สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะเลิง,สภาพความเป็นอยู่,ความเชื่อ,เศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,สกลนคร
Author สุรัตน์ วรางค์รัตน์
Title กะเลิง : การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กะเลิง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 81 Year 2531
Source สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
Abstract

กะเลิง บ้านกุดแฮด อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี้เป็นเวลานานแล้ว เพื่อหาที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ แต่เดิมกะเลิงหาของป่า ล่าสัตว์ในบริเวณเทือกเขาพูพาน เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นและทางการเข้มงวดกับการหาของป่า กะเลิงจึงหันมาทำไร่ ทำนา และปลูกมันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์ ไม่นิยมค้าขายและทำสวน กะเลิงมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณและพุทธศาสนาควบคู่กันไป แต่เดิมกะเลิงไม่นิยมแต่งงานกับชนกลุ่มอื่น แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป ชายหนุ่มในหมู่บ้านนิยมไปแต่งงานกับหญิงสาวในหมู่บ้านอื่น เช่นเดียวกันกับหญิงสาวกะเลิงที่นิยมแต่งงานกับผู้ชายหมู่บ้านอื่น กะเลิงมีวรรณกรรมหรือนิทานพื้นบ้านเป็นทำนองเรื่องของตนเอง เรื่องที่เล่ามักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางเพศซึ่งกะเลิงเห็นเป็นเรื่องสนุกและเป็นธรรมชาติของมนุษย์ นอกจากนี้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับผี แต่เป็นผีที่ขบขัน ไม่น่ากลัว นิยมแต่งกลอนเพื่อขับขานในงานบุญที่วัด

Focus

วิเคราะห์ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน สภาพภูมิศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ ระบบความเชื่อของการแต่งงาน ระบบครอบครัว ภาษา วรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ที่บ้านกุดแฮด อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เพื่ออธิบายการปรับตัวของกะเลิงและการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นกะเลิง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกะเลิง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ที่บ้านกุดแฮด อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

Language and Linguistic Affiliations

กะเลิงใช้ภาษากะเลิงซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งในกลุ่ม PH สาขาตะวันตกเฉียงใต้ในตระกูลภาษาไทหรือภาษาไต (Tai Family) ภาษากะเลิงมีลักษณะคล้ายภาษาไทถิ่นอีสานทั่วไป คือ ไม่มีเสียง ร/r/ และ ช/ ch/ แต่เป็นเสียง ล / l/ และ ซ / s แทนคำที่เป็นเสียง ร/r/ ใช้ในภาษาไทย บางคำเป็นเสียง ฮ, ห/ h เสียงพยัญชนะของภาษากะเลิง มี 19 หน่วยเสียง ทั้งหมดสามารถเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวในพยางค์ มีสระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง สระประสม 3 หน่วยเสียง มีระบบเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง (หน้า 34-35)

Study Period (Data Collection)

การวิจัย มีระยะเวลา 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2529-2530 (หน้า ฒ)

History of the Group and Community

มีผู้สันนิษฐานทางหลักนิรุกติศาสตร์ ว่าชาวจีนเรียกกะเลิงว่า คุณ-ลุน (K' un- lun) หรือ กูรุง (Kurung) ต่อมากลายเป็นคำว่า กะลุง (Klung) ในภาษาจาม แต่เดิมกะเลิงมีหลักแหล่งอยู่ในบริเวณตะวันตกของเทือกเขาอาก และ ฝั่งซ้ายลุ่มน้ำตะโปน และที่ต้นน้ำเซบังเหียน กะเลิงในจังหวัดสกลนคร กลุ่มต่างๆ เล่าว่าบรรพบุรุษของตนอพยพมาจากฝั่งซ้ายทั้งสิ้น แต่ไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าอพยพมาจากแห่งใดปีใด เพราะมีการอพยพมาหลายครั้งหลายรุ่น ดังนี้ - ในพุทธศตวรรษที่ 22-23 มีการอพยพมาจากอาณาจักรล้านช้างเป็นจำนวนมาก เพราะเกิดการขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นำชนพื้นเมืองกับราชสำนักเวียงจันทน์ ได้อพยพมาอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมุกดาหาร - ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี กลุ่มพระวอพระตาได้อพยพมาเวียงจันทน์ มาตั้งอยู่ที่เมืองเขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) เมื่อเจ้าสิริบุญสารได้ยกทัพมาปราบ กลุ่มของพระวอพระตาได้อพยพไปตั้งอยู่แถบเมืองยโสธร และอุบลราชธานี อีกกลุ่มหนึ่งไปตั้งอยู่ที่เมืองกาฬสินธุ์ บุตรหลานของกลุ่มนี้อพยพต่อไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านธาตุเชิงชุมหรือจังหวัดสกลนคร - ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้า (พ.ศ. 2367-2394) ได้ส่งกองทัพไปตีเวียงจันทน์และได้กวาดต้อนผู้คนจำนวนมากมาอยู่ในภาคอีสาน ในการกวาดต้อนครั้งนี้มีการกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงปรากฏอยู่ในเอกสารพื้นเวียง - ในสมัยรัชกาลที่ 5 การปราบปรามฮ่อ 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2426 และ พ.ศ. 2428-2430 และการปักด่านจากกรณีกับฝรั่งเศส ที่เมืองภูวดลสอางเชิงเขาอากใกล้เมืองมหาชัยกองแก้ว ทำให้มีการอพยพของผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามากับกองทัพสกลนคร แม้จะมีการอพยพเข้ามาหลายครั้งหลายคราว และจากเหตุการณ์ต่างๆ พอจะสรุปได้ว่า กะเลิงส่วนใหญ่อพยพมาอยู่ในเขตเมืองสกลนคร ในช่วง พ.ศ. 2426-2430 และจากการสัมภาษณ์กะเลิงผู้อาวุโสในหมู่บ้านกุดแฮด ให้การว่า พวกตนมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว อพยพมาอยู่เมืองสกลนคร หลายพื้นที่ด้วยกัน มีบริเวณบ้านโพธิ์สามต้น บ้านดอนเชียงบาน บ้านโพธิ์ศรี หลังจากนั้นได้อพยพขึ้นสู่ไหล่เขาภูพานบริเวณห้วยกุดแข้ และเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น กะเลิงได้อพยพแยกเป็น 3 กลุ่ม คือไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองสะไน ไปตั้งอยู่ที่บ้านโพนงาม และไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดแฮด (หน้า 1-8)

Settlement Pattern

กะเลิงชอบตั้งบ้านเรือนตามไหล่เขา (หน้า 10)

Demography

บ้านกุดแฮดมีประชากร 269 หลังคาเรือน เป็นเพศชาย 906 คน เพศหญิง 842 คน (ทำเนียบตำบลหมู่บ้านจังหวัดสกลนคร 2529 - หน้า 14)

Economy

กะเลิงมีอาชีพ ปลูกข้าวไร่ ทำนา ทำไร่ เช่น ไร่พริก ไร่แตง หาของป่า ล่าสัตว์ ปลูกมันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์ โรงสีข้าว มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนกับผลผลิตกัน เช่น พริก เสื้อผ้า เกลือ แลกกับข้าว โดยถือจำนวนข้าวเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จึงมีการปลูกข้าวเป็นหลัก เมื่อมีเวลาว่างจึงปลูกพืชชนิดอื่นเสริม มีการประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติบ้างในบางปี เช่น ถูกรบกวนจากสัตว์ป่า ความแห้งแล้ง แต่ผลผลิตข้าวก็นับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ยังมีการหาหน่อไม้ไปขายในตลาดอำเภอกุดบาก การหาหน่อไม้ในปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนผลิตผล การเลี้ยงสัตว์ที่นิยมกัน มี หมู ที่เรียกว่าหมูกะเลิงหรือหมูกี้ มีโรงสีข้าวขนาดกลาง 5 แห่ง แต่เป็นของกะเลิง 2 แห่งนอกจากนั้นเป็นของ ย้อ และผู้ไทย การทำไร่ ต้องใช้พื้นที่มากพอสมควร กะเลิงจึงไปถากถางป่าตามเชิงเขาที่ชายหมู่บ้าน โดยใช้อุปกรณ์สำคัญ เรียกว่า หมากจิ๊ก เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ใช้ในการบุกเบิกถางป่าและใช้ขุดหลุมหยอดเมล็ดข้าว มีรูปร่างคล้ายจอบแต่มีขนาดเล็กกว่า ที่ส่วนหัวเป็นแฉกสามเหลี่ยมหน้าจั่วใช้สำหรับงัดรากไม้ ปัญหาของการปลูกข้าวไร่ คือ ปัญหาความแห้งแล้ง และการถูกสัตว์ป่ารบกวนทำลายต้นข้าว รวงข้าว ต้องแก้ปัญหาด้วยการออกไปเฝ้าไร่ในเวลากลางวัน ถากถางป่าหรือวัชพืชในบริเวณใกล้เคียง เมื่อพลบค่ำจึงนำพืชผักของป่าที่หาได้กลับบ้าน นอกจากนี้ยังมีปัญหาความแห้งแล้ง การทำนา มีที่ราบเหมาะกับการทำนาที่ระหว่างห้วยอีด่อนและลำห้วยแม่ลัว ผลผลิตข้าวต่อไร่นับว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยชาวบ้านใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เพราะให้ผลผลิตสูง การทำนานี้ยังมีการลงแขกกันในระหว่างเครือญาติ นอกจากนี้มีปัญหาในการทำนาบ้างในบางปี จากการขาดแคลนน้ำ ความแห้งแล้ง การหาของป่า นิยมไปหาหน่อไม้ ผักหวาน เห็ด ตามภูเขา หน่อไม้จำนวนมากจะนำมาขายในชุมชนกลางหมู่บ้านหรือนำไปขายที่ตลาดอำเภอกุดบากหรือตลาดสดในเมืองสกลนคร บางครอบครัวรับซื้อหน่อไม้จากเพื่อนบ้านนำมาทำหน่อไม้ดองขาย แต่ในปัจจุบันการหาหน่อไม้นั้นมีการขาดแคลน เพราะหากันมาก อีกทั้งทางการได้ห้ามเพราะถือว่าเป็นการทำลายป่า จึงจำกัดพื้นที่ตามป่าละเมาะและไร่นา การหาเห็ด ในต้นฤดูฝน การล่าสัตว์ เช่นหมูป่า เก้ง การแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เมื่อขาดแคลนข้าวกะเลิงจะนำหัวเผือก หัวกลอย ไปแช่น้ำในห้วยเป็นเวลานานๆ ก่อนนำมาหุงต้มเป็นอาหาร และนำเมล็ดไผ่หรือขุยไผ่มาตำแล้วนำเปลือกประดู่มาตำบดให้ละเอียดนำไปผสมกับขุยไผ่แล้วนำไปนึ่งรับประทานแทนข้าว เปลือกประดู่มียางทำให้ขุยไผ่มีรสอร่อยและนุ่ม (หน้า 11-19)

Social Organization

กะเลิงในอำเภอนี้มีความผูกพันแบบกระชับกับเครือญาติ โดยมีสกุลศรีมุกดาเป็นใหญ่สกุลของหมู่บ้าน สกุลที่รองลงมาคือ สกุลวงศ์ลา และสกุลโททุมพล และมีสกุลเล็กๆ ที่เพิ่งเข้ามาไม่นานคือ สกุลพงษ์ไพบูลย์ เป็นย้อ สกุลพลราชม สกุลใจศิริ สกุลสิงหนลาย เป็นชาวผู้ไทย (หน้า 1) นอกจากนี้ยังมีระบบการช่วยเหลือกันคือ การลงแขกเอาแรงระหว่างกลุ่มญาติพี่น้อง (หน้า 14) การแต่งงาน การแต่งงานเกิดจากความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายชายจะขอความเห็นจากฝ่ายหญิงในเรื่องจำนวนค่าฮีตค่าดองหรือสินสอดทองหมั้น จากนั้นฝ่ายชายจะติดต่อให้เฒ่าแก่ไปสู่ขอฝ่ายหญิงจากบิดามารดา โดยฝ่ายชายจะเตรียมขันห้าหรือขันแปด เทียนหนัก 1 บาทคู่หนึ่ง การแต่งงานเป็นไปตามฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถตกลงกันได้ง่าย กะเลิงถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว เจ้าสาวจะต้องกราบเท้าสามีก่อนนอนบนที่นอน การเลือกคู่ครองของกะเลิงในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมกะเลิงในบ้านกุดแฮดนิยมแต่งงานกันเองในหมู่บ้าน ให้ความสำคัญกับพี่น้องวงศ์ตระกูลของฝ่ายชาย แต่ความเชื่อในเรื่องนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ในปี พ.ศ. 2529 หญิงกะเลิง 6 คนได้แต่งงานกับชายหนุ่มที่เป็นคนงานทำถนนของบริษัทแห่งหนึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการแต่งงาน ในปัจจุบัน ชายกะเลิงนิยมไปหาผู้หญิงที่หมู่บ้านอื่น เพราะมองว่าหญิงกะเลิง เข็นฝ้าย ทอผ้า ไม่เป็น นอกจากนี้บางคนยังเห็นว่าหญิงกะเลิงบ้านกุดแฮดหัวโบราณ พูดยาก ผิวพรรณคล้ำ ตัวเตี้ย (หน้า 27-29)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

กะเลิงมีความเชื่อหลายอย่างคละกัน เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อในพุทธศาสนา ระบบความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ มีความเชื่อเรื่องผี กะเลิงจะแบ่งผีออกเป็น 2 ระดับ คือ ผีชั้นสูง ได้แก่ผีพระ ผีเทวดา ผีแถน ผีมเหสักข์หรือผีปู่ตา ผีชั้นสูงเหล่านี้จะให้ความคุ้มครองปกป้อง และผีชั้นต่ำ ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย คือ ผีน้ำ ผีฟ้า ผีเรือน ผีไร่ ผีนา ความเชื่อเรื่องผีทำให้เกิดพิธีกรรมและบุคคลที่เป็นสื่อกลางระหว่างคนกับผี มี เฒ่าจ้ำ แม่หมอ และลูกแก้ว ความเชื่อเรื่อง "แจบ้าน" หรือเขตหวงห้ามในเรือน บ้านเรือนของกะเลิงจะห้ามเขยหรือสะใภ้เข้าแจบ้านอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนเชื่อว่าจะทำให้คนในบ้านเจ็บป่วย ระบบความเชื่อในพุทธศาสนา มีการทำบุญใส่บาตร มีวัดในหมู่บ้านและวัดได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ มีความเชื่อเรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์ มีกะเลิงบวชเป็นพระ และพระสงฆ์ในหมู่บ้านมีความเห็นเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีของชาวบ้านว่าไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีการแต่งงาน การบูชาวิญญาณผีบรรพบุรุษของครอบครัว เจ้าของบ้านจะเชิญไว้ให้อยู่ที่เสาเอกของเรือน หรือส่วนที่เป็นมุมห้องด้านซ้ายของเรือนและห้ามผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูกหลานพี่น้องของตระกูลนั้นเข้าไป (หน้า 19-30)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เชื่อว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์เกิดจากโรคหรือเกิดจากผี การรักษาพยาบาลต้องทำให้ถูกกับสาเหตุของโรค เมื่อรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันไม่หายจะหันมารักษาทางหมอเยา และถ้ารักษาทางผีไม่หายก็อาจรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษากับผีนั้นจะมีสื่อหรือผู้รักษาคือ หมอเยา ในบ้านกุดแฮดมีหมอเยาหลายคนทั้งหญิงและชาย มีหน้าที่เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารักษาคน เช่น เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ผีระดับรองลงมา ผีน้ำ ผีฟ้า บุคคลที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านอีสาน เช่น ท้าวสินไซ ท้าวบุญถึงตองทึง นางกาไว จันไท ก้านก่อง อินตอง ฯลฯ หลังจากเชิญผีที่คิดว่าสำคัญเหล่านี้แล้วก็ยังมีการเชิญหมอมนต์ต่าง ๆ ที่เคยเป็นผู้รักษาพยาบาลมาช่วย ถ้าไม่หายจะมีการรักษาพยาบาลกับหมอสมุนไพร และการรักษากับแพทย์สมัยใหม่ (หน้า 22-23)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

มีนิทานหลายเรื่องของกะเลิง แต่ยกมาแค่ 4 เรื่อง คือ นิทานเรื่องหอยเข้าก้น กล่าวถึง ลูกเขยที่ไปอยู่เรือนพ่อตาแม่ยายและมีน้องเมียซึ่งเกียจคร้านมาก เมื่อออกไปนาชอบนอนกลางวัน จนเขยรู้สึกรำคาญ วันหนึ่งเขยได้เก็บเอาหอยมาวางไว้ข้างก้นน้องเมีย แล้วร้องดัง ๆ ว่า "ลุกๆๆ หอยจะเข้าก้น ไม่ใช่ๆ หอยมันเข้าไปหลายตัวแล้ว" แล้วเรียกแม่เฒ่ามาดู แม่เฒ่าถามว่าทำอย่างไรจึงจะเอาหอยออกได้ เขยบอกว่าต้องไปหาผู้ชายที่มีอวัยวะเพศเลี้ยวซ้ายมาเอาหอยออกให้ แล้วก็ทำทีไปถามหาผู้ชายแบบนั้นทั่วบ้านทั่วเมืองก็ไม่มี จึงกลับมาบอกแม่เฒ่าว่าไม่มี แม่เฒ่ากลัวลูกสาวตายจึงถามว่าทำอย่างไร ลูกเขยบอกว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น เพื่อหวังจะได้น้องเมียเป็นเมียจึงคิดอุบายเอาหอยใส่พกผ้ารอบเอวแล้วเข้าไปหาน้องเมีย การช่วยเอาหอยออกก็คือการทำกิจกรรมทางเพศกับน้องเมียนั้นเอง แล้วก็แสร้างทำหอยหล่นไปด้วยจนหมด เรื่องเขยเจ้าปัญญา เป็นการเปิดเผยความลับของตัวละคร คือลูกสาว เล่าว่ากลับมาจากงานศพแต่กลัวผีทำให้ต้องหาเพื่อนบ้านเดินมาส่ง และพลาดพลั้งเสียตัว เมื่อพ่อและแม่ได้ฟังก็ปลอบลูก โดยการเล่าประสบการณ์ตัวเองให้ฟัง ว่าเคยไปทำสัปดนไว้กับหนองน้ำ เมียมาเห็นเลยเกิดอับอายวิ่งหนีไปอยู่ที่หมู่บ้านอื่นแล้วหลับไป เณรมาเห็นเข้าตอนกำลังนอนหลับ เลยเอามีดโกนผมออกหมด กลายเป็นคนหัวโล้น เมื่อตื่นขึ้นมาก็คิดกลับบ้านแต่กลัวว่าเมียจะจำตัวเองไม่ได้ เมื่อกลับไปถึงบ้านเมียเห็นก็จำไม่ได้จริง ๆ ร้องตกใจ ผัวเสียใจเลยวิ่งออกจากบ้าน จนเหนื่อยเลยไปนั่งอยู่ข้างก้อนหิน ตดออกมาเหม็นก็นึกว่าตัวเองตายแล้ว และก็หลับไป พอดีมีเกวียนขับผ่านมา เห็นคนนอนขวางทางอยู่เลยเอาไม้ตีให้ลุก ชายคนนั้นตื่นขึ้นมาก็นึกว่าคนขับเกวียนมีไม้วิเศษตีคนตายให้ฟื้นได้ จึงขอไม้ไว้ คนขับเกวียนก็ให้ ชายคนนั้นเลยออกรอนเร่ไปในเมือง พอดีพระธิดาเจ้าเมืองตาย เจ้าเมืองประกาศว่าใครทำให้พระธิดาฟื้นได้จะให้แต่งงานกับพระธิดา ชายคนนั้นเอาไม้ที่ได้จากคนขับเกวียนไปตีตามตัวพระธิดา พอดีพระธิดาฟื้นขึ้น จึงได้แต่งงานกัน นิทานเรื่องผีตุ้มหมะล่วย มีตากับหลานไปดักสัตว์ พอดีเจอผีตุ้มหมะล่วย เลยเอาผีตุ้มหมะล่วยไปต้มกิน พอน้ำเดือดผีก็กระโดดออกมาจากหม้อ ตากับหลานเห็นผีหนีออกมาจากหม้อก็เลยวิ่งหนีขึ้นไปหาแม่ แต่ขึ้นเรือนไม่ได้หลานก็ร้องขอบันได บอกให้แม่ส่งบันไดมาให้แล้วร้องว่า "ผีตุ้มหมะล่วย ก้นเท่าหัวๆ เท่ามะแว้ง ตาเท่าแต่งโม" แม่ก็หย่อนบันไดเงินบันไดทองลงมาให้ และในขณะที่กำลังปีนบันไดหนีนั้น ผีตุ้มหมะล่วยเอาปากงับตีนไว้ ตรงนี้จึงเป็นตำนานว่าทำไมคนนิ้วตีนไม่เท่ากัน ต่อมาผีตุ้มหมะล่วยหิวข้าว จึงร้องขอให้แม่ส่งมาให้ แม่ก็เลยหย่อนหินลับมีดลงมาให้หินลับมีดทับหำผีตุ้มหละล่วย แล้วก็หย่อนสากะเบือลงมาทับผีตุ้มหมะล่วยอีก มีนกตัวหนึ่งเกาะอยู่บนกิ่งไม้หัวเราะเยาะ ผีตุ้มหมะล่วยเลยเอาไม้ขว้างนกตกลงมาแล้วเอามาถอนขน ทำลาบกิน กินแล้วก็ไปถ่าย ด้วยความโกรธก็เอาไม้ตีนกที่กลายเป็นขี้ ๆ ก็เลยกระเด็นใส่หน้า นิทานเรื่องกำพร้าผีน้อย มีกำพร้าผู้หนึ่งถูกผีจับไปทำสามี พอผีออกไปหากินก็เลยแอบหนี วิ่งผ่านทุ่งนา ผีตามมาทันก็เอาหัวซุกลงในหลุมหัวมัน ผีมาจับ ๆ ดูเห็นเกสรข้าวติดเต็มตัวก็นึกว่าตายแล้วเพราะเกสรข้ามเหมือนหนอนแมลงวัน จึงเอาเคียวกับหม้อมาให้บอกว่าอยากได้อะไรก็เอาเคียวเคาะหมอแล้วจะได้ทุกอย่างที่ปรารถนา กำพร้าผีน้อยกลับไปบ้านก็ทำดังว่าทำให้ร่ำรวยขึ้น มีเพื่อนสนิทคนหนึ่งสงสัยมาถามว่าทำไมถึงรวยขึ้น กำพร้าผีน้อยก็เล่าให้ฟังทุกอย่างไม่ปิดบังและจะแบ่งสิ่งของให้ด้วย แต่ด้วยความโลภเพื่อนคนนี้ไม่เอา จะทำอย่างกำพร้าผีน้อยบ้าง จึงไปให้ผีจับไป พอหนีออกมาเอาหัวซุกลงในหลุมหัวมัน ผีตามมาทันก็มาจับ ๆ ดูเพื่อนคนนี้จั๊กกะจี้หัวเราะออกมา จึงถูกผีกัดคอตาย

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ของกะเลิง : งานวิจัยมิได้ระบุเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่พอสรุปเอกลักษณ์ของกะเลิง ได้แก่ 1. ความเชื่อ แบ่งออกเป็น เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ มีความเชื่อเรื่องผี แบ่งผีเป็น 2 ระดับ คือผีระดับสูงและผีชั้นต่ำ ความเชื่อเรื่องผีทำให้เกิดพิธีกรรมและบุคคลที่เป็นสื่อระหว่างผีกับคน เรียกว่า เฒ่าจ้ำ แม่หมอและลูกแก้ว ความเชื่อในพุทธศาสนา มีการทำบุญใส่บาตร มีวัดในหมู่บ้านและวัดได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ มีความเชื่อเรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์ ปรากฏอยู่ในคำกลอนของกะเลิง มีการแสดงขับลำหรือหมอลำ 2. ประเพณีและพิธีกรรม กะเลิงมีความเชื่อเรื่องผีจึงก่อให้เกิดพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเรื่องวิญญาณผีบรรพบุรุษของครอบครัว การเลี้ยงผีปู่ตา มีประเพณีการแต่งงาน 3. วรรณกรรมและนิทาน กะเลิงมีนิทานที่นิยมเล่าสู่กันฟังหลายเรื่อง เช่น หอยเข้าก้น เขยเจ้าปัญญา ผีตุ้มหมะล่วย กำพร้าผีน้อย รวมถึงภาษาพูดของกะเลิง ไม่มีตัว ร และ ช แต่เป็นเสียง ล และ ซ แทน ออกเสียงขึ้นจมูก และมีคำพูดหลายคำที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ออกเสียงเฮ้ยลงท้ายประโยค นอกจากนี้กะเลิงในทัศนะของย้อมองว่าเป็นคนพูดตรงไปตรงมา มีสำเนียงพูดห้วน ๆ สั้น ๆ กะเลิงอยู่ง่าย กินง่าย ไม่ชอบการดิ้นรน ไม่นิยมออกไปทำมาหากินต่างถิ่น มีความสามัคคีรักใคร่ในพวกพ้องของตนมาก (หน้า 30) กะเลิงในทัศนะของผู้ไทย เห็นว่าประเพณีสู่ขอของกะเลิงไม่ยุ่งยาก เห็นว่ากะเลิงเชื่อในเรื่องผีเรือนมาก หญิงกะเลิงเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี แต่ไม่ขยันถ้าเทียบกับชาวผู้ไทย มีผิวคล้ำกว่าชาวผู้ไทย (หน้า 32-33)

Social Cultural and Identity Change

ในสมัยก่อนกะเลิงนิยมแต่งงานกันภายในหมู่บ้าน เพราะให้ความสำคัญเรื่องพี่น้องวงศ์ตระกูล แต่ความเชื่อนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันฝ่ายชายได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดจากการแต่งงานกับหญิงกะเลิงบ้านเดียวกัน เพราะเห็นว่า หญิงสาวกะเลิงบ้านกุดแฮด เป็นพวกหัวโบราณ พูดยาก และผิดพรรณคล้ำ ตัวเตี้ย พิธีกรรมบางอย่างที่เคยทำในอดีตก็ถูกยกเลิกไป เช่น การสู่ขวัญวัว-ควาย การเลี้ยงผีตาแฮก การทำบุญข้าวเปลือก

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst พัชรลดา จุลเพชร Date of Report 07 ม.ค. 2549
TAG กะเลิง, สภาพความเป็นอยู่, ความเชื่อ, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง