สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายูมุสลิม,คนพุทธ,เพศสภาพ,ความสัมพันธ์,บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก,ภาคใต้
Author Nishii, Ryoko
Title Gender and Religion : Muslim-Buddhist Relationship on the west coast of Southern Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 10 Year 2542
Source 7 International Conference on Thai Studies (4-8 July,1999). University of Amsterdam, The Netherland
Abstract

ความขัดแย้งในบทบาทของผู้หญิงในฐานะศูนย์กลางแห่งศรัทธาและการรักษาพรมแดนความต่างทางศาสนา ทั้งผู้หญิงชาวพุทธและมุสลิมต่างก็มีกิจกรรมการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา ในขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้หญิงก็มีความลื่นไหวสูงข้ามพ้นพรมแดนทางศาสนาง่ายกว่าผู้ชายเมื่อมีการแต่งงานระหว่างศาสนาและพิธีกรรมการบวชมุสลิม เพื่อความเข้าใจในปรากฏการณ์นี้ จึงต้องจำเป็นที่จะรู้ถึงลักษณะเฉพาะที่แน่นอนของความสัมพันธ์ระหว่างเพศสภาพในคนไทยภาคใต้ ความสัมพันธ์ทางเพศสภาพของเพศใดเพศหนึ่งไม่ใช่พื้นฐานที่เกี่ยวโยงกับพรมแดนทางศาสนา ทั้งชาวพุทธและมุสลิมมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพนี้ร่วมกัน ผู้หญิงจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนาในชีวิตประจำวันเพื่อความดีงามเพียบพร้อมทางศีลธรรมจรรยา แต่บทบาทของการสงวนรักษาความแตกต่างของพรมแดนทางศาสนาถูกแสดงแทนผ่าน "ภาษา" (ประเพณี) ที่กำหนดให้เป็นบทบาทของผู้ชาย ทั้งชาวพุทธและมุสลิมกลับเก็บรักษาพิธีกรรมที่เข้มข้นให้เป็นบทบาทของผู้ชายในนามของการบวชในผู้ชายชาวพุทธที่เป็นผู้ใหญ่และพิธีเข้าสุหนัด (ขลิบ) ในผู้ชายมุสลิมที่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นในการแต่งงานข้ามศาสนาผู้ชายจะมีความเข้มงวดต่อการรักษาอัตลักษณ์ทางศาสนาของกลุ่มมากกว่าผู้หญิง (หน้า 9) นอกจากนี้ จากกรณีศึกษาพบว่า การปฏิบัติตนทางศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอของผู้หญิงในชีวิตประจำวันไม่มีความสัมพันธ์กับการรักษาพรมแดนทางศาสนาของกลุ่ม ทั้งนี้บทบาทของผู้หญิงเป็นระบบที่ครอบครองพื้นที่เฉพาะภายในครัวเรือนที่ไม่ได้ขยายออกไปสู่ภายนอก ซึ่งเป็นระดับของศาสนาที่กลุ่มยึดถือร่วมกันทั้งหมด และผู้หญิงก็ไม่ได้เป็นศูนย์กลางที่อยู่เฉพาะ

Focus

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพศสภาพคนพุทธกับมุสลิมในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทย

Theoretical Issues

ผู้วิจัยพยายามแสดงให้เห็นว่า ในชุมชนที่ศึกษามีปรากฏการณ์ที่ไม่เหมือนกับในชุมชนมุสลิมของชายฝั่งตะวันออกทางใต้สุด(บริเวณปัตตานี ยะลา นาราธิวาส) คือ มีอัตราส่วนการแต่งงานข้ามกลุ่มศาสนาค่อนข้างสูงทำให้มีการเปลี่ยนศาสนาตามคู่สมรส ซึ่งผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเปลี่ยนมากกว่าผู้ชายและมุสลิมบางสายตระกูลมีการบวชเป็นพระสงฆ์ ในกรณีของผู้ชายและเป็นชีในกรณีของผู้หญิงอีกด้วย (หน้า 1) ด้วยหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพยายามอธิบายว่า ผู้หญิงที่เป็นมุสลิมและพุทธต่างก็ถูกมองว่าผูกติดกับบ้าน ส่วนผู้ชายเป็นฝ่ายที่ต้องออกไปข้างนอกและมีอิสระเสรีมากกว่า ผู้หญิงจึงเปรียบเสมือนผู้รักษาศีลธรรมและพรมแดนของกลุ่มและศาสนาในระดับหนึ่ง แต่ในกิจกรรมทางศาสนา ทั้งผู้ชายพุทธและมุสลิมยังเป็นหัวใจสำคัญ (หน้า 7-8) แต่ในทางตรงกันข้ามผู้หญิงก็ใช่ว่าจะถูกกักกันให้อยู่ในพรมแดนเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีที่มีการแต่งงานข้ามกลุ่ม ผู้หญิงกลับเป็นฝ่ายที่ต้องข้ามพรมแดนทางศาสนาไปมากกว่าผู้ชาย (หน้า 8) ในความเห็นของผู้วิจัยเพศสภาพอย่างเช่น บทบาทของหญิงก็มีความซับซ้อนและลื่นไหลไปมาตามบริบทสังคม ทำให้ในบางครั้งพรมแดนทางศาสนาและเพศสภาพไม่ทับซ้อนหรือมีความเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน เพราะในกรณีที่แต่งงานข้ามกลุ่ม ผู้หญิงกลับให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่าและจำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนาตามสามี

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมเชื้อสายมาลายูและคนไทยพุทธ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาการศึกษา 16 เดือน ช่วงปี ค.ศ.1987-1988 หลังจากนั้นแบ่งออกเป็นสามช่วง ช่วงละสองเดือนคือในปี ค.ศ.1989, 1991 และ 1994 (หน้า 1)

History of the Group and Community

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา พรมแดนระหว่างประเทศสยามและเมืองประเทศราชที่อยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซียในปัจจุบันมีความคลุมเครือ และมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังเป็นบริเวณชายแดนที่ห่างไกลจากการควบคุมจากศูนย์กลางของการปกครอง เมื่อเวลาผ่านไปบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียจึงมีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากอิทธิพลของการผสมผสานทางวัฒธรรมระหว่างมุสลิมและคนไทยพุทธ (หน้า 1)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ภาคใต้ของไทยประกอบด้วยประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม 73% และในแต่ละจังหวัดในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม 60%-80% ในพื้นที่ทางชายฝั่งตะวันตกทางภาคใต้ของไทย หรือจังหวัดสตูลเป็นกลุ่มมุสลิมพูดภาษาไทยและไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง พื้นที่ที่ทำการศึกษาเป็นหมู่บ้านที่อยู่ด้านชายฝั่งตะวันตกทางภาคใต้ของไทย เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธและอิสลามเป็นจำนวนเท่ากันและพูดภาษาท้องถิ่นภาคใต้เหมือนกัน (หน้า 2)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

บทบาทของผู้หญิงในชีวิตประจำวันทั้งของมุสลิมและชาวพุทธจะเชื่อมโยงกับภายในหรือพื้นที่ของบ้านและครอบครัว ในขณะที่ผู้ชายจะเป็นเพศที่ออกไปทำงานนอกบ้าน ผู้หญิงจะเป็นศูนย์กลางที่ถูกจำกัดให้อยู่กับพื้นที่และมีสามีกับลูกล้อมรอบ เนื่องจากศีลธรรมจรรยาเรื่องเพศผู้หญิงเป็นเพศที่เสื่อมเสียง่าย เมื่อร่างกายและศีลธรรมจรรยาในเรื่องเพศของผู้หญิงถูกจำกัดควบคุมคือศูนย์กลางของพรมแดนและประเพณีของกลุ่ม ศีลธรรมจรรยาของผู้หญิงถูกป้องกันไว้ด้วยอัตตลักษณ์และความต่อเนื่องของกลุ่ม และจริยธรรมของผู้หญิงก็ปกป้องพรมแดนทางศาสนาเอาไว้ คนไทยพุทธมักจะอ้างถึงบทบาทของผู้หญิงกับการเป็น "ผู้พิทักษ์" แห่งศรัทธา (gate keeper of the fait) ศาสนาพุทธจะยึดการปฏิบัติที่อยู่ในศีลธรรมความดีงามของผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง แต่จะเน้นให้ผู้ชายซึ่งบวชเป็นพระเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา (หน้า 7)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

บทบาทเพศสภาพในพิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมการบรรพชาในมุสลิมของหมู่บ้านกรณีศึกษา แม้ว่าจะบวชได้ทั้งหญิงและชาย แต่ส่วนมากจะเป็นเพศหญิง โดยมีเหตุผลการบวชที่แท้จริงคือ เนื่องจากแม่เคยบวชมาก่อน ลูกจึงต้องปฏิบัติตามรับช่วงสืบต่อ ชาวบ้านเรียกสายตระกูลนี้ว่า "ตระกูลพุทธ" (trakun buat) หรือ "ชาวพุทธ" (chwa buat) แม้ว่าสายตระกูลเหล่านี้จะไม่สามารถสืบย้อนถึงบรรพบุรุษคนพุทธได้ แต่การบวชนี้ก็เป็นการยอมรับว่าเป็นพันธะสัญญาที่ต้องทำให้ลุล่วง ซึ่งการบวชชีนี้ถือเป็นวิถีธรรมเนียมปฏิบัติของผู้หญิงชาวพุทธและมุสลิม ธรรมเนียมนี้เป็นการสืบทอดโดยผู้หญิงและเป็นการปฏิบัติที่อยู่เหนือพรมแดนทางศาสนา ในทางตรงกันข้ามผู้ชายชาวพุทธที่เป็นผู้ใหญ่แล้วจะบวชพระโดยทั่วไป แต่ไม่เคยมีปรากฏผู้ชายมุสลิมที่เป็นผู้ใหญ่บวชเป็นพระ นอกจากการบวชเด็กชายมุสลิมเป็นเณรเพื่อแก้บน แต่เมื่อเด็กชายเติบโตขึ้นก็จะเข้าพิธีสุหนัด (ขลิบ) เพื่อเป็นมุสลิม พิธีเข้าสุหนัตนั้นสำหรับมุสลิมคือการเปลี่ยนสถานภาพจากเด็กเป็นผู้ใหญ่และถือเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ดังนั้นก่อนเข้าพิธีสุหนัตเพื่อเป็นมุสลิมที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เด็กจะต้องตัดขาดจากสายตระกูลชาวพุทธก่อน (หน้า 4) การปฏิบัติทางศาสนกิจอิสลาม มุสลิมในหมู่บ้านกรณีศึกษาไม่เคร่งครัดกับการปฏิบัติ ละหมาด 5 เวลา และละหมาดที่มัสยิดในวันศุกร์ จากสถิติในปี 1994 ผู้ที่ปฏิบัติศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอเป็นเพศชาย 14% เพศหญิง 33% ในทางตรงกันข้ามสถิติของผู้ที่ไม่ปฏิบัติทางศาสนกิจ เป็นชาย 77% เป็นหญิง 55% ในช่วงเดือนถือศีลอดในเดือนรอมฏอน มีผู้ชายถือศีลอด 20% ผู้หญิง 41% ในขณะที่คนที่ไม่เคยถือศีลอดเลยเป็นชาย 27% เป็นเพศหญิง 4% การให้คำจำกัดความสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามหรือผู้ที่เป็นมุสลิม คือ การไม่ตักบาตร ไม่กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล และไม่สามารถไหว้พระ ถึงแม้มุสลิมในหมู่บ้านจะรับประทานหมูและดื่มเหล้า แต่ก็ยังเป็นมุสลิม ซึ่งชี้ให้เห็นความต่างระหว่างสองศาสนาในเรื่องการปฏิบัติทางศาสนาที่ต่างกัน (หน้า 5) การปฏิบัติทางศาสนกิจของชาวพุทธ เพศหญิงจะผูกพันกับการปฏิบัติศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอ วันสำคัญทางศาสนาของชาวพุทธในภาคใต้คือเดือนสิบซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนเพ็ญ (พฤศจิกายน) และมีสองครั้ง ครั้งแรกคือวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสิบ และหลังจากนั้นอีก 15 วัน พิธีกรรมทางศาสนานี้เป็นการทำบุญอุทิศให้กับดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรมนี้ในช่วงปี ค.ศ.1987 และ 1988 เพศหญิงจะนั่งในวัด ส่วนผู้ชายจะนั่งอยู่ด้านนอกเพื่อมาพบปะพูดคุยกัน โดยในการทำบุญกุศลผู้หญิงและเด็กจะใส่บาตรพระที่ออกบิณฑบาตในตอนเช้ามากกว่าชาย ผู้ชายจะบวชพระเพื่อทำบุญกุศล แม้ว่าผู้หญิงจะบวชเป็นชีได้แต่ก็ได้บุญไม่เท่าเทียมกับการบวชพระ (หน้า 6) การบรรพชา/บวชของมุสลิมในหมู่บ้านกรณีศึกษาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่อแก้บนหรือขอขมาแก่วิญญาณบรรพบุรุษชาวพุทธ มิใช่การบวชเพื่อความบริสุทธิ์ดีงามทางศีลธรรมจรรยา เนื่องจากเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยของลูกหลานเกิดจากวิญญาณบรรพบุรุษไทยพุทธตามจองเวร จึงมีการร้องขอไม่ให้ทำร้ายและต้องมีการบวชเพื่อตอบแทน นอกจากนี้เพื่อเป็นการตัดขาดจากสายตระกูลชาวไทยพุทธ ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติสืบเนื่องมาอย่างน้อย 60 ปี โดยการบวชจะปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีแบบพุทธศาสนาคือโกนผม ผู้ชายห่มจีวรสีเหลือง ผู้หญิงนุ่งขาวห่มขาว หลังจากบวชแล้วจะอยู่หนึ่งคืนที่วัด จากนั้น จะกลับมาใช้ชีวิตเป็นมุสลิมในชีวิตประจำตามเดิม โดยไม่ต้องผ่านพิธีกรรมเพื่อกลับมาเป็นมุสลิมอีกครั้งและไม่ถือว่าบาป สำหรับในครอบครัวมุสลิมกำหนดให้ลูกหนึ่งคนบวชต่อหนึ่งครอบครัว โดยจะเป็นลูกคนโต จากกรณี ศึกษาชาวบ้านมุสลิม 15 รายที่เคยผ่านการบวชมาแล้ว มีเพียง 4 รายที่สามารถสืบย้อนกลับไปยังบรรพบุรุษคนไทยพุทธได้ (หน้า 5) ภาษาและศาสนา ในพื้นที่หมู่บ้านกรณีศึกษา ทั้งสองคำคือคำว่า "ภาษา" และ "ศาสนา" หมายถึง ศาสนาทั้งสองคำ คำแรกคือศาสนาจะใช้อ้างถึงบุญ บาป ผลกรรมและการเก็บเกี่ยวผลจากการทำบุญและศาสนาเป็นเครื่องยกระดับจิตใจ เป็นความคิดที่มีร่วมกันในชาวพุทธและมุสลิม ส่วนคำที่สองคือ ภาษา โดยทั่วไปคำว่าภาษาจะหมายถึงภาษาที่ใช้ในการสื่อสารหรือสำเนียงในมาตรฐานไทย ในพื้นที่กรณีศึกษาภาษาใช้อ้างถึงการปฏิบัติที่มีความเฉพาะแตกต่างกันในแต่ละศาสนา ใช้ในความหมายของประเพณี การกระทำ การแสดงออกโดยการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีการเรียกกำหนดบ่งชี้ "ภาษาแขก" และ "ภาษาไทย" ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติทางศาสนกิจที่ต่างกัน (หน้า 6)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในหมู่บ้านกรณีศึกษามีอัตราการแต่งงานระหว่างคนไทยพุทธและมุสลิมสูงถึง 20% เพราะเมื่อเทียบกับพื้นที่และงานศึกษาที่เคยมีมาก่อน เช่น งานวิจัยของฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ในปัตตานีพบว่า มีการแต่งงานระหว่างไทยพุทธและมุสลิมน้อยมากและงานของ Wizeler ก็พบว่า มี 3.1% ในกลันตัน ซึ่งอัตราการแต่งงานระหว่างคนไทยพุทธและมุสลิมในหมู่บ้านนี้ 29.3% แต่งงานเนื่องจากความรัก ส่วนอัตราการแต่งงานระหว่างคนไทยพุทธและพุทธ กับมุสลิมและมุสลิมเท่ากับ 73.8% และการแต่งงานแบบหนีตามกันไปคือการที่อีกฝ่ายย้ายเข้าไปอยู่กินในครัวเรือนของอีกฝ่ายอย่างเปิดเผยหรือย้ายไปสร้างครอบครัวใหม่ด้วยกันการแต่งงานประเภทนี้ภายหลังจะได้การยินยอมจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย และอุดมการณ์ความคิดของของชาวบ้านในหมู่บ้านเชื่อว่าเมื่อมีการแต่งงานระหว่างคนไทยพุทธและมุสลิมแล้ว คู่สามีภรรยาจะต้องเปลี่ยนศาสนาให้มานับถือศาสนาเดียวกัน ซึ่งผู้หญิงมีแน้วโน้มในการเปลี่ยนศาสนามากกว่าผู้ชายเท่าตัว ซึ่งการหนีตามกันไปนี้จะเกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสไทยพุทธและมุสลิม 39.4% และทิศทางการเปลี่ยนศาสนาจากกรณีศึกษามี 16 รายเปลี่ยนจากศาสนาพุทธมาเป็นอิสลาม 19 กรณีเปลี่ยนจากศาสนาพุทธมาเป็นอิสลาม และ 2 กรณีที่คู่บ่าวสาวต่างคนต่างเปลี่ยนมานับถือศาสนาของอีกฝ่าย ซึ่งคู่สมรสยังคงติดต่อมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเดิมซึ่งก็คือพ่อแม่ของตนเอง โดยการเปลี่ยนศาสนาจากอิสลามมาเป็นพุทธจะไม่พบในพื้นที่อื่นเลยเพราะตามหลักอิสลามถือว่าบาป(หน้า 2) สำนวนท้องถิ่นที่ใช้เรียกผู้ชายคนพุทธแต่งงานกับผู้หญิงมุสลิมคือ "เข้าแขกเอาเมีย" "เข้าแขก" หมายถึงการต้องผ่านพิธีกรรมจากคนพุทธเข้ามาเป็นมุสลิม ในขณะที่มุสลิมเปลี่ยนเป็นพุทธไม่มีพิธีกรรมใด และไม่มีสำนวนเรียกผู้หญิงชาวพุทธที่เปลี่ยนเป็นมุสลิม หรือเรียกมุสลิมทั้งสองเพศเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ (หน้า 3)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst พจนีย์ สุทธิรัตน์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายูมุสลิม, คนพุทธ, เพศสภาพ, ความสัมพันธ์, บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก, ภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง