สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,การผลิตซ้ำ,ความเชื่อ,ค่านิยม,วิถีชีวิต,ความสัมพันธ์ในชุมชน,เชียงราย
Author วันดี สมรัตน์
Title การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 123 Year 2544
Source บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การวิจัยเรื่อง การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ และกลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำ ด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ หัวหน้าครอบครัว ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส ครู กลุ่มองค์กรในชุมชน การสังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในชุมชน ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูล การจำแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ แล้วนำเสนอโดยการบรรยาย และสรุปเชิงวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ดังนี้ ไทลื้อมีความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตความสัมพันธ์แบบดั้งเดิม มีการนับถือผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีปู่ย่า ผีบ้าน เทวดาบ้าน เจ้าป่า พฤติกรรมที่แสดงออกต่อสิ่งดังกล่าว เช่น การกราบไหว้บูชาด้วยธูปเทียน ข้าวปลาอาหาร บนบานให้สิ่งเหล่านั้นช่วยดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสุข นอกจากนี้ไทลื้อยังมีความเชื่อในพุทธศาสนา โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ทำให้คนในชุมชนมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ตนเองในภายหน้า เพราะเชื่อว่าชีวิตหลังความตายมีจริง ในวิถีประจำวันนอกจากความเชื่อเรื่องผีและศาสนาแล้ว ยังมีการเคารพผู้อาวุโสและหัวหน้าครอบครัวที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ชุมชนไทลื้อมีการผลิตซ้ำด้านค่านิยม 4 ด้าน ได้แก่ ค่านิยมการแต่งกายแบบไทลื้อในเวลามีงานประเพณีต่าง ๆ ค่านิยมในการใช้ภาษาไทลื้อในชีวิตประจำวัน ค่านิยมการบริโภคอาหารแบบดั้งเดิม ค่านิยมการจับกลุ่มพูดคุยกันยามว่าง ด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเป็นในการปฏิบัติ คนในชุมชนมีการนับถือกันเหมือนพี่น้อง จึงมีการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกัน ชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา และความสัมพันธ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติซึ่งต้องปฏิบัติตาม ใครฝ่าฝืน ล่วงละเมิดจะทำให้เกิดเรื่องร้ายในชีวิต กลไกทางสังคมคนไทลื้อในการผลิตนี้ ได้แก่ พระสงฆ์ ซึ่งผลิตซ้ำด้านความเชื่อ เรื่องกรรม บาปบุญ ครอบครัว ผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้อาวุโส ครู กลุ่มและองค์กร ศาสนาพุทธ ภาษา การแต่งกาย อาหาร ความสัมพันธ์และประเพณีต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นชุมชนลื้อ

Focus

ศึกษาวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ และกลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำ ด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ ในชุมชนไทลื้อ บ้านวังลาว หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Theoretical Issues

ศึกษาการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของไทลื้อ ที่ใช้แนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในชุมชน วัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม และวิถีชีวิตภายในชุมชน มาอธิบายปรากฏการณ์ของการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อ หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (หน้า 21)

Ethnic Group in the Focus

ชุมชนไทลื้อ บ้านวังลาว หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาที่ใช้กันในห้องเรียน จะใช้ภาษาไทย แต่ถ้าเป็นการสื่อสารกันภายนอกห้องเรียนจะเป็นภาษาลื้อ (หน้า 45) ภาษาไทลื้อนับว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง ไทลื้อในหมู่บ้านวังลาวยังคงใช้ภาษาไทลื้อในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จึงถือได้ว่าภาษาไทลื้อเป็นภาษาแม่ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น ยังมีภาษาคำเมืองหรือภาษาล้านนาที่ใช้สื่อสารกับภายนอกที่ไม่ใช่ ไทลื้อ สรุปรวมได้ว่า ในชีวิตประจำวันของไทลื้อปัจจุบันมีภาษาที่ใช้อยู่ถึง 3 ภาษา (หน้า 78)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2542

History of the Group and Community

คนไทลื้อ เลือกเอาหมู่บ้านวังลาวเป็นที่ก่อตั้งชุมชน เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 2 สายที่เป็นเหมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตคือแม่น้ำรวก กับแม่น้ำโขง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ได้หลากหลายชนิด คล้ายกับที่เคยใช้ชีวิตอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ทำให้ไทลื้อเลือกที่จะตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ไทลื้อในหมู่บ้านวังลาวนี้ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอเชียงแสน ซึ่งห่างจากบ้านวังลาวเพียงแค่ 2 กิโลเมตร ด้วยการเริ่มต้นเข้ามาหักร้างถางพงเพียง 3 ครอบครัวเท่านั้น ต่อมาจึงมีชาวบ้านสบรวกอพยพเข้ามาเพิ่มเติมตามคำแนะนำของนายอำเภอในขณะนั้น นับจำนวนได้ 8 ครอบครัว สาเหตุที่ได้ชื่อว่า บ้านวังลาว มีประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาคือ แม่น้ำสบรวกที่ติดกับหมู่บ้านมีวังน้ำวนที่มีเล่ากันว่ามีชาวลาวตกน้ำตายที่วังน้ำวนหลายศพ เวลาชาวบ้านไปทำไร่ในพื้นที่แห่งนั้นก็จะเรียกว่าไป วังลาว และเรียกกันจนติดปาก เมื่อมาตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า หมู่บ้านวังลาวมาจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 38)

Settlement Pattern

บ้านวังลาว เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบกลางหุบเขา สาเหตุที่เลือกพื้นที่ที่เป็นป่าเขา ก็เนื่องมาจากความผูกพันและเคยชินจากภูมิประเทศดั้งเดิมที่เคยอยู่มาก่อน และจากความเชื่อที่ว่าการมีทรัพยากรที่เป็นป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร จะทำให้มีอยู่มีกินตลอดปี อาณาเขตของหมู่บ้าน จะมีทิศเหนือติดพม่า ทิศตะวันออกติดกับลาว มีแม่น้ำรวกเป็นเส้นแดนแบ่งกับพม่า และแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนที่แบ่งกับประเทศลาว ส่วนทางทิศตะวันตก กับทิศใต้ มีภูเขาล้อมรอบก่อนจะเป็นอำเภอแม่จัน และแม่สาย (หน้า 30) ส่วนการสร้างบ้านเรือนจะปลูกบ้านกระจายตามสองข้างถนน และพื้นที่ลาดเอียงตามไหล่เขา ตัวบ้านจะก่อสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคง ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนระหว่างบ้าน เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาด และการไปมาหาสู่ระหว่างเพื่อนบ้าน ภายในบริเวณบ้านจะมีพวกพืชผักสวนครัวและไม้ผลต่าง ๆ เพื่อให้ร่มเงา และบริเวณได้ตามฤดูกาล (หน้า 35)

Demography

ประชากรบ้านวังลาวมีจำนวน 477 คน ประกอบด้วย 121 ครัวเรือน แบ่งเป็นเพศชาย 231 คน เพศหญิง 246 คน (หน้า 34)

Economy

ชาวบ้านวังลาวมีอาชีพหลัก คือ การทำการเกษตร แต่ละครอบครัวจะปลูกข้าวเพื่อไว้บริโภค โดยใช้แรงงานของคนในครอบครัว ผลผลิตที่ได้จะเก็บไว้กินในครอบครัวก่อน ถ้าเหลือจึงจะขาย เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ หลังเสร็จสิ้นการปลูกข้าว ชาวบ้านวังลาวยังมีอาชีพเสริม โดยการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ข้าวโพด หรือการทำอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น การทำข้าวเกรียบ ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป (หน้า 48)

Social Organization

วิถีการดำรงชีวิตของสมาชิกในหมู่บ้านวังลาวที่ปฏิบัติมาตลอดและได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลานมาจนถึงทุกวันนี้ จนทำให้สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านมีความเคารพนับถือและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน คือ การยึดเอาผู้อาวุโสเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกๆด้าน ด้วยความเต็มใจ รวมถึงการช่วยจัดเตรียมงานบุญ ประเพณี ประจำปีของหมู่บ้าน ก็จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี หรือมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน หรือเมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง ก็จะได้รับการเยี่ยมเยียนจากเพื่อนบ้านในหมู่บ้าน เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหายไว ๆ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมานี้จะได้รับการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบนี้ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เหนียวแน่น ทุกคนมีความเป็นพี่เป็นน้องกัน หมู่บ้านจึงเป็นเหมือนครอบครัวใหญ่ที่มีผู้ใหญ่บ้านกับโรงเรียนเป็นพ่อแม่ มีวัดเป็นปู่ย่าตายาย และครอบครัวในแต่ละเขตเป็นลูก ๆ ที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สังคมหมู่บ้านอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่มีความขัดแย้งในหมู่บ้าน มีแต่ความอบอุ่นและจริงใจ (หน้า 54) การที่ชุมชนมีเงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตของตนเอง บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน และมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เรียกว่า การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษจึงมีโอกาสได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 56) กลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในชุมชนบ้านวังลาว คือผู้ที่มีบทบาทในชุมชน เช่น พระสงฆ์ หัวหน้าครอบครัวผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส ครู กลุ่มและองค์กร สถาบันต่างๆ รวมทั้งกระบวนการทางสังคมและปฏิบัติการทางสังคมในชุมชน ซึ่งกลไกดังกล่าวมานี้มีความสำคัญต่อการผลิตซ้ำด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต และความสัมพันธ์ภายในชุมชน (หน้า 103)

Political Organization

การปกครองของบ้านวังลาว จะเป็นการปกครองตามระบบที่ทางราชการกำหนด โดยมีผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแล ปกครองหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วย 8 ฝ่าย ดังนี้ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายป้องกัน ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายพัฒนาสตรี ฝ่ายการคลัง ฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม และฝ่ายสวัสดิการสังคม ซึ่งแต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้กำกับดูแล โดยบทบาทหน้าที่ที่เป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับปะชาชน การบริหารและการปกครองของหมู่บ้านจะอยู่ภายใต้การควบคุมของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อสะดวกในการดูแล และประสานงานในกิจกรรมต่าง ๆ ทางหมู่บ้านได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต โดยมีเขตละ 20 ครอบครัว และมีหัวหน้าเขตเป็นผู้ดูแล (หน้า 39)

Belief System

หมู่บ้านวังลาวมีประเพณี ความเชื่อความศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างมั่นคง ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา สังคม และความเชื่อต่าง ๆ ในรอบเวลา 1 ปี จะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมากมาย เช่น ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา คือ ประเพณีเข้าพรรษา ออกพรรษา บวชนาค ประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ คือ ประเพณีตานธรรม ประเพณีการฮ้องขวัญ ประเพณีปู่จาเตียน ประเพณีการสงเคราะห์และประเพณีทำบุญเสาใจบ้าน หรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสังคม วิถีชีวิต เช่น ประเพณีการเกิด การตาย การแต่งงาน และขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งประเพณีเหล่านี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน (หน้า 53)

Education and Socialization

การศึกษาในหมู่บ้านวังลาว นับว่ามีความสำคัญมากต่อการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมภายใน สถานศึกษาที่หน่วยงานราชการจัดให้ คือ โรงเรียนบ้านวังลาว ปัจจุบันได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 อย่าง คือ การศึกษาในระบบที่มีเนื้อหาในการเรียนการสอนให้อ่านออก เขียนได้ รู้วัฒนธรรม ประเพณีในชุมชน เข้าใจการใช้ชีวิตและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ส่วนการศึกษานอกระบบ จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่มีแบบแผน เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชนตนเอง จากเนื้อหาการเรียนการสอนของการศึกษาทั้ง 2 ระบบนี้ จึงไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ถึงแม้ว่าจะมีความต่างกันบ้างในบทบาทหน้าที่ (หน้า 44)

Health and Medicine

ในด้านการรักษาพยาบาล ถึงแม้ว่าบ้านวังลาวแยกตัวออกมาจากบ้านสบรวก แต่ยังคงใช้สถานีอนามัยร่วมกันอยู่ โดยหน้าที่หลักของสถานีอนามัย คือ การให้คำแนะนำด้านการรักษาสุขภาพอนามัย บริการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้ามีผู้ป่วยหนักก็จะมีหน้าที่ส่งตัวผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลประจำอำเภอต่อไป นอกจากนั้นในแต่ละหมู่บ้านก็จะมี อสม. ประจำหมู่บ้านที่ทำหน้าที่คล้ายกันกับเจ้าหน้าที่อนามัย เพียงแต่อยู่ในชุมชน และสามารถเรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่สิ่งที่ปรากฏชัดในด้านการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยของคนในชุมชนนั้น ยังคงใช้การรักษาแบบดั้งเดิม โดยใช้สมุนไพรในการรักษา และยังมีความเชื่อเรื่องผี การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน (หน้า 48)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของชายไทลื้อในอดีต จะสวมเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ตัดและเย็บด้วยมือ กางเกงเหมือนกางเกงขาก๊วยเป้าลึก มี 3 ตะเข็บ เรียกว่า เตี่ยว 3 ดูก เสื้อจะเป็นเสื้อตัวสั้น ย้อมด้วยห้อม(สีคราม)ทั้งเสื้อและกางเกง นี่คือชุดปกติ แต่ถ้าเป็นช่วงโอกาสพิเศษ เช่น การไปงานบุญงานบวช ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน หรืองานอื่น ๆ ก็จะมีผ้าเช็ดพาดบ่าและผ้าโพกศีรษะ หากเป็นเวลาที่ต้องไปทำงานกลางไร่กลางนา หรือเข้าป่าหาเก็บผักหักฟืน ก็จะมีย่ามแดงติดตัวไปด้วย ส่วนการแต่งกายของชายไทลื้อในปัจจุบัน วัยเด็กหรือวัยรุ่นจะใส่เสื้อผ้าที่เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีขายตามท้องตลาด เพียงแต่จะเลือกเสื้อผ้าที่ความเก่าใหม่ว่าจะเหมาะกับกาลเทศะใด เช่น ถ้าไปทำไร่ก็เลือกเสื้อผ้าที่เก่าแล้ว แต่ถ้าไปตามงานในวาระพิเศษหรือแม้แต่อยู่กับบ้าน ก็จะใช้เสื้อผ้าที่ใหม่ ส่วนผู้ใหญ่ยังคงใส่เสื้อผ้าที่เป็นแบบเดิม เลือกความเก่าใหม่ตามกาลเทศะเช่นเดียวกับวัยรุ่น ส่วนการไปตามงานพิธีต่าง ๆ เสื้อผ้าจะมีสีสันมากขึ้น กางเกงจะเป็นทรงตรง ไม่มีผ้าพาดบ่า ผมตัดทรงสมัยไม่มีผ้าโพกหัว ย่ามสีแดงก็ใช้น้อยลง การแต่งกายของหญิงไทลื้อในอดีต หญิงไทลื้อนิยมสวมใส่ผ้าซิ่นที่ทอเอง ด้วยลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงาม โดยลายของผ้าซิ่นจะบ่งบอกให้รู้ถึงความสามารถในการใช้สี คิดลวดลายของคนทอ ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อรัดรูปที่ตัดเย็บด้วยมือ มีผ้าโพกหัวเป็นสีขาวและสีชมพู ที่เอวจะคาดเข็มขัดที่ทำด้วยเงิน แขนและข้อมือจะสวมกำไลเงิน ผมจะทำเป็นมวยและเสียบด้วยปิ่นปักผมที่ทำด้วยเงินเช่นกัน ค่านิยมแต่งกายพร้อมเครื่องประดับนี้ จะแต่งในวาระสำคัญๆ เช่น งานบุญประเพณีประจำหมู่บ้าน หากเวลาอยู่กับบ้านหรือทำงานในไร่ จะไม่สวมใส่เครื่องประดับใดๆ เสื้อผ้าก็จะเป็นชุดเก่าที่ใช้มานาน ส่วนในปัจจุบันการแต่งกายของหญิงไทลื้อได้เปลี่ยนไป วัยรุ่นหญิงจะแต่งตัวตามสมัยนิยม แต่หากเป็นเวลาอยู่กับบ้านจะสวมเสื้อผ้าฝ้ายหรือผ้าพื้นสีขุ่น สวมผ้าถุง (ซิ่นโสร่ง) ที่ซื้อจากตลาด ถ้าเป็นหญิงวัยกลางคนขึ้นไปยังสวมเสื้อปั๊ด และผ้าซิ่นโสร่ง ถ้าเป็นหญิงสูงอายุจะมีผ้าโพกศีรษะด้วย เวลามีเทศกาลงานบุญหรือมีโอกาสพิเศษ ก็จะสวมเสื้อปั๊ดกับผ้าซิ่นทอมือ (หน้า 79-80)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จะยึดถือเรื่องอาวุโสเป็นหลักปฏิบัติ ในการทำกิจกรรมของหมู่บ้านจะมีพระ มัคนายก ผู้อาวุโส และคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งเป็นการร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมของหมู่บ้านเป็นอย่างดี เกิดความอบอุ่นขึ้นในชุมชน ส่วนความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ ก็มีความสัมพันธ์ในด้านการติดต่อค้าขาย หรือการแต่งงานข้ามหมู่บ้านกัน และการไปมาหาสู่กันระหว่างผู้อาวุโสของแต่ละหมู่บ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ยังคงมีความเหนียวแน่น (หน้า 52) การติดต่อกับชุมชนภายนอกจะมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การขาดความมั่นใจในเรื่องภาษาที่พูด ทำให้กลัวถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนภายนอก และจากการที่ไทลื้อเป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทย จึงกลัวถูกตรวจค้นระหว่างทางหากจะต้องออกมาภายนอกชุมชน ในด้านการติดต่อค้าขายนั้นจะมีตัวแทนจากรัฐมาเป็นตัวกลางในการประสานงานกับผู้นำหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องไปติดต่อเอง จึงไม่มีความจำเป็นที่ไทลื้อจะออกมานอกหมู่บ้าน ยกเว้นกลุ่มเยาวชนที่สามารถพูดภาษาคำเมืองได้เท่านั้น ที่จะออกมานอกชุมชนบ้าง โดยเฉพาะช่วงเทศกาลงานรื่นเริงเท่านั้น (หน้า 55) ระบบความสัมพันธ์ที่แสดงออกภายในชุมชนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1. ระบบความสัมพันธ์ที่แสดงออกระหว่างคนกับคน - คนในครอบครัว - คนกับชุมชน - ชุมชนกับชุมชน 2. ระบบความสัมพันธ์ที่แสดงออกระหว่างคนกับธรรมชาติ - คนกับป่า - ชุมชนกับป่า 3. ระบบความสัมพันธ์ที่แสดงออกระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ - การนับถือผีต่างๆ - ความเชื่อด้านต่างๆ ที่เข้ามาสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต (หน้า 93-94)

Social Cultural and Identity Change

ค่านิยมการแต่งกายของไทลื้อมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและเงื่อนไขทางด้านเวลาไม่เอื้ออำนวยให้มานั่งทอผ้าใช้เองอีกแล้ว ประกอบกับสภาวะอากาศที่ไม่ค่อยหนาวเย็นเหมือนในอดีตที่อาศัยอยู่ในสิบสองปันนา จึงไม่จำเป็นที่ต้องใส่เสื้อผ้าหนา ๆ และที่สำคัญคือมีเสื้อผ้าที่ซื้อหาได้ง่ายตามท้องตลาด สะดวก รวดเร็ว และราคาถูก ทำให้ไทลื้อหันมานิยมซื้อเสื้อผ้าตามท้องตลาดไว้สวมใส่ แทนการทอผ้าใช้เอง แต่อย่างไรก็ตาม เอกลักษณ์และค่านิยมด้านการแต่งกายยังคงมีเหลือเค้าโครงเดิมอยู่บ้าง โดยจะเห็นได้จากการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบไทลื้อและใช้ผ้าที่ทอใช้เอง ในเทศกาลสำคัญๆ จะเห็นว่าคนในชุมชนยังให้คุณค่าและความสำคัญด้านการแต่งกายแบบไทลื้ออยู่ ถึงแม้โอกาสในการสวมใส่จะเปลี่ยนไป แสดงให้เห็นว่า ไทลื้อยังคงให้ความสำคัญกับการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทลื้อไว้ วัฒนธรรมด้านการแต่งกายจึงต้องมีการผลิตซ้ำ (หน้า 80) ในด้านความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากปัจจุบันบ้านวังลาวไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ได้มีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ที่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เท่าทันกับข้อมูลข่าวสาร เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ ในด้านการพัฒนาต่างๆ ทางราชการได้แต่งตั้งให้หมู่บ้านวังลาวเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เขตชายแดน ทำให้มีเจ้าหน้าที่และบุคลากรจากหลายหน่วยงานเข้าไปจัดกิจกรรมต่างๆภายในหมู่บ้าน ซึ่งก็คือการนำพาความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่หมู่บ้านด้วยส่วนหนึ่ง (หน้า 103)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพที่ 1 ภาพแสดงเครื่องแต่งกายไทลื้อ หน้า 81 " 2 ภาพแสดงอาหารที่ไทลื้อนิยมรับประทาน " 87 " 3 ภาพแสดงอาหารประเภทปิ้ง " 88 " 4 ภาพแสดงอาหารประเภทย่าง " 88

Text Analyst พิณทอง เล่ห์กันต์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ลื้อ, การผลิตซ้ำ, ความเชื่อ, ค่านิยม, วิถีชีวิต, ความสัมพันธ์ในชุมชน, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง