สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,อีก้อ,การอนรัษ์,โครงการพัฒนา,เชียงราย
Author สนิท วงศ์ประเสริฐ, สารณีย์ ไทยานันท์
Title ชาวเขากับแถบหญ้ากรณีศึกษาอีก้อ บ้านห้วยป่าเคาะ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 29 Year 2535
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การวิจัยนี้ผู้เขียนมุ่งเสนอประเด็นปัญหาที่เกิดโครงการพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยมองปัญหาในสามฝ่ายคือ ฝ่ายโครงการพัฒนาฝ่ายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและฝ่ายชาวบ้านที่เป็นเป้าหมายการพัฒนา โดยใช้กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่าหรืออีก้อในหมู่บ้านห้วยป่าเคาะ ต.วาวิ อ.แม่สรวย จ. เชียงราย ผู้เขียนพบว่าในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ล้วนจบลงด้วยความล้มเหลว ในส่วนของโครงการแถบหญ้า ที่เริ่มดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.2530-2532 เป็นโครงการอนุรักษ์ดินละน้ำ มีการส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกพืชหมุนเวียน มีการตั้งรางวัลให้แก่เกษตรกรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชและเครื่องมือการเกษตรและเงินสด อีกทั้งยังมีการให้คำมั่นสัญญาว่าชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสัญชาติไทย และได้รับสิทธิในที่ดินที่ทำการเพาะปลูก ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ 1. ฝ่ายผู้ริเริ่มโครงการ มีความสนใจเพียงแค่ข้อมูลพื้นฐานละเลยข้อมูลด้านสังคม ตลอดจนปัญหาและความขัดแย้งภายในชุมชน 2. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ภาคสนามขาดการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน พยายามเพียงเร่งงานให้เสร็จตามกำหนดเท่านั้น 3. ฝ่ายชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างมาก มีการรับค่านิยมใหม่ ๆจากภายนอกมีปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ จากการศึกษาวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงบทเรียนที่สำคัญแก่โครงการอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นว่า ควรมีการใส่ใจถึงข้อมูลที่เป็นนามธรรมและควรสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เผยแพร่ข้อมูลแก่ชาวบ้าน ศึกษาว่าชุมชนต้องการอะไรจากการพัฒนา พยายามดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วงโดยเกิดประโยชน์แก่ชุมชนเป้าหมายอย่างแท้จริง

Focus

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาในประเด็นผลการพัฒนาจากโครงการ ทั้งผล บวกและผลลบ ที่เกิดขึ้นจากผู้ที่มีส่วนร่วมทั้งสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้ริเริ่มและสนับสนุนโครงการ ฝ่ายเจ้าหน้าที่สนาม และฝ่ายชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเป็นฝ่ายรับการพัฒนา ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2532 (หน้า 1-4, 15-25)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์อูโล-อาข่า (อีก้อ) บ้านห้วยป่าเคาะ อ. แม่สรวย จ. เชียงราย (หน้า 4)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ตุลาคม พ.ศ. 2532-2533 (หน้า 5)

History of the Group and Community

ในปี พ.ศ.2503 มีกลุ่มอูโลอาข่าอพยพเข้ามาจากบ้านห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงรายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยป่าเคาะในปัจจุบัน (หน้า 6)

Settlement Pattern

อาข่าจะตั้งบ้านเรือนใกล้กับป่าและแหล่งน้ำโดยใช้พื้นที่ป่าบางส่วนเป็นสุสาน มีพื้นที่สำหรับเพาะปลูก 15 ตารางกิโลเมตร (หน้า 6)

Demography

ประชากรกลุ่มอาข่าที่ทำการศึกษามีจำนวน 575 คน รวม 108 หลังคาเรือน (หน้า 7)

Economy

อาข่าดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าวนอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักอื่น ๆ อีกได้แก่มะเขือเทศเผือก ฟักทอง เครื่องเทศ แตงโม ข้าวโพด ดอกไม้ มะละกอ อ้อย ถั่ว พืชสมุนไพรและโสม การเลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้านดังกล่าวมีสัตว์ราว1,531 ตัว ได้แก่ ม้า ควายวัว แกะ หมู ไก่ เป็ด หมา และนกพิราบ ไว้บริโภค และเพื่อการแลกเปลี่ยน (หน้า 8) รายได้ของอาข่าที่เข้าร่วมโครงการแถบหญ้ามีรายได้จากการผลิตข้าวปศุสัตว์ประมาณ2800-31300บาท (หน้า 9)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยคณะกรรมการแต่ละคนจะมีผู้ช่วย 2-3 คน (หน้า 7)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การพัฒนาเส้นทางคมนาคมและการติดต่อสื่อสารทำให้วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ ๆ จากภายนอกแพร่เข้ามาสู้ชนกลุ่มน้อยอย่างง่ายดายและรวดเร็ว (หน้า 22) เยาวชนรุ่นใหม่รับค่านิยมจากภายนอกไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่สั่งสมมาค่อยๆหายไป (หน้า 11)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

Development ชุมชนที่ศึกษามีปัญหาในเชิงการพัฒนาหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง สุขภาพอนามัย การศึกษา ประเพณี การสื่อสาร การเกษตร ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ การปกครอง ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมลูกบ้านในเรื่องการพัฒนาน้อยมาก ในด้านสุขภาพอนามัย ร้อยละเจ็ดสิบของชาวบ้านติดฝิ่นและเฮโรอีน และยังมีการขาดน้ำและเกิดโรคระบาดอีกด้วย ด้านการศึกษา ครูขาดงานบ่อย ไม่จริงจังกับการทำงาน เอาเวลาทำงานไปทำธุรกิจส่วนตัวไม่ดูแลสวัสดิการเด็กเท่าที่ควร ด้านประเพณี เยาวชนเริ่มไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่และใส่ใจประเพณีอาข่าน้อยมาก การสื่อสาร เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านไม่สนใจและไม่เข้าร่วมโครงการและด้านการเกษตร ชาวบ้านไม่รู้จักปรับปรุงคุณภาพของดิน

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst พรทิพย์ ลิ้มตระกูล Date of Report 03 ก.พ. 2564
TAG อาข่า, อีก้อ, การอนรัษ์, โครงการพัฒนา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง