สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยลื้อ,การเล่าเรื่อง,oral narrative,การขับ,chanting,เชียงราย
Author Hartmann, John F.
Title Linguistics and Memory Structures in Tai-Lue Oral Naratives
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 211 Year 2527
Source Department of Linguistics Research School of Pacific Studies.The Australian National University
Abstract

การศึกษาการเล่าเรื่องปากเปล่าของไทลื้อนี้ต้องการศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างความจำกับความคิดสร้างสรรค์ โดยวิเคราะห์กระบวนการเล่าเรื่องด้วยการเปรียบเทียบภาษาไทลื้อกับไทถิ่นอื่น ๆ ข้อมูลบทขับลื้อที่ใช้ศึกษามาจากผู้ขับไทลื้อ 2 คนที่มีอายุต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ความจำและความคิดสร้างสรรค์ในการขับของไทลื้อเกี่ยวข้องกันโดยจะแสดงให้เห็นในโครงสร้างของบทขับ ได้แก่ การซ้ำคำ (replicated) การเชื่อมส่วนย่อยเข้าโครงสร้างใหญ่ บทขับของผู้ขับที่อายุมากกว่าซึ่งสามารถจำเนื้อเรื่องได้ดีมีการจัดระเบียบคำที่ชัดเจนและมีหลักเหตุผลในการดำเนินเรื่อง

Focus

ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการเล่าเรื่อง (oral narratives) ของไทลื้อซึ่งมีลักษณะเป็นการร้อง (chant) เรียกว่า "ขับลื้อ" โดยมีการนำเสนอเนื้อหาออกเป็น 2 ภาคคือ ภาคแรกนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาลื้อกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษา "ไต" และเปรียบเทียบระบบเสียงและระบบวากยสัมพันธ์ (syntax) ในภาษาลื้อกับภาษาตระกูล "ไต" อื่น ๆ ส่วนภาคที่สอง เป็นเรื่องบทบาทการจัดระเบียบภาษา ความจำและความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ในการเล่าเรื่องในรูปของ "การขับ" ของลื้อ

Theoretical Issues

Hartmann สนใจประเด็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างความจำและความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ในการเล่าเรื่องชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับแรงจูงใจจากงานศึกษาประเพณีการเล่าเรื่องในยูโกสลาเวียของ A. B. Lord (1960) ซึ่งมองการร้องเล่าเรื่องว่าเป็นการด้น (improvisation) คือ ต้องคิดสร้างสรรค์ในระหว่างการร้องเล่าเรื่อง บนข้อสมมุติฐานว่า ผู้ร้องไม่สามารถหรือไม่ได้ใช้ความจำในการร้องเพลง หากต้องเรียนรู้การสร้างถ้อยวลี (น. 2) แต่ Hartmann เห็นว่าในประเพณีการเล่าเรื่องของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความจำและความคิดสร้างสรรค์มีความเกี่ยวข้องกัน และเนื่องจากการขับลื้อเป็นพฤติกรรมวจนภาษา (a form of verbal behaviour) เขาจึงอาศัยมุมมองการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยาภาษาศาสตร์ ศึกษาเปรียบเทียบผู้ขับสองคนในบริบทของภูมิวัฒนธรรม (น. 1) ในภาคแรก ผู้เขียนได้เสนอข้อถกเถียงต่าง ๆ ของนักภาษาศาสตร์เกี่ยวกับภาษาไทถิ่นต่าง ๆ เช่น Fang-Kuei Li, William J. Gedney, J. Marvin Brown, G. A. Grierson เป็นต้น เพื่อสรุปว่า ภาษาไทลื้ออยู่ในสาขากลุ่มไทใต้ - ตะวันตกของภาษาตระกูลไท (น. 7-12) และได้เปรียบเทียบระบบเสียงของภาษาลื้อกับภาษาไทยใหญ่ในรัฐฉาน ไทขาว ไทขึน ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช ภาษาถิ่นโคราช และไทลื้อที่พูดกันในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองยองในประเทศพม่า จังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย (น.17-40) และยังแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าในบริเวณสิบสองปันนาซึ่งเป็นถิ่นที่มีลื้ออยู่หนาแน่นก็ยังมีความแปรผันในภาษาไต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 เขตใหญ่โดยดูจากการผันแปรเสียงพยัญชนะ คือ บริเวณที่หนึ่ง ลักษณะแบบลื้อเชียงรุ่ง บริเวณที่สอง ลักษณะแบบ "ชาน" บริเวณที่สาม ลักษณะผสมระหว่างลื้อกับชาน (น.41-43) นอกจากนี้ Hartmann ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคำ โดยดูคำที่ใช้ตั้งคำถาม (question particles) คำบุรุษสรรพนาม คำในระดับข้อความ (discourse level particles) (น.48-56) และเสนอว่าภาษาไทลื้อมีความใกล้ชิดกับภาษาไทย (Siamese) ภาษาไทยใหญ่ (Shan) และภาษาลาว (น. 56) ในภาคที่สองเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทขับ (oral text) 2 บทระหว่างผู้ร้องที่อายุมากคนหนึ่งและอายุน้อยกว่าอีกคนหนึ่ง เพื่อดูความจำและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผลปรากฏว่า บทขับของผู้ขับที่มีอายุมากกว่ามีรูปแบบการจัดระเบียบคำที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการใช้ศัพท์ และมีหลักเหตุผลในการดำเนินเรื่อง แต่ผู้ขับที่อายุน้อยกว่าไม่สามารถจะจัดระเบียบหน่วยย่อยต่าง ๆ เป็นหน่วยที่ใหญ่ได้อย่างชัดแจ้ง ภาษาบทขับของเขาแสดงถึงความไม่สามารถในการสร้างความต่อเนื่องที่เป็นเหตุเป็นผล ระหว่างเหตุการณ์ต่าง ๆ กับความคิดได้ชัดเจน (น. 2) ในการวิเคราะห์ดังกล่าว Hartmann ดูความสัมพันธ์ระหว่างรูป (form) หน้าที่ (function) และความหมาย (meaning) โดยใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เช่น "tagmemics-inspired model" "pragmatics of discourse" "conversational implicature" และแนวคิดของ Chomsky (น.3) และ Hartmann ได้สรุปว่า ความจำในการเล่าเรื่องของลื้อมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล (น.2) และความจำถูกรักษาไว้โดยผ่านการจัดระเบียบคำ (น.4) การเปลี่ยนแปลงหรือการตกแต่งเล็กน้อยในระหว่างการเล่าเรื่องก็อาจจะเป็นการสร้างสรรค์แบบหนึ่ง (น.192) ซึ่งมีความแตกต่างไปจากแนวคิดของ Lord (น.4)

Ethnic Group in the Focus

คนไทลื้อ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลื้อเป็นภาษาถิ่นในตระกูลภาษา "ไต" ซึ่งมี 3 สาขา คือ ทางเหนือ ทางตอนกลาง และทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ภาษาลื้อถูกจัดว่าอยู่ในสาขาทางตะวันตกเฉียงใต้

Study Period (Data Collection)

เป็นการศึกษาที่ใช้เอกสารและศึกษาภาคสนามที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) (น.V)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่ได้กล่าวถึงแบบแผนการตั้งถิ่นฐานชัดเจน แต่กล่าวถึงบริเวณถิ่นอาศัยของลื้ออย่างคร่าว ๆ ว่า เชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงเก่าของลื้อ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ปัจจุบันคนไทลื้อตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในเมืองยอง ประเทศพม่า ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ประเทศไทย ในเมืองสิงห์ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว รวมไปถึงทางตอนเหนือของเวียดนามที่เมือง Binh Lue และบริเวณชายแดนของจีน บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำ (น.6)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

มิได้กล่าวถึงโดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องบ้างในประเด็นความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างโลกตามคติฮินดู-พุทธ ซึ่งถ่ายทอดกันโดยการร้องขับ ข้อความในการขับจะกล่าวถึงการทำลายล้างโลกว่า เมื่อปรากฏดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจากหนึ่งดวงเป็นสองดวง การสร้างโลกตามคติฮินดู-พุทธ ซึ่งถ่ายทอดกันโดยการร้องขับ ข้อความในการขับจะกล่าวถึงการทำลายล้างโลกว่า เมื่อปรากฏดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นจากหนึ่งดวงเป็นสองดวง โลกมีสภาพเป็นอย่างไร มนุษย์ประสบความทุกข์ยากอย่างไร การปรากฏดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นทีละดวง ๆ จนครบ 7 ดวง ทำให้น้ำเหือดแห้ง ต่อมาก็เกิดไฟประลัยกัลป์ล้างโลก แล้วก็เกิดลมพายุใหญ่พัดล้างโลกและสวรรค์ แล้วก็เกิดน้ำท่วมโลกเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์แต่ละดวงจะปรากฏเพิ่มขึ้นนั้นนานนับหมื่นปี และหลังจากที่โลกถูกทำลายล้างหมดแล้ว ก็เกิดโลกขึ้นใหม่ มีพื้นดิน แล้วก็ค่อย ๆ เกิดสรรพสิ่งบนพื้นดิน จนกระทั่งมีต้นกำเนิดมนุษย์คือ ปู่สังกะสาย่าสังกะสี

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

การสร้างโลกตามคติฮินดู - พุทธ แต่มิได้กล่าวถึงรายละเอียดของเรื่อง คือเมื่อปรากฏดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นทีละดวงจนครบเจ็ดดวง น้ำเหือดแห้ง เกิดไฟ เกิดลมพายุใหญ่ทำลายล้างโลก แล้วก็เกิดชีวิตขึ้นใหม่บนโลก เกิดมนุษย์ขึ้นจากเทวดาที่กินง้วนดิน

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เกี่ยวข้องในประเด็นการเปรียบเทียบภาษาไทลื้อกับภาษาไทถิ่นต่าง ๆ การวิเคราะห์บทที่ 3 แสดงเป็นนัยให้เห็นอัตลักษณ์ของไทลื้อในแง่ภาษา นักมานุษยวิทยาพบว่า ในบริเวณภาษาเขตที่หนึ่งลักษณะแบบลื้อเชียงรุ่ง และบริเวณภาษาเขตที่สองลักษณะแบบ "ชาน" ผู้พูดจะมองตนเองเป็นคนลื้อบ้าง ไทยใหญ่ (Shan) บ้างหรือบางทีก็เป็นไทเหนือ (Tai Neua) (น.43) และในบทที่ 7 ซึ่งวิเคราะห์รูปแบบการร้องในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ มีประเด็นที่แสดงลักษณะร่วมกันของคนไทว่า การขับเพลงโต้ตอบกันเป็นศิลปะการขับเพลงที่แพร่หลายและเป็นพื้นฐานร่วมกันของคนไท (น.76) และขณะเดียวกัน ในศิลปะการขับที่มีร่วมกันก็ใช้แสดงความต่างกันของกลุ่มด้วย โดย Hartmann กล่าวว่า ลักษณะทางชาติพันธุ์อย่างหนึ่ง (one ethnic emblem) ที่อาจจะแยกผู้คนที่มองตนเองว่าเป็นคนลื้อออกจากเพื่อนบ้านที่มีภาษาและวัฒนธรรมเหมือนกันกับตน อาจจะเป็นความจงรักภักดีเชิงอารมณ์ความรู้สึก (the emotional allegiance) ที่พวกเขามีต่อวรรณกรรมปากเปล่า (their distinctive oral literature) ได้แก่ การขับลื้อ. ความแตกต่างระหว่างกลุ่มนี้ อาจจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้วรรณกรรมปากเปล่าของพวกเขาเป็นการแบ่งแยกลักษณะคุณสมบัติของกลุ่ม (น.77)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ 1 : แสดงบริเวณพื้นที่ของชาวลื้อ (น.13) แผนที่ 2: แสดงถิ่นที่พูดภาษาตระกูลไตในบริทิชอินเดีย (น.14) แผนที่ 3: การแบ่งเขตปกครองดินแดนบนฝั่งแม่น้ำโขงของฝรั่งเศส 'Laos Occidental' และ Laos oriental' - Mission Pave(1930(น.15) แผนที่ 4: แสดงบริเวณเขตภาษาลื้อ 3 เขตใหญ่ที่ศึกษาโดย Gedney (1964) และ Li(1964) (น.16) แผนที่ 5: แสดงการเปลี่ยนแปลงเสียง(isoglosses)จากเสียง *d ในภาษาแม่(Proto-Tai)มาเป็นเสียง t และ th ในภาษาไตปัจจุบันตามลำดับ (น.32) แผนที่ 6: แสดงความแตกต่างของความยาวเสียงสระระหว่างเหนือกับใต้ (น. 38) แผนที่ 7: บริเวณเขตภาษาถิ่น 3 เขตใหญ่ในสิบสองปันนา (น.42) แผนที่ 8: จุดต่างๆ ในสิบสองปันนาที่มีสระเสียงสั้น-ยาวต่างกันระหว่างคนหนุ่ม วัยกลางคนและคนแก่ (น.44)

Text Analyst อธิตา สุนทโรทก Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ไทยลื้อ, การเล่าเรื่อง, oral narrative, การขับ, chanting, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง