สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซอ,ปัญหาความยากจน,การตั้งถิ่นฐาน,เชียงใหม่
Author Singhasakares, Sittechai; Simbolon, Kuppin and Martin, Ricky Alisky
Title A Community Forestry Program For The Lisu Settlement Ban Tung Ku Village, Prao District Chiang Mai Province, Thailand
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 40 Year 2531
Source Regional Community Forestry Training Center, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาการตั้งถิ่นฐานของลีซอที่หมู่บ้าน บ้านทุ่งกู่ (Ban Tung Ku) อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากชุมชน ที่อยู่ไม่เป็นหลักเเหล่งมาเป็นหมู่บ้านถาวรกว่า 20 ปีเเล้ว พบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาต่ำกว่ามาตรฐาน ความยากจน ทำให้ต้องพยายามดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอดด้วยการเกษตรกรรม แม้จะต้องรุกล้ำพื้นที่ป่าก็ตาม

Focus

การตั้งถิ่นฐานของชาวเขาเผ่าลีซอที่หมู่บ้าน บ้านทุ่งกู่ (Ban Tung Ku) ซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของวิถีชีวิตของลีซอเอง และความแตกต่างทางวัฒนธรรมและที่ต้องเผชิญ เมื่อต้องย้ายจากที่สูงสู่ที่ราบ (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนศึกษาชาวเขาเผ่าลีซอ ซึ่งจะอยู่กระจัดกระจายออกไปในภาคเหนือ ชาวเขาเผ่าลีซอในประเทศไทยจะถูกเรียกว่า ไทยลีซอ (Thai-Lisu) แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า "Chinese-Lisu" เพราะมีการแต่งงานกันภายในกลุ่มระหว่างไทยลีซอกับลีซอใน ยูนนาน (หน้า 1-2)

Language and Linguistic Affiliations

เชื่อว่าลีซอมีต้นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน จากนั้นจึงอพยพลงมาทางใต้ตามแม่น้ำสาละวิน จนถึงพม่าและได้เข้ามายังประเทศไทย คนเหล่านี้อยู่ในตระกูลภาษาTibeto-Burman (หน้า 1)

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนได้ออกเดินทางไปพื้นที่ศึกษาด้วยตัวเองถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1988 (หน้า 9)

History of the Group and Community

ถิ่นฐานเดิมของชาวเผ่าลีซอ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน และได้อพยพลงมาทางใต้ตามเส้นทางแม่น้ำสาละวิน จนถึงพม่าและจากนั้นก็เข้ามายังประเทศไทย ปัจจุบันชาวเผ่าลีซออาศัยอยู่กระจัดกระจายใน 9 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรลีซออาศัยอยู่ที่เชียงใหม่จากหลักฐานที่ปรากฏได้พบ ครอบครัวของลีซอครั้งเเรกบริเวณดอยช้างในจังหวัดเชียงรายเมื่อ 60 ปีที่เเล้ว ลีซอที่อยู่ในประเทศไทยมีความแตกต่างกับลีซอทางเหนือของพม่า ทั้งนี้ เพราะว่ากลุ่มอยู่แยกกันมาหลายชั่วอายุคน และยังมีการแต่งงานกับลีซอในจีนด้วย (หน้า 1-2)

Settlement Pattern

ลีซอส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานกันอยู่ในเทือกเขาบนพื้นที่สูง ส่วนลีซอทุ่งกู่อพยพมาจาก "Ban Klong Jae" ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาระดับ 1,000 เมตร พวกเขาจะเลือกตั้งหมู่บ้านที่สามารถมีอิสระทางการเมืองการปกครองได้ ขณะเดียวกันก็ต้องการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านคนไทยภาคเหนือ เพื่อที่จะซื้อข้าวหากพืชผลมีไม่เพียงพอ รวมถึงต้องการอยู่ใกล้กับหมู่บ้านของกะเหรี่ยงและลาหู่ (Lahu) ที่สามารถจ้างด้วยค่าเเรงงานต่ำ และก็ยังชอบอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านของลีซอกลุ่มอื่นเพราะรู้สึกปลอดภัย และต้องตั้งอยู่ไม่ไกลจากชาวยูนนานผู้ที่จะมารับซื้อฝิ่น และแต่ละหมู่บ้านจะมีศาลประจำหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองหมู่บ้านให้ปลอดภัยจากวิญญาณชั่วร้าย (หน้า 2)

Demography

ผู้เขียนได้อ้างอิงข้อมูลการสำรวจชาวเขาของสำนักวิจัยชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี ค.ศ. 1986 มีประชากรลีซอเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 24,013 คน นับเป็น 4.35 เปอร์เซนต์ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย (หน้า 1) หมู่บ้านทุ่งกู่ของลีซอมีประชากร 405 คน ชาย 188 คน หญิง 217 คน ซึ่งเป็นข้อมูลที่นักวิจัยได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1988 (หน้า 15)

Economy

ลีซอที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำนาขั้นบันได ปลูกข้าวโพด พืชผักต่าง ๆ และเลี้ยงสัตว์ ในคราวที่ต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือต้องการเงินมาใช้ ทั้งชายและหญิงจะทำงานในไร่นาให้กับหมู่บ้านคนไทย โดยได้รับค่าเเรงวันละ 30-40 บาท เพราะไม่มีงานอื่นมารองรับ ประจวบกับมีจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและปัญหาดินเสื่อม เพื่อความอยู่รอดจึงต้องไปยืมข้าว ยืมเงินเขามาและหาพื้นที่ใหม่สำหรับเพาะปลูก และเหตุนี้ทำให้ผู้ไร้ที่ทำกินต้องรุกล้ำพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย (หน้า 19-20, 22) ชาวบ้านมีการออกไปหาของป่า เช่น ไม้ไผ่ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปประดิษฐ์ทำสิ่งของต่าง ๆ และยังเก็บเห็ด ถั่ว หรือพืชใบเขียว อื่น ๆ ในป่าไปบริโภคเอง หรือบางคราวก็นำไปขาย และแม้ว่าพวกเขาจะมีสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ไก่ แต่ก็ยังมีการล่าสัตว์ในป่าเพื่อเอาเนื้ออีกด้วย (หน้า 34)

Social Organization

กลุ่มเครือญาตินับว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับลีซอ เพราะมีส่วนในการตัดสินใจต่างๆ ในหมู่บ้านจะมีผู้นำที่ได้รับคัดเลือกโดย ผู้สูงวัยกว่า โดยผู้นำจะมาทำหน้าที่ตัดสินความยุติธรรม และสร้างความมั่นคงให้หมู่บ้าน (หน้า 15) ในหมู่บ้านของลีซอที่ทุ่งกู่ จะมีทั้งครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยว ตามประเพณีสมาชิกในบ้านจะต้องเชื่อฟังผู้ที่อาวุโสที่สุด หรือบิดาซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางสังคมหรือศาสนา (หน้า 19)

Political Organization

ผู้อาวุโสลีซอจะทำหน้าที่คัดเลือกผู้นำที่จะเข้ามาปกครองหมู่บ้าน ผู้นำนี้จะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินความยุติธรรมมากกว่าเป็น ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่รักษาความสงบในชุมชนและทำหน้าที่เป็นตัวกลางติดต่อกับรัฐบาลไทย นอกจากนี้ผู้นำในหมู่บ้านของลีซอยังมีอีก 2 คน คือ นักบวช และหมอผี โดยนักบวชจะถูกเลือกโดยผู้อาวุโสและทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม และติดต่อกับผีบรรพบุรุษ (ผีคุ้มครองหมู่บ้าน) ส่วนหมอผีต้องติดต่อกับผีบรรพบุรุษ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บ และวิธีรักษาพยาบาล (หน้า 2)

Belief System

ศาสนา - ลีซอมีความเชื่อเรื่องภูตผีที่ปกป้องหมู่บ้าน เรียกว่า Wu Su โดยผู้นำในหมู่บ้านนี้คือ นักบวชและหมอผี จะต้องสามารถติดต่อกับภูตผีได้ โดยนักบวชจะทำหน้าที่เป็นสื่อระหว่างชาวบ้านกับภูตผีที่ดูแลหมู่บ้าน ส่วนหมอผีมีหน้าที่กำจัดความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเคราะห์ร้าย ชาวบ้านในหมู่บ้านจะเลี้ยงหมู ไก่ เพื่อบริโภคด้วย และก็เอาไปใช้บูชาภูตผีด้วย (หน้า 15,19) ประเพณี - ลีซอเชื่อว่าเมื่อลูกชายคนโตแต่งงานจะต้องอยู่ดูแลครัวเรือนก่อน ห้ามออกไปตั้งบ้านเรือนของตนเองจนกว่าน้องชายของเขาจะเเต่งงาน ส่วนลูกสาวต้องออกจากเรือนและย้ายไปเรือนของสามีหลังจากเเต่งงาน (หน้า 19) ความเชื่อ - หมู่บ้านของลีซอทุกหมู่บ้านต้องมีศาลประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่อยู่ของวิญญาณผู้คุ้มครอง หรือปู่ที่ปกป้องหมู่บ้านจากภยันตรายและปีศาจ โดยจะตั้งศาลในพื้นที่รั้วล้อม ห้ามผู้หญิงเข้า และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์จะต้องสร้างใต้ต้นไม้ที่มีใบครึ้ม (หน้า 2)

Education and Socialization

ไม่มีรายละเอียดชัดเจน แต่กล่าวไว้ว่าเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ที่มีอายุมากว่า 6 ปี ต้องเข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาล

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการรักษา แต่ลีซอเชื่อในหมอผี ซึ่งจะเป็นผู้ปัดเป่าโรคภัย และเคราะห์ร้าย อย่างไรก็ดีชาวบ้านก็เข้าใจว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องธรรมชาติ และพวกเขาก็เข้ารับบริการด้านสุขภาพจากคลินิกในหมู่บ้านสันกาโมก (San Ka Mog) ซึ่งอยู่ไกลออกไป 600 เมตร นอกจากนี้ ลีซอยังรู้เรื่องสมุนไพรเป็นอย่างดี (หน้า 28 )

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่กล่าวว่าลีซอมีความรู้ด้านงานหัตถกรรม เช่น การเย็บปัก นอกจากนี้ ยังทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุไม้ไผ่และต้นไม้ต่าง ๆ (หน้า 31)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่กล่าวว่าไทยลีซอได้เเต่งงานกับยูนนานมาหลายช่วงสมัย พวกเขาจึงเรียกตนเองว่า Chinese Lisu (หน้า 2)

Social Cultural and Identity Change

ลีซอมีขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันอยู่ แต่อย่างไรก็ดี มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยหลายครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้มาตั้งแต่ 4 ปีที่เเล้ว หมู่บ้านเริ่มมีการพัฒนาขึ้น แต่ละบ้านมีห้องน้ำและห้องส้วมเป็นสัดเป็นส่วน (หน้า 19)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ลีซอจะปลูกพืชไว้รอบ ๆ บ้าน จากการสำรวจเเบบสุ่ม 6 ครัวเรือน พบพืชจำแนกได้ถึง 42 ชนิด ได้แก่ พืชประเภทเนื้อไม้(woody) พืชไม่ใช่เนื้อไม้ (non-woody) และประเภทพืชประดับ (ornamentals) จากการสำรวจพบว่าพืชส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งลีซอนำผลมาบริโภคเป็นอาหารและทำฟืน นอกจากนี้ ยังทำปศุสัตว์เลี้ยงเป็ด ไก่ ส่วนพืชที่ไม่ใช่เนื้อไม้ ได้แก่ ผักต่างๆไม้เลื้อย ไม้เตี้ย ปลูกเพื่อกินผล และยังปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย พืชเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมตามมา นอกจากนี้ ลีซอยังปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคและเป็นไม้ประดับ ผืนป่าเป็นแหล่งอาหารชองลีซอ และพวกเขาก็มีความสามารถในการรักษาป่าชุมชน รู้จักการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสร้างบ้านเรือน การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาของตน ครั้นประชากรเพิ่มขึ้นก็เกิดปัญหาเรื่องขาดเเคลนที่ดิน และขาดประสิทธิภาพในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากเพิ่งโยกย้ายมาตั้งฐานในที่ราบ (หน้า 26-31)

Text Analyst กฤษฎาภรณ์ อินทรวิเชียร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ลีซอ, ปัญหาความยากจน, การตั้งถิ่นฐาน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง