สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,ความเชื่อ,พิธีกรรม,การจัดการป่า,เชียงราย
Author สมบัติ นุชนิยม
Title ความเชื่อพื้นบ้านของชาวลีซูกับการจัดการป่า : กรณีศึกษาบ้านดอยช้าง จังหวัดเชียงราย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 58 Year 2546
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ลีซูบ้านดอยช้างมีความเชื่อและพิธีกรรมสอดคล้องกับการดูแลรักษาป่าและธรรมชาติ เช่น ความเชื่อ เรื่องผีและเทพเจ้า เชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกมี หวู่ซา เป็นเจ้าของ มีเทพเจ้าต่าง ๆ เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า อากาศ และสัตว์ป่า ความเชื่อเกี่ยวกับป่าหวงห้าม อีกทั้งยังมีพิธีกรรมเพื่อเซ่นไหว้ บวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ขอให้ท่านช่วยดลบันดาลความสุข และความคุ้มครองปลอดภัยแก่ชุมชนและคนในหมู่บ้าน ประกอบกับการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการจัดทำเขตป่าอนุรักษ์ ป่าไม้ใช้สอย ป่าชุมชน แนวป้องกันไฟป่า และการปลูกป่า (หน้า 47-57)

Focus

ความเชื่อและพิธีกรรมของลีซู (บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย) ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน่วยงานของรัฐบาลให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการจัดทำเขตอนุรักษ์ ป่าไม้ใช้สอย แนวป้องกันไฟป่า ป่าไม้ผลเมืองหนาวและการปลูกป่า (หน้า 47-58)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชุมชนลีซู บ้านดอยช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (หน้า 15)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้ศึกษาไม่ได้อธิบายว่าลีซูใช้ภาษาใดในการติดต่อสื่อสาร แต่กล่าวถึงกลุ่มตระกูลภาษาของลีซูว่า ลีซู (Lisu) จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาดำเนินการศึกษา ดังนี้ 1. ศึกษาเอกสาร ในเดือน ตุลาคม 2544 2. เสนอโครงร่างตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2544 3. เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ - กันยายน 2545 4. วิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2545 5. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่เดือน มกราคม 2545 - มีนาคม 2546 6. เสนอผลงานในเดือนเมษายน 2546

History of the Group and Community

ผู้ศึกษากล่าวถึงประวัติหมู่บ้านดอยช้างตามประวัติศาสตร์จีนบันทึกที่ไว้ว่า แต่เดิมลีซูอาศัยอยู่ตามหุบเขาสูง ระหว่างแม่น้ำจินชา (Jinsha River) และแม่น้ำยาลู (Yalu River) และอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าวูเติง (Wudeng) และเลียงลิน (Lianglin) ต่อมาในศตวรษที่ 15-19 ได้อพยพกระจายอยู่ระหว่างแม่น้ำล้านช้าง (Lanchang) และแม่น้ำนูเจียง (Nujiang) หรือที่เรียกว่าแม่น้ำสาละวิน (Salween) ภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวน หมิง และชิง ในปี ค.ศ. 1820 การอพยพเริ่มในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-20 โดยมีสาเหตุจากการกดดันด้านการปกครองจากประเทศจีน ลีซอกลุ่มแรกอพยพจากเชียงตุง และเมืองปั่นในพม่า ตั้งถิ่นฐานที่ดอยผาลั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ.2462-2464 ต่อมา ลีซอกลุ่มนี้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บริเวณที่เป็นถิ่นที่อยู่ของม้งและลาหู่มาก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2400 (หน้า 6, 27)

Settlement Pattern

ลีซู บ้านดอยช้าง จำแนกพื้นที่สำหรับการตั้งบ้านเรือน และการเพาะปลูก ไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1.การจำแนกพื้นที่สภาพอากาศเป็นพื้นที่เย็น (จยาหมู่ว) และพื้นที่ร้อน (ลยูมยู่ว) โดยการสังเกตจากต้นไม้ในป่า หากเป็นพื้นที่ร้อนจะมีต้นไผ่มาก ส่วนพื้นที่เย็นจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีไม้สน (ไม้เกี๊ยะ) ปกคลุมมาก เหมาะกับการทำไร่ฝิ่นและพืชเมืองหนาว การตั้งบ้านเรือนจะเลือกบริเวณกึ่งกลางระหว่างพื้นที่ร้อนและเย็น 2.การจำแนกพื้นที่ตามความเชื่อเรื่องผี แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ประเภท คือ เขตบ้าน ได้แก่ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยที่ตั้งบ้านเรือนกับที่ฝังศพ ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองของผีบ้าน (เสื้อบ้าน) อาปาหมู่ฮี และพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยที่ทำการเกษตร และทางเดิน พื้นที่อีกเขตหนึ่ง คือ เขตป่า เป็นพื้นที่ที่ไม่มีใครครองใช้ประโยชน์หรือแปรสภาพเป็นที่ทำกิน ประกอบด้วยป่าและธรรมชาติ (หน้า 48)

Demography

การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู จำแนกตามพื้นที่จังหวัด 10 จังหวัดภาคเหนือ รวมประชากรทั้งสิ้น 36,517 คน ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 73 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 18,124 คน จังหวัดเชียงราย จำนวน 43 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 10,132 คน จังหวัดตาก จำนวน 8 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 2,118 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 18 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 4,840 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 1 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 544 คน จงหวัดพะเยา จำนวน 2 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 219 คน จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 163 คน จังหวัดลำปาง จำนวน 2 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 158 คน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 2 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 148 คน และจังหวัดแพร่ จำนวน 1 กลุ่มบ้าน ประชากรรวม 71 คน (จากตารางแสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู) ลีซูที่อาศัยอยู่บเทือกเขาสูงในจังหวัดเชียงราย มีจำนวนประชากรมากกว่า 5,437 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่บ้านดอยช้าง บ้านห้วยไคร้ บ้านดอยล้าน บ้านผาแดง-ลีซอ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย บ้านห้วยล้าน บ้านแม่มอญ ตำบลห้วยชมภู บ้านเวียงกลาง ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง บ้านปางสา อำเภอแม่จัน และบ้านป่าเหมือด อำเภอแม่สาย (หน้า 25) โครงสร้างประชากรบ้านดอยช้าง มีดังนี้ ประชากรวัย 1 วัน -3 ปี จำนวน 399 คน ประชากรวัย 3 ปี 1 วัน - 6 ปี จำนวน 342 คน ประชากรวัย 6 ปี 1 วัน - 12 ปี จำนวน 443 คน ประชากรวัย 12 ปี 1 วัน - 14 ปี จำนวน 481 คน ประชากรวัย 15 ปี 1 วัน - 18 ปี จำนวน 434 คน ประชากรวัย 18 ปี 1 วัน - 50 ปี จำนวน 1,298 คน ประชากรวัย 50 ปี 1 วัน - 60 ปี จำนวน 396 คน ประชากรวัย 60 ปี 1 วัน ขึ้นไป จำนวน 370 คน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,163 คน ในจำนวนนี้เป็นลีซู 740 คน เป็นจีนฮ่อ 65 คน ที่เหลือจำนวน 3,358 คน เป็นอาข่า (หน้า 28)

Economy

โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายเน้นภาคเกษตรกรรม สาขาการผลิตที่สำคัญมากที่สุดคือ เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 23.8 ของผลิตภัณฑ์จังหวัด และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว 29,746 บาท เป็นลำดับที่ 13 ของภาคเหนือ เป็นลำดับที่ 55 ของประเทศ พืชที่สำคัญ คือ ข้าว รองลงไป คือข้าวโพด มันสำปะหลัง ลิ้นจี่ กระเทียม ขิง ฯลฯ ในส่วนของชุมชนลีซูบ้านดอยช้าง กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ใช้เวลาปลูกนาน 2-3 ปีจึงจะออกดอกออกผลโดยต้นหนึ่งให้ผลผลิตประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกาแฟ 400 ต้น รวมผลผลิตประมาณ 6,000 กิโลกรัม ผลผลิตกาแฟของหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2545 จำนวน 200 ตัน ตลาดหลัก คือ บริษัทซีพี และบริษัทเนสเล่ท์ประเทศไทย ตลาดรองคือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายเองรวมทั้งการจำหน่ายให้กับผู้ส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน และเยอรมัน เป็นต้น อีกทั้งยังมีการนำกาแฟจากหมู่บ้านดอยช้างไปผสมกับกาแฟจากแหล่งอื่น หรือบรรจุจำหน่ายโดยใช้เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของตนเอง นอกจากนั้นยังมีพืชอุตสาหกรรม เช่น มะคาเดเมีย เกาลัด มันฮ่อ ชาจีน ไม้ผลเมืองหนาว เช่น สาลี่ พลับ ท้อ บ๊วย พลัม ไม้ดอกเมืองหนาว เช่น โปรเตีย และว่านสี่ทิศ พืชผัก เช่น กะหล่ำปลี ขิง และมะเขือเทศ (หน้า 24-25, 47, 31-35)

Social Organization

ชุมชนลีซูบ้านดอยช้างประกอบไปด้วยบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทและสถานภาพต่างกัน สองกลุ่มดังต่อไปนี้ 1.กลุ่มผู้นำในสังคมลีซู ได้แก่ 1.1 ฆว่าทู ผู้นำหมู่บ้าน ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ด้วย 1.2 เหมอมือ (mau-mer) เป็นผู้นำด้านพิธีกรรม ออกเสียงคล้าย หมอเมื่อ ในภาษาล้านนา 1.3 หนี่ผ่า (Knee-pa) คนทรงผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิงเรียก "หนี่มา" 1.4 โชใหม่โชติ ผู้อาวุโส มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านขนบธรรมเนียมประเพณี การเพาะปลูก และแก้ไขข้อพิพาท เป็นต้น 1.5 กรรมการหมู่บ้าน ที่แต่งตั้งตามระเบียบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 1.6 กลุ่มองค์กรอื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของส่วนราชการ เช่น กลุ่มเยาวชน ลูกเสือชาวบ้าน สาธารณชุมชน เป็นต้น 2.กลุ่มผู้นำในหมู่บ้าน ได้แก่ หมอพื้นบ้าน ผู้นำด้านการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน ผู้นำด้านความเชื่อและประเพณี ผู้นำที่ ชาวบ้านนับถือและให้คำปรึกษา ผู้นำด้านภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการและองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายในหมู่บ้านอีก เช่น สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี กรมป่าไม้ เป็นต้น (หน้า 28-30)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ชนเผ่าลีซูมีวิถีการดำเนินชีวิตผูกพันกับการเกษตรและการพึ่งอาศัยซึ่งกันและกันกับระบบธรรมชาติ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนกับป่า โดยผ่านกระบวนการตามความเชื่อ และพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้มีหวู่ซา เป็นเจ้าของ โดยมีเทพเจ้ามีซือด่ามาและอิ๊ด่ามา เป็นผู้ครอบครองดูเลรักษา จะต้องมีการทำพิธีขออนุญาตจากเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น หากจะทำไร่ ต้องขออนุญาตจากเทพอิ๊ด่ามา หากจะล่าสัตว์ต้องขออนุญาตจากอาปาหมู่ เป็นต้น เทพเจ้าตามความเชื่อของเผ่าลีซู ได้แก่ มะจยื่อสื่อผ่า เป็นเทพผูตัดสินความดีความชั่วซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดของบทสวดโดยเฉพาะพิธีกรรมส้าละหลัวะ (พิธีเรียกขวัญใหญ่) มีซือด่ามา เป็นเทพเจ้าแห่งลม อิ๊ด่ามา เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาผืนป่า อาปาหมู่ เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลรักษาชุมชน สือจยือสื่อผ่า เป็นเทพเจ้าดูแลต้นไม้ หากมีการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ ต้องขออนุญาตจากเทพองค์นี้ โดยเฉพาะการทำพิธีเรียกวัญตั้งสะพานและการทำโลงศพ จาถู่วสื่อผ่า เป็นเทพเจ้าแห่งขุนน้ำ นอกจากนี้ ลีซูยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ โดยพิธีการเซ่นไหว้ เช่น มีศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน เรียกว่า อาปาหมู่ฮี เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพอาปาหมู่ ได้รับมอบหมายหน้าที่จากหวู่ซาให้ดูแลผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ส่วนพื้นที่นอกหมู่บ้านอยู่ในความคุ้มครองของเทพอิ๊ด่ามา ต้องมีพิธีบวงสรวงในวันขึ้นปีใหม่ เรียกพิธีกรรมนี้ว่า พิธีกรรมหมื้อกูกู ผู้ชายเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปร่วมพิธีได้ อีกทั้งลีซูยังเชื่อเรื่องสัตว์ป่าด้วย ซึ่งเชื่อกันว่า สัตว์ป่าเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขา เช่น ไก่ป่า และเก้ง หมูป่า ควายแคระ ผึ้ง นกตบยุง งูเหลือม เสือ สุนัข และปลางิน เป็นต้น (หน้า 36-46)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่ามีหมอพื้นบ้าน เป็นสตรี 3 คน ประกอบด้วย นางอัมพร ตามี่ อายุ 57 ปี นางอะซะมะ ตามี่ อายุ 57 ปี และนางอะฉือมะ พนาอดิศัย อายุ 54 ปี (หน้า 29)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ลีซูมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องสัตว์ 3 เรื่อง ได้แก่ เสือ สุนัข และ ปลาเงิน เรื่องเสือ มีใจความว่า นานมาแล้ว ควายไถนาอยู่กลางทุ่ง เสือเดินผ่านมาแล้วบอกควายว่า ตัวใหญ่ซะเปล่า ทำไมถึงให้คนใช้งาน ควายตอบว่า คนถึงจะตัวเล็ก แต่ฉลาด มีปัญญา เราสู้ไม่ได้ เสือก็ถาม อันที่ฉลาดมันเป็นอย่างไร พอรุ่งเช้าควายก็บอกคนว่า "ควายอยากรู้ปัญญาของคน ความฉลาดของคน" เสือก็ถามคนว่าอยากรู้จักหน้าตาของความฉลาด ปัญญา มันเป็นอย่างไร คนก็บอกว่า มีสิ แต่ไม่ได้เอามา มันอยู่ที่บ้าน เดี๋ยวจะเอามาให้ดู เสืออยากรู้ก็คะยั้นคะยอให้ไปเอามา คนบอกว่า จะไปเอาแต่กลัวเสือหนี ฉะนั้นขอมัดเสือไว้ได้ไหม เสือตกลง คนจึงจับเสือใส่กระสอบมัดปากกระสอบไว้กับต้นไม้ จากนั้นก็กลับไปเอาต้นไม้มีหนามยาวมา แล้วถามเสือว่าพร้อมจะดูหรือยัง เสือบอกพร้อม คนก็ลงมือตี แล้วบอกเสือว่า นี่คือปัญญา นี่คือความฉลาด เสือทนความเจ็บไม่ไหวก็บอกว่า "ฉันรู้แล้ว ต่อไปหากเจอคนกลางวันจะหนีห่าง ไม่พบเจอคน 3 ลูกดอย กล่าวคืนจะขอห่างจากผู้คน 3 วา" คนจึงยอมปล่อยเสือไป ความเชื่อนี้ทำให้เกิดแนวคิดว่าต้องกันพื้นที่ป่าไว้ เพื่อให้เสืออาศัย ไม่มารบกวนคน (หน้า 45-46) เรื่องสุนัข มีใจความว่า กาลก่อนเมื่อครั้งที่ข้าวลูกเท่ามะพร้าว มีลูกของหญิงนางหนึ่งอุจจาระ นางจึงเอาเปลือกข้าวเช็ดก้นลูก ข้าวน้อยใจและโกรธ จึงหนีกลับบ้าน คนไม่มีข้าวกินจึงกินเผือกมันแทน วันหนึ่งสุนัขไปเยี่ยมข้าว ระหว่างทางต้องว่ายน้ำข้ามทะเลไป พอไปถึงก็ตะกายข้าวที่ตากไว้ แล้วก็ว่ายน้ำกลับมาหาคน แต่ข้าวได้ถูกน้ำทะเล ลมทะเลพัดไปหมด เหลือติดตรงหางสุนัข 3 เม็ด คนจึงนำมาปลูก และกินจนถึงทุกวันนี้ ความเชื่อนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีกินข้าวใหม่ ทำให้ลีซูเอาเผือกมัน ข้าว ให้สุนัขกินก่อน แล้วคนกินทีหลัง เพื่อขอบคุณสุนัขที่เอาข้าวมาให้คนกิน และไม่มีการล่าสุนัขป่า อีกทั้งยังไม่กินเนื้อสุนัขด้วย นอกจากนี้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาเงินที่บ่อศักดิ์สิทธิ์ ว่าสมัยก่อนเป็นบ่อน้ำหนองธรรมดา เป็นที่เคารพของลีซู หลังจากมีคนอพยพเข้ามาในหมู่บ้านจำนวนมาก ทั้งจีนฮ่อ และอาข่า ทำให้น้ำแห้งลงสมัยก่อนเคยมีสองแม่ลูกมาจากที่อื่น ผ่านมาอยากจะดื่มน้ำ ก็เกิดอยากจับปลาเงินไปกิน ทั้งสองจึงเอาพริก เกลือ ผสมข้าวให้ปลากิน เมื่อปลาตาย จึงจับปลาไปกินที่บ้าน แล้วทั้งสองก็เสียชีวิตในเช้าวันต่อมา เมื่อ 10 ปีผ่านไป มีคนจับปลาไปกินอีก ปีนั้นก็เกิดแผ่นดินแยก ดินถล่ม ฝนตกผิดฤดูฟ้าคำราม ลมพัดต้นไม้หัก น้ำท่วม ดังนั้น บริเวณที่เป็นบ่อน้ำนั้นจึงเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของหมู่บ้าน (หน้า 45)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ในชุมชนบ้านดอยช้างประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 3 เผ่า คือ อาข่า จีนฮ่อ และลีซู ถึงแม้ว่ากลุ่มอาข่าจะเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านหลังลีซู และประชากรมากกว่าลีซู แต่ก็ยินยอมอยู่ภายใต้การนำของลีซู ไม่เคยมีเรื่องกระทบกันรุนแรง และไม่เคยดำเนินการเพื่อขอแยกหมู่บ้านเพื่อปกครองตนเอง อาข่ามีรายละเอียดความเชื่อแตกต่างกับลีซู แต่โครงสร้างความเชื่อที่เป็นหลักยังสอดคล้องกลมกลืนกับความเชื่อของลีซู เช่น พื้นที่ป่าใช้สอยก็ใช้ร่วมกันกับลีซู ส่วนการประกอบพิธีกรรมก็ใช้พื้นที่ส่วนรวมซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ประกอบกับสามารถประสานประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างลงตัว ทำให้สามารถอยู่ร่วมกัน ให้ความร่วมมือในการจัดการป่าของหมู่บ้านได้ และให้ความเคารพต่อกฎระเบียบของหมู่บ้าน (หน้า 47-53)

Social Cultural and Identity Change

แต่เดิมบ้านดอยช้างเป็นชุมชนเศรษฐกิจแบบยังชีพ ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ระบบผลิตการเกษตรเพื่อการตลาด อันเป็นผลสืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8 ที่เน้นภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ชนบทผลิตวัตถุดิบเพื่อป้อนอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ และขยายพื้นที่เพาะปลูกไปยังป่าที่ชุมชนอนุรักษ์ไว้ ประกอบกับได้รับความช่วยเหลือจากโครงการพัฒนาทางการเกษตรและมีการพัฒนาการทางการเมืองที่เข้าสู่ระบบการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน คือการเพาะปลูก ซึ่งแต่เดิมปลูกข้าวโพดไว้เลี้ยงสัตว์และทำสุรา แต่ปัจจุบันพื้นที่โครงการหลวง ทำให้มีการปลูกพืชเมืองหนาว เช่น ท้อ บ๊วย และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศ มีการลดพื้นที่การปลูกข้าว โดยหันไปซื้อจากพื้นที่อื่นมาบริโภคแทน เพราะการปลูกข้าวต้องใช้ต้นทุนสูง มีการปลูกข้าวโพดไว้เพื่อเลี้ยงสัตว์ คือ หมูและไก่ เพื่อประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ และเป็นเครื่องมือทำนายโชคชะตา การเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตสรุปได้ ดังนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงทางภายนอก เช่น สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคง มีถนนคอนกรีต มีจานรับสัญญาณดาวเทียม มีเครื่องรับโทรทัศน์ มีรถจักรยานยนต์ รถยนต์ พฤติกรรมการบริโภค และการแต่งกาย เป็นต้น (2) การเปลี่ยนแปลงภายใน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ แบบแผนการดำรงชีวิต คติความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม วิสัยทัศน์ชุมชน และการสืบทอดวัฒนธรรม โครงสร้างองค์กรชุมชน เช่น อบต. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กองทุนชุมชน อาจทำให้บทบาทหมอผีหรือผู้อาวุโสเปลี่ยนแปลงไป (หน้า 47-57)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การจำแนกป่าของลีซูนั้นจำแนกได้ ดังนี้ 1.เขตป่าหวงห้ามตามความเชื่อ ได้แก่ อาจยาหวู๊ดูว (ป่าต้นน้ำ), ลาป๊ะถ่า (ป่าบริเวณน้ำซึม), อาจยาคูว (ป่าบริเวณน้ำผุด), อิ๊ด่ามาหลัวะกูว (ป่าที่ใช้เซ่นไหว้อิ๊ด่ามา), อาปาหมู่ฮี (ป่าบริเวณศาลเจ้าผู้ปกป้องดูแลชุมชน), หลี่ฮี (ป่าช้า), ฉยะลวู้กูว ป่าสะเดาะเคราะห์ 2.ป่าจำแนกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ จยาหมู่ว คือป่าที่ลักษณะอากาศหนาวเย็นเป็นป่าดิบชื้น และ ลยูวมยู่ว คือป่าเบญจพรรณหรือป่าผลัดใบ

Map/Illustration

ผู้ศึกษาได้ใช้แผนภาพ และแผนที่ ช่วยอธิบาย ดังนี้ แผนภาพผู้หญิงลีซูกับชุดแต่งกาย และเครื่องประดับ (หน้า 19) แผนที่แสดงถิ่นฐานและเส้นทางการกระจายตัวของลีซู (หน้า 20) แผนที่จังหวัดเชียงราย (หน้า 21) แผนที่เส้นทางไปสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี (หน้า 22) แผนที่หมู่บ้านดอยช้าง (หน้า 23)

Text Analyst อัจฉรี ทิพย์วิเศษ Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ลีซู, ความเชื่อ, พิธีกรรม, การจัดการป่า, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง