สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,ไทยรามัญ,คติชาวบ้าน,ราชบุรี
Author สานิตย์ บุญชู
Title คติชาวบ้านประยุกต์ในงานพัฒนาชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีไทยรามัญ ตำบลคลองตาคตและตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 137 Year
Source สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินชีวิตของไทยรามัญ ตำบลดอนกระเบื้องและตำบลคลองตาคต ยังคงปฏิบัติตามแบบแผนประเพณีและความเชื่อที่มีมาแต่อดีตซึ่งโดยมากมีความสัมพันธ์กับผี การละเล่นโดยมากนิยมเล่นในวันสงกรานต์เพื่อให้ ความสนุกสนานรื่นเริง การละเล่นบางอย่างเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสเกี้ยวพาราสี เช่น การเล่นลูกช่วง การละเล่นบางอย่างยังมีความเชื่อเรื่องผีเป็นพื้นฐาน เช่น การเล่นผีควาย ผีกระด้ง ผีลิง ผีมด และผีกะลา เป็นต้น ส่วนนิทานพื้นบ้าน เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมาโดยมากจะแฝงด้วยความเชื่อข้อคิดและหลักธรรมคำสอน จากการศึกษาคติชาวบ้านทำให้ทราบถึงลักษณะทางครอบครัวซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ แบ่งตามสมาชิก แบ่งตามลักษณะการอยู่อาศัยของคู่สมรส แบ่งตามลักษณะความเป็นใหญ่ในครอบครัวและแบ่งตามความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ลักษณะเศรษฐกิจเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่และวิถีในการดำเนินชีวิต โดยมีเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ในด้านการศึกษา มอญตำบลดอนกระเบื้องและตำบลคลองตาคยึดมั่นและศรัทธาในพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผี มีการถ่ายทอดความรู้โดยอาศัยสถาบันครอบครัวเป็นสื่อกลาง เช่น ความรู้ในการประกอบอาชีพหรือการปฏิบัติตนในสังคม โดยมีพระเป็นผู้อบรมเทศนาให้ประพฤติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา

Focus

ศึกษาความสัมพันธ์ของประเพณี การละเล่นและนิทานพื้นบ้านว่าเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับโครงสร้างการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมและการตัดสินใจของคนไทยรามัญตำบลคลองตาคตและตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยรามัญ (มอญ)

Language and Linguistic Affiliations

วัดคงคาราม เป็นวัดที่สวดมนต์หรือเทศน์เป็นภาษารามัญ (หน้า 14) คนสูงอายุอ่านและเขียนภาษารามัญได้และยังนิยมพูดภาษารามัญ (หน้า 15)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

มอญกลุ่มตำบลคลองตาคตและดอนกระเบื้องมาจากเมาะตะมะ เมาะลำเริง เมื่อเมืองมอญคือหงสาวดี ถูกพม่าทำลายก็เกิดระส่ำระส่าย พวกมอญจึงอพยพหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อมอญเข้ามาจึงเข้ามาจึง หาพระยามหาโยธา (พระยาเจ่ง) ซึ่งนำเข้ากราบบังคมทูลในรัชกาลที่ 1 และต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 3 มีพระบรมราชโองการให้เลือกที่อยู่เอาเองตามใจชอบ เดิมทีคลองตาคตนี้เรียกว่า บางลาวเพราะมีลาวเวียงจันทน์ได้อาศัยอยู่ก่อน เมื่อนายทัพนายกองของรามัญเลือกที่แถวแม่น้ำแม่กลองเป็นที่อยู่อาศัยทำให้ชาวลาวอพยพไปอยู่ที่อื่น (หน้า 8-11)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของไทยรามัญอาศัยความเชื่อพื้นฐานบางอย่าง เช่น ไม่ตั้งถิ่นฐานบนทิวยอดไม้ที่เป็นรูปลิงเพราะเชื่อว่าจะต้องทำมาหากินเหนื่อยยากลำบาก แต่ถ้าเป็นรูปดอกไม้ ต้นไม้จะทำมาหากินคล่อง ถ้าเป็นรูปปราสาทจะอยู่เย็นเป็นสุขดี รูปยักษ์จะไม่ดีเดือดร้อนเจ็บไข้ได้ป่วยง่าย (หน้า 11) ลักษณะการตั้งถิ่นฐานโดยทั่วไปของชุมชนมอญจำแนกได้เป็น 3 แบบ คือ การตั้งบ้านเรือนอยู่กระจัดกระจายรอบ ๆ (Seattered Village) การตั้งหมู่บ้านที่ชาวบ้านอยู่รวมกันเป็นกระจุก (Cluster Village) และหมู่บ้านที่เรียงรายตามริมถนนหรือริมแม่น้ำ อย่างเช่น ชาวตำบลดอนกระเบื้องและตำบลคลองตาคตซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำตลอดความยาวของลำน้ำแม่กลอง (หน้า 136) ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของไทยรามัญที่ดอนกระเบื้อง จะมีลักษณะกระจายตัวระหว่างถนน 2 ถนน และมีลำคลองไหลผ่าน (หน้า 12-13) ส่วนแบบแผนการตั้งถิ่นฐานที่คลองตาคต เป็นแนวยาวตามลำน้ำแม่กลองและอยู่สองข้างทางรถไฟ

Demography

อำเภอโพธารามมีพลเมืองทั้งสิ้น 96,041 คน ชาย 47,370 คน หญิง 48,671 คน (หน้า 9) ตำบลดอนกระเบื้อง มี 5 หมู่บ้าน 292 ครอบครัว มีประชากร 2,452 คน จำแนกเป็นชาย 1,219 คน เป็นหญิง 1,233 คน ตำบลคลองตาคต ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน มี1,235 ครอบครัวเศษ มีประชากร 9,280 คนจำแนกเป็นชาย 4,752 คน เป็นหญิง4,428 คน (หน้า 12-14)

Economy

อาชีพสำคัญของจังหวัดได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่พืชผักต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการทำหินโม่ ปูนขาว เครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า และมีทรายคุณภาพดีจากแม่น้ำแม่กลองซึ่งขนส่งไปจำหน่ายยังนครหลวงอีกด้วย (หน้า 8) - อาชีพสำคัญของชาวอำเภอโพธารามได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า (หน้า 10) - อาชีพของชาวดอนกระเบื้องโดยมากจะทำนา ทำสวน เลี้ยงโคนมและรับราชการ (หน้า 13)

Social Organization

ชาวตำบลดอนกระเบื้องและตำบลคลองตาคตมีความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผือแผ่กันดี เป็นกันเองมีไมตรีจิตต่อผู้มาเยี่ยม คนรามัญนับถือศาสนาพุทธนิยมฟังเทศน์เมื่อมีเวลาว่างชาวบ้านจะชุมนุมกันเป็นกลุ่มคุยกันที่วัด มีอยู่บ้างที่มีการสมรสระหว่างคนไทยรามัญกับคนไทยเชื้อสายอื่น บ้างก็อาศัยอยู่ในตำบลทั้งสอง บ้างก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น (หน้า 15) ครอบครัวมอญเป็นแบบครอบครัวขยาย (Extended Family) และครอบครัวเดี่ยวขึ้นอยู่กับความพอใจของคู่บ่าวสาวเองว่าจะเลือกอาศัยอยู่กับฝ่ายใดหรือจะแยกครอบครัวออกจากครอบครัวบิดา มารดา ทั้งนี้ ขึ้นกับความต้องการและความพร้อมของบ่าวสาว) ในครอบครัว ผู้ชายเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและมีบทบาทเป็นผู้แก้ในการผิดผี ถือการสืบเชื้อสายทางบิดา บุตรที่เกิดมาจะใช้นามสกุลของบิดา ถ้าครอบครัวใดไม่มีบุตรชายจะต้องโอนผีเรือนให้แก่ญาติผู้ชายที่ใกล้ชิด เพราะว่าชายมอญทุกคนยังรักษาและต้องสืบทอดผีมอญ ส่วนหญิงมอญเมื่อแต่งงานต้องออกจากผีพ่อแม่ พิธีแต่งงาน การเกี้ยวพาราสีไม่กล้าแสดงออกให้เห็นอย่างจริงจัง เมื่อฝ่ายชายรู้ว่าฝ่ายหญิงรักตนแน่นอนแล้วจะบอกให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอเมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้วฝ่ายชายต้องจัดของมาหมั้นฝ่ายหญิง พิธีแต่งงานนิยมแต่งงานในเดือนคู่ การปฏิบัติตัวของภรรยาต่อสามีมอญนั้นก่อนที่จะนอนต้องกราบเท้าสามีและจะต้องนอนหลังสามีเสมอ (หน้า 22-25) หากพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจของมอญโดยส่วนรวมของตำบลทั้งสองจากพื้นฐานของนิทานพื้นบ้าน เห็นได้ชัดเจนว่า อาชีพหลักคือเกษตรกรรมซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติ มอญไม่มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจกันอย่างมั่นคงมีเพียงกลุ่มชั่วคราวเท่านั้น เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น แต่โดยมากเป็นการใช้แรงงานในครัวเรือน การศึกษาในสังคมมอญเป็นการถ่ายทอดความรู้โดยอาศัยสถาบันครอบครัวเป็นสื่อกลาง นอกจากครอบครัวแล้ว วัดเป็นสถาบันหลักในการวางแผนทางการดำเนินชีวิตโดยมีพระเป็นผู้อบรม ประเพณีการเกิดการแต่งงานและการตายมีส่วนสัมพันธ์กับศาสนาทั้งสิ้น มอญมีความเชื่อในศาสนาพุทธเป็นหลัก เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์ การกลับชาติมาเกิด เรื่องในโลกหน้า และมีความผูกพันกับความเชื่อในเรื่องผี มอญทุกคนเชื่อว่าผู้ชายทุกคนจะต้องมีผีการทำผิดจากข้อห้ามถือว่าผิดผี มอญยังมีความเชื่ออีกว่าต้นไม้มีผีประจำต้นไม้ จากสภาพที่มอญมีความเป็นอยู่ขึ้นกับอิทธิพลของธรรมชาติในการผลิตผลทางการเกษตรทำให้มอญยอมรับสภาพความเป็นอยู่และอดทนจนเกิดความเคยชิน มองไม่เห็นเป็นปัญหาในการดำรงชีวิตที่จะต้องขวนขวาย จากนิทานยังสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะสังคมด้านอื่นๆ เช่นการเคารพผู้อาวุโส การเคารพบรรพบุรุษ การยึดมั่นในความสัตย์ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและบิดามารดา เป็นต้น

Political Organization

จังหวัดราชบุรีแบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ อำเภอโพธารามแบ่งการปกครองออกเป็น 18 ตำบล ตำบลดอนกระเบื้องมี 5 หมู่บ้านส่วนตำบลคลองตาคตประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน (หน้า 7, 9, 13-14)

Belief System

คนรามัญตำบลดอนกระเบื้องและตำบลคลองตาคตนับถือศาสนาพุทธ (หน้า15) แต่ก็ยังนิยมนับถือผี ประเพณีการเกิด คนรามัญเมื่อตั้งท้อง มีข้อห้ามและความเชื่อต่างๆ เช่น ห้ามนั่งหันหลังกินข้าวให้เตาไฟ ห้ามกินข้าวดังเพราะจะทำให้รกติดหลัง ห้ามนั่งคาบันไดเพราะจะทำให้คลอดคา ห้ามนอนขวางกระดานเพราะจะทำให้เด็กขวางตัวในท้องคลอดยาก ห้ามกินข้าวเที่ยงจะทำให้คลอดยาก หากใกล้คลอดแล้วหมอตำแยจะบอกให้ตั้งขวัญข้าวเพื่ออธิษฐานขอให้คลอดง่ายลูกตกรกตาม รกของเด็กจะใส่หม้อดินเอาเกลือโรยใส่เข็ม 1 เล่ม ผ้า 1 ชิ้นเพื่อให้เด็กฉลาด ปัญญาหลักแหลมเหมือนเข็มแล้วนำไปฝัง ถ้าฝังถูกทิศตามเวลา เชื่อว่าจะทำให้เจริญเติบโต ร่างกายแข็งแรง อายุยืน (หน้า 19-21) พิธีจัดศพ เมื่อคนตายตาเปิด ญาติต้องหักหัวแม่ตีนให้ตากระพริบปิดสนิท แล้วนำศพมาอาบน้ำแต่งตัว แล้วจึงนำศพใส่โลง ศพที่ตั้งในบ้าน ถ้าผู้ตายเคยนอนหันหัวไปทิศใดก็ตั้งศพตามทิศนั้นและหากตายที่ไหนจะต้องทำพิธีวางศพที่นั่น แล้วนำพระมาสวดเป็นภาษามอญ 7 หรือ 5 วันแล้วจึงจะทำพิธีเผาศพต่อไป (หน้า 25-26) ประเพณีรำผีมอญ เดิมไม่มีการรำผี การรำผีมอญจะรำกันกลางวันส่วนผีเขมรจะรำกันในตอนกลางคืนซึ่งจะต้องอาศัยแสงไฟ คนมอญถ้ามีการผิดผีจะต้องบนบานให้หายแล้วทำพิธีเลี้ยงผีโดยให้กินทางนั่งหรือให้กินทางยืน การกินทางยืนจะมีการรำผีส่วนการให้กินทางนั่งจะต้องจัดปลาช่อนต้มยำหรือยำเต่ามาเซ่นไหว้ (หน้า 27)

Education and Socialization

ในตำบลดอนกระเบื้องมีโรงเรียนประชาบาลตั้งอยู่ในวัด 1 โรงเรียน คือโรงเรียนวัดดอนกระเบื้องราษฎร์บำรุง เปิดสอนในระดับประถมศึกษา มีครู 15 คน มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 500 คน (หน้า 13) ตำบลคลองตาคตมีโรงเรียน 2 โรงเรียนคือโรงเรียนวัดคงคาราม "อินทราชผดุงศิลป์" เปิดสอนในระดับประถมศึกษา มีครู 17 คน มีนักเรียน 410 คนและโรงเรียนวัดบ้านหม้อ "ประชารังษี" เปิดสอนในระดับประถมศึกษา มีครู 12 คน มีนักเรียน 282 คน (หน้า 15)

Health and Medicine

ตำบลดอนกระเบื้องมีสถานีอนามัย 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีแพทย์แผนโบราณ 1 คนหมอดู 5 คน (หน้า13) ส่วนตำบลคลองตาคตมีสถานีอนามัยชั้น 2 ประจำอยู่ มีผดุงครรภ์ 1 คน นอกจากนี้ ยังมีแพทย์แผนโบราณ 5 คน หมอผี 6 คนและหมอดู 5 คน ให้บริการด้านอนามัยและด้านจิตใจ (หน้า15)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

การละเล่นพื้นบ้าน ส่วนใหญ่นิยมเล่นในวันสงกรานต์ เล่นเพื่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงในบริเวณลานวัดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ได้แก่การเล่นลูกช่วง,มอญซ่อนผ้า,สะบ้ามอญ,ผีลิง,ผีสุ่มผี กะลา,ผีควาย,ผีกระด้งและผีสาก เป็นต้น นิทานพื้นบ้าน ก.นิทานปรัมปรา เรื่องความกตัญญูกตเวที, ฤาษีแก่กล้าทานตบะ, เรียกขายวิชา, มอญคอด, ขี้เกียจได้ดี, คลอดลูกทางปาก,สัตว์สามสหาย,งูสิบหัวกับหาง,ปลาหมอวิเศษ,แม่ปลาหมอ,ซี่อและคต,สุริยคราสกับจันทรคราส,สามป้อน,พิกุลทอง,มโนราห์,ถูกไล่ใจน้อย,นางทองคำ,วรวงศ์สรยะ วรวงศะ,นางแก่นจันทน์,ชายหาปลากับภรรยา,งอบ,ปลาช่อน,หัวหมูในคันไถ,เศรษฐีหล่อพระ,หญิงพิการ, ข.นิทานท้องถิ่น ประเภทอธิบายประวัติ เรื่องประวัติรามัญ,กรุงหงสาวดี,เบญจพุทธ,ประวัติดอนกระเบื้อง, นิทานอธิบายเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องตัดเสาไม้,ควายกับพระ,สามเณร,งูเหลือมจิกรอยตีนคน,วิญญาณ,กลับชาติเกิด,จุลบุลและมหาบุล,นิทัศนะคือนิพพาน,สองพี่น้อง,ธรรมกอุบาสก,คนขอทาน,ขี้เกียจใจดี,ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว,ทำไมถึงต้องระมะนา(การรำผีของมอญ),คนอยู่ในท้องแม่,ประวัติธรรมที่เป็นคติได้ดี - นิทานวีรบุรุษ เรื่องท้าวแสนปม,เคียว 7 เล่ม,มะกะโทผู้มีปัญญา,คนส่งอาหารกับยักษ์,ผู้ไม่ลืมคุณ,ลูกอกตัญญู,มารดาเหยียบลูก,กาบ้านนอกกับกากรุง,เสือเฒ่าจำศีล,พ่อสอนลูก,ลูกเขย,ชายหาปลา,ลงโทษหมาไม้ง่ามค้ำคอ,พระธรรม,เทวดากับมนุษย์,อวดดี,สองเกลอ,หมาดำ,เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง กระดูกแขวนคอ,สูดลมหายใจ,ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว นิทานเกี่ยวกับนักบวช คนอวดดี,สาวหลงรูปของชาย,พระหลวงตา,คนแสนงอนถูกศีล,เรื่องกุมาร,คนตกปลา,นางกินนร,ผู้อุปการะบิดามารดาเป็นผู้จับผีได้,พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นฤาษี,เกลือจิ้มเกลือ,ขี้เกียจกับเทวดา,พระอินทร์จับขโมย,เป็ด ไก่โต้ง ไก่แจ้งไปเฝ้าพระอินทร์,เมียดีเป็นศรีแก่ตัว,รุกขเทวดาแบ่งพวก,กบกับงู,กระรอก,เต่าพระโพธิสัตว์,พระโพธิสัตว์เป็นนกคุ่ม.งูนาค,พรหมโลกและราหู,หมอกหมา นิทานเรื่องสัตว์ประเภทสอนคติธรรม เรื่องวานรใหญ่มีบริวาร,ช้างสูง 88 ศอก,ปลาช่อนกับชุด,ปลากินคน,กากับนกกระยาง,อันธพาลย่อมอยู่ไม่นาน,กระต่ายกับเสือ,กรรมตามทัน,พระยานกยูงทอง,นกแขกเต้า 2 ตัว,ทำไมนกกาจึงได้กลังคันกระสุนและฟักไข่ให้นกดุเหว่า,มะม่วง,ลูกหมา 7 ตัว,ความโลภของหมา,เพื่อนเล่นไม่ซื่อ,เป็นอะไรสู้เป็นตัวเรามิได้นิทานประเภทเล่าซ้ำหรือเล่าไม่รู้จบ หมากับแมวไม่ถูกกัน,ควายกับเต่า,กินหมากพลู,กำนันกับภรรยา,หมากับพระ นิทานตลกขบขัน ทหารใหม่,ผู้หญิงขี้เกียจหุงข้าว,คนอยากตาย,สี่เกลอ,สามเกลอ,หลวงพ่อตะกละ,ลิง,ผีนิมนต์พระ,คนเลี้ยงวัวกับพะอง,กระพร้อ,จูงควายเข้าไห

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่จังหวัดราชบุรี, แผนที่อำเภอโพธารามแผนที่ตำบลดอนกระเบื้อง, แผนผังสังเขปตำบลคลองตาคต(ไม่ระบุเลขหน้า), ลักษณะโรงรำผีมอญ(31), การรำผีมอญในโรงพิธี, รำผีมอญที่ลานหน้าโรงลำผี(ไม่ระบุเลขหน้า)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มอญ, ไทยรามัญ, คติชาวบ้าน, ราชบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง