สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เขมร,การเปลี่ยนแปลง,เศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,บุรีรัมย์
Author รัตนา กิ่งแก้ว
Title การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 137 Year 2543
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (กลุ่มสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

เป็นการมุ่งเน้นศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ในอดีตสภาพเศรษฐกิจเป็นแบบยังชีพไม่ซับซ้อนเหมือนปัจจุบัน และเมื่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมของบ้านท่าม่วง การอพยพแรงงานชั่วคราว การยอมรับแบบแผนการใช้ชีวิตแบบวัฒนธรรมสังคมเมือง ความสำคัญทางครอบครัวลดน้อยลง

Focus

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมบ้านท่าม่วง ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (หน้า5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่ม เขมร ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาในตระกูลมอญ-เขมร

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

จากการสู้รบระหว่างอาณาจักรไทยกับกัมพูชาในรัชสมัยพระเจ้าตากสินราวปี พ.ศ. 2310 - 2325 เป็นสาเหตุที่ทำให้เขมรอพยพเข้าสู่ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เรียกบริเวณนั้นว่า "เขมรป่าดง" โดยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามรอยต่อของเมืองสุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ (หน้า 52-53) บ้านท่าม่วง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งตั้งเป็นหมู่บ้านราวปี พ.ศ. 2388 โดยมีผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน 3 กลุ่ม กลุ่มแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน กลุ่มที่ 2 อยู่บริเวณคุ้มกลางของหมู่บ้าน แล้วกลุ่มที่ 3 ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งปัจจุบันบ้านท่าม่วงมี 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 1 และหมู่ที่ 11 เดิมเป็นหมู่ที่ 1 ขึ้นอยู่กับตำบลทุ้งวัง ต่อมาได้ตั้งเป็นตำบลท่าม่วงในปี พ.ศ. 2524 (หน้า 32)

Settlement Pattern

ที่อยู่อาศัย ชาวบ้านท่าม่วงส่วนใหญ่มักปลูกบ้านเรือนเป็นแบบใต้ถุนสูงเหมือนกับบ้านอีสานโดยทั่วไป ใต้ถุนสูงบ้านทำคอกเลี้ยงสัตว์เพราะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายได้ หลังคาบ้านเป็นทรงจั่วบางบ้านมุงหลังคาด้วยสังกะสี ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านขนาดเล็กและขนาดกลาง สภาพโดยทั่วไปไม่เป็นสัดส่วนและไม่ค่อยรักษาความสะอาด การก่อสร้างบ้านมักมีการเลียนแบบสังคมเมือง ถึงแม้ว่าลักษณะการสร้างบ้านเรือนได้เปลี่ยนแปลงไป แต่ชาวบ้านท่าม่วงส่วนมากก็นิยมสร้างบ้านเรือนแบบเดิม ๆ หรือคล้าย ๆ กัน (หน้า 69) ลักษณะบ้านเรือนสมัยก่อนจะปลูกด้วยไม้ที่ตัดโค่นมาจากป่าบริเวณรอบหมู่บ้านทำเป็นใต้ถุนสูงมุงหลังคาด้วยหญ้าหรือสังกะสี ไม่นิยมทำหน้าต่างแต่จะใช้วิธีเจาะฝาเป็นช่องสี่เหลี่ยมมีแผ่นไม้หรือสังกะสีตอกปิดไว้ ใช้แง้มเปิดปิดได้ มักจะแง้มไม้หรือสังกะสีดูเหตุการณ์อยู่บนบ้านเท่านั้น ปัจจุบันชาวบ้านนิยมสร้างรั้วบ้านแบ่งเขตกันโดยใช้ไม้ไผ่ หรือบางบ้านใช้วิธีปลูกต้นไม้เป็นพุ่ม เช่น ต้นเทียนทอง ต้นมะขามเทศ เป็นต้น แต่มักจะมีทางเปิดโล่งสำหรับไปมาหาสู่กันได้ตามปกติส่วนในตอนกลางคืนชาวบ้านยังนิยมใช้ทางมะพร้าวแห้ง ใบไม้แห้ง แกลบมาสุมกองไว้บริเวณใกล้ ๆ คอกวัว คอกควายซึ่งอยู่ไม่ห่างจากตัวบ้าน (หน้า 106 -107)

Demography

บ้านท่าม่วง หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 11 ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ประชากรที่พูดภาษาเขมร ปัจจุบันมีจำนวน 240 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 1,292 คน จากการสำรวจประชากรบ้านท่าม่วง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2451 เป็น ชาย 622 คน คิดเป็นร้อยละ 48.15 เป็นหญิง 670 คน คิดเป็นร้อยละ 51.85 ในหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งหมด 2,325 ไร่ (หน้า 38) ประชากรที่อยู่ในช่วงอายุ 18 - 20 ปีมีจำนวนมากที่สุดถึงร้อยละ 49.62 ซึ่งถือว่าเป็นวัยฉกรรจ์ที่กำลังทำงาน รองลงมาคือช่วงอายุ 14-18 ปีคิดเป็นร้อยละ10.37 และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากนโยบายการวางแผนครอบครัวของรัฐบาลประสบผลสำเร็จ (หน้า39)

Economy

สภาพทางเศรษฐกิจของชาวบ้านท่าม่วง โดยทั่วไปประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก อาชีพทำนาโดยส่วนใหญ่ชาวบ้านมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง การทำนานั้นชาวบ้านท่าม่วงนิยมทำนาดำและนาหว่าน ทำนาปีละครั้ง ชาวบ้านนิยมปลูกข้าวเจ้าเพื่อบริโภคและใช้ขาย สำหรับข้าวเหนียวชาวบ้านนิยมปลูกในปริมาณที่น้อย เพราะไม่นิยมบริโภค โดยเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยประมาณ 60-70 ถัง พืชฤดูแล้งที่ชาวบ้านนิยมปลูกได้แก่ แตงกวา ถั่วฝักยาว และถั่วเหลือง (หน้า 51) นอกจากทำนาเป็กหลักแล้ว ชาวบ้านยังหันมาประกอบอาชีพเสริมหลายประเภท ที่ทำมากที่สุดคือ อาชีพทอผ้า จากการศึกษาอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพที่ทำกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (หน้า 88)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของชาวบ้านท่าม่วงมีลักษณะเหมือนโครงสร้างทางสังคมของหมู่บ้าน โดยเฉลี่ยครอบครัวหนึ่งมีประมาณ 5 คน เป็นครอบครัวเดี่ยว การตัดสินใจในครอบครัวส่วนใหญ่จะอยู่กับฝ่ายแม่ ในระยะแรกการแต่งงานของสมาชิกในครอบครัวในระยะแรกนิยมแต่งงานกับคนในหมู่บ้านเดียวกัน ต่อมาในระยะหลังก็มีการติดต่อสัมพันธ์กับคนต่างท้องถิ่นสำหรับการช่วยเหลือกันในกลุ่มเครือญาติมีความสำคัญมาก เช่น การลงแขกดำนา การแต่งงาน ญาติพี่น้องมีการช่วยเหลือกันทำงานให้เสร็จไปด้วยดีกลุ่มเพื่อนบ้านจะเป็นลักษณะแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลักษณะของผู้นำหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ (หน้า 53-54) โครงสร้างทางสังคมของชาวบ้านท่าม่วงนั้นเหมือนหมู่บ้านอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไปแล้วมีความผูกผันกันอย่างใกล้ชิด มีระบบเครือญาติที่เหนียวแน่นทั้งทางสายเลือดและเป็นครอบครัวเดียวการอพยพถิ่นฐานของชาวบ้านท่าม่วงมีน้อยเพราะมีความรักในถิ่นฐานของตนเอง (หน้า 72-73)

Political Organization

การปกครองของหมู่บ้านจนถึงปัจุจบันบ้านท่าม่วงหมู่ที่ 1 มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองดูแล ต่อมาปี พ.ศ.2539 ได้แยกหมู่บ้านท่าม่วงหมู่ที่ 1 เป็นหมู่บ้านท่าม่วงหมู่ที่11 ขึ้นมาอีกหนึ่งหมู่บ้าน โดยนับจากสี่แยกกลางหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือผู้นำที่เป็นทางการคือผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากราชการผู้นำที่ไม่เป็นทางการเป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับและเชื่อฟังมากกว่าผู้นำที่เป็นราชการ ผู้นำเหล่านี้สามารถประนีประนอมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ (หน้า 54)

Belief System

นับถือศาสนาพุทธโดยมีวัดเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน (หน้า 42) ศาสนาเป็นสถาบันหลักของหมู่บ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านคือวัด เนืองจากเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านโดยใช้ประโยชน์จากวัดในการประกอบพิธีกรรมการประชุมหรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆตามความศรัทธา (หน้า109) ในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ถือประเพณีที่ลูกชายทุกคนต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ การบวชทุกครั้งชาวบ้านท่าม่วงนิยมใช้ช้างแห่นาคโดยให้นาคนั่งหลังช้างแล้วแห่รอบหมู่บ้าน เพราะเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีคุณค่ามีเกียรติถ้าครอบครัวที่บวชโดยให้นาคขี่ช้างนับว่าได้บุญกุศลมาก (หน้า111)

Education and Socialization

เมื่อแรกตั้งหมู่บ้านชาวบ้านได้ศึกษาเล่าเรียนตามวัด เพราะยังไม่มีโรงเรียน โดยอาศัยภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ต่อมาปี พ.ศ.2477 มีครูใหญ่คนแรกแทนพระภิกษุ ปี พ.ศ.2505 ชาวบ้านและคณะผู้ปกครองและเจ้าอาวาสร่วมกันบริจาคที่ดิน ไม้ และเสียสละแรงกายแรงใจร่วมกันสร้างอาคารชั่วคราวบริเวณริมฝั่งหนองไผ่ในเนื้อที่ 32 ไร่ เป็นสถานศึกษาแห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน (หน้า 40) โดยเฉลี่ยสถานภาพการศึกษาของชาวบ้านท่าม่วงส่วนใหญ่จะจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ส่วนคนชราส่วนใหญ่จะจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (หน้า 75) สภาพการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาบ้านท่าม่วงที่ปรากฏคือ ชาวบ้านส่วนใหญ่สนับสนุนให้บุตรหลานได้เรียนสูงขึ้นจากระดับประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี (หน้า 76-77)

Health and Medicine

บ้านท่าม่วงมีสถานีอนามัย 1 หลังชั้นเดียว ได้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2525 และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2525 (หน้า46) การเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุขของหมู่บ้านท่าม่วงนิยมรับการรักษาพยาบาลตามแผนปัจจุบันมากขึ้น แต่ยังมีความเชื่อแบบดั้งเดิมคือรักษาโดยหมอน้ำมนต์หมอน้ำมัน หรือรักษาด้วยาสมุนไพรแผนโบราณ ในสมัยก่อนมีโรคระบาดที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความกลัวและตายกันมากคือโรคฝีดาษ การรักษาทำได้โดยให้ผู้ป่วยนอนบนใบตองกล้วยเสื้อผ้าสวมใส่ไม่ได้ปกปิดเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ผู้ป่วยด้วยโรคนี้รอดตายมีน้อยมาก จากการศึกษาพบว่าสาธารณสุขในหมู่บ้านมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าอดีต ทุกหลังคาเรือนต้องมีส้วมซึมใช้ มีน้ำสะอาดต้ม เวลาเจ็บป่วยนิยมไปรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน (หน้า 109)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ชาวบ้านท่าม่วงมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตามสวน ตามไร่ แต่ไม่นิยมใช้ผ้าไหมในชีวิตประจำวัน จะใช้ผ้าไหมในโอกาสพิเศษ ผู้หญิงนุ่งซิ่นไหมที่มีการทอผ้ามัดหมี่ลายต่าง ๆ มีความสวยงามทั้งที่เป็นรูปสัตว์ รูปดอกไม้ หรือทอเป็นผืนเรียบลายทาง สลับสี สำหรับผู้ชายจะนุ่งโสร่งไหมในงานบุญต่าง ๆ (หน้า 68)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านท่าม่วง - การเลี่ยนแปลงแบบแผนในการบริโภคแบ่งเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค - การเปลี่ยนแปลงด้านครอบครัวและระบบเครือญาติในอดีตโดยทั่วไปครอบครัวมีลักษณะเป็นแบบขยายอาศัยอยู่ด้วยกันจึงมีความผูกพันใกล้ชิดกันมาก ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระบบเครือญาติได้เปลี่ยนไป ความช่วยเหลือจุนเจือน้อยลง จำนวนสมาชิกน้อยลง - การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาให้ความสำคัญมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุขโดยมีการยอมรับการรักษาพยาบาลแผนใหม่มากขึ้น - การเปลี่ยนแปลงด้านการพักผ่อนหย่อนใจการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตโดยมีค่านิยมตามกระแสต่าง ๆ เพราะการคมนาคมที่สะดวกสบายทำให้การติดต่อสดวกสบายยิ่งขึ้น (หน้า130-131)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ 4 ภาพ (หน้า 182-185) - แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.บุรีรัมย์ (หน้า 182) - แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ (หน้า 183) - แผนที่ตำบลบ้านท่าม่วง (หน้า 184) - แผนที่หมู่บ้านท่าม่วง (หน้า 184) รูปภาพประกอบ 19 ภาพ (หน้า 186-193)

Text Analyst ณัฐพงษ์ สายพวงแก้ว Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG เขมร, การเปลี่ยนแปลง, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, บุรีรัมย์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง