สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เมี่ยน,ลีซู,ลเวือะ,ชาวเขา,การเปลี่ยนแปลง,วิถีชีวิต,โครงการอพยพชาวเขา,ลำปาง
Author สมชัย แก้วทอง
Title ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภายในชุมชน อันเนื่องมาจากโครงการอพยพชาวเขา : กรณีศึกษาบ้านวังใหม่ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ลีซู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 69 Year 2544
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบันฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในชุมชนอันเนื่องมาจากโครงการอพยพชาวเขา ในประเด็นเรื่องปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบ้านวังใหม่ หลังจากที่อพยพมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันนี้ ซึ่งมีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้ชาวเขาอพยพกลุ่มนี้ประสบกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ขาดที่ทำกินเพราะพื้นที่อพยพเป็นดินลูกรังไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ ฉะนั้น รายได้หลักจึงมาจากการไปรับจ้างขายแรงงานเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกล้วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชาวเขาอพยพกลุ่มนี้ (หน้า 50-58, 62-68)

Focus

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนที่เกิดจากโครงการอพยพชาวเขา เน้นให้เห็นถึงปัจจัยทั้งภายในและภายนอก (หน้า 2, 50-58)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ เย้า , ลีซอ , ลัวะ

Language and Linguistic Affiliations

เย้า, ลีซอ, ลัวะ ซึ่งมีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เย้ามีภาษาเย้า ลีซอมีภาษาลีซอ ลัวะก็มีภาษาลัวะ (หน้า 41)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ก่อนที่ชาวเขาจะอพยพมาอยู่พื้นที่บ้านร่องเคาะในปัจจุบันนี้ ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณบ้านแม่ส้าน ผาแดงติดกับดอยหลวง ซึ่งมีรอยต่อ 3 จังหวัดคือ จังหวัดลำปาง พะเยา เชียงราย ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ประกาศให้ดอยหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ เพราะพื้นที่แห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ชาวเขาที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ถูกอพยพลงมาสู่พื้นที่รองรับ บ้านแม่อ้อ-ผาช่อ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง แต่สภาพพื้นที่รองรับไม่เหมาะกับการดำรงชีพ พื้นดินเป็นดินลูกรัง ไม่มีแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ในปี พ.ศ 2538 ศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขา จึงอพยพชาวเขากลุ่มนี้มาอยู่ที่บ้านวังใหม่ หมู่ 12 ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปางจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ก่อนการอพยพชาวเขาเผ่าเย้า, ลีซอ, ลัวะ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ แม่ส้าน-ผาแดง จำนวน 8 หมู่บ้าน อาศัยอยู่บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด ชาวเขาเผ่าเย้าที่อยู่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปางมีประชากรจำนวน 539 คน อยู่ที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 568 คน ส่วนอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีชาวเขาเผ่าลีซอ จำนวน 397 คน กระทั่งมีการอพยพชาวเขากลุ่มนี้มาอยู่ที่บ้านวังใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปัจจุบันนี้ มีประชากรรวมทั้งหมด 855 คน จำนวน 168 ครัวเรือน จำแนกเป็นเผ่าเย้า จำนวน 618 คน 131 ครัวเรือน ลัวะ 12 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวม 69 คน ลีซอ 20 ครัวเรือนมีจำนวนประชากร 118 คน (หน้า 37)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของผู้อพยพส่วนใหญ่ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ผู้ชายจะรับจ้างขายแรงงาน เผาถ่าน หรือประกอบอาชีพเป็นกรรมกรรับจ้างเพื่อนำเงินที่ได้มาใช้จ่ายภายในครอบครัวเพราะพื้นที่อพยพที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น ผืนดินเหมาะกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ก่อนที่จะมีการอพยพมาอยู่พื้นที่แห่งนี้แต่เดิม ผู้อพยพกลุ่มนี้อาศัยอยู่เขตติดต่อกับดอยหลวง ระบบเศรษฐกิจในตอนนั้นถือว่าค่อนข้างดีเพราะพวกเขาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกกาแฟ สาลี่ และลิ้นจี่ไว้ขาย ปีหนึ่งขายได้ เป็นเงินหลายหมื่นบาท บางรายขายได้ปีละประมาณ 4-5 หมื่นบาท ค่าใช้จ่ายก็ไม่ค่อยมี พืชผักก็อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องหาซื้อ ใครมีอะไรก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน บางปีมีเงินเก็บปีละ 30,000-40,000 บาท และไม่เคยเดือดร้อนเรื่องเงินเลย ถือว่าเศรษฐกิจ ในยุคนั้นดีมาก แต่หลังจากที่ได้อพยพมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างได้มาจากการซื้อทั้งนั้น เพราะพื้นที่ไม่อำนวยแก่ การประกอบอาชีพแบบเดิม ข้าวที่ปลูกไว้ก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ต้องออกไปรับจ้างขายแรงงาน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพิ่มมากขึ้น มีหลายครอบครัวที่มีรายได้จากการไปรับจ้างขายแรงงานนอกพื้นที่ ไปเป็นเด็กเสริฟตามร้านอาหารบ้าง ไปเป็น เด็กปั้มบ้าง ผู้หญิงบางครอบครัวก็ไปขายบริการทางเพศ พอได้เงินก็ส่งมาให้ทางบ้านเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ในยุคนี้ ถือว่า ระบบเศรษฐกิจค่อนข้างฝืดเคือง (หน้า 39, 44-49)

Social Organization

สถานภาพทางสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ยุติธรรม ระหว่างเผ่าพันธุ์ เพราะแต่ละชนเผ่ามีสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการที่จะปกครองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายในหมู่บ้านมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกภายในกลุ่มที่เป็น ชนเผ่าเดียวกัน ไม่มีความผูกพันกันแบบเพื่อนบ้าน (หน้า 40)

Political Organization

หลังจากอพยพมาอยู่ที่บ้านวังใหม่แล้ว ชาวเขาแต่ละเผ่าต้องมาอาศัยอยู่รวมกันในที่แห่งเดียวกัน ลักษณะการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยในหมู่บ้านจะมีผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน แต่การปกครองก็มีปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ้าง เพราะความแตกต่างของแต่ละชนเผ่าทำให้ยากต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย บางครั้งก็ถูกกล่าวหาว่าไม่มีความเป็นธรรมแก่ชนเผ่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ยากต่อการที่จะให้ทุกคนในหมู่บ้านเข้ากัน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ (หน้า 40)

Belief System

ผู้เขียนกล่าวถึงประเพณีพิธีกรรมที่กลุ่มชาวเขาอพยพกลุ่มนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมา คือ ประเพณีตรุษจีน สารทจีน พิธีไหว้บรรพบุรุษ พวกเขามีความเชื่อในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ นั่นก็คือผี ทุกครอบครัวจะต้องมีผีประจำตระกูลหรือผีบ้าน การไหว้ผีประจำตระกูล ทุกครอบครัวจะต้องมาร่วมกันไหว้ หากใครขาดต้องมีคนมาไหว้แทน นอกจากจะมีผีประจำตระกูลแล้ว ยังมีผีประจำหมู่บ้านหรือผี "ตระบุงเมี้ยน" ที่ทุกคนในหมู่บ้านต้องให้ความเคารพ ส่วนสถานที่ที่ผีประจำหมู่บ้านสิงสถิตอยู่นั้น หมอผีประจำหมู่บ้านจะเลือกบริเวณป่าข้างโรงเรียนเป็นที่อยู่อาศัยของผีประจำหมู่บ้าน ปัจจุบันนี้ชาวบ้านยังคงกราบไหว้เหมือนเดิม ประเพณีปีใหม่ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีนี้ถือว่าขาดไม่ได้ งานปีใหม่จะมีพิธีสะเดาะเคราะห์สำหรับคนดวงไม่ดี หากคนที่ดวงดีอยู่แล้วก็จะสะเดาะเคราะห์เพื่อให้ดวงดีมากขึ้น ก็เหมือนกับการปลูกข้าวที่ต้องไหว้ฟ้าดินก่อน เพื่อให้ฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล หรือไม่ให้สัตว์ร้ายมาทำลายพืชผลเสียหายได้ ด้านพิธีกรรมมีพิธีเกี่ยวกับงานศพ ในสมัยก่อนหากมีศพคนตายจะห้ามหามศพผ่านหมู่บ้าน หากจะผ่านหมู่บ้านต้องให้ไปอ้อมผ่านหมู่บ้านนั้นเสียก่อน เพราะพวกเขามีความเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่ดีเป็นสิ่งอัปมงคล แต่ในปัจจุบันหลังจากที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านวังใหม่นี้ มีถนนคร่อมเส้นทางหลวงแผ่นดิน ผ่านกลางหมู่บ้านและเป็นเส้นทางที่ทุกคนต้องผ่านเข้าเมือง กฎข้อห้ามเรื่องการห้ามนำศพผ่านหมู่บ้านจำต้องถูกยกเลิกไป (หน้า 55-56)

Education and Socialization

หลังจากที่ได้มาอยู่บ้านวังใหม่ พวกเด็กๆ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษามากขึ้น พวกเขาได้เข้าเรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กบางคนได้ไปเรียนต่อระดับมัธยมในตัวอำเภอและจังหวัด แต่หากเด็กคนไหนที่ฐานะทางบ้านยากจนก็อาจจะไปบวชเรียนบ้าง จะเห็นได้ว่าปัจจุบันชาวเขาได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น พ่อแม่ก็ให้การสนับสนุนการศึกษาของลูกโดยส่วนใหญ่แล้วหากพ่อแม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูก ลูกก็จะมีแรงจูงใจอยากเรียนให้สูงขึ้น (หน้า 40,43,44)

Health and Medicine

ชาวบ้านในชุมชนบ้านวังใหม่รักษาโรคภัยไข้เจ็บที่โรงพยาบาลและสถานีอนามัยใกล้บ้าน สำหรับคนที่ไม่มีเงินจะมีบัตรสงเคราะห์และบัตรประกันสุขภาพไว้สำหรับการดูแลรักษาโรค เวลามีท้องก็ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลแต่ตอนที่อาศัยอยู่บนดอย นานๆ จะได้รับการบริการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะลงมารักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่การเดินทางค่อนข้างลำบากมาก ต้องเหมารถของคนในหมู่บ้านลงมา ต้องเสียค่าเหมารถค่อนข้างแพงมาก (หน้า 43)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

หัตถกรรมการทอผ้า ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาชีพทอผ้าและปักลายผ้าตามเผ่าของตนเอง เพื่อนำไปขาย ผ้าแต่ละชิ้นที่พวกเขาปักจะใช้เวลาในการปักผ้านาน 8-12 เดือน (หน้า 60) ส่วนเสื้อผ้าและการแต่งกายชาวเขาเผ่าเย้า ลีซอ มูเซอ ลัวะ จะมีการแต่งกายเหมือนกับคนพื้นราบทั่วไป ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นมีผ้าโพกหัว โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ (หน้า 61) โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเป็นชาวเขาเผ่าเย้า ลีวอ มูเซอ ลัวะ ล้วนมีการแต่งกายเหมือนกับคนพื้นเมืองมาตั้งแต่สมัยที่อยู่บนดอยแล้ว แต่จะแต่งกายในชุดประจำเผ่าก็ต่อเมื่อมีงานแต่งงาน ฝ่ายหญิงต้องสวมชุดประจำเผ่า ส่วนฝ่ายชายก็แต่งแบบคนพื้นราบมีผ้าสีแดงคาดอก (หน้า 55,61)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

แต่ละเผ่าจะมีความสัมพันธ์กันในชนเผ่าเดียวกัน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไปมาหาสู่กันแต่ความสัมพันธ์กับคนภายนอก ช่วงแรกๆ พวกเขาจะรู้สึกไม่ค่อยปลอดภัยและรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย (หน้า 53)

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ปัจจัยทางภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็คือ - การได้รับรู้ข่าวสารข้อมูล ในสมัยที่อยู่บนดอยจะไม่ค่อยได้รับข่าวสารนานๆถึงจะได้รับข้อมูลสักครั้ง แต่ในสมัยปัจจุบันหลัง จากที่มาอยู่ที่บ้านวังใหม่แล้ว ได้รับรู้ข่าวสารตลอดเวลา จากสื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ ข้อมูลที่ได้รับมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงใน การดำรงชีวิตมาก ยิ่งได้รับรู้ข่าวสารมากก็ยิ่งทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันมาก - ปัจจัยนโยบายการพัฒนา เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากทางภาครัฐ มีหลายหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวเขา จากที่เคยแต่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพื้นที่ไว้ทำไร่ แต่ปัจจุบันไม่ต้องใช้พื้นที่ทำการเกษตรเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะ พวกเขาหันมาประกอบอาชีพตามที่ภาครัฐได้ส่งเสริมให้ทำ - รวมไปถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ตอนที่อยู่บนดอยมีพื้นที่ปลูกท้อ สาลี่ บ๊วย ปีหนึ่งขายได้เงินหลายหมื่นบาท พอมาอยู่ พื้นที่อพยพที่ดินที่ใช้สำหรับการเกษตรก็ไม่มี ที่มีก็เป็นดินลูกรังปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล ทุกสิ่งทุกอย่างได้มาจากการซื้อด้วย เงินทั้งนั้น หากเปรียบเทียบกับตอนที่อยู่บนดอยแล้วแทบจะไม่ได้ซื้ออะไรเลย อุดมสมบูรณ์ทุกอย่างเงินทองก็มีเหลือเก็บ - ด้านสังคมจากแต่ก่อนเคยไปมาหาสู่กันกับเพื่อนบ้าน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าการการคบหากับคนภายนอกช่วงแรกรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยเหมือนอยู่ตัวคนเดียว - ด้านนิเวศวิทยา อากาศบนดอยกับพื้นที่อพยพแตกต่างกันมาก อยู่บนดอยอากาศเย็นสบายน้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ แต่พอลงมา อยู่ข้างล่างอากาศร้อนทำให้หงุดหงิดง่ายนอนก็ไม่ค่อยหลับ ส่วนปัจจัยภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในประกอบไปด้วยดังนี้ - การเรียนรู้แต่เดิมชุมชนจะอาศัยวิธีการเรียนรู้ เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยในชีวิต ยึดถือและปฏิบัติตามกฎจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์เดิม ต่อมาวิธีการดำเนินชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป รัฐเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น วิธีการเรียนรู้เปลี่ยนไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในชุมชน มีเวทีชาวบ้านทำให้ชาวบ้านที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันมาพูดคุยปรึกษาหารือกัน - ด้านการปรับตัวจากการให้ข้อมูลของนายอุ้งสาร ได้กล่าวว่า อยู่บนดอยมีอิสระในการดำเนินชีวิตใครจะทำอะไรก็ทำจะเลี้ยงหมู เห็ด เป็ด ไก่ ก็เลี้ยงกันแบบปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องมาคอยดูแลอยู่ตลอดเวลาแต่พอมาอยู่พื้นที่อพยพปรับตัวแทบไม่ได้สัตว์เลี้ยงที่เคยเลี้ยงแบบปล่อยก็ต้องสร้างเล้าให้อยู่ หากเลี้ยงแบบเดิมกลัวว่าจะถูกขโมย - ส่วนด้านวัฒนธรรมประเพณีแบบเดิมยังคงยึดถือและปฏิบัติอยู่แต่ประเพณีเกี่ยวกับงานศพที่แต่ก่อนจะห้ามหามศพผ่านหมู่บ้านเพราะมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่ดีเป็นสิ่งอัปมงคลแต่ปัจจุบันกฎข้อนี้ได้ถูกยกเลิกไปเพราะพื้นที่ปัจจุบันมีถนนทางหลวงแผ่นดินตัดผ่านกลางหมู่บ้านหลายสายและเป็นเส้นทางที่ทุกคนต้องผ่านเข้าเมืองกฎข้อห้าม นำศพผ่านหมู่บ้านจำต้องถูกยกเลิกไป จากปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะมีบุคคลจากภายนอกมาจัดระเบียบชุมชน (หน้า 50-57)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ลักษณะการจัดสรรที่ดินของชุมชนบ้านวังใหม่ สภาพพื้นอยู่อาศัยจะแบ่งที่ดินออกเป็นล๊อกไว้สำหรับปลูกบ้านและปลูกพืชผัก พื้นที่ทำกินทางภาครัฐได้แบ่งที่ดินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมแต่สภาพป่ายังใช้ได้ดีอยู่ พื้นที่ดินลาดไม่มากนัก มีลำห้วยเล็กๆ ตามร่องเขา การแบ่งพื้นที่ทำโดยจับฉลากกลุ่มผู้อพยพที่มาก่อนคือเผ่าเย้าจะจับฉลากก่อนและสามารถ สับเปลี่ยนพื้นที่กันได้ เมื่อจับได้พื้นที่ที่ไม่สามารถทำกินได้ก็จะจับฉลากเป็นรอบที่ 2 ส่วนผู้ที่อพยพลงมาทีหลังคือลีซอและ ลัวะ จะได้ที่ดินที่ไม่สามารถทำกินได้เป็นส่วนใหญ่ (หน้า 39)

Map/Illustration

แผนที่ตั้งบ้านวังใหม่ ต.ร่องเคาะ อ. วังเหนือ จ. ลำปาง (หน้า 38) แผนที่แสดงที่ตั้งชุมชนบ้านวังใหม่ หมู่ 12 ต. ร่องเคาะ อ. วังเหนือ จ. ลำปาง (หน้า 42)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG เมี่ยน, ลีซู, ลเวือะ, ชาวเขา, การเปลี่ยนแปลง, วิถีชีวิต, โครงการอพยพชาวเขา, ลำปาง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง