สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,ลาหู่แดง,การพัฒนา,การมีส่วนร่วม,เชียงใหม่
Author ธวัช เบญจาทิกุล
Title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามีส่วนร่วมของชาวเขาในการพัฒนา กรณีศึกษา : หมู่บ้านชาวเขาชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่างของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2527
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 115 Year 2529
Source หลักสูตรสังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอแดง ณ หมู่บ้านโป่งจ๊อก 1. ชาวเขาที่มีอายุมาก (46 ปีขึ้นไป) จะเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าชาวเขาที่มีอายุน้อย (15-45 ปี) 2. ชาวเขาที่มีฐานะดีจะเข้ามีส่วนร่วมในระดับที่มากกว่าชาวเขาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี 3. ชาวเขาที่เป็นผู้นำหมู่บ้านจะเข้ามีส่วนร่วมในระดับที่มากกว่าชาวเขาที่เป็นชาวบ้านธรรมดา 4. ชาวเขาที่ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ (คำเมือง) ได้ดี จะเข้ามีส่วนร่วมในระดับที่มากกว่าชาวเขาที่ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ (คำเมือง) ไม่ได้ดี 5. ชาวเขาที่นับถือศาสนาพุทธจะเข้ามีส่วนร่วมในระดับที่มากกว่าชาวเขาที่นับถือศาสนาคริสต์ 6. การได้เห็นตัวอย่างการพัฒนาดีเด่นจากหมู่บ้านอื่น มีผลในเชิงบวกต่อระดับการมีส่วนร่วมของชาวเขาในการพัฒนา (หน้า 83-88) มูเซอส่วนใหญ่ในหมู่บ้านโป่งจ๊อกมีส่วนในการร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านตนชนะการประกวดหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง โดยได้มีส่วนช่วยกันแก้ปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพพลานามัย ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะชาวบ้านมีโอกาสเดินทางไปดูหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง เพื่อจะได้รับการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากรัฐบาล (หน้า 90-102)

Focus

ปัจจัยในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอแดง ที่หมู่บ้านโป่งจ๊อก หมู่ 4 ตำบลทะเลอบ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขาเผ่ามูเซอแดง (หน้า 57)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

3 เดือน ประมาณปี พ.ศ. 2528 (หน้า 78)

History of the Group and Community

หมู่บ้านโป่งจ๊อกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยมีนายจะเคาะ บูทะ เป็นผู้นำคนแรก โดยย้ายมาจากหมู่บ้านห้วยเดื่อ ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีหนองน้ำซึ่งเรียกว่าโป่ง เป็นที่สัตว์ป่าต่างๆ มาใช้กิน ชาวบ้านจึงพากันเรียกหมู่บ้านนี้ว่า หมู่บ้านโป่งจ๊อก ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 มีชาวบ้านจากบ้านห้วยทรายอพยพลงมาอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ปี พ.ศ.2524 มีครัวเรือนที่เป็นคริสต์ย้ายมาสมทบอีก (หน้า 58)

Settlement Pattern

มูเซอแดงที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโป่งจ๊อกนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ บ้านป๊อกในและบ้านป๊อกนอก บ้านป๊อกในเป็นพื้นที่อยู่ อาศัยที่เก่ากว่า มูเซอที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มักตั้งบ้านเรือนกระจายตัวหนาแน่นอยู่ตามลำห้วย ส่วนกลุ่มบ้านป๊อกนอก มีการตั้งบ้านเรือนกระจายตัวตามเส้นทางถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้าน (หน้า 71)

Demography

จากการสำรวจโดยผู้วิจัยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2529 หมู่บ้านโป่งจ๊อก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 60 หลังคาเรือน 69 ครอบครัว 300 คน เป็นชาย 97 คน หญิง 89 คน เด็กชาย 72 เด็กหญิง 42 คน (หน้า 59)

Economy

หมู่บ้านโป่งจ๊อกมีพื้นที่นาดำ 5 ไร่ ซึ่งใช้สำหรับปลูกข้าว ข้าวไร่ ข้าวโพด ฝิ่น ถั่ว มะม่วง และลิ้นจี่พื้นที่สวน 45 ไร่ พื้นที่พืชไร่ 490 ไร่ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์แบบหมุนเวียน ซึ่งชาวเขาส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินน้อยกว่า 20 ไร่ สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ หมู ไก่ วัว ควาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ การตีเหล็ก การทอผ้า การเย็บปัก และการจักสาน อาชีพอื่นได้แก่ รับจ้าง ชาวเขาส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ 4,435 บาท/คน (หน้า 74) โดยมีอาชีพหลักคือ ทำการเกษตร ส่วนอาชีพรองลงมา คือ การรับจ้างปลูกป่า ค้าขาย นอกจากนี้ ชาวเขายังมีการรวมตัวกันจัดตั้งธนาคารข้าว สหกรณ์ร้านค้า และกลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือทางด้านกู้ยืมเงินและข้าวสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกหรือชาวเขาทั่วไป (หน้า 62-63)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

การปกครองภายในหมู่บ้านโป่งจ๊อกมีผู้นำหมู่บ้าน คือกำนัน โดยมีลักษณะการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีคณะกรรมการหมู่บ้านที่ได้มาจากเลือกตั้ง และแต่ละคนก็จะมีภาระหน้าที่ของตนที่ต้องรับผิดชอบงานต่างๆ ภายในหมู่บ้าน ได้แก่ งานฝ่ายปกครอง ดำเนินการโดยประธานกรรมการหมู่บ้าน ส่วนกรรมการท่านอื่น ๆ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่าย ๆ ดังนี้ 1.ฝ่ายการศึกษา รับผิดชอบด้านการศึกษาร่วมกันกับครู 2.ฝ่ายพัฒนา รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน 4.ฝ่ายอนามัย รับผิดชอบงานด้านอนามัย สาธารณสุขของหมู่บ้าน 5.ฝ่ายสวัสดิการสังคม ดูแลและรับผิดชอบกิจกรรมที่ช่วยเหลือชาวบ้าน (หน้า 64) ส่วนกฎเกณฑ์หรือกฎหมายต่างๆ ที่ใช้ภายในหมู่บ้าน ส่วนมากจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้กำหนดไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเหมาะสม (หน้า 60) สำหรับขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นไปในลักษณะของผู้ถูกปกครอง (หน้า 91)

Belief System

ชาวหมู่บ้านโป่งจ๊อกมีการนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ (คาทอลิก) ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่แยกกัน (หน้า 62) ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ 63.04 ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 36.96 (หน้า 77)

Education and Socialization

การศึกษาของชาวบ้านในหมู่บ้าน ได้รับจากการศึกษานอกระบบ โครงการศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ซึ่งมีชาวบ้านสนใจส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษา และถ้าตนเองมีโอกาส ก็จะมารับการศึกษาด้วยตนเอง (หน้า 61)

Health and Medicine

แหล่งบริการด้านสุขภาพอนามัยภายในหมู่บ้าน ได้แก่ ศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนฯ ประจำหมู่บ้าน และกองทุนยาประจำหมู่บ้าน (หน้า 61)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การมีส่วนร่วมในการพัฒนา : ชาวเขาส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการสละแรงงาน รองลงมาคือการมีส่วนร่วมสมทบวัสดุอุปกรณ์ ร่วมประชุม ร่วมเป็นสมาชิก ร่วมชักชวนเพื่อนบ้าน ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมรับผิดชอบ ประเมินผล ติดตามผล ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ราชการ ระดับการมีส่วนร่วม : ชาวเขาเพศหญิงจะเข้ามามีส่วนร่วมในระดับต่ำกว่าชาวเขาเพศชาย และชาวเขาที่มีอายุมากก็จะมีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่ยังมีอายุน้อย ส่วนผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะเข้ามามีส่วนร่วมในระดับมาก มากกว่าผู้ที่มีฐานะไม่ดี นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้นำท้องถิ่นทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการค้นหาปัญหา ในขณะที่ลูกบ้านเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้น้อยมาก ซึ่งชาวเขาที่ใช้ภาษาท้องถิ่นเหนือได้ดี จะเข้ามีส่วนร่วมมากกว่า รวมไปถึงการที่ชาวเขาได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างการพัฒนาดีเด่นก็จะเข้ามีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่ไม่มีโอกาสได้เห็น (หน้า 91-102)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชมพรรณ จันทิมา Date of Report 09 พ.ค. 2556
TAG ลาหู่, ลาหู่แดง, การพัฒนา, การมีส่วนร่วม, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง