สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มุสลิม,ศาสนา,วัฒนธรรม,การตั้งถิ่นฐาน,กรุงเทพมหานคร
Author สมาน ธีระวัฒน์
Title การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
สำนักหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 189 Year 2530
Source หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงการตั้งถิ่นฐานของไทยมุสลิมทั้งในด้านที่ตั้ง ขนาด การกระจาย ตลอดจนปัจจัยซึ่งมีผลต่อรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของศาสนาอิสลาม มัสยิด ต่อการตั้งถิ่นฐานของไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของชุมชนไทยมุสลิมกับพื้นที่อื่น ๆ ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ มักตั้งถิ่นฐานรวมตัวกันอาศัยในชุมชนเฉพาะของตนเองหรือที่เรียกว่าละแวก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตแบบเดียวกัน ทั้งในด้านเชื้อสาย ความเชื่อ และองค์ประกอบด้านวัฒนธรรมอื่นๆ โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีทางศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทยมุสลิมในชุมชนนั้น ๆ การอาศัยอยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน มีวีถีชีวิตแบบเดียวกัน ทำให้ไทยมุสลิมมักจะคบหาสมาคม และพึ่งพาอาศัยระหว่างคนกลุ่มของตนมากกว่ากับกลุ่มคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยมุสลิมซึ่งอาศัยในชุมชนแถบชานเมืองชั้นนอกมีโอกาสสัมผัสกับสังคมอื่นน้อยกว่าไทยมุสลิมในเขตชั้นใน ซึ่งมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอกมากกว่า

Focus

ปัจจัยด้านวัฒนธรรมทางเชื้อชาติและศาสนาอิสลามของไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมเมืองกรุงเทพฯ มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานด้านภูมิศาสตร์ กายภาพ ความสัมพันธ์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่มีต่อพื้นที่ภายในชุมชนที่มีความเฉพาะ และกิจกรรม ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชนกับชุมชนอื่น ๆ

Theoretical Issues

ผู้เขียนใช้แนวคิด "ชุมชน" (Community) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ใน "ละแวก" ที่เป็นพื้นที่เล็กส่วนหนึ่งในเมือง และมี "อารมณ์ความรู้สึกผูกพันร่วมกัน" รวมทั้งที่ "มีปฏิสัมพันธ์กัน" (หน้า11) มาพิจารณาการตั้งถิ่นฐานของไทย-มุสลิมในบริบทของ กรุงเทพมหานคร และชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับมัสยิดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งมุสลิมอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเฉพาะ (หน้า 539,160) และด้วยการวิเคราะห์ในแนว "Nearest- Neighbor Analysis" (หน้า11-14) ซึ่งเป็นการประยุกต์วิเคราะห์การกระจายตัวและการกระจุกตัวของละแวกตามหลักของ Meyer and Huggett (1980: 30) พบว่า ชุมชนไทย-มุสลิมทั้งในเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกของกรุงเทพฯ มีลักษณะการกระจายแบบสุ่ม (Random Distribution) คือ กระจายแบบสม่ำเสมอ (ดูจากหน้า 13) แต่ไม่เป็นแบบแผนชัดเจนอย่างแบบ Uniform Distribution

Ethnic Group in the Focus

ไทยมุสลิม

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาอาหรับใช้ในการเรียนการสอนศาสนาและประกอบศาสนกิจตามพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวัน (หน้า 128-129)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

ละแวกการตั้งถิ่นฐานของไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของบรรพบุรุษเชื้อสายมุสลิมกลุ่มต่าง ๆ และความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีโดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ดังนี้ 1) สายที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเปอร์เซีย และอพยพมากรุงเทพฯ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2310) เสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2360) ตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายตามริมคลองบางหลวง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย รองเมือง สุริวงศ์ มีมัสยิดสองแห่งคือ มัสยิดต้นสนและมัสยิดบางหลวง 2) สายที่มีบรรพบุรุษเป็นจาม/เขมร ซึ่งเป็นทหารอาสาสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ สมัยปลายอยุธยาคือกลุ่มมุสลิมบริเวณหลังตลาดเจริญผล ถนนพระรามหก ซอยกิ่งเพชร ชุมชนมัสยิดบ้านครัวกลาง และบ้านครัวตะวันตก 3) สายที่มีบรรพบุรุษจากเมืองปัตตานี อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งถิ่นฐานรอบชานกรุง เช่น สี่แยกบ้านแขก บางคอแหลม ยานนาวา และอื่น ๆ เป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 4) สายที่มีบรรพบุรุษมาจากประเทศอินโดนีเซีย เข้าประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มของชุมชนมุสลิมที่คลองแสนแสบพญาไท หรือที่เรียกว่า "หมู่บ้านมักกะสัน" บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชุมชนมัสยิดยะวา เขตยานนาวา และชุมชนมัสยิดอินโดนีเซีย แขวงลุมพินี ปทุมวัน 5) สายที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวอินเดีย มาจากประเทศปากีสถาน อินเดียและอัฟกานิสถาน เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเพื่อประกอบอาชีพค้าขาย ในระยะหลังๆ กลุ่มมุสลิมนี้มีภูมิลำเนาบริเวณ ถนนบำรุงเมือง แถบสะพานช้างโรงสี วัดสัมพันธวงศ์ และถนน สีลม เขตบางรัก (หน้า 31-36)

Settlement Pattern

รูปแบบการกระจายตัวของชุมชนไทยมุสลิมเป็นไปตามการกระจายตัวของมัสยิด อัตราการเพิ่มขึ้นของมัสยิดหมายถึงการเพิ่มขึ้นของชุมชนไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ เนื่องจากมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน มัสยิดส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ โดยมีจำนวนมากตามลำดับคือ ในเขตหนองจอก พระโขนง มีนบุรี และเขตบางกะปิ การกระจายตัวพบว่ามัสยิดตั้งอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร 10 กิโลเมตร การตั้งถิ่นฐานกรุงเทพฯเขตชั้นในเป็นกลุ่มไทยมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียและเขมร ส่วนกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอกเป็นไทยมุสลิมที่อพยพมาจากปัตตานี (หน้า 157) การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่มัสยิดในกรุงเทพฯ จะแบ่งออกเป็นพื้นที่เพื่อบริการทางสังคมคือ 1) สุสาน เพื่อความสะดวกในหลักการปฏิบัติประกอบพิธีศพของมุสลิม 2) โรงเรียน เนื่องจากมัสยิดมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ทางศาสนาและวิชาการอื่น ๆ โรงเรียนในชุมชนมุสลิมจึงมีโรงเรียนสอนศาสนา สอนเด็กนักเรียนในช่วงเวลาเย็นหลังเลิกเรียนวิชาสามัญ โรงเรียนราษฏร์และโรงเรียนรัฐบาล 3) ที่ดินจัดเก็บผลประโยชน์ที่ดินบริเวณรอบมัสยิด เป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและมีสัปปุรุษเข้าปลูกบ้านพักอาศัยโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้เช่าเพื่อการประกอบอาชีพเช่น ร้านค้า ไร่นา จึงเก็บผลประโยชน์เพื่อนำรายได้ไปใช้ประโยชน์ต่อศาสนาของมัสยิดในกรุงเทพฯ (หน้า 79-85)

Demography

การย้ายถิ่น : การย้ายถิ่นของชุมชนไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ จะย้ายจากเขตชั้นในไปสู่เขตชั้นกลางและเขตชั้นนอกของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งเป็นการย้ายจากชุมชนที่อยู่ในเขตเดียวกัน อันเนื่องจากการสมรสและย้ายไปอยู่กับญาติ การย้ายถิ่นมักจะอยู่ในระหว่างชุมชนไทยมุสลิมกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเชื้อสายเดียวกัน (หน้า 131) ประชากรผู้นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยมีจำนวน 2,371,151 คน หรือร้อยละ 4.70 ของทั้งประเทศ ถือเป็นศาสนาที่มีจำนวนคนนับถือมากรองลงมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (กรรมการศาสนา 2527:13) ส่วนใหญ่ของผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนกว่าล้านคน มีถิ่นฐานอยู่ใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นาราธิวาส ยะลา และสตูล นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคอื่น ๆ โดยมีไทยมุสลิมอยู่เกือบทุกจังหวัด ส่วนกรุงเทพมหานครซึ่งมีโครงสร้างแบบชุมชนเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศ มีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวน 206,987 คน หรือประมาณร้อยละ 4.00 จากประชากรทั้งหมดในกรุงเทพฯ จำนวน 5,174,682 คน (กรมการศาสนา 2527 : 395) (หน้า 37) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง : ข้อมูลประชากรที่เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์มาจากการสำรวจสัปปุรุษที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 21 ชุมชน จากเขตชั้นใน 6 ชุมชน ชั้นกลาง 7 ชุมชน และชั้นนอก 8 ชุมชน ชุมชนละ 12 ครัวเรือน รวมจำนวน 72 ครัวเรือนในเขตชั้นใน 84 ครัวเรือนในเขตชั้นกลาง และ 94 ครัวเรือนในเขตชั้นนอก ไทยมุสลิมที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 250 ครัวเรือน ในชุมชนไทยมุสลิมกรุงเทพมหานคร ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ อิหม่าม 12 คน กรรมการมัสยิด 21 คน และสัปปุรุษ 217 คน รวม 250 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้ที่มีบทบาทและมีส่วนใกล้ชิดในวงการศาสนาผู้สัมภาษณ์จึงเลือกบุคคลที่เป็นชายมากกว่าหญิง การเก็บรวบรวมข้อมูลจะได้จากเพศชายมากกว่า กล่าวคือมีเพศชายประมาณสองในสาม หรือจำนวน 173 คน ส่วนหนึ่งในสาม เป็นเพศหญิง หรือจำนวน 77 คน นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์เจาะจงสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน หรือบุคคลที่มีอายุมาก ฉะนั้น ไทยมุสลิมที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จึงอยู่ในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 30 ปี โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-45 ปี ซึ่งมีร้อยละ 34.4 ผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 45-60 ปี มีร้อยละ 29.2 รวมทั้งผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี อีกร้อยละ 25.2 ของกลุ่มตัวอย่าง (ตารางที่ 5.4) ส่วนสถานภาพสมรสของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าร้อยละ 80 มีสถานภาพเป็นผู้สมรส ผู้ที่เป็นโสดมีร้อยละ 12.4 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ (หน้า 110-111)

Economy

อาชีพของไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ เป็นเจ้าของกิจการร้อยละ 14.8 รับจ้างร้อยละ 22.8 เป็นแรงงานภาคเกษตรกรรม โรงงาน ก่อสร้าง และลูกจ้างเอกชน โดยจะพบมากในกรุงเทพฯเขตชั้นกลางและชั้นนอก รับข้าราชการและทำงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 14.4 อยู่ในเขตชั้นในและชั้นนอก ผู้มีรายได้ไม่เกิน 4,000 บาทต่อเดือนมีประมาณร้อยละ 78 ของกลุ่มตัวอย่าง (หน้า 115) กล่าวได้ว่า ประชากรที่เป็นตัวอย่างส่วนใหญ่ในชุมชน หรืออยู่ใกล้ศูนย์กลางซึ่งเป็นมัสยิดมักมีฐานะยากจน อาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งของผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงกว่า มีการย้ายออกจากชุมชนของตนไปอยู่อาศัยในที่ห่างออกไป (ดูหน้า 116) การซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะด้านการบริโภคในคัมภีร์อัลกุรอานให้เลือกรับประทานอาหารที่ชอบธรรม ทำให้ไทยมุสลิมนิยมซื้ออาหารสดสำหรับบริโภคจากมุสลิมด้วยกัน ตลาดสดที่สำคัญคือ ตลาดบางกะปิ ตลาดพระโขนง มีนบุรี หนองจอก วงเวียนใหญ่ การซื้ออาหารปรุงสำเร็จ มุสลิมส่วนใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของตัวอย่างศึกษาปรุงอาหารสำเร็จภายในครัวเรือน หนึ่งในสามซื้ออาหารปรุงเสร็จแล้วจากร้านอาหารภายในชุมชน และร้อยละ 90 ซื้อสินค้าเครื่องใช้จากภายนอกชุมชน (หน้า 155)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

วัฒนธรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ การละหมาดของสัปปุรุษให้ครบวันละ 5 เวลาและถึงวันศุกร์ต้องไปประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด (หน้า 141)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะของบ้านที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยวสร้างด้วยวัสดุไม้มีสามลักษณะคือ 1. บ้านชั้นเดียวติดดิน มีโครงสร้างง่าย ๆ ประกอบด้วยห้องโถงใช้เป็นห้องเอนกประสงค์ มีบริเวณเล็ก ๆ สำหรับประกอบอาหารมีสุขาภายในบ้าน เป็นบ้านที่พบในกรุงเทพฯ เขตชั้นในที่มีปัญหาความหนาแน่นของการใช้ที่ดิน 2. บ้านเดี่ยวชั้นเดียวใต้ถุนโล่ง ลักษณะเหมือนบ้านชั้นเดียวติดดินแต่ยกพื้นให้สูงขึ้นใช้ใต้ถุนเป็นส่วนเอนกประสงค์ บ้านประเภทนี้พบมากในกรุงเทพฯ เขตชั้นกลางและชั้นนอก 3. บ้านสองชั้นเป็นบ้านที่ต่อเติมจากแบบที่สอง ทั้งนี้ภายในบ้านทั้งสามลักษณะจะมีสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามในครัวเรือนคือ ภาพอักษรอาหรับ สัญลักษณ์จันทร์เสี้ยวกับดาว (หน้า 124-127) - สถาปัตยกรรมสุเหร่าหรือมัสยิดจะสร้างหอโดมตามศิลปกรรมแบบอาหรับ แต่จะมีลักษณะขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ - ในเรื่องการแต่งกาย ผู้หญิงสวมเสื้อผ้าปกปิดทุกส่วนยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ ผู้ชายสวมหมวก นุ่งผ้าโสร่ง

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในชีวิตประจำวันไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ มีการติดต่อสมาคมกับคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากความจำเป็นในการประกอบอาชีพ การจับจ่ายซื้อของเครื่องใช้ เป็นเพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมสถาบันศึกษา อย่างไรก็ตาม ไทยมุสลิมมีการรวมกลุ่มระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นภายในชุมชน โดยมีลักษณะและวิถีชีวิตของมุสลิมอย่างเคร่งครัด ในขณะที่สามารถเข้ากับสังคมส่วนอื่น โดยเฉพาะสังคมไทยพุทธได้อย่างดี การแต่งงานและเลือกคู่ครองระหว่างไทยมุสลิมกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ตัวอย่างชุมชนที่ศึกษามีร้อยละ 44 มีญาติสมรสกับบุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ต้องให้เข้ามาเป็นมุสลิมด้วยความศรัทธาก่อนและปฏิบัติตามแนวทางของศาสนาอิสลาม (หน้า 149-154)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst พจนีย์ สุทธิรัตน์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG มุสลิม, ศาสนา, วัฒนธรรม, การตั้งถิ่นฐาน, กรุงเทพมหานคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง