สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,โครงการเวียงป่า,วิถีการผลิต,การเปลี่ยนแปลง,เชียงใหม่
Author Baldwin, Peter and Tig, Cavit
Title A Community Forestry Program for Sam Li village, Phrao District, Chiang Mai Province, Thailand.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 27 Year 2532
Source Faculty of Forestry Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
Abstract

การทำไร่หมุนเวียนเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงมีวิถีชีวิตในการทำไร่แบบหมุนเวียนมาช้านาน การเพิ่มพื้นที่ในการทำไร่ และการบุกรุกป่ามีมากขึ้น หมู่บ้านแม่บุญหลวงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่อยู่ในโครงการ "Wieng Pha" เพื่อการพัฒนาบนพื้นที่สูง โครงการในพระราชดำริ พยายามที่จะให้ชาวบ้านตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูก เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจและผลไม้เมืองหนาวแทนการทำไร่หมุนเวียนและการปลูกฝิ่น อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาในหลายด้านที่ต้องแก้ไขไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพชีวิต การศึกษาของคนในหมู่บ้านให้ดีขึ้น โครงการ "Wieng Pha" จึงเป็นไปเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน (หน้า vi)

Focus

ศึกษาแนวทางการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของโครงการเวียงป่าเพื่อพัฒนาพื้นที่สูง เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิต ระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้นของหมู่บ้านแม่บุญหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาหู่แดง (Lahu Nyi) หมู่บ้านแม่บุญหลวง อ. พร้าว จ.เชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

กรกฎาคม-ตุลาคม ค.ศ.1989

History of the Group and Community

หมู่บ้านแม่บุญหลวงเป็นหมู่บ้านของลาหู่แดง (Lahu Nyi) สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา โดยพวกเขาอพยพมาจาก อำเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่ เนื่องจากต้องการหาพื้นที่ใหม่สำหรับปลูกฝิ่นและที่เดิมมีโรคระบาด เช่น มาเลเรีย ไทรอยด์ และโรคร้ายอื่น ๆ ในปี 1983 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านและได้มีพระราชดำรัสให้ตั้งถิ่นฐานถาวรไม่ควรจะทำไร่หมุนเวียนแต่เปลี่ยนเป็นปลูกพืชเศรษฐกิจแทน เช่น ผลไม้เมืองหนาว เป็นต้น และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างวัดภายในหมู่บ้าน (หน้า 6)

Settlement Pattern

ลาหู่แดงอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและดำรงวิถีชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียน และการปลูกฝิ่น (หน้า 5-6)

Demography

เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านแม่บุญหลวงมีจำนวน 30 ครอบครัว และขยายเป็น 83 ครอบครัวในปี 1984 และต่อมา 26 ครอบครัวได้ย้ายออกมาอยู่ตั้งหมู่บ้านใหม่ในบริเวณใกล้กันเรียกว่า แม่บุญหลวงใหม่ ปัจจุบันมี 56 ครอบครัวอาศัยอยู่ในแม่บุญหลวงเก่า จำนวนประชากร ในปี 1989 มี 444 คน ชาย 215 คน และหญิง 229 คน อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร 2% ต่อปี (หน้า 6)

Economy

การทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน โดยปัจจุบันพืชที่ปลูกมีหลายชนิด เช่น ข้าว เผือก ข้าวโพด งา พริก เป็นต้น ในการทำไร่หมูนเวียนจะใช้พื้นที่ในการเพาะปลูก 3 ปี และทิ้งพื้นที่ให้อุดมสมบูรณ์ราว 5 ปี และไปใช้พื้นที่ใหม่ก่อนที่จะกลับ มาใช้พื้นที่เก่าอีกครั้ง แรงงานที่ใช้ในการผลิตเป็นแรงงานในครอบครัวและมีการแลกเปลี่ยนแรงงานกันในช่วงฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงมีการจ้างแรงงานโดยค่าจ้างจะอยู่ที่ 35-40 บาทต่อวัน พื้นที่ทำกินโดยเฉลี่ย 15 ไร่ต่อครอบครัว ผลผลิตโดยประมาณ ขิง 1,000 กิโลกรัมต่อำร่ เผือก 300 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าว 35 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวโพด 500 กิโลกรัมต่อไร่ งา 300 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ชาวบ้านมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อขายและเป็นอาหารในครัวเรือน สัตว์ที่เลี้ยง เช่น ม้า ลา ควาย หมู เป็ด และ ไก่ และมีการจับปลาในแม่น้ำเพื่อนำมาประกอบอาหาร การพัฒนาเพื่อปลูกพืชผลในโครงการพระราชดำริมี 4 ครอบครัวที่เริ่มต้นเข้าร่วมโดยปลูกผลไม้เมืองหนาวนานาชนิด เช่น แอ๊ปเปิ้ล แอปริคอท พลัม มะนาว พลีช ฯลฯ โดยผู้เข้าร่วมจะต้องลงทุนเป็นเงินจำนวน 15,000 บาทต่อครอบครัว เพื่อจัดเตรียมพื้นที่ ระบบส่งน้ำ และเครื่องมือต่าง ๆ และจะได้ผลกำไรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยอาจจะได้มากถึง 5,400 บาท/ปี จากแอปริคอท (Apricot) 1 ต้น (หน้า 9-13) การประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น การเป็นลูกจ้างในโรงการพระราชดำริ เปิดร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน เป็นพ่อค้าคนกลางในการซื้อสินค้าทางการเกษตรและ แรทำโรงงานสีข้าว เป็นต้น (หน้า 16)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ผู้นำหมู่บ้านจะได้รับเลือกจากคนในหมู่บ้านและผู้นำจะเลือกผู้ช่วยได้อีก 4 คน พวกเขาถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่นของรัฐ ทำงานประสานระหว่างชุมชนและรัฐ โดยผู้นำจะดูแลหมู่บ้านแม่บุญหลวงใหม่และให้ผู้ช่วย 1 คนไปเป็นผู้นำหมู่บ้านแม่บุญหลวงเก่า โดยผู้นำและผู้ช่วยจะพบปะกันเดือนละครั้งหรือเรียกประชุมเมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือต่อกัน ผู้นำหมู่บ้านดูแลให้ทุกคนทำงานด้วยกันได้ ป้องกันผลผลิตทางการเกษตร และแลกเปลี่ยนแรงงานในช่วงของการเก็บเกี่ยว ป้องกันผู้ร้ายบุกรุกหมู่บ้าน จัดให้มีความร่วมมือในเทศกาลต่าง ๆ ของหมู่บ้าน และส่งเสริมให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้านได้รับการศึกษาในโรงเรียน (หน้า 6-7)

Belief System

ในอดีตผู้คนนับถือความเชื่อแบบดั้งเดิม แม่มด หมอผี ปัจจุบันที่บ้านแม่บุญหลวงเก่ามี 33 ครอบครัวนับถือศาสนาพุทธ และ 23 ครอบครัวนับถือศาสนาคริสต์ โดยมีโบสถ์คริสต์อยู่ที่บ้านแม่บุญหลวงใหม่ (หน้า 6-7)

Education and Socialization

โรงเรียนสร้างขึ้นในปี 1989 โดยอยู่ในการดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนมีทั้งหมด 6 ห้อง อาจารย์ 5 คน และนักเรียน 70 คน เกิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมปีที่ 6 โรงเรียนประสบความสำเร็จในการสอน 50% เนื่องจากเด็กบางส่วนยังคงต้องหยุดเรียนและไปช่วยงานในไร่หรือดูแลน้อง เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ (หน้า 7-8)

Health and Medicine

มีอนามัยประจำหมู่บ้านซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากอำเภอมาตรวจเยี่ยมเพียง ปีละ 1-2 ครั้ง และทั้งหมู่บ้านแม่บุญหลวงเก่า และแม่บุญหลวงใหม่เข้าโครงการรับความรู้ในเรื่องของการวางแผนครอบครัว และยังมีการอบรมเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขให้กับผู้หญิงที่จะทำหน้าที่ดูแลและช่วยทำคลอดให้กับคนในหมู่บ้าน โดยรับการอบรมจากโรงพยาบาลประจำอำเภอพร้าว แต่ถ้าหากมีการเจ็บป่วยหนักจะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล (หน้า 8)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

โครงการ "Wieng Pha" เพื่อพัฒนาพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชาวพื้นที่สูง โดยมีกิจกรรมด้านต่าง ๆ ดังนี้ - ด้านป่าไม้ 1. ป้องกันการใช้พื้นที่ป่าจากการอพยพ เผาป่า และจากไฟป่า 2. ควบคุมการใช้พื้นที่และจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ - ด้านเกษตรกรรม 1. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและความหลากหลายในการปลูกพืชพรรณต่างๆ 2. เปลี่ยนแปลงการทำไร่หมุนเวียนและการปลูกฝิ่น เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจและหาตลาดสินค้าให้รวมถึงให้ความรู้ด้านการเกษตรกับคนในหมู่บ้านและสร้างผู้นำทางด้านการเกษตรในหมู่บ้าน เพื่อปรับปรุงรูปแบบการผลิต และสอนให้รู้จักการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ - ด้านการสาธารณสุข ส่งเสริมให้ความรู้การคุมกำเนิด การเลิกฝิ่น และการให้ความรู้พื้นฐานทางด้านสาธารณสุข และจัดให้มีผู้นำด้านสาธารณสุขภายในหมู่บ้าน - ด้านการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชนเพื่อให้คนทั่วไปได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น และให้เด็กเข้าเรียนในโรงเรียน นอกจากนี้ส่งเสริมให้มีการสร้างถนนให้มีความสะดวกในการเดินทางมาขึ้น และมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม (หน้า 16-18)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ลาหู่, โครงการเวียงป่า, วิถีการผลิต, การเปลี่ยนแปลง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง