สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,สังคม,สิ่งแวดล้อม,วิถีชีวิต,โครงสร้างประชากร,เชียงราย
Author สนิท วงค์ประเสริฐ
Title ลักษณะสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวกำหนดโครงสร้างประชากร ชาวเขาเผ่ามูเซอ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 71 Year 2520
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย
Abstract

เป็นการศึกษาตัวกำหนดโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนประชากร ที่เน้นให้เห็นถึงตัวกำหนดทางนิเวศน์วิทยา ที่มีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอ โดยแสดงให้เห็นถึงการรักษาประเพณีดั้งเดิมของเผ่าตนเองอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นในระบบครอบครัว แบบผัวเดียวเมียเดียว และทำให้รู้ถึงหลักความเชื่อทางศาสนา อย่างการนับถือผี ที่ยังมีการนับถือกันอย่างเคร่งครัดไม่มีเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการอพยพเคลื่อนย้ายจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ยังเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้หญิงมูเซอสามารถตัดสินใจในเรื่องการวางแผนครอบครัว โดยได้รับการยินยอมจากสามีของตน จากการศึกษายังเน้นให้เห็นความแตกต่างของมูเซอพื้นราบที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดกับชาวไทยพื้นราบ ทำให้รับเอาวัฒนธรรมของชาวพื้นราบได้โดยง่ายกว่ามูเซอที่อยู่บนภูเขาสูง (หน้า 1, 8,10, 51, 52)

Focus

ศึกษาลักษณะสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างประชากรของมูเซอ (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มูเซอ (แดง)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามูเซอ (หน้า 2)

Study Period (Data Collection)

1 กรกฎาคม 2518 - มิถุนายน 2519

History of the Group and Community

จากหลักฐานรุ่นแรก ในบันทึกเหตุการณ์ของจีน พ.ศ. 1339 อยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง กล่าวว่ากษัตริย์ไทยสมัยน่านเจ้า เป็นผู้ปกครองชนเผ่าลาฮู หรือ มูเซอ ผู้รู้อีกท่านกล่าวว่า ชนเผ่าไทอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่ามูเซอ หรือกลุ่มที่พูดภาษา คล้ายคลึงกับภาษามูเซอ ในปี พ.ศ. 2434 และ พ.ศ. 2458 มีนักสำรวจและหมอสอนศาสนาได้กล่าวถึงหมู่บ้านของชาวเขา เผ่ามูเซอ ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน เหนือสุดของประเทศ ทั้งสองท่านยังบันทึกไว้อีกว่า มูเซอเป็นชนเผ่าที่ปลูกฝิ่นและ สูบฝิ่นด้วย มูเซอเป็นนักรบที่กล้าหาญ เป็นกลุ่มชนที่ทำการเพาะปลูกแบบกึ่งหลักแหล่ง และกึ่งเร่ร่อน มีอาชีพทำการเกษตร ล่าสัตว์ และเข้าครอบครองพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดมา ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจีนกับเวียดนาม จีนกับลาว พม่ากับไทย และไม่สามารถประมาณได้ว่าชาวเขาเผ่ามูเซอมีจำนวนมากน้อยเท่าใด เผ่ามูเซอแบ่งเป็น 23 สาขา ทางตอนเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือของไทยมีชาวเขาเผ่านี้แบ่งย่อยเป็น 9 สาขา ซึ่งลาฮูญีหรือมูเซอแดงจัดเป็นชน กลุ่มใหญ่ และมีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนเหนือของไทยและทางตอนใต้ของรัฐฉานพม่า (หน้า 4, 5)

Settlement Pattern

นิยมตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งหลักแหล่ง - กึ่งเร่ร่อน เพราะมูเซอยึดอาชีพการเกษตรทำไร่แบบโค่นเผา สังคมมูเซอตั้งอยู่บนรากฐาน การยังชีพด้วยการเกษตรแบบย้ายตามบรรพบุรุษ แต่ในปัจจุบันได้เริ่มเปลี่ยนเป็นการทำการเกษตรแบบเป็นหลักแหล่งแล้ว ไม่ได้เร่ร่อนเหมือนแต่ก่อนแล้ว เริ่มมีความสัมพันธ์กับคนพื้นราบมากขึ้น (หน้า 2, 13, 21)

Demography

จากการสำรวจในปี 2518 บ้านแม่ปูนมีประชากร 328 คน มี 41 หลังคาเรือน พอปี 2519 มีประชากร 338 คน มี 43 หลังคาเรือน ส่วนบ้านโล๊ะป่าไคร้ ปี 2518 มีประชากร 283 คน มี 39 หลังคาเรือน ในปี 2519 มีประชากรเพิ่มขึ้นมาเป็น 288 คน มี 40 หลังคาเรือนและปัจจัยที่ทำให้อัตราของประชากรเพิ่มขึ้นก็คือ การอพยพ เมื่อ 22 ปี ที่แล้ว หัวหน้าหมู่บ้านแม่ปูนกับบ้านโล๊ะป่าไคร้ เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แต่มีสาเหตุที่ทำให้พวกเขาแยกกันอยู่ก็เพราะ หัวหน้าของพวกเขาถูกหมอท้องถิ่นฉีดยาจนถึงแก่ความตาย ประกอบกับโชคของหมู่บ้านไม่ดี เกิดปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและทางสังคม จึงจำต้องละทิ้งที่อยู่แห่งนี้ แล้วต่างก็อพยพโยกย้ายกันออกไปจากหมู่บ้านแห่งนี้ คนที่อยู่บ้านแม่ปูนก็อพยพกันไปอยู่ที่แห่งใหม่ บ้านโล๊ะป่าไคร้ก็อพยพจากถิ่นเดิมไปอยู่ในอำเภอใกล้เคียง จากนั้นจึงย้ายกันมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันนี้ ในขณะเดียวกันก็มีผู้คนที่เคยอยู่อาศัยด้วยกันมาก่อนที่จะย้ายไปอยู่ตามที่ต่างๆ อย่างอำเภอเวียงป่าเป้า แม่สรวย จังหวัดเชียงราย จากอำเภอพร้าว ฝาง เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และจากประเทศพม่า ลาว ก็อพยพโยกย้ายกันมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันมากขึ้น เป็นผลให้จำนวนประชากรของทั้งสองหมู่บ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ (หน้า 46-47)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของมูเซอเป็นแบบยังชีพ อาชีพหลักคือการทำไร่ข้าว ปลูกฝิ่นและงาไว้ขายเป็นพืชเงินสด นอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ เก็บของป่าและล่าสัตว์ พืชที่ทำรายได้ให้กับพวกเขาก็คือ ฝิ่นและงา แต่ฝิ่นเป็นพืชที่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย ส่วนงาเป็นพืชที่ขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ส่วนใหญ่งาจะปลูกบริเวณพื้นที่ราบ อย่างบ้านโล๊ะป่าไคร้มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าบ้านแม่ปูน เพราะบ้านโล๊ะป่าไคร้เป็นที่เปิดป่าใหม่ การทำไร่แบบโค่นเผาก็อยู่ใกล้บ้าน ทำให้เจ้าของไร่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และสภาพภูมิอากาศก็อบอุ่นกว่า ทำให้เหมาะกับการประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนบ้านแม่ปูนมีอากาศที่หนาวเย็น การปลูกพืชจึงได้ผลผลิตที่น้อยกว่า ด้านการปลูกข้าวถึงแม้ว่าบ้านโล๊ะป่าไคร้จะปลูกข้าวได้มากกว่าบ้านแม่ปูน แต่บ้านแม่ปูนก็ปลูกข้าวได้เพียงพอกับการบริโภคตลอดทั้งปี แต่ไม่ได้มีเหลือไว้ขายเท่านั้น ราคาข้าวบ้านแม่ปูนจะซื้อขายกันในราคาถังละ 15 บาท บ้านโล๊ะป่าไคร้ขายกันในราคาถังละ 20 บาท แต่บ้านแม่ปูนจะได้เปรียบตรงที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ การได้เปรียบอันหลังนี้ ทำให้มูลค่ารวมของทรัพย์สินในด้านการเกษตรสูงกว่ามูเซอพื้นราบอย่างบ้านโล๊ะป่าไคร้เกือบเท่าตัว (หน้า 24,31,51)

Social Organization

ในครอบครัวมี พ่อ แม่ ลูก และญาติพี่น้อง ตามประเพณีนิยมของมูเซอ ในครอบครัวหนึ่งจะต้องมีสมาชิกเกินกว่า 2 ชั่วอายุคน ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวใหญ่ หรือครอบครัวขยาย ผู้สูงอายุมีหน้าที่ดูแลเด็ก ๆ และทรัพย์สินของครอบครัว รวมทั้งรับผิดชอบในการแบ่งเบาภาระหน้าที่สำคัญ และการตัดสินใจ ในการแก้ปัญหายุ่งยากที่มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวด้วย รวมทั้งการจัดทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อปัดเป่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ให้ออกไปจากบ้านของตนเอง ส่วนสามี ภรรยา ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหากแต่งงานแล้ว ก็จะมาอยู่ที่บ้านพ่อ แม่ของฝ่ายหญิง ทั้งคู่จะได้รับความสะดวกสบายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดูลูก คู่สมรสมีอิสระโดยไม่ต้องรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียว เพราะลูกของตนจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากสมาชิกในครัวเรือนเป็นอย่างดี มูเซอเคร่งครัดในผัวเดียวเมียเดียว ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ นับญาติทั้งฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ ผู้ชายมูเซอจะถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกับญาติใกล้ชิด รวมทั้งน้องสาวของพี่เขย หรือน้องสาวของพี่สะใภ้ ถ้าฝ่าฝืนจะถูกวิพากย์วิจารณ์ ว่าเป็นการแต่งงานที่ทำให้ชีวิตได้รับอันตราย หรือมีภัยพิบัติ ทั้งแก่ตนเองและญาติพี่น้อง หลังแต่งงาน สามีจะต้องอยู่กับภรรยาที่บ้านพ่อ แม่ของฝ่ายหญิง เพื่อรับใช้แรงงานเป็นเวลา 2 ปี พอปีที่ 3 ทั้งคู่ต้องย้ายไปอาศัยและทำงานในครัวเรือนของ พ่อ แม่ฝ่ายสามี เป็นเวลาอีก 1 ปี ปีที่ 4 ที่ 5 ต้องกลับมาใช้แรงงานให้กับพ่อ แม่ ฝ่ายภรรยา ต่อจากนั้นทั้งคู่ก็จะกลับไปอยู่กับพ่อ แม่ ฝ่ายสามีอีก 1 ปี แล้วพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายก็จะอนุญาตให้ลูกของตนออกไปตั้งบ้านเรือนของตนเองได้ โดยให้ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านพ่อ แม่ของตน การใช้แรงงานหลังแต่งงานของหนุ่มสาว จะใช้เวลาอยู่ 8 - 9 ปี การบริการหลังแต่งงาน ถ้าหากบ้านของพ่อ แม่ อยู่ใกล้เคียงกัน ก็ไม่จำเป็นต้องอพยพเดินทางไปไกลนัก แต่ในกรณีที่บ้านของพ่อ แม่ ทั้งสองฝ่ายอยู่ไกลกันมาก คู่หนุ่มสาวจะต้องเดินทางไกล เพื่อไปรับใช้ตามกำหนดเวลา บางครั้งก็ถูกบังคับให้เดินทางข้ามแดนของประเทศ ระหว่างไทยกับพม่า ถ้ามีลูกยังเล็กอยู่ ก็ต้องเอาลูกติดตามไปด้วย กฎข้อบังคับข้อนี้ มูเซอจำต้องได้เรียนรู้ และยอมรับการอพยพเคลื่อนย้ายตั้งแต่อายุยังน้อย กฎเกณฑ์ข้อนี้ พ่อ แม่ ฝ่ายหญิง มีอำนาจชี้ขาดมากกว่าฝ่ายชาย มูเซอนิยมมีลูกสาวมากกว่าลูกชาย เพราะพ่อ แม่ ฝ่ายหญิงจะได้เปรียบในด้านการใช้แรงงาน จากคู่แต่งงานถึง 6 ปี แต่พ่อ แม่ ฝ่ายชาย ได้รับตอบแทนเพียง 2 - 3 ปี เท่านั้น อีกประการหนึ่ง ลูกสาวของตนจะต้องมาปลูกบ้านอยู่ใกล้ ๆ กับ ครัวเรือนของตนด้วย ดังนั้น พ่อ แม่ที่มีลูกสาวก็จะห้อมล้อมไปด้วยครอบครัวของลูก ๆ ตน และสามารถช่วยเหลืองานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สวัสดิการ ตลอดจนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยในด้านทรัพย์สินให้อีกด้วย (หน้า 5 - 9)

Political Organization

ทั้งสองหมู่บ้านที่ศึกษา มีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน และมีผู้ช่วยที่ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้าน มาเป็นผู้ช่วยผู้นำในหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ ทั้งทางโลกและทางธรรม มีน้อยคนนักที่ลูกบ้านจะวิพากษ์วิจารณ์หรือโต้เถียงกับหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองแห่ง เป็นนักอนุรักษ์นิยม ดำรงวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด และมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของลูกบ้านตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อเกิดเขาจะจัดพิธีกรรม เพื่อให้ทารกมีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง และขับไล่ผีร้ายให้ห่างไกลจากตัวของแม่และเด็ก เมื่อตายเขาจะสวดอธิษฐานเพื่อชี้ทางให้ วิญญาณของผู้ตายเดินทางไปสู่โลกของผู้ตาย เมื่อหมู่บ้านเผชิญกับเคราะห์ร้าย หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบในการตีความหมายของเหตุการณ์ร้ายนั้น และจะเป็นผู้จัดให้คนในหมู่บ้าน ทำการบวงสรวงตามคำพยากรณ์ของตน (หน้า 9)

Belief System

มูเซอมีความเชื่อในการนับถือผี สิ่งเร้นลับที่เหนือธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่า โลกของผู้ตายอยู่ในอาณาจักรที่อยู่เหนือท้องฟ้า และ วิญญาณเหล่านั้นจะคอยเฝ้าดูพฤติกรรมของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา หากพวกเขากระทำความผิด อำนาจของวิญญาณมักจะลงโทษพวกเขา โดยการทำให้เป็นคนยากจน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือทำให้ชีวิตสั้นลง เมื่อมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิต ในเวลาใกล้เคียงกันหลายคน จะมีการทำพิธีขนาดใหญ่ที่จัดทำขึ้นมาในกรณีพิเศษเพื่อเป็นการเอาใจผี และชาวบ้านจะได้รอดพ้นจากความทุกข์ยาก มีโชคมีลาภกันทั่วหน้า ด้านศาสนา มีการนับถือศาสนาพุทธ ภายในหมู่บ้านของมูเซอจะมีวัดอยู่ภายในหมู่บ้านด้วย และมีพระเป็นผู้ประกอบภารกิจทางศาสนา มีบางส่วนในหมู่บ้านอื่นที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งพวกเขาลองนับถือดูว่า ศาสนาใหม่จะดลบันดาลให้พวกเขามีกินมีใช้ พิธีกรรมที่สำคัญของมูเซอ จะดำเนินขึ้นตามฤดูกาล และมีการปฏิบัติตามแบแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านต้องปฏิบัติตาม พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ - พิธีฉลองปีใหม่เพื่อขอบคุณเทวราชและผีต่างๆ ที่ดลบันดาลให้พืชที่ปลูกออกดอกออกผลเกิดความผาสุก พิธีนี้จะประกอบขึ้นเมื่อเริ่มปีการเกษตรในปีใหม่ ประมาณกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือน ทุกครัวเรือนจะต้องเซ่นไหว้ด้วยเนื้อหมู ข้าวปุก กล้วย น้ำตาลอ้อย น้ำหนึ่งถ้วย เทียนขี้ผึ้ง และยิงสลุด มีผู้นำทางศาสนาและหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ประกอบพิธี - พิธีไล่ผีร้ายก่อนโค่นต้นไม้ใหญ่เพื่อทำไร่ จะทำขึ้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือน ซึ่งพิธีต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางด้านเกษตรกรรมการทำไร่ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบวงสรวงเทวราชหงื่อซา ผีภูเขา และผีป่า ผีน้ำ เพื่อเป็นการขอพรและอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้อนุญาตให้ล่าสัตว์ พร้อมกับอวยพรให้ชาวบ้านมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งพิธีกรรมต่างๆนี้ พวกเขายังคงยึดถือและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดกันสืบมา (หน้า 10-12)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มูเซอมีความสัมพันธ์กับชาวพื้นราบ ได้เป็นอย่างดี เห็นได้จากการที่พวกเขาค้าขายกับคนพื้นราบมีความสัมพันธ์กับตลาดพื้นราบมากขึ้น (หน้า 21)

Social Cultural and Identity Change

หมู่บ้านโล๊ะป่าไคร้เป็นหมู่บ้านที่ติดกับหมู่บ้านของชาวพื้นราบ และพวกเขาก็ทำมาค้าขายกับคนพื้นราบมาตลอด ทำให้รับวัฒนธรรมของชาวพื้นราบได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายแบบชาวพื้นราบ การหารองเท้าสมัยใหม่มาสวมใส่ รวมทั้งเสื้อเชิ๊ต กางเกงและเสื้อแจ๊คเก็ตมาสวมใส่ ด้วยสถานการณ์บังคับ จึงเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเร็วกว่ากลุ่มอื่น ส่วนมูเซอบ้านแม่ปูน ยังคงรักษาเอกลักษณ์การแต่งกายเป็นแบบเดิมอยู่ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะสภาพที่อยู่อาศัย อยู่บนภูเขาสูง ทำให้ไม่ค่อยได้รับวัฒนธรรมจากชาวพื้นราบไปมากนัก (หน้า 16)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การถือครองที่ดินของมูเซอ ก็เหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ เช่น ม้ง ซึ่งเกี่ยวพันอยู่กับการทำไร่แบบโค่นเผา มูเซอมีความคิดเป็นของตนเอง ในเรื่องของการถือครองที่ดิน พวกเขาจะไม่ทำเครื่องหมายยึดครองพื้นที่ทำไร่ ซ้อนกับไร่ของคนอื่นที่ได้จับจองไว้ก่อนแล้ว หากชาวบ้านคนใดคนหนึ่งทำเครื่องหมายไว้บริเวณที่ทำไร่นั้นแล้วถือว่าเขามีสิทธิ์ในพื้นที่ทำกินผืนนั้น และทุกคนต้องยอมรับด้วย เจ้าของไร่ที่ทำการจอง ต้องทำประโยชน์จากไร่ผืนนั้นไม่เช่นนั้นถือว่าสละสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้น ยกเว้นไร่ฝิ่นที่เจ้าของเดิมสามารถยึดครองตลอดไปได้ จารีตประเพณีในการถือครองที่ดินได้รับการปฏิบัติกันอย่างเข้มงวดมาก หากมีพื้นที่ป่า ที่ว่างเปล่าเหลืออยู่มาก และเหมาะแก่การทำไร่แบบโค่นเผา พวกเขาก็จะเข้าไปครอบครองและใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี แต่พวกเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาการแย่งที่ดิน ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมา พวกเขาเชื่อว่าไม่มีใครเป็นผู้ชนะ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือทั้งคู่ต้องพบกับความอับโชค และประสบกับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ที่ดินปลูกข้าวนาดำจะมีความแตกต่างกับที่ดินที่ใช้ทำไร่ตรงที่พื้นที่ทำนาดำสามารถครอบครองเป็นเจ้าของตลอดไปได้ มีสิทธิ์เหมือนกับชาวพื้นราบ ที่ถือเป็นทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้ แต่จะไม่ซื้อขายที่ดินที่เป็นไร่แบบโค่นเผา เพราะพวกเขาถือว่าที่ดินเหล่านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของหมู่บ้าน (หน้า 16 -18)

Map/Illustration

ตาราง สถิติประชากรบ้านผาแตก ปี 2530 (หน้า 66) จำนวนนักเรียน ใน โรงเรียนบ้านผาแตก ปี 2529 (หน้า 100) จำนวนนักเรียนตกซ้ำชั้นและออกกลางคันปี2528 (หน้า 111) แผนภูมิ จำนวนนักเรียน ปี 2517 - 2528 (หน้า 99) โครงสร้างสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ภาคเหนือ (หน้า 116) แผนภาพ องค์ประกอบการวิเคราะห์โรงเรียน (หน้า 10) เส้นทางการอพยพของกะเหรี่ยงเข้าไทย (หน้า 27) แผนที่บ้านผาแตก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (หน้า 63) เส้นทางคมนาคมบ้านผาแตก (หน้า 65) รูปภาพ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปชาวกะเหรี่ยง (หน้า 24 - 25) 9 ตัว อักษรกะเหรี่ยงสะกอ (หน้า 38) ภาพหมู่บ้านผาแตก (หน้า67,127) ภาพที่อยู่อาศัยกะเหรี่ยงสะกอ (หน้า 68) ภาพแสดงชีวิตความเป็นอยู่กะเหรี่ยงสะกอ (หน้า 69) โรงเรียนบ้านผาแตก (หน้า 96, 98) ภาพห้องเรียน (หน้า 97) การเรียนวิชางานพื้นฐานอาชีพงานเกษตร,งานบ้าน (หน้า 104 - 105) ภาพวาดของนักเรียนประกอบเรียงความ (หน้า 108 -109 ) ภาพครอบครัวกะเหรี่ยง (หน้า 110) กิจกรรมโครงการอาหารกลางวันของซี.ซี.เอฟ และในศูนย์เด็กเล็ก (หน้า 120) ภาพศูนย์เด็กเล็ก (หน้า 122)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 30 มี.ค 2561
TAG ลาหู่, สังคม, สิ่งแวดล้อม, วิถีชีวิต, โครงสร้างประชากร, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง