สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,ภูมิปัญญา,สุขภาพ,การดูแลครรภ์,เชียงราย
Author ยิ่งยง เทาประเสริฐ, ผศ.ดร.
Title ภูมิปัญญาในการดูแลครรภ์ของชาวอาข่ามิติทางสุขภาพหรือความอยู่รอด
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 9 Year 2535
Source เอกสารหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ
Abstract

พฤติกรรมการดูแลครรภ์ของอาข่าเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดมาทางวัฒนธรรม แม้ว่าพฤติกรรมการดูแลครรภ์เหล่านี้อาจ ดูไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ในเชิงเป้าหมายก็สามารถเทียบเคียงหรือเข้าใจได้ ซึ่งจุดนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญของการพัฒนาแบบผสมผสาน ที่มีลักษณะเฉพาะและเหมาะสมกับท้องถิ่น โดยนำมิติทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นรากฐานพิจารณาร่วมกับมิติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแสวงหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ซึ่งอาจช่วยย่นระยะเวลาของการเรียนรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสุขภาพแบบพึ่งตนเอง

Focus

บทความนี้ศึกษาภูมิปัญญาของอ่าข่าที่บ้านอีก้อป่ากล้วยดอยตุงซึ่งเอื้ออำนวยต่อการอยู่รอดของอาข่า (หน้า 1-2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่า บ้านอีก้อป่ากล้วย ดอยตุง จ.เชียงราย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

หญิงวัยเจริญพันธุ์อาข่า ส่วนใหญ่แต่งงานเมื่อมีอายุระหว่าง 20-23 ปี โดยสามีจะมีอายุอ่อนกว่าภรรยา คือ ผู้ชายมักจะแต่งงานอายุระหว่าง 18-22 ปี ช้ากว่านี้ถือว่าผู้ชายคนนั้นขึ้นคาน และเหตุที่ต้องมีภรรยาแก่กว่าก็มีข้ออ้างว่าเพื่อไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นชายหลอกเด็ก เมื่อแต่งงานแล้วภรรยาจะเป็นฝ่ายไปอยู่บ้านสามีโดยมีแม่ผัวเป็นผู้กำกับดูแล ดังนั้น ประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ก็ได้รับการสืบทอดจากแม่ผัวซึ่งปกติจะเป็นเรื่องปกปิดไม่นิยมสอนด้วยคำพูดแต่สอนด้วยการปฎิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง เมื่อแต่งงานแล้วระยะหนึ่งถ้าภรรยาไม่ตั้งครรภ์หรือไม่มีลูกชาย สามีมักจะมีภรรยาคนที่สองสามหรือมากกว่า (หน้า4)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อและพฤติกรรมเฉพาะอย่างสำหรับหญิงมีครรภ์ต้องถือปฎิบัติ เช่น ไม่กินเนื้อสัตว์ที่กำลังมีครรภ์ ไม่กินผักหรือผลไม้ที่มีหนูกินมาก่อน เชื่อว่าจะทำให้เด็กในท้องไม่แข็งแรง ในระหว่างตั้งครรภ์ทั้งสามีและภรรยาจะไม่ฆ่าสัตว์ เชื่อว่าจะกระทบลูกในท้องและมีอันเป็นไปตามสัตว์ที่ถูกฆ่า ในระหว่างตั้งครรภ์ยังห้ามอาบน้ำเย็นเพราะเชื่อว่าจะกระทบลูกในท้อง ตัวจะร้อนถ้าถูกน้ำเย็นจะทำให้เด็กในท้องสะดุ้ง ไม่กินไก่ขาวเชื่อว่าจะทำให้เด็กที่เกิดมามีตาฝ้าฟางมองไม่เห็น ห้ามขึ้นต้นไม้หรือฝนมีดจะเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง (หน้า 6)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เมื่อประจำเดือนขาดหายไป 1-2 เดือนภรรยาอาข่าก็จะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ แต่ไม่มีการบอกให้ใครรู้แม้แต่สามีหรือแม่สามี จะปล่อยให้สังเกตกันเอาเองเมื่อท้องเริ่มโตขึ้น สาเหตุที่ไม่มีการบอกให้ใครรู้หรือฉลองเพื่อแสดงความยินดี เพราะถือว่าการมีครรภ์เป็นภาวะปกติธรรมดาของภรรยา ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องพิเศษหรือตื่นเต้นใด ๆ (หน้า 4) ก่อนที่การบริการสาธารณสุขจะเข้าถึงในหมู่บ้าน (ก่อนปี 2531) หญิงมีครรภ์จะคลอดเองที่บ้าน และเป็นผู้ทำคลอดเองโดยมีแม่สามีเป็นผู้ช่วยเหลือ โดยไม่มีหมอตำแยทำคลอด ก่อนคลอดจะดื่มน้ำต้ม "สิหมะ" ซึ่งเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่งมีขึ้นทั่วไปในป่า เป็นไม้ยืนต้นผลมีลักษณะเป็นพวงมีรสเปรี้ยวจัด ปกติชาวบ้านก็กินผล "สิหมะ" ซึ่งเป็นผลไม้ประจำถิ่นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์จะชอบกิน เพราะมีรสเปรี้ยวมากและจะนำผลสิหมะไปผึ่งให้แห้งเพื่อเก็บไว้ต้มกินก่อนคลอด ถ้ากรณีที่คลอดยาก ขั้นแรกหมอพื้นบ้านจะให้กินยาซึ่งเตรียมจากการเอารกของแมวที่ตากแห้งไว้มาฝนกับน้ำ เมื่อดื่มน้ำรกแมวแล้วต้องเอาแก้วคว่ำไว้ไม่ให้แมลงบินผ่านหรือเข้าไปในถ้วยแก้ว เพราะถือว่าจะทำให้ยาไม่ศักดิ์สิทธิ์และเสื่อมฤทธิ์ยา แต่ถ้ายังไม่เป็นผลคือปวดท้องมากว่า 2-3 วันก็ยังไม่คลอด หมอพื้นบ้านหรือผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะดำเนินการในขั้นนที่สองคือใช้ "หนะบ๊ะ" เป็นยาขับซึ่งทารกอาจจะตายหรือรอดก็ได้ แต่ตัวแม่จะปลอดภัย โดยให้กิน"หนะบ๊ะ" ขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด "หนะบ๊ะ" ที่อาข่าเรียกขานนี้สามารถยืนยันได้ว่าเป็นสารปรอทบริสุทธิ์ ซึ่งยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีว่ามีสิ่งเจือปนสารอะไรบ้าง วิธีการขับลูกด้วย "หนะบ๊ะ" นี้ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากใช้ในรายที่คลอดยากแล้วยังใช้ "หนะบ๊ะ" เป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยขับเด็กในครรภ์ที่ผิดปกติ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำแท้งในรายที่ไม่แน่ใจว่าเด็กจะปลอดภัยเป็นปกติ เรื่องความปกติ ของเด็กทารกนั้น มีความสำคัญสำหรับอาข่ามาก เพราะอาข่าจะไม่เลี้ยงเด็กทารกที่เกิดมาพิการ รวมทั้งลูกแฝด ดังนั้น จะไม่พบเห็นคนพิการมีชีวิตอยู่ในหมู่บ้านเลย (หน้า 5)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ณัฐพงษ์ สายพวงแก้ว Date of Report 21 พ.ค. 2556
TAG อาข่า, ภูมิปัญญา, สุขภาพ, การดูแลครรภ์, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง