบครัวขยาย (หน้า 24) ตาราง จำนวนประชากร 157 ครอบครัว (หน้า 7) การศึกษาสายสามัญของหญิงมุสลิม อายุ 25-50 ปี จากการสุ่มตัวอย่าง 78 คน (หน้า 10) เวลาทำงานของผู้หญิงในอดีต (หน้า 47) เวลาทำงานของหญิงมุสลิมในโรงงาน (หน้า 48)

Text Analyst อัจฉรี ทิพย์วิเศษ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, เศรษฐกิจ, สังคม, การเมืองการปกครอง, การปรับตัว, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง