สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,แบบแผนทางเศรษฐกิจ,การเปลี่ยนแปลง,ภาคเหนือ
Author Kunstadler, Peter
Title Changing Patterns of Economics among Hmong in Northern Thailand 1960-1990.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 25 Year 2543
Source Jean Michaud (edit), Turbulent times and Enduring Peoples. Richmond, Surrey: Curzon Press, pp.167-192.
Abstract

งานชิ้นนี้เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านม้งทางภาคเหนือของประเทศไทย และพบว่า การสร้างถนน ระยะเวลาที่ไปถึงตลาด และการมีหน่วยงานสาธารณสุขเป็นตัวแปรหลักที่สัมพันธ์กับระดับการเปลี่ยนแปลงแบบแผนทางเศรษฐกิจของม้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าม้งทางภาคเหนือต้องพึ่งพิงเศรษฐกิจการตลาดแบบเงินตราด้วยการปลูกพืชขาย และต้องลงทุนซื้อสินค้าจากภายนอกมากขึ้น ทั้งปุ๋ย สารเคมี และยาฆ่าแมลง

Focus

การเปลี่ยนแปลงแบบแผนทางเศรษฐกิจของม้งในภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ.1960-1990

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้อธิบายว่า การสร้างถนนและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐไทยในช่วงทศวรรษ 1960-1980 นั้น มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเศรษฐกิจของม้งจากเดิมที่ปลูกเพื่อยังชีพ และบางส่วนเพื่อขาย กลายมาเป็นการปลูกพืชชนิดใหม่เพื่อขายเป็นหลัก โดยมีสมมติฐานว่าตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงก็คือ ถนน ระยะเวลาที่ไปถึงตลาดและการมีหน่วยงานสาธารณสุขหรือตัวแทนอยู่ในชุมชน และการเปลี่ยนแบบแผนทางเศรษฐกิจของม้งในไทยสัมพันธ์กับการที่ม้งมีทรัพยากรที่ดินจำกัด มีเทคโนโลยีใหม่ที่ลดจำนวนแรงงานในการผลิต ขณะเดียวกัน ก็ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจการตลาดมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายต้นทุนสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงส่งผลให้มีการจำกัดจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ด้วยการวางแผนครอบครัว (น.187-190)

Ethnic Group in the Focus

ม้ง ในภาคเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ปี ค.ศ.1987 - 1988 ศึกษาด้วยการลงสำรวจภาคสนาม สัมภาษณ์เป็นภาษาม้ง แปลเป็นไทย ลงรหัสใน SPSS เพื่อประมวลผล

History of the Group and Community

กล่าวถึงภาพรวมว่า ในช่วงสงครามเย็นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ม้งเข้าไปเกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย (ทุนนิยม) และฝ่ายสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ในสงครามลับในลาว รัฐบาลไทยกลัวว่าคอมมิวนิสต์และการก่อกบฏจะแพร่เข้ามาในหมู่ม้งในประเทศไทยด้วย ในทศวรรษ 1950 จึงเริ่มโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่างๆ เช่น แนะนำพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ บริการด้านสุขภาพ รวมทั้งให้โรงเรียนสอนเป็นภาษาไทยกลาง ประมาณกลางทศวรรษ 1960 ได้เริ่มมาตรการควบคุมม้ง โดยสั่งโยกย้ายหมู่บ้านมาตั้งในที่ที่เข้าถึงบริการของรัฐได้สะดวกขึ้น เพื่อควบคุมป่าและแหล่งน้ำในที่สูง ในปลายทศวรรษ 1970 รัฐจึงเริ่มนโยบายกลืนกลายชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ของตำรวจชายแดน กระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย และเกษตร มีการสร้างถนน ออกกฎคุมเข้มการเคลื่อนย้ายประชากร ห้ามการปลูกฝิ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตแบบดั้งเดิมของม้งเป็นอย่างมาก

Settlement Pattern

เนื่องจากเป็นการเก็บสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ ไม่ได้ระบุลักษณะการตั้งถิ่นฐานของแต่ละชุมชน

Demography

ชุมชนที่สำรวจนั้นมีตั้งแต่ขนาด 1 ครัวเรือนถึง 737 ครัวเรือน (น.172) ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่เคยเคลื่อนย้ายเพื่อหาที่ดินที่อุดมสมบูรณ์กว่ามาแล้ว ในหมู่บ้าน 198 แห่งที่สำรวจมีผู้นำกลุ่มที่มาตั้งรกรากถึง 318 กลุ่ม ในช่วงปี 1730-1988 ทำการย้ายมาทั้งสิ้น 1,188 ครั้ง ก่อนการปักหลักในพื้นที่ที่สำรวจในปี 1987-1988 นับแต่ต้นทศวรรษ 1960 มีจำนวนมากที่ต้องย้ายเพราะคำสั่งหรือแรงกดดันของรัฐบาล (ตาราง 4, 5 น.174)

Economy

แต่เดิมม้งยังชีพจากการปลูกข้าวและข้าวโพด (subsistence crop) ปลูกฝิ่นเพื่อใช้เป็นยาและขายบ้าง ปลูกกัญชงเพื่อใช้ทอผ้า และเพื่อขาย (cash crop) โดยมีการจ้างแรงงานจากชนต่างเผ่า เช่น กะเหรี่ยง ลัวะ มาช่วยงานในไร่เพื่อแลกกับฝิ่น แรงงานม้งก็เป็นแรงงานในครัวเรือน ไม่มีการจ้างม้งด้วยกันเป็นเงิน ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง แต่ใช้วิธีย้ายที่เพาะปลูกเมื่อดินหมดความอุดมสมบูรณ์ (แบบที่เรียกว่า "ทำไร่เลื่อนลอย" หรือ "ไร่หมุนเวียน") ต่อมามีโครงการเข้ามาส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ๆ หลายชนิดเพื่อขายส่งตลาด ทดแทนการปลูกฝิ่น จึงมีการเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ม้งไม่ได้ใช้ยังชีพ (ตาราง 8 น.178) ประมาณทศวรรษของ 1980 หมู่บ้านม้งจะเพาะปลูกพืชยังชีพและพืชเงินสดผสมผสานกันเป็นส่วนใหญ่ (น.175) ข้าวยังเป็นพืชยังชีพสำคัญในหมู่บ้านส่วนใหญ่ (86.90%) ข้าวโพดสำคัญรองลงมา (74.7%) ในหมู่บ้าน 8 แห่ง (4%) มีการปลูกฝิ่นเป็นส่วนใหญ่ (น.176) แต่มีหลักฐานว่า ได้มีการปลูกพืชเงินสดที่หลากหลายมากขึ้น (61 ชนิด) ในหมู่บ้านม้งที่สำรวจ 191 แห่ง รวมทั้งเริ่มมีการใช้รถไถแทนแรงงานคน มีการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ซึ่งต้องซื้อมาจากตลาด มีการจ้างแรงงานโดยให้ค่าจ้างเป็นเงิน และม้งกว่าครึ่ง (103 หมู่บ้าน) มีรายได้จากการเป็นแรงงานรับจ้าง ทั้งภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน (น.180)

Social Organization

ไม่ได้ระบุ กล่าวถึงเพียงว่าขนาดครอบครัวเริ่มเล็กลง เพราะไม่ต้องอาศัยแรงงานในครัวเรือนจำนวนมากเพื่อทำไร่ ประกอบกับมีที่ดินจำกัดและการคมนาคมสะดวกขึ้น ม้งรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา จึงไปประกอบอาชีพอื่น ๆ แทนการทำไร่

Political Organization

เนื่องจากรัฐไทย กำหนดให้การปลูกฝิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และควบคุมการเคลื่อนย้ายประชากรในพื้นที่ป่าและต้นน้ำ ทำให้ม้งทางภาคเหนือของไทยถูกกดดัน ต้องเลิกปลูกฝิ่นเพื่อใช้เองและขาย และหันไปทำอาชีพอื่นๆ ที่โครงการพัฒนาจากหน่วยงานของรัฐเข้ามาแนะนำ

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ตำรวจชายแดนเริ่มให้การศึกษาแก่ม้ง โดยสอนด้วยภาษาไทยภาคกลาง ให้ความรู้เรื่องการเพาะปลูกพืชใหม่ ๆ การป้องกันและรักษาสุขภาพ (น.167)

Health and Medicine

เนื่องจากมีโครงการพัฒนาต่าง ๆ เข้าไปในหมู่บ้าน มีการอบรมตัวแทนม้งให้มีความรู้ด้านสาธารณสุข และการใช้ยาแผนปัจจุบันรักษาโรคแทนการใช้ฝิ่น มีศูนย์สาธารณสุขในหมู่บ้าน เริ่มมีการส่งเสริมให้ม้งวางแผนครอบครัวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการใช้ถุงยาง ยาคุม และทำหมัน (น.188-189)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและประชากรของม้ง โดยมีการเปลี่ยนอย่างเร็วมากในทศวรรษ 1980 หลังจากมีการสร้างเครือข่ายถนนและโครงการพัฒนาต่าง ๆ แบบแผนการดำรงชีพและพืชที่ปลูกก็เปลี่ยนไป มีความหลากหลายมากขึ้น การห้ามปลูกฝิ่นและการจำกัดพื้นที่มิให้ทำไร่หมุนเวียนในเขตอนุรักษ์ทำให้ม้งต้องยังชีพด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ตนไม่ได้บริโภคและขายสู่ตลาด เพื่อให้ได้เงินมาซื้อสินค้าจากภายนอก และด้วยพื้นที่ที่จำกัด ม้งเปลี่ยนมาหากินโดยการเป็นแรงงานรับจ้างมากขึ้น และการพัฒนาในระบบสาธารณสุขซึ่งมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มีพัฒนาการในการวางแผนครอบครัว

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, แบบแผนทางเศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลง, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง