สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนยูนนาน,อพยพ,กองพล 93,การเปลี่ยนแปลง,เศรษฐกิจ,การเมือง,ชายแดนภาคเหนือ
Author กฤษณา เจริญวงศ์
Title การศึกษากลุ่มคนจีนอพยพ (กองพล93) ในเขตชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย : การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร Total Pages 83 Year 2533
Source สถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
Abstract

กลุ่มคนจีนอพยพอดีตทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างอยู่ในประเทศไทยบริเวณภาคเหนือของ 3 จังหวัด ซึ่งไม่ยอมกลับประเทศไต้หวัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในจีนตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการเมือง และเหตุผลส่วนตัวเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนดังกล่าวได้ถูกถือว่าเป็นผู้อพยพ โดยถือว่ามีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ทั้งนี้จะเห็นว่าระยะเวลาการอยู่อาศัยที่ผ่านมาเป็นเวลาถึง 30 ปีแล้ว คนกลุ่มนี้ยังยืนหยัดที่จะอยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องการอพยพออกไปที่อื่น อีกทั้งยังพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการยอมรับจากสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยพยายามยอมรับข้อตกลง หรือข้อแลกเปลี่ยนทางกฎหมายอย่างถูกต้องในแต่ละช่วงสมัย ทั้งนี้ก็เพื่อหวังจะได้รับการ ยอมรับจากคนไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางรัฐบาลไทยที่ยื่นข้อเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับการจะได้รับสัญชาติเหมือน เช่นคนไทยทั่ว ๆ ไป (หน้า 77-79)

Focus

ศึกษากลุ่มคนจีนอพยพ (กองพล 93) ในเขตชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อศึกษานโยบายและการปฏิบัติของ รัฐบาลไทยต่อกลุ่มคนจีนอพยพ (อดีตทหารจีนคณะชาติ) และศึกษาถึงบทบาทและสถานภาพของกลุ่มคนจีนอพยพที่มี ต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย (หน้า ซ.)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

การศึกษาจำกัดเฉพาะกลุ่มคนจีนอพยพทางภาคพื้นดิน แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ จีนฮ่ออพยพ กับอดีตทหารจีนคณะชาติ หรือที่เรียกว่า ก๊กมินตั๋ง (หน้า ฌ., 1 )

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

อดีตทหารจีนคณะชาติภายใต้ชื่อกองพล 93 หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "ก๊กมินตั๋ง" ที่เข้ามาอยู่อาศัยตามพื้นที่เขตชายแดน ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งในขณะนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพจีนคณะชาติได้ช่วยเหลือกลุ่มพันธมิตรเพื่อต่อต้าน ญี่ปุ่น โดยฝ่ายจีนคณะชาติได้จัดกำลังป้องกันมณฑลยูนนานภายใต้กองทัพที่ 13 ซึ่งมีกองพล 93 เป็นหน่วยรองหน่วยหนึ่ง ที่ได้รับผิดชอบในเขตพื้นที่สิบสองปันนาและมีกองบัญชาการอยู่ที่ซือเหมา เมื่อไทยส่งกองทัพไปรบที่เชียงตุง ในรัฐฉาน ของพม่า จึงพอรู้จักชื่อกองพล 93 ที่ถูกส่งมาช่วยอังกฤษในพม่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงภายในประเทศจีนได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีประธานเหมา เจ๋อ ตุง เป็นผู้นำกับฝ่ายก๊กมินตั๋ง (จีนชาติ) ซึ่งมีจอมพลเจียงไค เช็ค เป็นหัวหน้าและเป็นรัฐบาลปริหารประเทศจีนด้วย ปรากฏว่าฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบชัยชนะได้ครอบครองผืนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด อันมีผลให้จอมพลเจียงไคเช็คอพยพ ไปตั้งรากฐานใหม่ที่เกาะฟอร์โมซาอันเป็นที่มาของประเทศไต้หวันในปัจจุบัน กองทัพจีนคณะชาติที่มณฑลยูนนานจึงถูกตัดขาดจากกองกำลังส่วนใหญ่ไม่สามารถต้านทานกำลังของกองทัพคอมมิวนิสต์จีน ได้แยกกำลังออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งถอนตัวไปในเวียดนาม อีกส่วนหนึ่งอพยพเข้าอยู่ในรัฐฉาน คือ กองพลที่ 93 สังกัดกองทัพที่ 13 และกองพลที่ 26 สังกัดกองทัพที่ 8 มีนายพล หลีหมิง แม่ทัพกองทัพที่ 8 เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งขณะนั้นกองพลที่ 93 มีกำลังพลประมาณ 1,700 คน และในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 - มีนาคม พ.ศ.2493 ได้เคลื่อนกำลังเข้าไปในบริเวณรัฐฉาน รัฐว้า และเชียงตุงของสหภาพพม่า โดยตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ท่าขี้เหล็ก ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การกวาดล้างของรัฐบาลพม่าอย่างจริงจังตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2503 ทำให้ทหารจีนคณะชาติต้อง ถอยร่นเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (หน้า 1-4)

Settlement Pattern

ลักษณะภูมิประเทศตามแนวชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยที่ติดต่อกับเขตแดนของพม่าเป็นลักษณะป่าทึบและภูเขาสูง ทำให้การคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยการเดินด้วยเท้าหรือมีม้าเป็นพาหนะเท่านั้น โดยไม่มีหมู่บ้านของชาวไทยอาศัยอยู่ตามบริเวณนั้น มีแค่ชาวเขาอาศัยอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น อดีตทหารจีนคณะชาติเห็น ว่าพื้นที่บริเวณนั้นเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย จึงได้ตั้งค่ายพักอยู่บริเวณนั้น กองกำลังจีนคณะชาติแบ่งค่ายที่พักส่วนหนึ่งเป็นกองบัญชาการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ติดต่อสื่อสารโดยวิทยุ กับค่ายทหารที่กระจายกันออกไปตามเนินเขาหลาย ๆ ลูก นอกจากนั้นยังมีโรงฝึกของพวกทหาร สถานพยาบาล อาคารเรียน โรงซ่อมอุปกรณ์ และโรงเลี้ยงม้า บริเวณรอบนอกของค่ายใช้เป็นที่พักของทหารและครอบครัว ลักษณะของการสร้างค่าย จะเหมือนหมู่บ้านทั่ว ๆ ไป อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ส่วนมากก็เป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ฝ้าไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก หรืออาจทำฝาด้วยการนำดินมาปั้นเป็นผนัง เป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะการก่อสร้างนั้นสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และ ดินฟ้าอากาศที่หนาว นอกจากนั้นภายในบ้านเรือนยังคงลักษณะความเป็นวัฒนธรรมจีนให้เห็นอีกด้วย (หน้า7-9)

Demography

ถ้านับจากการอพยพครั้งสุดท้ายของทหารจีนคณะชาติ (กองพลที่ 93) ในประเทศไทยมีประมาณ 4,000 คน ประเทศลาวมีประมาณ 1,700 คน และอาจมีบางส่วนคงอยู่ในรัฐฉานของพม่าด้วย (หน้า6)

Economy

เนื่องจากกลุ่มคนจีนอพยพเดิมเป็นทหารโดยอาชีพทำให้คนพวกนี้ไม่มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพอื่น และด้วยบริเวณที่อพยพมาอยู่อาศัยลักษณะเป็นป่าทึบ ภูเขาสูง สภาพพื้นที่แห้งแล้วและทุรกันดาร ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จากสภาพ ความเป็นอยู่ทำให้คนจีนอพยพไปเกี่ยวข้องกับปลูกฝิ่น ซึ่งในประเทศไทยถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในระยะเวลาต่อมามีการพัฒนาทำให้ฝิ่นถูกแปรสภาพเป็นเฮโรอีนซึ่งเป็นสิ่งเสพติดที่ร้ายแรงกว่า กับราคาที่สูงขึ้นด้วย ทำให้รัฐบาลไทยมองกลุ่มคนจีนอพยพไม่ว่าจะเป็นพลเรือน อดีต ทจช.หรือที่เรียกว่า "จีนฮ่อ" ว่าเป็นผู้ค้าสิ่งผิดกฎหมาย และเป็นพวกที่สามารถแสวงหาความ ร่ำรวยได้จากการค้าสิ่งผิดกฎหมายในสายตาของคนภายนอก ลักษณะดังกล่าวทำให้กลุ่มคนพวกนี้นำเงินทุนที่มีอยู่ไปประกอบอาชีพอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายอันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางรายได้เพิ่มขึ้นทั้งโดยทางตรง และทางอ้อมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าพิจารณามองในภาพรวมแล้วกลุ่มคนจีนอพยพเพียงส่วนน้อยที่ฐานะทางเศรษฐกิจสูง ส่วนมากมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ (หน้า 73-75)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ด้วยลักษณะแห่งการเข้ามาอยู่อาศัยของกลุ่มคนจีนอพยพกลุ่มนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยมีลักษณะเป็นกองกำลังทหารที่ติดอาวุธ ดังนั้นเมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในชายแดนบริเวณภาคเหนือของไทยในตอนแรก (พ.ศ.2504) ก็ยังคงเป็นกองกำลังติดอาวุธเหมือนเดิม บริเวณชุมชนที่อาศัยอยู่ในระยะแรกก็มีลักษณะเป็นทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ด้วยลักษณะการเป็นกองกำลังติดอาวุธแต่เดิม จึงก่อให้เกิดปัญหาการเมือง กล่าวคือ นอกจากจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับการให้ที่พักพิงกองกำลังทหารของจีนคณะชาติ ซึ่งมีผลต่อการแทรกซึมและก่อการ ร้ายของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์มากขึ้น นอกจากนั้นยังกระทบความสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะพม่า ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกันประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่า ซึ่งทหารจีนอพยพได้เข้าไปเกี่ยวข้องและให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากที่ตั้งเอื้ออำนวยจึงเป็นโอกาสให้บรรดากบฏพม่ากลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ตามบริเวณชายแดนในเขตไทย ดังนั้นการเข้ามาอยู่อาศัยของกองกำลังอดีตทหารจีนอพยพ นับว่าเป็นประเด็นปัญหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในของรัฐบาลในแต่ละ สมัย (หน้า 59)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลต่ออดีตทหารจีนคณะชาติอพยพช่วง พ.ศ. 2513-2527 เนื่องจากกองทหารจีนอพยพเป็นกองกำลังติดอาวุธ ดังนั้นการอยู่ของทหารจีนในเขตชายแดนไทยที่ติดกับพม่า จึงเป็นกรณี ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับพม่า ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้รัฐบาลไทยได้มีการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหากลุ่มทหาร จีนอพยพ โดยผลออกมาคือทหารจีนอพยพทั้งสองกอง (กองทัพที่ 3 และ 5) สามารถอาศัยอยู่ระหว่างประเทศไทยได้ในฐานะ ผู้อพยพในเขตพื้นที่ที่เคยอาศัยอยู่ในขณะนั้น แต่แบ่งคนส่วนหนึ่งไปอยู่ในพื้นที่ดอยหลวง และดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย เพื่อเตรียมเป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน โดยรัฐบาลไทยมีลักษณะการดำเนินการต่อทหารจีนอพยพและครอบครัว กองทัพ 3 และ 5 ดังนี้ 1. สำรวจจำนวนคนและอาวุธ เพื่อจะได้ควบคุมได้ ตลอดจนการทำบัตรประจำตัวของคนจีนอพยพ 2. โยกย้ายทหารจีนอพยพและครอบครัวบางส่วนจากที่อยู่เดิมเข้าไปในพื้นที่ที่มีการคุกคามและรบกวนอยู่ตลอดเวลา 3. จัดตั้งหมู่บ้าน โดยการอพยพของทหารจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในเขต อ.ฝาง อ.เชียงดาว ของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้ง อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นไปโดยอิสระ แต่ทางราชการจะต้องเข้าไปปรับปรุงหมู่บ้านของคนจีนอพยพใหม่ รวมทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และจัดการปกครองด้วย (หน้า 16-20)

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG จีนยูนนาน, อพยพ, กองพล 93, การเปลี่ยนแปลง, เศรษฐกิจ, การเมือง, ชายแดนภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง