สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อีก้อ,การยอมรับสิ่งใหม่,เงื่อนไข,วัฒนธรรม,เชียงราย
Author เวชชวุฒิ บุญชูวิทย์
Title เงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวเขาเผ่าอีก้อ : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 109 Year 2532
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งใหม่ของอีก้อ คือ ทางด้านทัศนะคติของอีก้อเอง ที่มีวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น ความคิด ข้อห้าม ความเชื่อ ข้อนิยม ซึ่งได้ครอบคลุมในหลายๆ ประเด็น คือ ทางด้านสภาพแวดล้อมภายในชุมชน การจัดระเบียบทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ ศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญ และมีความละเอียดอ่อนมาก ซึ่งเป็นตัวกำหนดในการเปลี่ยนแปลงหรือยอมรับกับสิ่งใหม่ ๆ และมีข้อสังเกตว่าการที่อีก้อจะยอมรับสิ่งใหม่ ๆ นั้น สิ่งเหล่านั้นต้องทำแล้วคุ้มค่า ไม่ใช้เวลาในการทำนาน และไม่ขัดกับวัฒนธรรมของตนที่มีอยู่

Focus

ศึกษาสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งใหม่ของอีก้อ ที่บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงใหม่

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิด ที่ใช้มุมมองภายในออกมาภายนอก ซึ่งได้นำตัวแปรของทฤษฎีต่างๆ ของนักวิชาการหลายท่านที่ได้ศึกษา เช่น อายุ ความเคยชิน ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ค่านิยม เป็นต้น ได้นำมาศึกษารายละเอียดใหม่มากขึ้นตามสภาพความเป็นจริงทางวัฒนธรรมของชุมชนที่ศึกษา ซึ่งมีสมมุติฐานอย่างกว้าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาว่า วัฒนธรรมวิถีชีวิตทางด้านต่าง ๆ คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี ความเชื่อ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต (ชนิดของพืช ปุ๋ย) เป็นปัจจัยสำคัญใน การยอมรับสิ่งใหม่เข้าสู่ชุมชนชาวเขาเผ่าอีก้อ บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่าเป็นไปตามสมมุติฐานทั้งหมด เช่น พฤติกรรมทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ กล่าวคือ อีก้อปลูกข้าวและข้าวโพดเป็นพืชหลัก แม้ว่าพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ขิง จะมีราคาขายในท้องตลาดสูงกว่าข้าวและข้าวโพด แต่อีก้อก็ไม่ยอมรับเอาพืชเหล่านั้นมาปลูก แทนการปลูกพืชหลักของตน ทั้งนี้ เนื่องจากราคาไม่ใช่ตัวแปรสำคัญ จนสามารถทดแทนความเกี่ยวพัน ระหว่างข้าวกับพิธีกรรมต่างๆ ได้ หรือทดแทนอาหารสัตว์ยามขาดแคลนได้ และเงื่อนไขทางด้านสังคมมีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ของ อีก้อด้วย เช่น บทบาทของผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ ผู้นำมักจะทราบข่าวต่าง ๆ และมีการติดต่อกับบุคคลภายนอกก่อนลูกบ้าน ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้รับสิ่งใหม่ ๆ ส่วนใหญ่สิ่งใหม่ที่ถูกนำมาจะตกอยู่กับกลุ่มเครือญาติ เพราะมีความสัมพันธ์กับเครือญาติอย่างใกล้ชิด เป็นต้น

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเรียกชาติพันธุ์นี้ว่า "อีก้อ" (E-Kaw) และมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น ก้อ (Ko), ข่าก้อ (Kha Ko) เป็นต้น แต่อีก้อเรียกตัวเองว่า "อาข่า" (Akna) (หน้า13) ซึ่งอีก้อจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายมองโกลอยด์ (Mongoloid) จีน-ทิเบต (Sino-Tibetan)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาอีก้อจัดอยู่ในกลุ่ม จีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ตระกูลย่อย ธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) สาขาโลโล (LoLo) ส่วนอีก้อในประเทศไทยสามารถแบ่งสำเนียงทางภาษาได้ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีสำเนียงภาษาเเบบจือก่อ (Jeu'G'oe) 2) กลุ่มที่มี สำเนียงภาษาเเบบอาจอ (A Jaw) 3) กลุ่มที่มีสำเนียงภาษาเเบบอาคุ่ย (A Kui) (หน้า 13-14)

Study Period (Data Collection)

เป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในระหว่างปี พ.ศ. 2529-2531

History of the Group and Community

อีก้อเป็นกลุ่มชนที่มีประวัติของตนเองมายาวนานและต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะมีการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น เห็นได้จากบุตรชายคนโตต้องจำชื่อของบรรพบุรุษของตนเอง ให้ได้ทั้งทางฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้อย่างละ 3 คน จึงทำให้อีก้อรู้จักกับบรรพบุรุษของตนเองที่เป็นต้นตระกูลถึง 62 ชั่วอายุคน และทำให้อีก้อในประเทศไทยทราบถึงความสัมพันธ์กับอีก้อกลุ่มอื่นๆ เช่นในประเทศจีน พม่า ลาว และเวียดนาม (หน้า13) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งถิ่นฐานเดิมของอีก้อ อยู่ในมณฑลยูนาน ของประเทศจีน แล้วจึงค่อยๆ อพยพลงมาอาศัยในประเทศลาว พม่า และเวียดนาม ส่วนอีก้อในประเทศไทยเข้ามาครั้งแรกเมื่อประมาณช่วงกลางคริสตวรรษที่ 19 (หน้า16) อีก้อที่มาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านแสนเจริญใหม่ จากรุ่นแรกที่อพยพเข้ามา สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า อพยพมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เดินทางมาพร้อมบรรพบุรุษ ซึ่งบริเวณที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้น ได้แก่ บ้านยางไม้ และบ้านขาแหย่ง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จึงอพยพลงมาทางใต้เรื่อยๆ จนข้ามแม่น้ำกก ตั้งหมู่บ้านที่ลำห้วยป่าเคาะ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อผู้ใหญ่บ้านคนแรกว่า บ้านแสนเจริญ ในปี พ.ศ.2521 เกิดความขัดแย้งในหมู่บ้าน ชาวบ้านจำนวนหนึ่งประมาณ 28 ครอบครัว ได้อพยพไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ซึ่งห่างจากหมู่บ้านเดิม 2 กิโลเมตร จึงมีชื่อเรียกว่า "บ้านแสนเจริญใหม่"

Settlement Pattern

อีก้อไม่นิยมตั้งหมู่บ้านใกล้เคียงอยู่ร่วมกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ บ้านของอีก้อสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหญ้าคา และใช้ไม้เป็นเสาบ้าน ลักษณะโครงสร้างภายในบริเวณบ้าน มักประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ คือ 1) ตัวเรือนใหญ่ เป็นที่อยู่ของหัวหน้าครอบครัว และบุตรที่ยังไม่แต่งงาน ส่วนใหญ่จะปลูกยกพื้น มีชานนั่งเล่น และที่สำหรับตากผลผลิตทางการเกษตร ตากผ้า และอื่นๆ บ้าง หลังบ้านภายในชายคามีครกตำข้าว 2) เรือนหอของบุตรที่แต่งงานแล้ว ภายในจะเป็นห้องเดี่ยวสำหรับเป็นที่นอน และเก็บสิ่งของส่วนตัว จะอยู่บริเวณหลังของเรือนใหญ่ 3) ยุ้งข้าว จะสร้างเป็นเรือนยกสูงอาจจะแบ่งเป็น 2 ห้อง เพื่อเก็บผลผลิตของข้าว และข้าวโพด ยุ้งข้าวนี้มักจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเรือนใหญ่ และห้ามไม่ให้มีทางน้ำไหลผ่านใต้เรือนหลังนี้ 4) คอกหมู บางครอบครัวสร้างคอกหมูไว้ด้านหลังของตัวเรือนใหญ่ และที่สำคัญที่ทุกบ้านจะขาดไม่ได้คือ ต้องมีศาลข้าวประจำบ้าน ซึ่งทุกปีต้องมีการประกอบพิธีเกี่ยวกับศาลข้าวนี้ (รูปหน้า 24-25)

Demography

อีก้อในประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่จำนวน 33,625 คน 5,065 หลังคาเรือน 269 หมู่บ้าน (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2529) ซึ่งในหมู่บ้านแสนเจริญใหม่ มีจำนวนครอบครัวทั้งสิ้น 41 ครัวเรือน (พ.ศ.2531) ไม่ได้ระบุจำนวนประชากร

Economy

อาชีพเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน แม้ว่าจะมีการค้าขายบ้าง พืชที่สำคัญ คือ ข้าวและข้าวโพด ซึ่งใช้ในการบริโภคและใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ การเพาะปลูกเป็นแบบพออยู่พอกิน หรือที่เรียกว่า "การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ" เพราะระบบการผลิตนั้น ชาวบ้านจะทำเพื่อพอกินเท่านั้น ไม่ได้หวังเพื่อนำไปค้าขาย จึงมีการเพาะปลูกไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ในผลผลิตที่ได้สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยในหลายๆ ด้าน คือ ลักษณะการใช้ที่ดิน แรงงาน ทุน และการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ และผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคแล้ว ชาวบ้านจะนำมาหมักเหล้า เลี้ยงสัตว์ หรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมอย่างฟุ่มเฟือย ไม่มีการนำไปขายเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดมากนัก ส่วนเงินที่ได้ ก็จะนำไปซื้อเป็นของใช้ภายในบ้าน เช่น เกลือ เข็ม ด้าย ฝ้าย และผงชูรสเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 50) และซื้อสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ไว้เพื่อสะสม ไม่มีการเก็บสะสมในรูปแบบของเงินสด ซึ่งถ้าบ้านไหนมีวัว ควาย มีเยอะก็แสดงว่าบ้านนั้นค่อนข้างฐานะดี จึงทำให้เห็นว่าอีก้อยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมในการดำเนินชีวิต เพราะไม่นิยมความฟุ่มเฟือยเหมือนสังคมภายนอก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่ชาวบ้านจะรับกระบวนการพัฒนาใหม่ๆ เข้าสู่ชุมชน เพราะขัดกับวัฒนธรรมของตนที่มีอยู่

Social Organization

สังคมของอีก้อนั้น มีลักษณะเป็นกลุ่มชน ที่ยังยึดถือขนบธรรมประเพณี ที่เป็นหนึ่งเดียวทั้งชุมชน หรือที่เรียกว่า "สังคมเนื้อเดียว" (Homogenious Society) (หน้า 35) ซึ่งมีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เป็นตัวเชื่อมของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ลักษณะครอบครัวของอีก้อนี้ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวแบบขยาย เน้นความสำคัญและบทบาทของบุตรชาย จะเห็นได้จากการตัดสินในเรื่องต่างๆ ต้องให้บุตรชายเป็นคนตัดสิน และจะนำภรรยามาอยู่ที่บ้านด้วย ดังนั้น จึงทำให้เป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งในครอบครัวหนึ่ง อาจมีสมาชิก 3 ชั่วอายุคน ได้แก่ ปู่ ยา ตา ยาย พ่อ แม่ และลูก ครอบครัวจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือขยายนั้น ในสังคมอีก้อ ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น แรงงาน วัย จำนวนบุตรชาย และฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งบุตรคนใดมีอำนาจในการตัดสินใจในทุกๆ ด้าน บุตรคนนั้นต้องมีหน้าที่ดูแลบุพการี ส่วนบุตรคนอื่นๆ ก็จะได้รับส่วนแบ่งเป็น ที่ดิน สัตว์เลี้ยง หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ บ้าง และจะแยกตัวออกไปปลูกเรือนใหม่ แต่จะอยู่ในละแวกเดียวกันกับครอบครัว ครอบครัวเช่นนี้จึงเรียกว่า "ครอบครัวเดี่ยว" การแต่งงานของอีก้อมีข้อห้ามไม่ให้สายเลือด หรือตระกูลเดียวกันแต่งงานกันโดยเด็ดขาด เมื่อแต่งงานแล้วภรรยาต้องมาอยู่บ้านฝ่ายสามี และนิยมแต่งงานกันครั้งเดียว แต่ถ้าภรรยาคนใดไม่สามารถมีบุตรได้ สามีสามารถแต่งงานใหม่ได้อีก ซึ่งใน หมู่บ้านมีผู้ชายที่มีภรรยามากกว่า 1 คน อยู่ 3 ครัวเรือน

Political Organization

การปกครองของอีก้อที่หมู่บ้านแสนเจริญเก่า ในยุคแรกเริ่มในการก่อตั้งหมู่บ้าน จะมีผู้นำที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ ซึ่งชาวบ้านแสนเจริญใหม่ยังคงอาศัยในหมู่บ้านแสนเจริญเก่า โดยมีผู้นำชื่อ "อาบอตูแซะ" (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่าแสนเจริญ) ดังนั้นจึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านว่า "แสนเจริญ" ซึ่งการเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านนั้น เป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ จึงได้รับแต่งตั้งจากทางราชการ ต่อมาเมื่อผู้นำคนเก่าได้ถึงแก่กรรมลง จึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ และทำให้เกิดปัญหาในการเลือกผู้นำ ชาวบ้านจำนวนหนึ่ง จึงได้แยกตัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ห่างจากตัวหมู่บ้านเก่า 2 กิโลเมตร (หน้า 17) มีชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านแสนเจริญใหม่" แต่ชาวบ้านแสนเจริญใหม่ยังคงมีความสัมพันธ์ และต้องพึ่งพา กับอีก้อบ้านแสนเจริญเก่าอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าในหมู่บ้านยังคงขึ้นกับผู้ใหญ่บ้านที่เป็นทางการของหมู่บ้านแสนเจิญเก่าอยู่ (หน้า 33) ดังนั้นในหมู่บ้านที่มีการเลือกตั้งไม่ว่าจะเลือกตั้งในระดับใดๆ ก็ตาม สามารถทำให้เห็นได้ว่า ในสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ต้องการความเป็นประชาธิปไตย ทุกคนมีบทบาทและหน้าที่ที่ทัดเทียมกัน ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะเช่นเดียวกับในหมู่บ้านแสนเจริญใหม่

Belief System

ทางด้านศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อมีความสอดคล้องกัน เพราะทางด้านศาสนา อีก้อบูชาและนับถือผีต่างๆ ซึ่งมีความเชื่อในอำนาจลึกลับ ซึ่งเรียกว่า "แหนะ" (ผี) ผีของอีก้อจะอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีต้นข้าว เป็นต้น และนับถือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จึงมีการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ ในรอบปี เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ ถือว่าการบูชาผีต่างๆ เป็นลัทธิหนึ่งในศาสนา ถึงแม้จะไม่มีคัมภีร์ศาสนาที่จดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีเทพเจ้าองค์ต่างๆ คือ เทพอะเพอหมิแหย่ เปรียบได้กับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์ และผีบรรพบุรุษ ที่สามารถเป็นที่พึ่งทางจิตใจของอีก้อได้เป็นอย่างดี ส่วนในด้านพิธีกรรม จะมี ญือมะ เป็นผู้นำการประกอบพิธีกรรม พิธีกรรรมต่างๆ ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของอีก้อ อีก้อไม่มีวัดหรือโบสถ์เป็น ศาสนสถาน ซึ่งญือมะ จึงเป็นศูนย์กลางในการยึดถือ เช่นเดียวกับ ผิมะ (หมอผี) ที่ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ใน หมู่บ้าน ด้านความเชื่อของอีก้อนั้น อีก้อจะแสดงออกมาในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านศาสนา พิธีกรรม และการดำเนินชีวิต เช่น การทำการเกษตรก็จะมีปฏิทินการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เป็นต้น

Education and Socialization

ระบุว่าผู้ชายอีก้อเท่านั้นที่มีโอกาสได้ติดต่อกับภายนอก สังเกตได้จากการรู้และเข้าใจภาษาทั้งภาษาไทย หรือภาษาของชาวเขาเผ่าอื่นๆ เช่น ภาษาของชาวเขาเผ่าลีซอ ผู้ชายจึงน่าจะมีโอกาสได้รับการศึกษามากกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ส่งบุตรหลานไปเรียนในเชียงราย หรือเชียงใหม่บ้าง เพราะเชื่อว่าบุตรหลานที่จบมา จะได้ทำงานมีเงินเดือน เหมือนข้าราชการประจำ แต่ก็มีครอบครัวที่ส่งบุตรหลานไปเรียน 2-3 ครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและไม่รู้ภาษาไทย เพื่อใช้ในการติดต่อกับทางราชการ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาหลัก ในการที่ภาครัฐหรือเอกชนจะเข้าไปติดต่อ หรือส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่างๆ ให้กับชาวบ้าน

Health and Medicine

การสาธารณสุขของชาวบ้าน เป็นไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิม คือรักษากับหมอผี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ผิมะ" ซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ การเจ็บป่วยจะเป็นในลักษณะเล็กๆ น้อยๆ เช่น มีไข้ ปวดหัว เมื่อยล้า จะมาให้หมอผีรักษา แต่ถ้ารักษาไม่หายก็จะไปให้แพทย์แผนปัจจุบันรักษา แต่ในทางกลับกัน เมื่อไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่หาย จึงจะกลับมารักษากับหมอผี ส่วนในด้านอื่นๆ ไม่ได้กล่าวถึง

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุแน่ชัด เเต่กล่าวภาพรวมด้านการแต่งกายของสาวอีก้อในประเทศไทย ซึ่งสามารถแบ่งออกตามลักษณะการแต่งกายออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1) กลุ่มที่สวมหมวกทรงสูง เรียกว่าอีก้ออูโล 2) กลุ่มที่มีเครื่องประดับเป็นโลหะเงินลูกกลมๆ เรียกว่าอีก้อหัวกลม 3) กลุ่มที่สวมหมวกแล้วมีแผ่นเงินอยู่ด้านข้างใบหู ด้านหลังไม่ยกสูง เรียกว่าอีก้อผาหมี (ภาพหน้า15)

Folklore

ส่วนใหญ่กล่าวถึงตำนานและความเชื่อในเรื่องต่างๆ เช่น ในบริเวณหมู่บ้านจะมีประตูผี ถ้าผู้ใดสัมผัส อีก้อจะต้องได้รับภัยพิบัติ และบริเวณประตูจะมีตุ๊กตาไม้ เป็นรูปชายและหญิงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กัน ตุ๊กตาคู่นี้ตามตำนานถือว่าเป็นสัญลักษณ์ในการดำรงเผ่าพันธุ์ของอีก้อ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และการสืบเนื่องของชุมชน และมีตำนานของตนว่า "อาข่า เกิดมาเพื่อการสืบทอด พวกเขาถือว่าควรดำเนินชีพเพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของบรรพบุรุษ อาข่ามองตนเองว่าเป็นห่วงหนึ่งของลูกโซ่สืบเกลียวกันมายาวนาน และจะประสานต่อกันอีกแสนไกล เขาถือว่าชีวิตก็ดีตลอดจนอาหาร พลานามัยและความมั่นคง ล้วนเป็นไปมิได้เพราะบรรพบุรุษบันดาลให้ จึงเป็นภาระของเขา ที่จะต้องบันดาลให้ลูกหลานต่อไปภายภาคหน้า" (หน้า4) เหล่านี้ เป็นต้น

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์อื่นนั้น อีก้อมีการติดต่อกับสังคมภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น ชาวเขาเผ่าลีซอ มูเซอ จนบางคนถึงกับมีการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ (นางอาชะ เชอมี แต่งงานกับชาวเขาเผ่าลีซอดอยล้าน ดูตารางหน้า 31) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนอื่นๆ ด้วย และสำหรับอีก้อที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่นๆ เช่น จีน พม่า เวียดนามและลาว (หน้า 13) รวมถึงอีก้อในประเทศไทยด้วย ก็สามารถสืบประวัติความสัมพันธ์กันได้จากการท่องต้นตระกูลทั้ง 62 คนได้อย่างแม่นยำ ถึงแม้จะอยู่คนละที่และต้องพลัดพรากจากกันมาเป็นเวลานาน

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชาวเขาเผ่าอีก้อหมู่บ้านแสนเจริญใหม่ ผู้วิจัยได้ให้ข้อสังเกตการไม่ยอมรับเอากระบวนการพัฒนาใหม่ๆ จากสังคมภายนอกเข้ามา ดังนั้นจึงไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมมากนัก แต่ผู้วิจัยกล่าวว่า อีก้อมีความสัมพันธ์กับผู้คนชุมชนอื่นๆ ได้ตลอดเวลา จึงเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ ตลอดจนนำความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ เหล่านี้ เป็นต้น (หน้า 33) ดังนั้น อีก้ออาจจะรับรู้และเข้าใจความเคลื่อนไหวของสังคมภายนอก แต่การจะรับมาปฏิบัติตามนั้น ในงานวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ ว่าขัดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองมากน้อยแค่ไหน เช่น ในด้านการเกษตรชาวบ้านก็ไม่เปลี่ยนแปลงวิถีทางด้านการผลิต ถึงจะ มีบ้าง มีในส่วนน้อย (2-3 ครอบครัว) ที่เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาแนะนำ เพราะชาวบ้านจะต้องทำตามปฏิทินทางการเกษตรของตนเองอย่างเคร่งครัด ว่าในแต่ละเดือนหรือวันไหน ต้องทำไร่หรือห้ามทำ ถ้าไม่ทำตามวัฒนธรรมความเชื่อดังกล่าวผีบรรพบุรุษจะโกรธ และจะทำให้ทำไร่นาไม่ได้ผล เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในภายในสังคมของชาวเขาเผ่าอีก้อมากนัก แต่อาจจะมีบางครอบครัวแต่เป็นส่วนน้อยที่ทำตามเจ้าหน้าที่แนะนำ และส่งบุตรหลานไปเรียน ก็เป็นพวกที่รู้และเข้าใจในภาษาไทย ดังนั้นในสังคมอีก้อนี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ของตนเองไว้เป็นอย่างดี จึงทำให้สังคมนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ น้อยมาก

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นอกเหนือจากการศึกษาทางด้านวัฒนธรรมความเชื่อในด้านต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการยอมรับสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญในงานวิจัยชิ้นนี้แล้ว ประเด็นที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ บทบาทระหว่างเพศชายและหญิงของอีก้อที่ผู้วิจัยได้ อธิบายถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ชายภายในสังคมชาวเขาเผ่าอีก้อ ซึ่งสอดแทรกอยู่ในเรื่องของการติดต่อกับทางการ การติดต่อค้าขาย พิธีกรรม การปกครองภายในหมู่บ้าน การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ชาย และแม้กระทั่งการแต่งงานฝ่ายหญิงต้องไปอาศัยอยู่บ้านของฝ่ายชายอีกด้วย จึงทำให้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านบทบาทหน้าที่ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ได้อย่างชัดเจน

Map/Illustration

แผนที่ - ตำบลวารี (หน้า2),หมู่บ้านแสนเจริญใหม่ ปี พ.ศ.2529 (หน้า56), หมู่บ้านแสนเจริญใหม่ ปี พ.ศ.2531 รูปภาพ - แผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับจำนวนผู้ยอมรับสิ่งใหม่ (หน้า9), การแต่งกายของชาวสตรีอีก้อ (หน้า15), องค์ประกอบภายในบริเวณบ้านของชาวเขาเผ่าอีก้อ (หน้า24), องค์ประกอบภายในบ้าน (ตัวเรือนใหญ่) ของชาวเขาเผ่าอีก้อ (หน้า25) ตาราง - สรุปปฏิทินในรอบปี (หน้า56), สรุปปฏิทินพิธีกรรมในรอบปี (หน้า71-72), แสดงการจำแนกแรงงานงระหว่างเพศ (หน้า37-39), แสดงชื่อหัวหน้าครอบครัว อายุ และสถานภาพ (หน้า30-31)

Text Analyst เกศรินทร์ ตำแยโย Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG อีก้อ, การยอมรับสิ่งใหม่, เงื่อนไข, วัฒนธรรม, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง