สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การซ่อมสร้างชุมชนกะเหรี่ยง, หมู่บ้านบางกลอย, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, จังหวัดเพชรบุรี
Author สดานุ สุขเกษม
Title เรียนรู้จากการซ่อมสร้างชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 153 Year 2562
Source สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
Abstract

หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนบนประสบการณ์จากการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เขียนและชาวบ้านบางกลอย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์สนทนากลุ่มย่อย ประชุม การใช้ภาพถ่าย การทำหุ่นจำลอง วาดภาพ และบันทึกการก่อสร้างบ้าน โดยมีชาวบ้านเป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกัน ตลอดทั้งกระบวนการทำงานร่วมกัน เครื่องมือและวิธีการเหล่านี้เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติข้อมูลเชิงลึกถูกนำมาวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม กิจกรรมและการใช้งานพื้นที่ เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยของกะเหรี่ยงบางกลอย การเข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญในการสร้างพลังและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

Focus

เพื่ออธิบายกระบวนการทำงานในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านบางกลอย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.ดำเนินการระหว่างปี 2557–2661 โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคซึ่งมีผลต่อกระบวนการสร้างบ้านร่วมกัน

Theoretical Issues

เริ่มโดยการแชร์วิธีการ ขอบเขตการทำงาน เครื่องมือและเป้าหมายร่วมกัน สังเกตการณ์ร่วมกันเพื่อการสะท้อนถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขร่วมกันในกระบวนการทำงานเพราะเป็นทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการร่วมกันกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเป็นการสร้างระบบความรู้ซึ่งอยู่บนฐานปฏิบัติการร่วมกัน โดยมีชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง เพื่อไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ 

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในสารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ ได้บันทึกว่า ชื่อ “กะเหรี่ยง” เป็นชื่อที่เรียกตามอย่างมอญซึ่งเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า “กะเรง” ชนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” ขณะที่ทางจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์บางครั้งกะเหรี่ยงถูกเรียกว่า “กะหร่าง” (น.10)

Study Period (Data Collection)

ดำเนินการระหว่างปี2557–2661

History of the Group and Community

ในอดีตนานมาแล้วในสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับพม่า กะเหรี่ยงได้อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่าได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ถูกขับไล่และฆ่าโดยพม่า ต้องหลบอยู่ตามถ้ำและซ่อนตัวอยู่ในป่า บนภูเขา สูญเสียบ้านและที่ดินทำกิน หลายคนตายและที่เหลือมีชีวิตอยู่รอดด้วยการกินหัวกลอยและผักอื่น ๆ ในป่าเป็นอาหาร แต่มีเรื่องลึกลับอยู่ว่า มีกะเหรี่ยงที่หนีภัยสงครามในคราวนั้นได้ไปพบหัวกลอย ขนาดเท่าสามคนโอบ หลังจากที่เขาได้กินหัวกลอยนั้นแล้ว ปรากฏว่าเขาหายตัวได้ไม่มีใครมองเห็นเขาได้และเขาได้หนีรอดชีวิตจากสายตาของพวกทหารพม่า เรื่องนี้จึงเป็นตำนานที่เล่าขานต่อ ๆ กันมาในหมู่กะเหรี่ยงบางกลอยบนและใจแผ่นดิน หลังจากที่สงครามสงบลง พวกเขาได้เริ่มชีวิตอย่างสงบสุข โดยอาศัยอยู่ที่ต้นน้ำของแม่น้ำบางกลอยและแม่น้ำเพชรบุรีใกล้กับชายแดนไทย-พม่า
บ้านบางกลอย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง “สกอว์” (ปกาเกอะญอ) ซึ่งอยู่ เหนือสุดของตำบล เดิมตั้งอยู่กับแม่น้ำบางกลอย มีชื่อเรียกทางภาษากะเหรี่ยง “สกอว์” (ปกาเกอะญอ) ว่า “คลี้เหลาะ” (Kleh looj) แปลเป็นภาษาไทยว่า “ห้วยบางกลอย” เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีเถาว์กลอยจำนวนมากซึ่งเป็นสาขาของต้นแม่น้ำเพชร (น.26)

Settlement Pattern

ทำเลที่ตั้งของบ้านใกล้แม่น้ำหรือลำห้วย และอยู่บริเวณตีนเขา นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมการเสี่ยงทายเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในอนาคต โดยที่จะใช้ข้าวสาร 7 เม็ด วางเรียงเป็นรูปดาวเจ็ดแฉกหรือเรียงเป็นแถวก็ได้ แล้วเอาถ้วยครอบไว้แล้วอธิษฐานว่าจะมาสร้างบ้านที่นี่แล้วทิ้งไว้หนึ่งคืน พอรุ่งขึ้นก็มาเปิดดูถ้าข้าวสารไม่แตก ไม่กระจายออก ไม่หาย ก็แสดงว่าที่นี่อยู่ได้ กะเหรี่ยงเรียกว่าพิธี“ก๊ะซะ” (น.89)
หลังจากสร้างบ้านเสร็จ ในคืนแรกที่นอน ถ้าหากเจ้าของบ้าน ได้ยินเสียงเก้งร้องหรือนกทุตะปัวร้องขณะที่นอนอยู่ในคืนแรก วันรุ่งขึ้นจะต้องทิ้งบ้านหลังนั้นไป เพราะถือว่าเป็นลางไม่ดีหากอยู่บ้านหลังนั้นก็จะอยู่ไม่เป็นสุข พวกเขาจะต้องไปหาที่ใหม่เพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ (น.89)

Demography

ช่วงอายุของชาวบ้านบางกลอย  อายุมากกว่า 60 ปี  2.6 เปอร์เซ็นต์41–60 ปี 13.3 เปอร์เซ็นต์  26–40 ปี 19 เปอร์เซ็นต์  16–25 ปี   17.2 เปอร์เซ็นต์  0–15 ปี 47.9เปอร์เซ็นต์  ประชากรบ้านบางกลอย สำรวจปี 2560(น.21)

Economy

ชาวบ้านมากกว่าครึ่งที่ไม่มีที่ดินทำกินและมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มีที่ดิน แต่ก็น้อยเกินไปที่จะทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ขณะที่จุดแข็งของการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมนั้นคือความหลากหลายของพืชพรรณและวิธีการที่สอดคล้องกับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบของการจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินจึงกลายเป็นการจำกัด และกำจัดการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมทั้งสภาพความเป็นอยู่และความมั่นคง ทางอาหารไปโดยปริยาย (น.35)

Social Organization

Marshall กล่าวว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอาศัยเดิมอยู่ที่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง (Yang-Tse-Kiang) แถบทะเลทรายโกบี (Gobi desert) ในประเทศจีน ซึ่งสอดคล้องกับ Ratanagul และ Burusrat (1995) ได้อธิบายว่า ถิ่นฐานดั้งเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย ต่อมาได้หนีภัยสงครามและถอยร่นลงมาทางทิศใต้เรื่อย ๆ จนถึงแม่น้ำสาละวินในเขตประเทศพม่า เช่นเดียวกับ Ranard and Barron (2007: 32) ได้กล่าวว่า กะเหรี่ยงอพยพลงมาจากธิเบต และยูนนานในประเทศจีน และมาตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน
ในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนด้านตะวันตกตั้งแต่จังหวัดเชียงรายไปจนถึงจังหวัดระนอง ประมาณ 16 จังหวัด (Ratanagul and Burusrat, 1995: 2) Maizo (1997) ได้กล่าวว่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยและประเทศพม่ามากว่า 200 ปีที่แล้ว ในทางเดียวกัน Ratanagul และ Burusrat (1995) ได้อธิบายว่ากะเหรี่ยงในประเทศไทยเป็นกะเหรี่ยงที่อพยพมาจากการหนีภัยสงครามในประเทศพม่ากับมอญในสมัยพระเจ้าอลองพญา และอีกครั้งในสมัยที่ประเทศอังกฤษได้เข้ายึดประเทศพม่า (น.11)
กะเหรี่ยงที่เกิดที่บางกลอยบนและใจแผ่นดินเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และผู้อาวุโส ไม่สามารถจำอายุที่ชัดเจนของตนเองได้ว่าอายุเท่าไหร่ โดยอายุพวกเขาจะสัมพันธ์กับระบบไร่หมุนเวียนแต่ละปีโดยเทียบกับปีที่ทำไร่ โดยปกติจะทำไร่ข้าวปีละครั้ง นอกจากนี้เขามักจะอ้างปีเกิดโดยเทียบเคียงกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเกิดในป่า โดยไม่มีการจดบันทึกหรือเอกสารใบเกิด จึงเป็นการยากที่จะชี้ชัดว่าเกิดปีไหน แต่ในปัจจุบันเด็กที่เกิดที่หมู่บ้านจะได้รับ ใบเกิดจากทางอำเภอทุกคน (น.19)
หลังจากการผลักดันของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและทหารในปี2554 กะเหรี่ยงบางกลอยและใจแผ่นดินได้อพยพแยกออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกอพยพ ข้ามไปอยู่ฝั่งชายแดนพม่า กลุ่มที่สองอพยพไปอยู่ที่หมู่บ้านพุระกำ ต.ตะนาวศรีอ.สวน ผึ้ง จ.ราชบุรีกลุ่มที่สามอพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านบางกลอยปัจจุบัน (น.28)

Political Organization

รัฐบาลมีนโยบายที่จะพยายามเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทุกปีขณะที่จำนวนของชนเผ่าพื้นเมืองจำนวนมากยังอาศัยอยู่ในป่าและที่สูง ขณะเดียวกันพื้นที่เหล่านั้นก็ถูกประกาศให้อยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมโดยกรมป่าไม้ สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจึงกลายเป็นประเด็นร้อนระหว่างรัฐกับชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมหรือ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ รัฐได้ออกมาตรการทางกฎหมายหลายฉบับเพื่อปกป้องและอนุรักษ์พื้นที่ป่า แน่นอนว่าชาวบ้านมีความกังวลในกฎระเบียบข้อบังคับ ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นอยู่ของคนที่อยู่ในป่า โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (น.30)รวมทั้งนโยบายทวงคืนผืนป่าที่มีส่วนทำให้เจ้าหน้าที่อุทยานเข้มงวดต่อชาวบ้านที่ต้องการเดินทางกลับไปอาศัยยังที่แผ่นดินดั้งเดิม ทำให้ชาวบ้านยังถูกจับกุมและดำเนินคดีอยู่เรื่อย ๆ ในข้อหาบุกรุกป่า (น.3)
ชาวบ้านไม่มีสิทธิในการเลือกที่ตั้งและผืนดินที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง อีกนัยหนึ่ง การเลือกลักษณะของที่ตั้งขึ้นอยู่กับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (น.4) และสำหรับการวางผังของหมู่บ้านเกิดจากปัจจัยสองประการคือ การถูกจำกัดพื้นที่ และ ความสัมพันธ์ของกลุ่มตระกูล ซึ่งมีส่วนทำให้บ้านแต่ละหลังร้อยรัดสัมพันธ์กันในเชิงเครือญาติผ่านการแต่งงานภายในกลุ่ม นอกจากนี้บทบาทของกลุ่มผู้หญิงแสดงให้เห็นถึงอำนาจการตัดสินใจในบ้าน ขณะที่ผู้ชายจะทำงานนอกบ้านและดูแลครอบครัว (น.136)

Belief System

ความสัมพันธ์ของการวางผังที่สัมพันธ์กับทิศซึ่งได้ถูกผนวกรวมเข้ากับกระบวนการก่อสร้าง สัมพันธ์กับรูปแบบชีวิต ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เช่น การทำคลอด การจัดงาน แต่งงาน รวมไปถึงการจัดงานศพ เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นภายในบ้านทั้งสิ้น (น.133)
ความเชื่อเรื่องทิศกับการสร้างบ้านตามแนวคิดของบ้านกะเหรี่ยง ถูกเชื่อมร้อยเข้ากับความเชื่อในมุมมองเรื่องทิศมงคล โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากบรรพบุรุษ อย่างไรก็ตาม ไม่ทุกครอบครัวที่เชื่อในเรื่องทิศมงคล โดยเฉพาะกลุ่มรุ่นใหม่ที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อจากเมือง(น.117)
หลายครอบครัวเชื่อว่าทิศตะวันออกเป็นทิศมงคล ดังนั้นจึงนิยมหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออก นี่ยังแสดงและสะท้อนการจัดพื้นที่ภายในบ้านซึ่งสัมพันธ์กับระบบความเชื่อของการอยู่อาศัย นอกจากนี้หลายคนยังเชื่อว่า ควรหันหน้าบ้านหรือ บันไดทางขึ้นไปทางทิศตะวันออก ขณะที่บางครอบครัวเชื่อว่าการวางผังของแนวบ้านควรวางไปในแนวทางทิศเดียวกับบ้านข้างเคียง (น.112) แนวคิดของบ้านกะเหรี่ยงยังคงความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับโลกจิตวิญญาณและ ความเชื่อของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งสะท้อนถึง ความเชื่อดั้งเดิมซึ่งเคารพ พิธีกรรมถูกพัฒนาให้ปรากฏเป็นความปรารถนา ทำหน้าที่ควบคุมพิธีกรรมเหล่านี้ ทั้งในมิติของพื้นที่ และการแสดงออกทางพฤติกรรม ผ่านการจัดการพื้นที่ในทางกายภาพ (น.112)
ตัวอาคารควรวางอยู่ในแนวเดียวกับตัวอาคารของเพื่อนบ้าน ไม่ควรจะวางอาคารขวางกับแนวอาคารของเพื่อนบ้านเพราะมันจะนำมาซึ่งความโชคร้ายมาให้ หมายถึงลักษณะของบ้านเหมือนถูกทิ่มแทงจากลักษณะของการวางผัง ซึ่งบ้านจะเป็นตัวรับความโชคร้ายนี้ จึงมีการเปลี่ยนการวางผังใหม่ โดยบันไดทางขึ้นอยู่ด้านทิศใต้หันหน้าไปยังทางเดิน พื้นที่ทำอาหารอยู่ทางเหนือและห้องนอนอยู่ทิศใต้ของบ้าน ความเชื่อนี้เป็นลักษณะของความเชื่อส่วนบุคคล บางครอบครัวก็เชื่อ หลายครอบครัวก็ไม่ได้สนใจ (น.120)

Education and Socialization

การอพยพเข้าเมืองของกะเหรี่ยง บางส่วนอาจจะทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก รวมทั้งได้รับการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชน (น.7)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

รูปแบบดั้งเดิมของการสร้างบ้านกะเหรี่ยงใช้ไม้ไผ่ก่อสร้างเกือบทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่เสาไปจนถึงหลังคา ในส่วนของวัสดุหลังคามีทั้งหญ้าคาและใบตะค้อ (น.78)

Folklore

จากประวัติศาสตร์ชุมชน กะเหรี่ยงบางกลอยมองว่าที่อยู่อาศัยดั้งเดิมนั้นเป็นศูนย์กลางของโลก ตามชื่อหมู่บ้านเดิมคือ ใจแผ่นดิน อันสะท้อนถึงแนวคิดเรื่องสภาวะการอยู่อาศัยที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแยกไม่ออก  ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธ์  สิ่งเหนือธรรมชาติ  อันสะท้อนออกมาผ่านฏิบัติการ เช่น  การออกแบบพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย การสร้างพื้นที่  พิธีกรรม ในชีวิตประจำวัน (น.144) โดยเฉพาะพิธีมาบุอันเป็นประเพณีตามความเชื่อของกะเหรี่ยงบางกลอยและใจแผ่นดิน (น.12)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การอธิบายโลกของกะเหรี่ยงและสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นแตกต่างจากคนเมืองอย่างสิ้นเชิง  การมีความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ออก ตั้งแต่เกิดจนตาย สิ่งนี้สะท้อนสู่ระบบการอยู่อาศัย การสร้างพื้นที่ และพิธีกรรม เช่น ในการบูชาทำความเคารพหรือบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจ้าป่า เจ้าเขา หรือเจ้าแม่น้ำ ก่อนการสร้างบ้านหรือทำไร่ (น.144)
ตัวตนของบ้านกะเหรี่ยงเป็นบทสะท้อนของข้อจำกัด ปัจจัยต่าง ๆ ในการอยู่อาศัยภายใต้กฎระเบียบอุทยาน อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการจะเข้าใจความหมายของตัวตนของที่อยู่อาศัยกะเหรี่ยงมากขึ้น เราอาจจะต้องทำความเข้าใจวัตถุทางวัฒนธรรม (material culture) ภายในบ้านและภายในชุมชน สิ่งเหล่านี้สะท้อนตัวตน การใช้งาน ความรู้สึก พฤติกรรม ซึ่งได้แสดงออกอย่างชัดเจนใน ส่วนต่าง ๆ ของที่อยู่อาศัย เช่น เตาไฟซึ่งเป็นหัวใจของบ้านและพื้นที่ทำอาหาร และยัง เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณของบ้านด้วย (น.143)

Social Cultural and Identity Change

รูปแบบดั้งเดิมของการสร้างบ้านกะเหรี่ยงใช้ไม้ไผ่ก่อสร้างเกือบทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่เสาไปจนถึงหลังคา ในปัจจุบันชาวบ้านได้มีการใช้ไม้แปรรูปและไม้ยูคาลิปตัสมาทำโครงสร้างเพื่อให้บ้านนั้นแข็งแรงขึ้น ขณะที่ผนังและพื้นยังคงทำจากไม้ไผ่ ในส่วนของวัสดุหลังคามีทั้งหญ้าคา ใบตะค้อ สังกะสีและกระเบื้อง แต่จากการสำรวจ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้สังกะสีในการมุงหลังคามากว่าวัสดุประเภทอื่น เนื่องจากทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ และมีราคาที่สามารถจ่ายได้ สะท้อนถึงการปรับตัวภายใต้ข้อจำกัดในการสร้างที่อยู่อาศัยในบริบทใหม่ (น.78)
การเปลี่ยนแปลงของลักษณะบ้านกะเหรี่ยงเป็นบทสะท้อนถึงบริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนบ้านไม่ได้ถึงการสูญเสียตัวตนความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อนโยบายรัฐ (น.82)

Critic Issues

ความเป็นอยู่ของชาวบ้านตั้งอยู่บนฐานของการทำการเกษตร ความรู้แบบดั้งเดิมและวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็ประสบกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากนโยบายรัฐ กฎหมายและข้อกำหนดในปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามประเพณี ส่วนการจัดสรรที่ดินและการจำกัดขอบเขตของที่ดินก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการทำไร่หมุนเวียน (น.148)
รัฐควรพิจารณาทบทวนเรื่องการทำไร่หมุนเวียนและการเกษตรพื้นเมืองอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (น.149)
รัฐจะต้องให้แนวทางที่ชัดเจนภายใต้กรอบสิทธิมนุษยชน และทางด้านนิเวศวิทยาและแสดงความเคารพต่อสิทธิและองค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งความยั่งยืนต่อการอยู่อาศัย รัฐต้องให้มีนโยบายสนับสนุนที่อยู่อาศัยในระดับชาติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหารและการ ดำรงชีวิตบนฐานของหลักการของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐและชนเผ่าพื้นเมืองที่สัมพันธ์    กับการจัดการทรัพยากรและวัฒนธรรมที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วม เป็นวิธีการและแนวทางที่สำคัญที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้ก้าวข้ามข้อกังวลทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติร่วมกัน (น.148)

Other Issues

กระบวนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยกะเหรี่ยงทำให้เราเข้าใจเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกะเหรี่ยงและลักษณะของปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น กลุ่มตระกูล ความต้องการที่อยู่อาศัย ความเชื่อ และบทบาทของเพศ ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนผสมสำคัญ ในกระบวนการสร้างที่อยู่อาศัย นอกจากนี้แล้ว วัสดุการก่อสร้าง ทักษะและเทคนิค ยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบอาคารและพื้นที่ด้วย ส่วนการวางผังของหมู่บ้านเกิดจากปัจจัยสองประการคือ การถูกจำกัดพื้นที่และความสัมพันธ์ของกลุ่มตระกูล ซึ่งมีส่วนทำให้บ้านแต่ละหลังร้อยรัดสัมพันธ์กันในเชิงเครือญาติผ่านการแต่งงานภายในกลุ่ม นอกจากนี้บทบาทของกลุ่มเพศหญิงแสดงให้เห็น ถึงเพศหญิงคือเพศที่เป็นใหญ่ในบ้าน ผู้ชายจะทำงานนอกบ้านและดูแลครอบครัว ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุผลสำคัญสำหรับการก่อสร้างคือเพื่อต้องการเพิ่มพื้นที่บ้านและสร้างความแข็งแรงให้กับที่อยู่อาศัย เราแทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่า การต้องการพื้นที่ใช้สอยและความแข็งแรงของบ้านคือสิ่งแรก ๆ ที่ทุกครอบครัวต้องการ นอกจากนี้ยังพยายามลดค่าใช้จ่ายด้วยการนำวัสดุเก่าเข้ามาผสมกับวัสดุใหม่  ขณะที่รูปทรงของบ้านและพื้นที่นั้น มีทั้งแตกต่างและคล้ายกับบ้านหลังเดิม ซึ่งมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น วัสดุก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
กะเหรี่ยงพยายามอยู่รอดโดยการปรับพฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพภายใต้กฎระเบียบอุทยานแห่งชาติ กระบวนการก่อสร้างบ้านแสดงให้เนถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป้าหมายระหว่างกันอันสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านรูปทรงของบ้าน  (น.136)

Map/Illustration

แผนที่
- แผนที่แสดงตำแหน่งพื้นที่ดั้งเดิม : ใจแผ่นดินและบางกลอยบน (น.24)
- แผนที่หมู่บ้านบางกลอย ปี2560 (น.25)
ภาพ
- ภาพเหตุการณ์การเผาบ้านกะเหรี่ยงบางกลอยบนและใจแผ่นดิน ปี2554(น.5)
- นายโคอี้ มิมิ (น.13)
- นายทองดี ชายา อายุ70 ปี (.น15)
- นายจอช้อ แครจีอายุ70 ปี (น.17)
- นางตะลุย กว่าบุ (น.19)
- ชาวบ้านบางกลอย (น.20)
- หมู่บ้านบางกลอยและแม่น้ำเพชรบุรี (น.22)
- สัมภาษณ์นายจอช้อ แครจี โดยนายพอละจีรักจงเจริญ และผู้เขียน ในปี2556 ที่บ้านนายบุญชู พุกาด (น.29)
- นายไพรัช รักจงเจริญ กำลังปลูกข้าวไร่ ในปี2560(น.32)
- ภาพเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่การเกษตรของหมู่บ้านบางกลอยระหว่างปี2556 กับ 2559 (น.34)
- บิลลี่ระหว่างคุยกับปู่โคอี้ มิมิ (น.40)
- นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ขณะที่ทำการประชุม (น.41)
- ภาพเตาไฟในบ้านนายทิโจ๊ะ เจริญสุข (น.46)
- การประชุม (น.48)
- ประชุมทำความเข้าใจในโครงการและการจัดทำข้อมูล ในปี2556(น.55)
- ประชุมเพื่อสะท้อนปัญหาระหว่างการทำงานร่วมกัน เดือนธันวาคม 2558(น.55)
- สำรวจชุมชนร่วมกับชาวบ้านเพื่อจัดทำแผนที่ของชุมชน ปี2556(น.56)
- สัมภาษณ์ประวัติครอบครัวและชุมชุน (น.57)
- บ้านทุกหลังในโครงการจะถูกตรวจสอบและยืนยันสิทธิ์ร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่ทหาร (น.59)
- การพิจารณาสิทธิของเฟส 3(น.60)
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเดือนธันวาคม 2558(น.66)
- แบบที่วาดโดยชาวบ้านในประชุมเชิงปฏิบัติการในปี2558(น.67-68)
- ประชุมเชิงปฏิบัติการ เดือนกันยายน 2559(น.69)
- ไม้ยูคาลิปตัสถูกขนส่งมาจากในเมือง (น.79)
- การขนส่งวัสดุไม้ไผ่มายังบ้านที่ทำการก่อสร้าง (น.80)
- สับไม้ไผ่เพื่อทำผนังและพื้นบ้าน (น.81)
- การต่อตอม่อคอนกรีตกับเสาไม้เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับเสาบ้าน (น.83)
- ลักษณะของผนังบ้าน (น.84)
- โครงสร้างพื้นไม้ (น.85)
- วัสดุมุงหลังคาประเภทใบตะค้อ  และหญ้าคา (น.86)
- โครงสร้างหลังคา (น.87)
- สังกะสีเป็นวัสดุที่นิยมใช้มุงหลังคา (น.88)
- แบบศาลาชุมชน (น.92)
- กระบวนการก่อสร้างศาลาชุนชน ปี2558(น.93)
- เปลี่ยนโครงสร้างและวัสดุมุงหลังคาศาลาชุนชน ปี2559(น.94)
- กระบวนการสร้างบ้านนายจอจือมิ เจริญสุข (น.96)
- ภาพเปรียบเทียบบ้านหลังเก่า และบ้านหลังใหม่ ของนายจอจือมิ (น.97)
- บ้านหลังใหม่ของนายปอละ ลาเดาะ (น.100)
- บ้านนายตากีนุ กวาบุ หลังจากทำการปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติมบ้าน (น.103)
- บ้านนายตากีนุ หลังจากต่อเติมแล้ว (น.104)
- ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังทำการปรับปรุงบ้านของนายตากีนุ (น.105)
- องค์ประกอบของบ้านนายจั่ว หลังจากทำการสร้างใหม่ (น.107)
- ก่อนและหลังการรื้อสร้างบ้านของนายจั่ว จีโบ้ง  (น.108)
- โครงสร้างบ้านของนายกิตติพรต ปี2558(น.110)
- นายกิตติพรตสร้างบ้านหลังใหม่ซึ่งอยู่ถัดจากบ้านหลังเดิมที่ผุพัง (น.111)
- บ้านนางรี พุกาด (น.113)
- บริเวณพื้นที่ทำอาหารและทานข้าวภายในบ้านนางรี พุกาด (น.114)
- กระบวนการก่อสร้างบ้านนายสมบัติ ชายา (น.116)
- บ้านหลังใหม่ของนายลามิ เจริญสุข (น.119)
- กระบวนการสร้างบ้านหลังใหม่ของนางจิตสินี แครจี (น.122)
- กระบวนการสร้างบ้านของนายรณชัย ลาเดาะ (น.125)
- บ้านนางสร้อยทอง เจริญสุข  (น.126)
- กระบวนการซ่อมแซมและต่อเติมบ้านของนายพาโมล ลาเดาะ (น.127)
- บ้านนายสุนีย์ กวาบุ (น.129)
- บ้านหลังใหม่ของนายพงษ์ศักดิ์ โจโฉ (น.130)
- บ้านนางบุเซมิ จันอุปถัมภ์ (น.131) 

Text Analyst อาร์กีฟาน แวลง Date of Report 01 ต.ค. 2564
TAG การซ่อมสร้างชุมชนกะเหรี่ยง, หมู่บ้านบางกลอย, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, จังหวัดเพชรบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง