สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ม้งน้ำเงิน,วิถีชีวิต, การปลูกฝิ่น,การย้ายถิ่นฐาน,เชียงใหม่
Author Geddes, William Robert
Title Migrants of the Mountains
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 274 Year 2519
Source สำนักพิมพ์ Clarendon Press, Oxford University Pressพิมพ์ที่ William Clowes & Sons, Limited. London, Beccles and Colchester; Great Britain
Abstract

ม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเป็นอิสระสูง และมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณยอดเขา โดยมีการปลูกฝิ่นเป็นระบบเศรษฐกิจหลัก ซึ่งธรรมชาติของลักษณะการปลูกฝิ่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ม้งต้องย้ายถิ่นฐานอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา

การย้ายถิ่นฐานของม้งสามารถอธิบายได้ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะทางเศรษฐกิจ และลักษณะทางสังคม เหตุผลการย้ายถิ่นฐานทางเศรษฐกิจ คือมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแหล่งที่ดินที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ

ส่วนลักษณะทางสังคมสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การย้ายถิ่นฐานตามไปกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และปัจจัยที่ 2 คือ การย้ายถิ่นฐานตามผู้ที่มีความสัมพันธ์ในตระกูลเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการย้ายถิ่นฐานของม้งดังกล่าวเริ่มทำได้ยากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนประชากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอว่า ม้งสมควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจหลักของตน รวมไปถึงการลดความสำคัญของการเพาะปลูกฝิ่นในสังคมม้งด้วย

Focus

จุดเน้นของงานมีทั้งที่เป็นการพรรณาชาติพันธุ์วรรณนาม้งน้ำเงินในประเทศไทย และงานทางทฤษฎี ในแง่ที่พยายามอธิบายวิถีการดำเนินชีวิตของม้งน้ำเงินในเชิงนิเวศ โดยเน้นการวิเคราะห์บทบาทของการปลูกฝิ่นที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในระบบนิเวศวิทยาของม้งน้ำเงินในประเทศไทย (หน้า 251)

Theoretical Issues

ผู้เขียนมองว่าการปลูกฝิ่นมีบทบาทสำคัญในเชิงนิเวศสำหรับชีวิตวัฒนธรรมม้งในบริบทของประเทศไทย ในแง่ที่ทัศนคติของม้งต่อที่ดินเป็นไปในลักษณะที่ใช้แต่ประโยชน์ โดยขาดความสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน ทำให้การแก้ปัญหาในเรื่องการเสื่อมโทรมของดิน เป็นไปในทางอพยพเคลื่อนย้ายมากกว่าที่จะปรับปรุงดิน ทัศนคติดังกล่าว อาจจะถูกหล่อหลอมมาจากหลายเงื่อนไข เช่น การพ่ายแพ้ต่อจีน จนต้องถอยร่นไปเรื่อย ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นมาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทัศนคติดังกล่าวก็สอดคล้องกับชีวิตวัฒนธรรมของม้ง ที่เป็นการสะสมและการแสดงออกทางวัตถุ เช่น เสื้อผ้าที่ตกแต่งสวยงามด้วยเงิน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ดินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และหากดินเสื่อมไป ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอพยพไปที่ดินแห่งใหม่ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าม้งมีการอพยพเคลื่อนย้ายก่อนที่จะปลูกฝิ่น ทำให้ไม่อาจระบุได้ว่า การปลูกฝิ่นเป็นตัวการสำคัญในการอพยพเคลื่อนย้าย แต่อาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวเร่งสำคัญ ที่ทำให้มีการอพยพเร็วยิ่งขึ้น เพราะว่าฝิ่นเป็นพืชพาณิชย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของม้ง ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่จำกัด ในการผลิตพืชพาณิชย์อื่น ๆ เพราะหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกล มีการคมนาคมที่ไม่สะดวก พื้นที่อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสมกับพืชบางอย่างเท่านั้น ทำให้พืชอื่นไม่อาจมาแทนที่ฝิ่นได้ (หน้า 251-253)

Ethnic Group in the Focus

ม้งน้ำเงินในประเทศไทย (หน้า inner cover, 17, 105) ซึ่งเรียกตัวเองว่า 'Hmong Njua' (หน้า 16, 17, 29, 38, 39)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาม้งของม้งในประเทศไทย มีสำเนียงแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ภาษาม้งจัดอยู่ในภาษาตระกูล Sino-Tibetan ซึ่งจะพบ คำยืมบางส่วนที่มาจากภาษาจีน และคำศัพท์บางส่วนที่มีความใกล้เคียงมากกับภาษาพม่าในกลุ่ม Tibeto-Burman ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งในภาษาตระกูล Sino-Tibetan (หน้า 20)

Study Period (Data Collection)

การทำ fieldwork ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น 12 ปี รวมทั้งการอาศัยอยู่ใน Pasamliem และ แม่โถ เป็นระยะเวลา 2 ปี (หน้า ix)

History of the Group and Community

ม้งถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนประมาณ 4700 ปีมาแล้ว ขณะนั้น ม้งอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ Honan ในประเทศจีน (หน้า 3,4) ผู้เขียนหลายท่านสันนิษฐานว่า ม้งอาศัยอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเหลือง หลังจากนั้น ได้เคลื่อนย้ายไปบริเวณแม่น้ำแยงซี และ ย้ายไปบริเวณเทือกเขาตามลำดับ (หน้า 6) และม้งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (หน้า 29) ผู้เขียนได้สัมภาษณ์ Soying ม้งคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ที่ Pasaliem ในปี 1958 พบว่าบรรพบุรุษของ Soying อพยพออกจากประเทศจีนเมื่อ 400 ปีที่ผ่านมาแล้ว เดิมทีพวกเขาอาศัยอยู่ที่ Mungkong แต่หลังจากที่หมู่บ้านแตกแยก จึงย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ใกล้กับดอยเชียงดาว แต่เนื่องจากคุณภาพดินที่ต่ำ จึงอาศัยอยู่เพียง 5 ปี แล้วจึงย้ายไปที่บริเวณใกล้กับ Pasaliem ในที่สุด (หน้า 138-141)

Settlement Pattern

แนวโน้มการตั้งถิ่นฐานของม้งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ขนาดของพื้นที่, ความพอใจของม้งในความเหมาะสมของพื้นที่, อัตราการแข่งขันจากคนภายนอก, สภาพทางการเมืองการปกครอง, และที่สำคัญที่สุด คือลักษณะของพืชที่จะสามารถเพาะปลูกได้ในบริเวณนั้น ๆ รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับ (หน้า 29) ม้งนิยมอาศัยอยู่บนยอดเขาที่มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป ซึ่งมีอากาศเย็น และจะย้ายถิ่นอาศัยเมื่อคุณภาพของดินเสื่อม (หน้า 30) การตั้งบ้านเรือนมีตั้งแต่ 2-3 หลัง ถึง 100 หลัง หรือมากกว่านั้น บางแห่งเป็นหมู่บ้านใหญ่แห่งเดียว ในขณะที่บางแห่งกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ที่พบเห็นมากเป็นลักษณะของหมู่บ้านหลักที่ประกอบไปด้วยกลุ่มหมู่บ้านขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง (หน้า 88)

Demography

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีม้งอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือม้งน้ำเงิน และม้งขาว ในปี พ.ศ. 2503 ม้งน้ำเงินมีประชากร 26,400คน และ ม้งขาวมีประชากร 19,200 คน (หน้า 39) ในปี พ.ศ. 2508 มีม้งประมาณ 570 คนในบริเวณ แม่โถ ซึ่งแบ่งเป็นชาย 262 คน และหญิง 308 คน ประกอบด้วยตระกูล 4 ตระกูล (หน้า 107, 246) และครัวเรือน 64 หลัง (หน้า 171, 243, 246) ความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 46.5 คนต่อตารางกิโลเมตร หรือ 120 คนต่อตารางไมล์ (หน้า 129) การเพิ่มของประชากรมีอัตราสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศโดยเฉลี่ยมาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการมีพื้นที่ที่จำกัด (หน้า 250)

Economy

ม้งทำเกษตรกรรมแบบโค่นและเผา (Slash-and-burn or swiddening) (หน้า32) มีการปลูกข้าวดอยเป็นพืชหลัก และยังปลูกพืชพาณิชย์อีกหลายประเภท โดยเฉพาะฝิ่น (หน้า 33) ที่จัดว่าเป็นพืชที่สำคัญที่สุดของม้ง (หน้า 43) การปลูกข้าวโพดจะเริ่มในฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม จนถึงฤดูกาลปลูกฝิ่นในเดือนสิงหาคม (หน้า 141) ข้าวโพดเหล่านี้ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ (หน้า131,159-160,194,201,253) จึงมีระบบการผลิตแบบ ข้าวโพด-ฝิ่น-หมู A production complex: maize-opium-pigs (หน้า131,160,253) และมีการปลูกข้าวเปลือกเพื่อการบริโภค (หน้า 157,171-180,201,253) มีการกล่าวถึงฝิ่นอย่างต่อเนื่องในหนังสือ เช่น ในหน้า 34,83,86,90,105,107,123,127, 131-132, 137-140, 142, 150-151,156-157,160-166, 179-180,184, 201,211,230,251 และ 261) สรุปได้ว่ามีการใช้ประโยชน์ฝิ่นใน 3 ลักษณะ คือ เพื่อการบริโภคภายในหมู่บ้าน, เพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภายในบริเวณหมู่บ้าน, และเพื่อทำการค้ากับภายนอก (หน้า 216) นอกจากนี้ ม้งเลี้ยงสัตว์หลายประเภท เช่น สุกร, ไก่และเป็ด, วัว ควาย ที่มักใช้ในการฆ่าสังเวย หรือบูชายัญ, แพะ สำหรับขาย และเป็นอาหาร, ม้า สำหรับขี่ และบรรทุกสิ่งของ และสุนัข ใช้ในการล่าสัตว์ และเป็นสัตว์เลี้ยง (หน้า 216, 195-196) สัตว์เหล่านี้ เช่น สุกร, เป็ดไก่, และ แพะ แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของเจ้าของ นอกจากนี้ ม้งถือกันว่าม้าเป็นสมบัติที่มีค่ามาก (หน้า 196) สรุปสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของครัวเรือนม้งใน แม่โถ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ว่า ครัวเรือนม้งโดยเฉลี่ยแล้วประกอบด้วยคน 8 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตข้าวเปลือกประมาณ 700 กก., ข้าวโพด 70 gallons, และฝิ่น มูลค่าประมาณ 13,210 บาท และหลังจากซื้อข้าวเปลือกเพื่อเป็นอาหารเพิ่มอีก 1,300 กก. แล้ว จะมีรายได้คงเหลือ 11,000 บาท (US $ 550) และมีสัตว์เลี้ยงคือ ม้า 1 ตัว, สุกร 6 ตัว, เป็ดไก่ 1 โหลม และสุนัข 1 ตัว (หน้า 196-197) พื้นที่การเพาะปลูกทั้งหมดที่ แม่โถ ในปี พ.ศ. 2508 (1965) มี 1,702.4 ไร่ หรือ 271.25 hectares แบ่งเป็นพื้นที่การปลูกฝิ่น 1,365.6 ไร่ หรือ 218.5 hectares ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่เดียวกันในการปลูกข้าวโพดเสร็จแล้วมาปลูกฝิ่น และยังแบ่งเป็นพื้นที่การปลูกข้าวเปลือก 290.24 ไร่ หรือ 46.44 hectares (หน้า 171) การที่ม้งปลูกฝิ่นเป็นจำนวนมากทำให้นักวิจัยกล่าวได้ว่าการปลูกฝิ่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานที่ไม่แน่นอน (หน้า 256)

Social Organization

ม้งมีระบบครอบครัวขยายแบบปิตาลัย (หน้า 22, 50-51,127) โดยที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน (หน้า 81,83) และมีความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างใกล้ชิด (หน้า 45) มักเป็นครอบครัวขยายขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (หน้า 53) แต่ละครัวเรือนมักเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กัน (หน้า 53) ในการแต่งงานม้งมีการจ่ายสินสอดให้ฝ่ายหญิง ซึ่งหลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะย้ายเข้าบ้านของสามี และเปลี่ยนอยู่ในสกุลของสามี (หน้า 57) ผู้ชายมักแต่งงานเมื่ออายุ 15-16 ปี และผู้หญิงเมื่ออายุ 18-20 ปี (หน้า 81) โดยทั่วไปแล้วสถานภาพของผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง (หน้า 79) ความสัมพันธ์ทางสังคมของม้งแบ่งเป็นครอบครัว, สายตระกูล, สกุล, และ สกุลย่อย (บทที่ 3) อย่างไรก็ตาม ชุมชนม้งที่แม่โถ มีลักษณะค่อนข้างไม่มั่นคง และมีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่แน่นอน เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง (หน้า 127)

Political Organization

ในปัจจุบัน ม้งแม่โถมีปัญหาด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจาก การเพาะปลูกฝิ่น และอุปนิสัยการย้ายถิ่นฐานข้ามดินแดนโดยไม่ยึดถือขอบเขตดินแดน จึงมักถูกรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาว เรียกว่าเป็น กบฏ (ปกใน) หน่วยการปกครองพื้นฐานของม้งคือหมู่บ้าน หรือกลุ่มหมู่บ้าน (หน้า 21) ซึ่งมีผู้นำ 2 ประเภท คือ ทางโลก (secular) และ ทางศาสนา (religious) (หน้า 94) ผู้นำทางศาสนาหรือ หมอผี มักมีความสำคัญอย่างมากต่อชุมชนม้ง (หน้า 256)

Belief System

ม้งทุกครัวเรือนมีแท่นบูชาผีบ้าน ซึ่งเรียกว่า 'Sier Klang' (หน้า 62, 93) และจะทำพิธีบูชาในเทศกาลปีใหม่ (หน้า 75) นอกจากนี้ ผีอีก 4 ประเภทที่มีความสำคัญต่อครัวเรือนม้ง (หน้า 91,168) คือ ผีประตูบ้าน (บูชาทุก ๆ ปี) (หน้า 66), ผีเสาหลัก (บูชาทุก ๆ 3 ปี), ผีกองไฟใหญ่ และผีกองไฟเล็ก เมื่อม้งย้ายไปตั้งบ้านเรือนใหม่จะนำเอาเถ้าจากกองไฟใหญ่ในบ้านเก่าไปด้วย และนำไปใส่ไว้ในกองไฟในบ้านใหม่ เพื่อเป็นการย้ายผีกองไฟ (หน้า 53,98,169) นอกจากนี้ ยังมีผีประเภทอื่น ๆ อีก เช่น ผีบรรพบุรุษตามสายตระกูล (หน้า 52), ผีพืชผล (หน้า 91), ผีฝิ่น (หน้า 92) และผีภูเขา (หน้า 93) ม้งเชื่อว่าวิญญาณของเด็กทารกเดินทางมาจากโลกหลังความตาย ซึ่งเป็นที่ ๆ มีวิญญาณของคนตายอยู่เพื่อรอที่จะมาเกิดใหม่ (หน้า 56) และเชื่อว่าคนมีวิญญาณหลายดวง (หน้า 97) ม้งจะมีพิธีกรรม เมื่อมีการเจ็บป่วย หรือมีโชคร้าย ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ผีบรรพบุรุษต้องการให้ส่งอาหารหรือเงินทองไปให้ (หน้า 52) มีพิธีปราบผี 'Suter Sublong' ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีที่ทำร้ายผู้คน (หน้า 57, 62, 67) และมีพิธีศพ เมื่อมีคนเสียชีวิต (หน้า 48,65) ม้งจะมีพระ หรือ หมอผี เป็นผู้ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนา แต่พิธีกรรมที่ดำเนินโดยหมอผีจะละเอียดและมีราคาสูงกว่าพระ (หน้า 78, 234)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียด

Health and Medicine

ม้งเชื่อว่าการเจ็บป่วย หรือความโชคร้าย เกิดจากการที่ผีบรรพบุรุษต้องการให้ส่งอาหารหรือเงินทองไปให้ (หน้า 52) ม้งมีพิธีปราบผี 'Suter Sublong' ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีที่ทำร้ายผู้คน (หน้า 57, 62, 67) โดยที่พระ หรือ หมอผี จะเป็นผู้ดำเนินพิธีต่าง ๆ (หน้า 78) หรือบางครั้งเชื่อว่าเกิดจากการที่วิญญาณออกจากร่าง (หน้า 98) ดังนั้น งานหลักของหมอผี (shamans) จะเกี่ยวข้องกับการรักษา หรือการป้องกันความเจ็บป่วย (หน้า 97) เนื่องจากม้งไม่มีการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุผลให้มีลักษณะที่ผู้ชายม้งสามารถมีภรรยาได้หลายคน เพื่อช่วยในการเพิ่มจำนวนประชากร (หน้า 84)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงม้งใส่เสื้อสั้นถึงเอว และกระโปรงป่านยาวที่มีหลายจีบ (หน้า 9, 17-18) กระโปรงมีสีน้ำเงินเข้ม และคาดทับด้วยแถบสีน้ำเงินอ่อนบริเวณด้านบนของรอยปักไหมหลากสี (หน้า 39) เสื้อมีลักษณะเป็นแบบปกกลาสี และผู้หญิงม้งมักจะมวยผมด้วยผ้าลายดอก (หน้า 17,18) ประดับด้วยห่วงคอเงิน (หน้า 15) ซึ่งเครื่องเงินเป็นสัญลักษณ์แสดงฐานะของผู้ใส่ (หน้า 252) ม้งแม่โถ มีการละเล่นโยนลูกบอลในงานเทศกาลปีใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้รู้จักกัน (หน้า 18,168) ผู้คนจึงสวมใส่เครื่องประดับตกแต่ง เช่น สายสะพาย, เข็มขัดเงิน, หรือส่วนอื่น ๆ ของชุดเพื่อใส่ในงานเทศกาล (หน้า 92) เครื่องดนตรีที่ม้งเล่น คือพิณของชาวยิว (ส่วนใหญ่ผู้ชายม้งจะเล่นเพื่อเอาใจผู้หญิงที่ตนสนใจ) (หน้า 92)

Folklore

ม้งมีตำนานว่าเคยมีหนังสือใช้ในสมัยโบราณ (หน้า 20) และมีตำนานเกี่ยวกับการกำเนิดของคน (หน้า 22) เช่นความเชื่อที่ว่าวิญญาณของเด็กทารกเดินทางมาจากโลกหลังความตาย ซึ่งเป็นที่ ๆ วิญญาณของคนตายอยู่เพื่อรอที่จะมาเกิดใหม่ (หน้า 56) และเชื่อว่าคนมีวิญญาณหลายดวง (หน้า 97)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งเป็นกลุ่มที่มีนิสัยค่อนข้างทนงตน และรักอิสระ (หน้า v) ม้งมีความสำนึกในชาติพันธุ์ของตนเองค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าม้งจะมีการติดต่อค้าขายกับชนกลุ่มอื่น เช่น การจ้างงานกะเหรี่ยง (หน้า 132,146,165,166,191) แต่ม้งมักจะไม่มีการผสมผสานลักษณะสังคม และมักจะไม่แต่งงานกับชนกลุ่มอื่น (หน้า 257, 11) ลักษณะทางชาติพันธุ์ของม้งมีรากฐานมาจากลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ซึ่งโดยมากได้รับอิทธิพลมาจากสภาพเศรษฐกิจของการเพาะปลูกฝิ่น และสิ่งของที่ใช้ในการค้า เช่น เครื่องประดับเงิน, เส้นไหมสำหรับการปักชุดประจำเผ่า และ วัวที่ใช้ในการสังเวย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าในสังคมม้งเท่านั้น (หน้า 256) ม้งน้ำเงินในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวจีนอย่างมาก เช่น การตั้งชื่อลูกชายตามลำดับการเกิด และ การบูชาพระเจ้าประจำครัวเรือน (หน้า 19-20) นอกจากนี้ ม้งยังเลียนแบบลักษณะหลายอย่างจากจีน (หน้า 20) ความสัมพันธ์ของม้งกับพ่อค้าชาวจีนเป็นไปในลักษณะของเจ้าของร้านขายของ,ผลประโยชน์ทางการค้า และในฐานะนายธนาคารของหมู่บ้าน (หน้า223)

Social Cultural and Identity Change

แม้ว่า ม้งจะรักษาเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ตนอย่างมาก แต่ม้งก็เริ่มมีการตระหนักถึงสถานภาพที่สูงกว่าของคนไทยพื้นราบ ซึ่งม้งต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ ม้งจึงเริ่มมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในหลายด้าน ซึ่งแตกต่างกันไปตามสถานการณ์รอบตัวของแต่ละกลุ่ม (หน้า vi) เช่น ม้งบางกลุ่มมีความเป็นอิสระมากกว่ากลุ่มอื่น และบางกลุ่มต้องการเปลี่ยนไปอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้น (หน้า 257) ม้งในบริเวณ แม่โถ ตกอยู่ในภาวะบีบคั้น เนื่องจาก การเสื่อมของผลิตผลฝิ่น และถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น พวกเขาอาจจะต้องหาทางเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปเป็นอย่างอื่น เช่น การทำนาข้าว หรือ ทำงานในเมือง (หน้า 257) นอกจากนี้ การแข่งขันโดยเฉพาะการแก่งแย่งที่ดินที่รุนแรงขึ้น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากชาวเขาเผ่าอื่น ก็เป็นสาเหตุให้ม้งสามารถย้ายถิ่นฐานได้น้อยลงด้วย (หน้า 232) ปัจจัยหลัก ที่ทำให้วิถีชีวิตของม้งต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ความกดดันจากปัญหาที่ดิน และความกดดันจากรัฐบาลไทยที่มีนโยบายลดการผลิตฝิ่น ซึ่งจะสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของม้ง (หน้า vi) โดยปกติแล้ว รัฐบาลไทยมักไม่เข้ามาก้าวก่ายกับเรื่องผลผลิตของชาวเขา รวมทั้ง องค์การสหประชาชาติมีคำแนะนำให้เริ่มการลดระดับการปลูกฝิ่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสนับสนุนพืชผลอย่างอื่นเป็นการทดแทน ม้งเองก็เริ่มตระหนักถึงผลเสียของฝิ่น และพยายามที่จะหาทางเลือกอื่นที่ดีกว่ามากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากร และความต้องการที่จะใช้ที่ดินในลักษณะต่อเนื่องมากขึ้นในเวลานั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ม้งไม่สามารถดำรงชีวิตแบบเดิมได้ (หน้า 261).

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

Map 1: Northern Thailand Tribal Regions p. 2 Between page 130 and 1311. รูปแม่โถ settlement in late 1964 showing villages A and D PLATE 1 - 16

Text Analyst ศิริลักษณ์ อัศววุฒิพงษ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, ม้งน้ำเงิน, วิถีชีวิต, การปลูกฝิ่น, การย้ายถิ่นฐาน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง