สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายูมาเลย์มุสลิม,ผู้หญิง,การธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์,ภาคใต้,ปัตตานี
Author ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ
Title The Role of Women in Maintaining Ethnic Identity and Boundaries: A Case of Thai-Muslims (Malay Speaking Group) in Southern Thailand
Document Type Ph.D. Dissertation Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 285 Year 2523
Source Submitted to the Graduate Division of the University of Hawaii in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy in Anthropology (หน้า i )
Abstract

งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา และนโยบายของรัฐ ที่มีต่อพัฒนาการและการดำรงชาติพันธุ์ ของกลุ่มคนที่ถูกรัฐเรียกว่า "ไทย-มุสลิม" ทำให้กลุ่มคนดังกล่าว (แม้ว่าจะมีความหลากหลายภายในบ้าง) ได้พัฒนาจิตสำนึก และพฤติกรรมที่เรียกว่า "พรมแดนชาติพันธุ์" ซึ่งแสดงออกโดยการหลีกเลี่ยง และลดโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย-พุทธ แต่สำหรับ "ไทย-มุสลิม" แล้วพรมแดนชาติพันธุ์นี้ก็จะยืดหยุ่นและข้ามไปมาได้ ไม่แน่นหนาเหมือนในทัศนะของ "ออแรกายู" โดยทั่วไป ในกระบวนการธำรงชาติพันธุ์ดังกล่าว ผู้หญิงก็มีบทบาทอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในสถาบันสังคมที่ไม่เป็นทางการ ในฐานะแม่ได้ช่วยเลี้ยงดูและพัฒนาอัตลักษณ์ "ออแรกายู" ให้ลูก และไม่แต่งงานกับคนนอก (หน้า v-vi)

Focus

ผู้เขียนให้ความสนใจศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ครอบครัว ชุมชน ศาสนาและการศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อการธำรงความเป็นชาติพันธุ์ของไทยมุสลิม ที่เรียกตนเองว่า "ออแรนายู" ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และได้พิจารณาความแตกต่างทางเพศในการธำรงชาติพันธุ์ดังกล่าว (หน้า v-vi)

Theoretical Issues

ผู้เขียนเสนอว่า แนวคิดการธำรงชาติพันธุ์ (ethnicity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ Fredrik Barth (1969) ซึ่งเน้นการวิเคราะห์บทบาทของผู้ชายในการธำรงชาติพันธุ์เป็นแนวคิดที่มีจุดอ่อน เพราะในวัฒนธรรมและสังคมต่าง ๆ มารดาน่าจะมีส่วนในการเลี้ยงดู อบรมบ่มนิสัยที่ทำให้บุคคลพัฒนาการเป็นตัวตน และมีจิตสำนึกว่าตนเองนั้นเป็นใคร เป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ใด ผู้เขียนได้เลือกศึกษา "ไทย-มุสลิม" ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มักจะแสดงความแข็งแกร่งทางชาติพันธุ์เป็นกรณีศึกษา อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังใช้แนวคิด "อัตลักษณ์" และ "พรมแดนชาติพันธุ์" ของ Barth เป็นหลักในการศึกษา แต่ได้ผสมผสานกับแนวคิดของ Cohen (1974) ซึ่งให้ความสนใจกับ "ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์" (ethnic group) และช่วยให้สามารถมองการธำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่าที่จะเป็นแค่ปัจเจกบุคคลแบบของ Barth (หน้า 1-9) ผู้เขียนได้อธิบายว่างานของผู้เขียนจะเน้นการอธิบายเรื่อง กระบวนการการธำรงชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ถูกเรียกว่า "ไทยมุสลิม" โดยรัฐไทย ว่าเป็นผลจากเงื่อนไขหลายประการ เช่น ประวัติศาสตร์รัฐปะตานี และการถูกผนวกเข้ากับรัฐไทย ศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมลายู โดยเฉพาะภาษาและศาสนา เป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงความแตกต่างทางชาติพันธุ์กับคนไทย-พุทธ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ระดับความรู้สึกแตกต่างทางชาติพันธุ์ของบุคคลแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ระดับการศึกษาที่มาทางไทย และประสบการณ์สัมพันธ์กับคนไทย และสัญลักษณ์ดังกล่าวดำรงอยู่ได้ด้วยกลไกทางสังคม เช่น ครอบครัว เครือญาติ ชุมชนและองค์กรทางศาสนา โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งผู้หญิงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ในการปลูกฝังความเป็น "นายู" (หน้า 248-269)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเน้นการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า "ไทย-มุสลิม" โดยรัฐบาลไทย และเรียกตัวเองว่า "ออแรนายู" ในภาษามลายูท้องถิ่น (สำเนียงปัตตานี-กลันตัน) และมีกล่าวพาดพิงถึงคนไทย-พุทธบ้าง ในเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อไทย-มุสลิม (หน้า 195)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนอธิบายเพียงว่า ใช้ภาษามลายูถิ่นสำเนียงปัตตานีใกล้เคียงกับภาษามลายูที่ใช้ใน กลันตัน ซึ่งไทยมุสลิม เรียกภาษาของตนว่า "บาซอนายู" หรือ ภาษามลายู (หน้า X) จากหลักฐานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ประชากร "ไทย-มุสลิม" ในจังหวัดปัตตานีที่อายุเกิน 5 ขวบ พูดภาษาไทยได้ประมาณ 37 % (หน้า 30) แต่ข้อมูลจากชุมชนที่ศึกษาซึ่งได้รับอิทธิพลจากการศึกษาทางไทยสูง (หน้า 40) ปรากฎว่าสัดส่วนคนที่อยู่เกิน 10 ปีขึ้นไปพูดไทยจะอยู่ในระดับสูง ในกลุ่มอายุที่น้อยและอยู่ในระดับต่ำในกลุ่มอายุมากเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 50 % ชุมชนอื่นคงพูดไทยได้น้อยกว่านี้

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนใช้เวลาเก็บข้อมูลภาคสนาม ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ.1978 (2521) - กันยายน ค.ศ.1979 (2522) ด้วยวิธีการการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การใช้แบบสัมภาษณ์ การใช้แบบสังเกต เครื่องมือทดสอบ " Semantics Differentials" และการทำแผนที่ชาติพันธุ์

History of the Group and Community

โดยอาศัยหลักฐานต่างๆ จากการศึกษาของ Wheatley เชื่อกันว่ามีชุมชนมลายู นับถือพุทธศาสนาผสมผสานกับฮินดูได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เป็นปัตตานี ยะลาและนราธิวาสในปัจจุบัน อย่างน้อยตั้งแต่คริสตศวรรษที่ 7 ภายในชื่อลังกาสุกะ ซึ่งก็มีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุน ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม แต่มีตำนานต่างๆ เช่น Hikaya Patani ที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงมานับถือศาสนาอิสลามของรายาหรือผู้ครองนครและประชากรในบริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตามมีหลักฐานของ Marco Polo บ่งบอกชัดเจนว่าในปี ค.ศ.1292 ชาวเมือง Perlak และ Pasai ซึ่งอยู่ในสุมาตรา ได้นับถือศาสนาอิสลามแล้ว ก็คงขยายเข้ามาในรัฐปะตานี ซึ่งก่อตัวขึ้นพร้อมกับการนับถือศาสนาอิสลาม (หน้า 52-53) ในประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ 14 และเป็นยุคเริ่มต้น ความสัมพันธ์กับรัฐไทยต่างๆ เช่น สุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ในรูปแบบที่เรียกว่า "ประเทศราช" โดยมีการแยกตัวเป็นอิสระเป็นระยะๆ ทำให้มีการปราบปรามอยู่บ่อยครั้ง รัฐไทยได้เข้าไปแทรกแซงการปกครองภายในรัฐปะตานี ในช่วงเวลาต่างๆ ในลักษณะที่แตกต่างกันและในที่สุดก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย หลังจาก พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา (หน้า 56-60) ประวัติศาสตร์ของรัฐปะตะนี และความสัมพันธ์ที่มีต่อรัฐไทยจึงมีความหมายต่ออัตลักษณ์ไทยมุสลิม ในปัจจุบัน (หน้า 61-62)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากการประมาณการในปี พ.ศ. 2521 ของอุทัย หิรัญโต มีประชากรมุสลิมชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย 1,606,500 คน (เช่น อาหรับ เปอร์เซียน อินเดียน ปาทาน ปากีสตานี) โดยที่ 75% ของจำนวนนี้มีเชื้อสายและวัฒนธรรมมลายู- อิสลามอยู่ ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี (245,040 คน) ยะลา (128,560 คน) นราธิวาส (228,278 คน) และสตูล (58,797 คน) (หน้า 30) ผู้เขียนไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประชากรในชุมชนในตลาด และในเทศบาล แต่ได้รายงานว่ามีประชากร 1,328 คน (236 ครัวเรือน) ในหมู่บ้าน "Pavillion" เป็นคนไทย-พุทธ 21 คน มี 357 คน อายุต่ำกว่า 10 ขวบ และมีอยู่ 35 คน ที่อายุเกิน 65 ปีที่เหลือมีอายุอยู่ในระหว่าง 11-65 ปี (หน้า 40 มีตารางจำแนกรายละเอียดตามช่วงอายุต่างๆ)

Economy

ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าลักษณะการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทย-มุสลิมและไทย-พุทธในจังหวัดปัตตานี ซึ่งอาจจะทำให้มีความแตกต่างในระหว่างชุมชนต่างๆ อย่างเช่นใน "ชุมชนเมือง" ระบบเศรษฐกิจของชุมชนอิงอยู่กับการประมงเป็นหลัก ในขณะที่ในชุมชน Pavillion ชาวบ้านพึ่งพิงกับการเกษตร อย่างไรก็ตาม การค้าขายก็เป็นอาชีพที่มีอยู่ร่วมกันในชุมชนทั้งสอง ทำให้คนที่ทำการค้ามีโอกาสได้ติดต่อปฏิสัมพันธ์กับคนไทย-พุทธและคนจีนที่อยู่นอกชุมชนมากกว่าคนอาชีพอื่น (หน้า 74) ในแง่มุมของการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ ชุมชนทั้ง 3 แห่งไม่อาจจะเรียกได้ว่ามีความพอเพียงในตัวเอง เพราะแหล่งทรัพยากรสำคัญๆ หลายอย่างอยู่นอกชุมชน โดยเฉพาะคนที่ทำการค้าและคนที่รับจ้างแรงงาน ต้องพึ่งพิงเมืองและระบบตลาดนัด ครอบครัวหนึ่งๆ หรือคนหนึ่งๆ อาจจะมีหลายอาชีพ เช่น ทำนา ทำการค้า และทำสวน เป็นการปรับตัวกับสภาวะของทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไป (หน้า 76) ในหมู่บ้าน Pavillion หากแยกอาชีพตามรายบุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงแล้ว พบว่ามีอาชีพทำนา 96 คน ทำสวน 58 คน กรีดยาง 6 คน ค้าขาย 190 คน (หญิง 123 คน ชาย 67 คน) รับราชการ 66 คน ขับรถรับจ้าง 55 คน (ชายล้วน) และอื่นๆ (เย็บผ้า และตัดผม)มี 59 คน ที่เหลือเป็นเด็กนักเรียน (615 คน) คนแก่ (23 คน) แม่บ้าน (81 คน) คนบ้า (5 คน) ไม่มีข้อมูล (74 คน)

Social Organization

ผู้เขียนอธิบายว่า ครอบครัว เครือญาติและกลุ่มละแวกบ้านมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบูรณาการชุมชนไทย-มุสลิม ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ เพราะการจัดระเบียบสังคมดังกล่าวมิได้สะท้อนเฉพาะเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เท่านั้น ยังแสดงให้เห็นธรรมชาติของพรมแดนชาติพันธุ์ด้วย (หน้า 102) ในความคิดของชาว Pavillion "บ้าน" หรือ "อูเมาะห์" ในภาษามลายูมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อาเนาะจูจู" หรือ "ลูกหลาน" ซึ่งเทียบได้กับคำว่า "ครอบครัว" (หน้า 103) มีลักษณะหลากหลาย ในชุมชนมี รวมทั้งหมด 236 ครัวเรือน เป็นแบบครอบครัวเดี่ยว 206 ครัวเรือน เป็นครอบครัวขยาย 30 ครัวเรือน ในแต่ละแบบยิ่งมีลักษณะหลากหลาย เช่น ในแบบครอบครัวเดี่ยวก็มีทั้งที่เป็นแบบพ่อแม่ลูกล้วนๆ ซึ่งเป็นลักษณะส่วนใหญ่ (128 ครัวเรือน) และแบบอื่นๆ ส่วนแบบขยายก็มีทั้งขยายทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย (patrilocal/matrilocal) แต่ส่วนใหญ่เป็นทางฝ่ายหญิง โดยปกติ ชาว Pavillion (โดยเฉพาะผู้หญิง) เมื่อแต่งงานแล้วอยากจะมีครัวเรือนแบบครอบครัวเดี่ยว แต่ใน 2-3 ปีแรกอาจจะยังอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (หน้า 105-107) และมักจะอยู่ข้างครอบครัวฝ่ายหญิงเป็นส่วนใหญ่ ในครอบครัวส่วนใหญ่ภรรยามีอำนาจในการตัดสินใจร่วมกับสามีเป็นส่วนใหญ่ และในหลายกรณีก็อาจมีอำนาจเหนือสามี หน้าที่สำคัญของภรรยาก็คือมีหน้าที่เก็บเงินและบริหารการเงินในครอบครัว และบิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรให้เป็น "ออแรกายู" ที่ดี

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ผู้เขียนให้ความสนใจกับการศึกษาไทยผ่านโรงเรียนชุมชนและมัธยมศึกษาที่อาจจะเป็นสื่อผสมผสานมุสลิมเข้ามาในระบบสังคมและวัฒนธรรมไทย และพบว่าการศึกษาภาคบังคับ ป.1-ป.4 ไม่เพียงพอที่จะทำให้มุสลิมสามารถอ่านพูดและเขียนภาษาไทย จนใช้ประโยชน์ในการสื่อสารได้ และในอดีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มุสลิมจำนวนมากต่อต้านระบบการศึกษาของไทยด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่เหตุผลหนึ่งที่สำคัญก็คือระบบการศึกษาของไทยละเลยประวัติศาสตร์ของปัตตานี ไม่ส่งเสริมการเรียนภาษามาลายูและวัฒนธรรมมลายู-อิสลาม (หน้า 86) ทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นและรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองไทยให้กับมุสลิมในท้องถิ่น แต่ขาดกับความพยายามที่จะให้มุสลิมมีอิสรภาพทางศาสนาและรักษาวัฒนธรรมไว้ (หน้า 89) อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผู้เขียนเข้าไปศึกษาในชุมชนทั้ง 3 มุสลิมมีแนวโน้มที่ให้ความสนใจกับการศึกษาทางไทยมากขึ้น ในโรงเรียนชุมชนของบ้าน Pavillion มีครู 26 คน ซึ่งเป็นมุสลิมประมาณ 1/3 (หน้า 86) ครูส่วนใหญ่เป็นคนไทย-พุทธ ที่พูดภาษามลายูไม่ได้ ไม่ใคร่สนใจที่จะติดต่อกับชาวบ้าน และพร้อมที่จะย้ายไปอยู่โรงเรียนที่อื่นที่มีนักเรียนเป็นพุทธเหมือนกับครู (หน้า 87) แต่ก็มีความมุ่งมั่นที่จะรู้ประเพณีไทย สูตรสำคัญในการสอนก็คือ "เราอยู่ในประเทศไทย เราต้องเรียนและพูดภาษาไทย และรักประเทศไทย" (หน้า 90) ผู้เขียนได้อ้างงานของ ประพันธ์ คูหามุกด์ (1996) ให้เห็นว่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีประชากรมุสลิมเกิน 75 % แต่มีเพียง 30 % ของนักเรียน ในระดับประถมศึกษาปีที่ 7 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นมุสลิม สถานการณ์ในบ้าน Pavillion สะท้อนภาพดังกล่าวแต่ไม่ทั้งหมดเพราะมีผู้ที่เรียนเกิน ป.4 มากถึง 42.1 % และมีตัวเลขบ่งชี้ให้เห็นว่า กลุ่มที่มีอายุน้อยมีสัดส่วนค่อนข้างสูงในการเรียนต่อเกิน ป.4 (หน้า 94)

Health and Medicine

มี "คนบ้า" ในทัศนะของชาวบ้านอยู่ในชุมชน 2 คน แต่ไม่ได้กล่าวถึงสถานภาพทางสุขภาพและการรักษาพยาบาลของชุมชนในงานวิจัย

Art and Crafts (including Clothing Costume)

บ้านของมุสลิมมีหลากหลายทั้งแบบอยู่ติดดินอย่างห้องแถวและตั้งอยู่บนเสาแบบโบราณ (หน้า100) งานไม่ได้ระบุเรื่องการตกแต่งบ้าน ส่วนเสื้อผ้าจะบ่งบอกความเป็นมลายู-มุสลิม และมีการตกแต่งที่หลากหลาย ซึ่งบ่งบอกถึง?..ด้วย ผู้หญิงมุสลิมที่มีการศึกษาน้อยหรือค่อนข้างอายุมากจะนุ่งโสร่งลายดอกไม้ ส่วนที่มีการศึกษานุ่งกระโปรงยาวแบบทันสมัย ผู้ชายแต่งหลากหลายน้อยกว่า คือ อาจจะนุ่งโสร่งตาหมากรุกหรือนุ่งกางเกงตามสถานการณ์และ ?.แต่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน อย่างในกรณีของผู้หญิง (หน้า 102) และไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้าเหล่านี้ว่าเป็นงานฝีมือหรือซื้อจากท้องตลาด

Folklore

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนิทานพื้นบ้านที่เล่าถึงในชุมชนแต่มีเรื่อง 2 เรื่องที่อาจนับได้ว่าเป็นตำนาน Hikayat Patani เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับปัตตานีที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่อาจไม่ได้มีการเล่าในชุมชนที่ศึกษา เรื่องนี้เกี่ยวกับการสถาปนารัฐปะตานี การที่เจ้าเมืองเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เป็นความสัมพันธ์กับรัฐไทย ซึ่งผู้เขียนมองว่าอาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างรัฐปะตานีกับรัฐไทย (หน้า 52-56) อีกเรื่องเป็นตำนานที่เกี่ยวกับพวกนอกศาสนา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนที่พระเจ้าสร้างอดัมและอีวา ให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เคารพอดัม แต่มีบางพวกไม่เชื่อ จึงกลายมาเป็นพวกนอกศาสนาอย่างเช่น คนไทย-พุทธ ซึ่งจะต้องตกนรก ในวันสิ้นโลกพร้อมๆ กับมุสลิมที่ไม่ดี (หน้า 140-141)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การเรียนรู้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของมุสลิมเริ่มตั้งแต่เมื่อแรกเกิดที่บิดาหรือผู้รู้ทางศาสนาสถาปนาความเป็นมุสลิมให้ด้วยการ "แบร์" ที่หูทารก พอเจ็ดวันให้หลังอัตลักษณ์ของเด็กก็ได้การรับรองโดยญาติมิตรในชุมชน ด้วยวิธีโกนหัว-ตั้งชื่อ (จูโกปเลอ) และได้เรียนรู้อัตลักษณ์ทางเพศ ในระหว่างการเติบโตด้านกลไกทางองค์กรทางสังคม เช่น ครอบครัว ญาติ และสมาชิกในชุมชน และปฏิบัติการทางวัฒนธรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ ทำให้ "ความเป็นนายู" (รวมความหมายทั้งเป็นมลายูและเป็นมุสลิม) ถูกกำหนดโดยเพศสภาพอีกด้วย อย่างเช่น ในวันขอบคุณพระเจ้า หากเป็นเด็กชาย เลี้ยงแพะ 2 ตัว ส่วนเด็กหญิงเลี้ยงเพียงตัวเดียว และเมื่อไปโรงเรียนก็ต้อง เรียนรู้ที่จะเป็น "ไทย" ทำให้อัตลักษณ์เริ่มซับซ้อนขึ้น (หน้า 170-171) สำหรับผู้ชายความเป็น "ออแรกายู" อย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นในทัศนะของชุมชน ผ่าน "พิธีมาโซะยาวี" หรือ การทำพิธีสุหนัดที่แสดงว่าพ้นวัยเด็กที่ผู้ชายในสมัยก่อนจะจดจำเป็นอย่างดี ด้วยลักษณะของพิธีกรรม สมัยนี้เริ่มไปทำกับแพทย์แผนปัจจุบัน (ที่มักเป็นมุสลิม) ซึ่งไม่ต้องทำพิธีมาก (หน้า 173) ทั้งหญิงและชายก็เรียนรู้อัตลักษณ์ทางเพศซึ่ง ซึ่งมีสถานะแสดงการปฏิบัติการที่แตกต่างกันไป พร้อม ๆ กับการเรียนรู้การเป็น "ออแรกายู" ที่แตกต่างจาก "ออแรซีแย" (คนไทย-พุทธ) เมื่ออายุเกิน 7 ขวบขึ้นไป เด็กหญิงและเด็กชายก็ไม่อายจะเล่นด้วยกันได้ และมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป เด็กผู้หญิงก็จะอยู่ในขอบเขตของบ้าน ครอบครัวและญาติ ส่วนเด็กผู้ชายก็ออกไปข้างนอกได้มากกว่า และมีความรับผิดชอบต่องานบ้านน้อยกว่า (หน้า 176) ค้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงไม่เท่าเทียมชายใน?..ที่เป็นสาธารณะ เช่น สถานที่ทางศาสนา เช่น มัสยิดหรือชุมชนก็คือ "ประจำเดือน" (มาฎีจือมา หรือ สิ่งสกปรก) ซึ่งทำให้ผู้หญิงเป็นคนไม่สะอาดสมบูรณ์โดยเฉพาะในการที่มีสิ่งสกปรกนี้ ก็ไม่อาจจะละหมาดหรือไปมัสยิดได้ แต่บ้านและความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้ผู้หญิงมีสถานภาพที่สมดุลย์ในครอบครัว (หน้า 177) ผู้ชาย "ออแรกายู" ที่มีการศึกษาทางไทยค่อนข้างสูง เกินประถมศึกษาขึ้นไปจะมีความซับซ้อนในเรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ซึ่งทำให้มีภาวะ "ทวิลักษณ์ชาติพันธุ์" คือเป็น "ไทย-มุสลิม" ในบางสถานการณ์การศึกษา ด้วยอิทธิพลของการศึกษาทางไทย และพวกเขาไม่นิยมยินดีกับที่จะถูกเรียกว่า "แขก" เช่น คนไทย-พุทธ ในโรงเรียนหรือในเมือง (หน้า 198) การเรียนรู้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของ "ออแรกายู" ในส่วนหนึ่งจะเกี่ยวพันกับท่าทีและพฤติกรรมของคนไทย-พุทธด้วย (หน้า 199) โดยทั่วไปผู้หญิงจะแสดงความเป็น "ออแรกายู" ผ่านสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น เสื้อผ้าและภาษามากกว่าผู้ชาย แต่ที่ผู้หญิงและผู้ชายมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย-พุทธ ในสถานการณ์ต่างๆ ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ได้แนวคิดที่ว่า "ต่างคนต่างอยู่" ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (หน้า 203-246)

Social Cultural and Identity Change

ในงานวิจัยนี้ผู้เขียนไม่ได้สนใจอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม หรือการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์โดยตรง แต่จากข้อมูลมีนัยยะว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาทางไทย จะเริ่มมีความแตกต่างไปจากกลุ่มของพ่อแม่ หรือพวกที่อยู่ในเมือง ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในชนบทในเรื่องเสื้อผ้า แต่ในแง่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์แล้วมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ยกเว้นพวกที่ได้รับการศึกษาทางไทยในระดับสูง จะแสดงออกเป็นไทยมุสลิมในบางสถานการณ์ และอาจจะเป็นได้ว่า แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมไทยมากขึ้น แต่อาจจะยังดำรงความแตกต่างทางชาติพันธุ์อยู่ โดยที่เน้น "ความเป็นมุสลิม หรือความเป็นอิสลาม" มากขึ้น ในการดำรงพรมแดนชาติพันธุ์ไว้

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มาเลย์มุสลิม, ผู้หญิง, การธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์, ภาคใต้, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง