สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,เกษตรกรรมยั่งยืน,ประเพณี,ความเชื่อ,เชียงราย
Author พงษ์ทร ชยาตุลชาต
Title ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำเกษตรยั่งยืนบนที่สูงของชาวอาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 107 Year 2546
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Abstract

การทำเกษตรยั่งยืน ซึ่งเป็นการทำการเกษตรเลี้ยงชีพในครัวเรือนของอาข่า ในเขต อ.แม่สรวย จ.เชียงราย การเพาะปลูกตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ จะเน้นความหลากหลายทำให้อาข่ามีอยู่มีกินในครอบครัวเพื่อเหลือผลผลิตก็จะแบ่งบันให้กับเพื่อนบ้านและนำส่วนที่เหลือไปขายเพื่อนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัว การทำการเกษตรเน้นการพึ่งพาตนเอง แต่มีแนวโน้มในอนาคตว่า จะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เนื่องจาก ไม่ได้รับความสนใจจากลูกหลาน นอกจากนี้ ชาวบ้านส่วนมาก ก็อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน จึงไม่อาจขยายพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ ยังขาดการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ

Focus

ผู้เขียนได้เข้าไปทำงานวิจัยโดยสัมภาษณ์ชาวบ้าน ในชุมชน และผู้อาวุโส อาข่าที่ทำเกษตรยั่งยืน จำนวน 20 คน เพื่อศึกษาถึงความรู้ และ ความเข้าใจเรื่องการทำเกษตรยั่งยืนแบบยังชีพในครัวเรือน (บทคัดย่อ,หน้า3,20,21,40,41,103)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่า หรือ อีก้อ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาอาข่า หรือ อีก้อ อยู่ในตระกูลภาษา จีน-ธิเบต กลุ่มภาษาย่อย ธิเบต-พม่า คนท้องถิ่นในภาคเหนือ เรียกว่า อีก้อ อาข่า แบ่งเป็น 8 กลุ่มในประเทศไทย คือ อูโล โลมิซา ลาบือ เบี๊ยะ อูพี หน่าคา อาคือ และอาจอ (สมาคมอาข่า, 2534) (หน้า 1,6)

Study Period (Data Collection)

อยู่ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ 2544 ถึง ถึง เดือนเมษายน 2545 (ดูจากปฏิทินการทำงานของอาข่า และการเข้าร่วมสังเกตการณ์การทำกิจกรรมของผู้เขียน หน้า ภาคผนวก จ 143-146)

History of the Group and Community

อำเภอแม่สรวย เป็นอำเภอ เมื่อ ร.ศ.119 (พ.ศ.2444) ขึ้นกับจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ อยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ เมื่อก่อนอำเภอมีแม่น้ำไหลผ่านที่ตั้งอำเภอชื่อ แม่ช่วย ทั้งนี้คำว่า "ช่วย" แปลว่า "ล้าง" ในเวลาต่อมาเรียกชื่ออำเภอว่า "แม่สรวย" อำเภอแม่สรวย อยู่ทางทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้ง ในเขต อำเภอแม่สรวย โดยมีแม่น้ำไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอ และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่บริเวณหน้าวัดพริก ตามลำดับ หลวงดำรงฯ นายแขวงขณะนั้นได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ เมื่อ ปี พ.ศ.2447 จากตำบลแม่พริกมาอยู่ที่ ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นที่ว่าการปัจจุบัน เพราะเห็นว่าพื้นที่เดิมมีข้อเสียหลายอย่างเช่น ชาวบ้านมาติดต่อราชการไม่สะดวก และในช่วงหน้าแล้งห้วยแม่พริกน้ำน้อยน้ำไม่พอใช้ในการเพาะปลูก กระทรวงมหาดไทย ประกาศ เมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2454 ตั้งเมืองจัตวา ว่า "เมืองเชียงราย" อยู่ในมณฑลพายัพ โดยรวม เมืองเชียงแสน เมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ เมืองเทิง เมืองเชียงของ อำเภอแม่สรวย เป็นในจังหวัดเชียงราย มี 16 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ (หน้า 44 แผนที่ หน้า 45,46)

Settlement Pattern

อาข่าชอบสร้างบ้านตามไหล่เขา ในแต่ละชุมชนจะอยู่ 25-50 ครัวเรือน หรือ มีผู้อยู่อาศัย 150-500 คน สร้างบ้านเรียงรายกันอยู่ตามไหล่เขา (หน้า 57,58)

Demography

อาข่า มีมากเป็น อันดับ 4 รองจากกลุ่มชาติพันธุ์ ลาหู่ ม้ง และกะเหรี่ยง อาศัยอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ เช่น จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.แพร่ และตาก จากการสำรวจของฝ่ายบริการ และ เผยแพร่สถาบันวิจัยชาวเขา จ.เชียงใหม่ (ก.ค.2543 ) ระบุว่า มีอาข่าในไทย 56,162 คน มี 282 หมู่บ้าน 9,516 หลังคาเรือน ส่วนสำนักงาน จ.เชียงรายระบุว่า มีอาข่าอาศัยอยู่ใน อ.แม่สรวย จ.เชียงราย รวมทั้งหมด 78,890 คน ชาย 40,322 คน หญิง 38,568 คน (31 ธ.ค 2543) (หน้า 1, ดูตารางของสำนักงาน จ.เชียงราย, 2542:8 หน้า 49)

Economy

การผลิต อาข่าปลูกพืชแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งทุกวันนี้เรียกหลายอย่าง เช่น ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming) ระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ระบบเกษตรธรรมชาติ (Natural Farming) ระบบไร่นาป่าสวนผสม วนเกษตร (Agroforestry) และระบบไร่นาสวนผสม (Polyculture) โดยนำความรู้ท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษมาผสมผสาน กับ ความรู้สมัยใหม่ เช่น การปลูกพืช และ เลี้ยงสัตว์ ในการปลูกพืชไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวทางเศรษฐกิจ โดยจะปลูกทั้งไม้ผล ชนิดต่างๆ ไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว นอกจากนี้ยังรู้จักปลูกพืชคลุมดินเพื่อป้องการพังของหน้าดิน และ การทำปุ๋ยธรรมชาติ โดยไม่ต้องห่วงว่าจะได้รับอันตรายจากสารเคมี (หน้าบทคัดย่อ 1,22-26,76,88,91-95,105) การแลกเปลี่ยน การเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ไม่ยึดติดกับตลาด และไม่สร้างหนี้ หากเหลือกินภายในครอบครัว ก็จะแบ่งปันให้เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ทำให้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี (หน้า76,86,90,99)

Social Organization

สังคมของอาข่าจะอยู่รวมกันโดยมีผู้นำ หรือ เจ่วมา ทำหน้าที่ปกครองดูแลชุมชน และประกอบพิธีกรรมของชุมชน พิธีเลือกที่ตั้งหมูบ้าน นอกจากนี้ก็ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยหากเกิดการทะเลาะวิวาทในหมู่บ้าน เจ่วมา จะเป็นผู้ที่คนในชุมชนให้เกียรติ เช่นถ้าไปล่าสัตว์มาได้ก็จะแบ่งขาหน้าให้เจ่วมา หรือ เชิญ เจ่วมาไปกินข้าวที่บ้านถ้าฆ่าสัตว์ทำอาหาร ตำแหน่งเจ่วมาจะสืบทอดตามสายเลือด ผู้ที่รับตำแหน่งนี้จะลาออกไม่ได้ยกเว้นกรณีตาย การสืบทอดตำแหน่ง จะสืบทอดตามสายเลือด ผู้ที่จะเป็นเจ่วมาต้องเป็นลูกชายคนโต หรือ ลูกชายคนเล็ก หากลูกชายคนโตปฏิเสธลูกชายคนเล็กต้องรับตำแหน่งแทน ในกรณีที่เจ่วมาไม่มีลูก ก็จะเลือกญาติใกล้ชิดของเจ่วมา ช่างตีเหล็ก (บะจี่) เป็นผู้ทำเครื่องมือเพาะปลูกให้กับชาวบ้าน และจะเป็นคนทำมีดให้หมอผี เพราะหากไม่มีมีดก็จะทำพิธีไม่ได้ ช่างตีเหล็ก จะเป็นคนตีขวานให้คนไปตัดต้นไม้มาทำขวาน ถ้ามีคนตาย หมอผี (พิ๊มา) เป็นผู้ทำพิธีหลายอย่างในหมู่บ้าน และเป็นผู้มีความรู้ด้านวัฒนธรรมของอาข่า ตำแหน่งนี้จะสืบทอดต่อจากพ่อ โดยผู้ที่ได้รับเลือกจะเป็นลูกชายคนโต หรือ คนเล็ก หากใครที่ได้รับตำแหน่งนี้แล้วไม่ทำตามหน้าที่ก็จะเจ็บป่วย หรือ ตาย ยี้ผ่า คือผู้รักษาคนเจ็บคนป่วยโดยการสวด (หน้า58-59,60-62)

Political Organization

การปกครองมี 2 อย่าง คือ การปกครองโดยผู้นำทางจารีตประเพณี โดยมี หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมคือ เจ่วมา และ บู่แซ้ โดยเจ่วมาจะเป็นผู้ดูแลด้าน พิธีกรรม และประเพณี บู่แซ้ จะดูแลด้านการปกครองในหมู่บ้าน ในการพิจารณาคดีจะมี คามา หรือ ผู้รู้กฎหมาย และ ประเพณีของอาข่า นั่งฟังการพิจารณาคดีด้วย สำหรับการลงโทษก็แล้วแต่ว่าคนนั้นจะทำผิดหนักหรือเบาแค่ไหน โดยแบ่ง การลงโทษออกเป็น 3 อย่าง คือ ระดับโทษเบา เช่น การพูดไม่สุภาพ พูดใส่ร้ายผู้อื่น จะปรับเป็นค่าเหล้า ถ้าเป็นโทษระดับกลาง เช่น มีเรื่องทะเลาะวิวาท หรือ ลักของจะปรับเงิน 1,250 บาท (10ฏ๊ะ) โทษล่วงเกินเมียคนอื่น คนทำความผิดจะต้องเสียหมูที่เป็นหมูตัวที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านและโทษหนัก เช่น ฆ่าคนตาย หรือ ฉุดเมียชาวบ้านหนี จะถูกปรับเป็นควายหนึ่งตัว และ ถูกไล่ออกจากหมู่บ้าน อย่างไรก็ดี โทษนี้จะไม่ค่อยเกิดขึ้น ส่วนผู้นำทางราชการ คือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และ อบต. (หน้า 62,63,64,65,76)

Belief System

มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ และ นำความเชื่อนั้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะคิดว่าจะทำให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข เช่น เรื่อง บรรพบุรุษ อาข่า เคารพ "อาเฝวอาฝี" หรือ ทวด ในแต่ละบ้านจะทำหิ้งบรรพบุรุษ หรือ "ยุ้มมานอ" ไว้ที่หัวนอน ห้องผู้หญิงเพราะเชื่อว่า ผีบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครอง คนในครอบครัว ตลอดจนเพาะปลูกได้ผลดี การเกิดการตาย ผู้ที่จะเกิดมาได้จะต้องได้รับอนุญาตจาก เทพ "ฌ่านิฌ่า ฌ้องอามาธ" ที่มาจากเทพ ฝ่ายชาย ชื่อ "เฌ้อแฌ้" และ เทพฝ่ายหญิง ชื่อ "เฌ้อซ้อง" รวมกัน เทพองค์นี้จะอยู่ที่เมืองผี หรือ "แหนะมิข่อง" สำหรับคนที่ตายไปแล้วจะได้ไปอยู่กับบรรพบุรุษ หรือ "อาแฝวอาฝี" ในการไปหาบรรพบุรุษนั้น จะมีหมอผี หรือ พิ๊มา เป็นผู้ทำพิธีเพราะหากไม่ทำพิธีเชื่อว่า อาจจะทำให้หลงทางสำหรับเส้นทางที่ไปมี 3 ทาง คือ ทางที่หนึ่งสำหรับคนที่ไม่มีลูกชาย หรือ คนที่ไม่มีลูกเรียกว่า "ซุ้มเบยะ" ทางที่สองหรือ "หนุ่ม" เป็นเส้นทางไปหาบรรพบุรุษ และ เส้นที่สามเรียกว่า "ชะ" สำหรับคนที่ตายด้วยอุบัติเหตุ เทพเจ้าของอาข่า มีหลายองค์ เช่น เทพ อาแฝวหมีแย้ จะคอยตักเตือนให้คนทำความดี เทพจาบีอ่าหล่อง เป็นผู้สร้างฟ้า ดินและทุกสิ่งบนโลกรวมทั้ง คนบนโลก เทพอุ้มแย้อุ้มช้า เป็นตัวแทนของสิ่งดี และสิ่งชั่ว รวมทั้งทำให้ ฝนตก ฟ้าร้อง และปรากฏการณ์อื่นๆ และเทพหม่อเอ้วอ่าริ และเทพหม่อเอ้วฌ่าเถ่ เป็นผู้สร้าง สัตว์ และพืช คำทำนาย จะใช้กระดูกไก่ทำพิธีแมซ้องล้อ หรือ พิธีเซ่นไหว้ เทพพื้นดิน และพิธี อีซ้อล้อเขาะซ้อ หรือ พิธีทำบุญให้บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อดูว่าผลผลิตจะดี หรือ ไม่ นอกจากนี้ เวลาจะเดินทางก็จะดูกระดูกไก่ เพื่อดูว่าการเดินทางจะดีหรือร้าย หากร้ายก็จะยกเลิกการเดินทาง นอกจากนี้ผู้เฒ่าผู้แก่อาข่า จะดูตับหมู เพื่อทำนายว่า การเพาะปลูกจะดีหรือไม่ โชคลาง หากเจอพฤติกรรมของสัตว์ที่ผิดธรรมชาติ ในระหว่างไปไร่ หรือไปที่อื่น ก็จะเดินทางกลับเพราะถือว่าเป็นลางร้าย (ด้อม้อเออ) เช่น เห็น ลิงลม เห็นงูกำลังสมสู่กัน เห็นปูเดินถอยหลัง หรือ ยกขาหน้าเดิน เห็นกบกระโดดเด้งหน้าหลังไปมา หรือ เจอหมูป่าตั้งท้องโดนยิงตาย เจอกวางที่มีเขาตรง เจอหมีถูกยิงตาย อุ้งมือเหยียดตรง ขวัญ อาข่าเรียกว่า "สะล้า" ผู้ชายจะมีขวัญ 12 ขวัญ และผู้หญิงจะมี 9 ขวัญ หากขวัญหายเพราะเชื่อว่าเทพที่อยู่นรกจับเอาขวัญไปก็จะทำให้ไม่สบายต้องทำพิธีเรียกขวัญ (ล้าดู่เบ่อ) วิญญาณ สถานที่ต่างๆ เช่น ถ้ำ น้ำตก น้ำพุร้อน จะมีวิญญาณหรือผีสิงอยู่ ถ้าไปก็จะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้น อาข่าก็จะไม่ไปสถานที่ดังกล่าวถ้าหากไม่มีความจำเป็นที่จะไป (หน้า 54,55, 56, 57) ในหนึ่งปีอาข่าจะมีการประกอบพิธีตลอดทั้งปี (ดูหน้าที่ 65 และตารางหน้า 66 ) พิธีกรรม พิธีที่ทำก่อนเพาะปลูก ได้แก่ - พิธีแมซ้องล้อเออ เป็นพิธีไหว้ศาลหมู่บ้านเพื่อขอให้ช่วยรักษาพืชที่ปลูก - พิธีแช้คะอะเผวแบ ผู้นำหมู่บ้านจะเป็นผู้ทำพิธีนี้โดยจะปลูกข้าวที่ไร่ของผู้นำหมู่บ้าน พิธีนี้จะเริ่มเมื่อมีการปลูกข้าว - พิธีอีซ้อล้อเขาะซ้อ เป็นพิธีทำความสะอาดบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านก่อนการปลูกข้าว พิธีที่ทำหลังเพาะปลูก ได้แก่ พิธี บู่เด้แจซ๊ะลองเออ เพราะในตอนทำไร่ได้ฆ่าสัตว์ที่อยู่ในดินตายโดยไม่ตั้งใจ จึงทำพิธีอยู่กรรม ให้กับ หนอน และไส้เดือนที่อยู่ในดิน, พิธีเบ่วโอะแหยะ คือ พิธีจับแมลง หรือ ด้วงที่ทำลายพืชไร่, พิธีแยบ้องแหยะ คือพิธีจับตั้กแตน ที่กินข้าว ในไร่, พิธีแช้สึฌ่าเออ คือพิธีกินข้าวใหม่จะทำตอนข้าวออกรวงเมื่อทำพิธีแล้วก็จะเกี่ยวข้าว พิธีหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ พิธีเช้หน่อๆ คือ พิธีนวดข้าว,พิธีกรรมป่อเยวเปีย คือพิธีรื้อศาลพระภูมิที่ไร่ข้าว ที่สร้างเอาไว้ก่อนปลูกข้าว,พิธีแช้ฌี้ชีเออ เป็นพิธีทำความสะอาด ยุ้งข้าวก่อนนำข้าวเข้ายุ้ง (หน้า 67,68 ภาคผนวก ค หน้า 128) ในหนึ่งปีจะแบ่งเป็นสิบสองเดือน ในหนึ่งปี มี 360 วัน โดยในแต่ละเดือนมี 30 วัน (ดูตารางเปรียบเทียบการนับเดือน หน้า 69) วันของอาข่า สัปดาห์หนึ่งจะมี 12 วัน คือ 1 ถ่องลา (พังพอน) 2 หล่อง (กระต่าย) 3 แซ้ (ปลวก) 4 หม่อง (ม้า) 5 ย้อ (แกะ) 6 โหมยะ (ลิง) 7 ยา (ไก่) 8 ขื่อ (สุนัข) 9 หยะ (หมู) 10 โฮ (มด) 11 ใหญ่ (ควาย) 12 ข่าหล่า (เสือ) ความเชื่อเรื่องวัน - วันกรรมจะหยุดทำงาน เช่น วันหล่อง (กระต่าย) จะห้ามปลูกบ้านหรือทำยุ้งข้าว และไม่ทำงานในไร่เพราะวันนี้ถือว่าเป็นวันเกิดท้องฟ้า ส่วนในวันย้อ (แกะ) จะหยุดทำงานในไร่ข้าว หยุดตัดฟืน และหยุดตำข้าว (หน้า 69,70,75)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

รักษาด้วยพิธีกรรม หากขวัญหายก็จะทำให้เจ็บป่วยไม่สบาย จะรักษาโดยเรียกขวัญ หรือพิธี ล้าดู่เบ่อ นอกจากนี้ก็จะมีพิธีเลี้ยงผีไร่ และพิธีสะเดาะเคราะห์ ส่วนการป้องกันการระบาดของโรคจากสัตว์ จะประกอบพิธี ยาจิ๊บาโคะทอ และพิธี อาคื่อบาโคะทอ ทั้งนี้อาข่าเชื่อว่า หากเกิดสิ่งที่ไม่ดีกับผู้ใดคนใดคนหนึ่งในหมู่บ้านก็จะกระทบ กับ คนทั้งหมด (หน้า 57,68) รักษาด้วยการสวด ผู้ที่ทำหน้าที่คือ "ยี้ผ่า" ผู้ที่จะมาเป็นจะเป็นผู้ชาย หรือ ผู้หญิงก็ได้ โดยจะสวดรักษาคนป่วย เป็นเวลา หนึ่งคืน หรือ ครึ่งวัน (หน้า62)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนบนที่สูง ที่ทำมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย คาดว่า ต่อไปจะทำไม่ได้เพราะคนรุ่นลูกของอาข่าไม่สนใจทำไร่ และออกไปขายแรงงาน หรือ ไปเรียนที่อื่น และจะมีผู้ทำเกษตรยั่งยืนน้อยลง ทำให้รูปแบบในการทำการเกษตรลดลงขณะที่พื้นที่ทำไร่มีเท่าเดิม เพราะรัฐบาลควบคุมดูแลอยู่ อีกทั้งชาวบ้านเป็นจำนวนมากอยู่ในเขตป่าสงวน จึงไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดิน นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐก็ไม่สนับสนุนการทำเกษตรแบบยั่งยืน เพราะเห็นว่า การเกษตรบนที่สูง ทำลายสิ่งแวดล้อม และ ต้นน้ำ แต่จะเน้นที่การส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่มุ่งด้านการตลาด (หน้า 97-98,101-107)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง พิธีกรรมด้านการเกษตรในรอบปี (หน้า66) การนับเดือน (หน้า 69)ปฏิทินประจำปี (หน้า71) ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (หน้า 78) ความเข้าใจในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (หน้า 90) การตัดสินใจในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (หน้า 91) ภูมิปัญญา

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 02 มี.ค 2548
TAG อาข่า, เกษตรกรรมยั่งยืน, ประเพณี, ความเชื่อ, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง