สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,เกษตรกรรม,ไร่,นา,เชียงใหม่
Author ศรีเลา เกษพรหม
Title ลัวะเยียะไร่ ไทใส่นา
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 133 Year 2541
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ลัวะเยียะไร่ไทใส่นา เป็นคำพูดของคนโบราณที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของกลุ่มคนล้านนาในอดีต และการอยู่ร่วมกันระหว่างลัวะและคนไทอย่างสงบ โดยงานหลักคือการปลูกข้าวที่ผสมผสานความเชื่อพื้นบ้านและศาสนาไว้ด้วยกัน วิถีชีวิตของชาวล้านนาจึงมองอย่างแยกไม่ออกกับความเชื่อ ที่พึ่งพาและเคารพธรรมชาติตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการใช้ประโยชน์จากข้าว รวมถึงการให้ความเคารพและระลึกถึงบุญคุณของสัตว์เช่นพิธีตอบแทนคุณควาย โดยทั้งลัวะและไทต่างมีกรรมวิธีการทำนาที่คล้ายคลึงกันจะแตกต่างกันแต่เพียงรายละเอียดของความเชื่อที่ผสมลงไป ซึ่งการทำนาของคนไทในอดีตกำลังจะสูญหายในปัจจุบัน ที่มีความเจริญของเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่มากขึ้น

Focus

วัฒนธรรมการทำนาของคนไทหรือคนไทยยวนและการทำไร่ของลัวะบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยมีตำรามีประเพณีเป็นรอยรีต ที่คนโบราณเชื่อและถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันมา ซึ่งจะกล่าวถึงการทำนาของคนไทยยวนมากกว่าการทำไร่ของลัวะ เนื่องจากกรรมวิธีต่าง ๆ ที่คล้ายกันมากจะต่างก็ตรงพิธีกรรมบางอย่างที่เป็นความเชื่อ (หน้าคำนำ, 121)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนไท หรือ คนไทยยวน ที่เป็นคนพื้นราบที่มาตั้งถิ่นฐานบริเวณเวียงเดิมของลัวะซึ่งตามตำนานต่าง ๆ ระบุว่า อาศัยอยู่กระจัดกระจายตามภูเขา เช่น ดอยตุง จังหวัดเชียงราย ดอยสุเทพ อำเภอแม่ริม หางดง สันป่าตอง จอมทองและฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นต้น โดยที่คนไทยยวนก็ถือว่าลัวะเป็นเจ้าของแผ่นดินมาแต่เดิมจึงไม่ได้เบียดเบียนลัวะให้ได้รับความเดือดร้อน ลัวะจึงไม่มีปัญหาในการอยู่ภายใต้การปกครองของไทยยวน (หน้า 1-4)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ในอดีตไทยยวนปกครองลัวะโดยให้ส่งส่วยพืชผลทางการเกษตรจากไร่ทุกปี งานหลักของลัวะคือปลูกข้าว โดยจะปลูกข้าวไว้กินเองให้พอกินในแต่ละปี แต่มักไม่เพียงพอต่อการบริโภค ดังนั้นข้าวจึงมีความสำคัญมากกว่าเงินทอง พื้นที่สำหรับปลูกข้าวของลัวะคือ ไร่ ซึ่งได้จากการเผาป่าในบริเวณไม่สูงชันมากนัก นอกจากทำไร่ข้าวแล้ว ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวทุกชนิด เก็บของป่า ล่าสัตว์ และทำเครื่องเหล็ก การทำข้าวไร่ เริ่มจากการตัดต้นไม้ในเขตไร่ การเผาไร่ โดยจะทำการตัดต้นไม้ฟันหญ้าและจะทิ้งซากไม้เศษหญ้าไว้ประมาณ 1 เดือน เรียกว่าการตากไร่ จากนั้นจึงเผาไร่ ต่อจากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์ จะมีการเก็บเศษต้นไม้ที่ยังไหม้ไม่หมด เรียกว่าการเก็บซากไร่ หลังจากนั้นไม่นานฝนก็จะตกให้ความชุ่มชื้น ดินในบริเวณนั้นก็จะได้ปุ๋ยจากการเผาต้นไม้ใบหญ้า และจะทำการหยอดเมล็ดข้าวเชื้อซึ่งเป็นข้าวเจ้า โดยใช้ไม้ที่เป็นอันเดียวกระแทกลงในดินให้เป็นหลุมที่ละ 1 หลุม ถ้าใช้ไม้ทั่งที่มี 3 แกนเมื่อกระแทกครั้งหนึ่งจะได้ 3 หลุม แล้วหยอดเมล็ดข้าวเปลือกลงในหลุมๆละประมาณ 5-6 เม็ด โดยที่ทุกระบวนการของการปลูกข้าวไร่จะต้องมีการทำพิธีเซ่นไหว้ผีและบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง ส่วนป่าที่ทำเป็นไร่ หลัง 3 ปีไปแล้วผลผลิตจะลดลง จึงต้องมีการเลือกพื้นที่ใหม่ ส่วนไร่เดิมจะกลับฟื้นคืนสภาพหลังจากที่ทิ้งไว้ให้ฟื้นตัวประมาณ 8-10 ปี หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวจากไร่แล้ว จะมีการเผาต้นข้าวในไร่เพื่อปลูกพืชไร่ต่ออีก เช่น ฟักแฟง แตงเต้า พริก ขิง ถั่ว งา มะเขือ เป็นต้น เมื่อมีผลผลิตที่มากเหลือกินก็จะนำลงมาขายหรือแลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภค บริโภคจากคนเมือง คนพื้นราบ เช่น เกลือ ปลาเค็ม เป็นต้น ส่วนคนไทยวน ที่มีนาเป็นของตัวเองต้องเสียภาษีนาให้กับรัฐ ผู้ที่ไม่มีนาเป็นของตัวเองต้องหักร้างถางป่าเป็นนา หรือทำนาขุมของหลวงแล้วแบ่งผลผลิตให้กับหลวง หรือทำนาขุมของข้าราชการก็ต้องเสียภาษีให้แก่ผู้ถือครองนา ต่อมาจึงมีการแบ่งผลผลิตเรื่องการ "เช่าตามแต่จะตกลงกัน" ได้แก่ 1. การเยียะนาผ่าเกิ่ง คือคนที่ไม่มีนาเป็นของตัวเอง จึงต้องขอทำนาผู้อื่น โดยการแบ่งผลผลิตเป็นข้าว คนละครึ่ง 2. การเยียะนากินค่าหัว คือเจ้าของนาจะคำนวณเอาตามปริมาณที่นา กันผลผลิตที่ได้รับของปีที่ผ่านมาแล้วจึงตั้งกำหนดจำนวนข้าวที่จะเอาจากคนทำนา 3. เยียะนาขุม คือนาของหลวง จะแบ่งผลผลิตออกเป็น 5 ส่วน คนทำนาได้ 2 ส่วน รัฐได้ 3 ส่วน การทำนา เริ่มจากการเตรียมพื้นที่สำหรับหว่านกล้า เรียกว่า เอาตากล้า จากนั้นลงมือไถกลบโดยเอาดินข้างบนคว่ำลงด้านล่างเพื่อให้หญ้าตาย เมื่อไถเสร็จจะปล่อยให้ดินแช่น้ำอยู่หลายวันเพื่อให้หญ้าเน่า ในระหว่างนั้น พ่อนาจะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวเชื้อซึ่งเป็นข้าวเหนียวออกแช่น้ำเพื่อแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเสียหรือลีบออก เรียกการทำเช่นนี้ว่า "ตาวข้าว" จากนั้นจึงแช่น้ำไว้ 3 คืนแล้วตักขึ้นมาใส่กระบุง 2 คืนเพื่อหมักข้าวให้งอก จากนั้นจึงนำไปหว่านในนาที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ก็จะทำการถอนต้นกล้าและมัดเป็นกำ ๆ จากนั้นจึงเก็บต้นกล้าที่มัดเสร็จแล้วไปกองรวมกันในที่ร่มชื้น ใช้ฟางหรือหญ้าคลุมไว้ และในตอนเย็นก่อนวันที่จะปลูก 1 วันจะทำการตกกล้า คือนำมัดกล้าไปโยนไว้ในนาที่จะปลูกเป็นระยะ ๆ เพื่อคนปลูกจะได้หยิบปลูกได้สะดวก ก่อนทำการเก็บเกี่ยวพ่อนาจะเลือกเก็บพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นข้าวเชื้อในปีต่อไป ในการเกี่ยวข้าวจะมีการเอามื้อเอาวันกัน และกลุ่มคนที่ไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง และไม่ได้เช่านาผู้อื่นทำจะไปช่วยเกี่ยวข้าวผู้อื่นโดยคิดค่าแรงเป็นข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วก็จะตีข้าวและเก็บไว้ในหลองข้าว ส่วนคนที่ยากจนหรือได้ข้าวแต่ละปีไม่มากก็จะเก็บข้าวด้วยเสวียน คนโบราณจะรู้ว่าใครรวยใครจนจะมองได้จากหลองข้าว ถ้าบ้านใดมีเสาหลองข้าวขนาดใหญ่หลายต้นก็แสดงว่าเป็นคนรวย (หน้า 5-6, 11,17-18, 36-61)

Social Organization

ประเพณีการนับถือผีของลัวะมีมาแต่เดิม คล้ายกับคนไทยยวน ผีที่นับถือมี ผีฟ้า ผีป่าหรือผีมอญ ผีขุนห้วย ผีขุนน้ำ ผีบ้าน ผีเมือง ผีอารักษ์ ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อไร่ การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีทุกอย่าง คนที่เป็นหัวหน้าจะเป็นผู้กระทำเรียกว่าขุนหรือสะมาง เป็นคนที่ลัวะจะเกรงกลัวและมีอำนาจในการตัดสินความที่เกิดขึ้นในชุมชน เมื่อเก็นข้าวใส่ยุ้งหรือที่เก็บแล้วจะมีการนัดหมายกันจัดพิธีเลี้ยงผีใหญ่ และยังมีการจัดให้มีการฉลองความสำเร็จประจำปี มีการกิน การแสดง การละเล่น โดยเฉพาะ หนุ่มสาวจะมีอิสระในการแสดงออกถึงการเลือกคู่ครอง ในการทำนาของไทยยวน วัว ควายถือเป็นว่าสำคัญมาก ดังนั้น จึงเกิดการลักขโมยวัว ควายขึ้นเป็นประจำ และคนที่ขโมยวัว ควายของคนในหมู่บ้านเดียวกัน จะสร้างความเกลียดชังและจะถูกคนในหมู่บ้านลงขันเอาเงินมาจ้างฆ่า ส่วนขโมยที่จับตัวได้ยากและเป็นที่รักของชาวบ้าน คือขโมยที่ไม่สร้างความเดือดร้อนในหมู่บ้านของตนเอง แต่จะไปขโมยวัว ควายที่หมู่บ้านอื่นและนำมาแบ่งกันกินในหมู่บ้านภายในหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านนั้นจึงช่วยกันปกปิดความชั่วของเขาไว้และไม่ยอมให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ส่วนเจ้าของวัวควายเมื่อรู้ว่าวัวควายถูกขโมยไปแล้ว เจ้าบ้านจะต้องรีบไปแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ ผู้ใหญ่บ้านก็จะ "ตีกะเหลก" ซึ่งเมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรู้ทันทีว่าวัวควายบ้านใดบ้านหนึ่งหายไป ชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านก็จะมารวมตัวกันเพื่อติดตามวัวควาย ประมาณ พ.ศ 2440-2505 เป็นช่วงเวลาที่วัวควายถูกขโมยกันบ่อย จึงเกิดการสร้างตูบยามประจำหมู่บ้าน และจัดผู้ชายในหมู่บ้านผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าเวรยาม ในวันปลูกข้าวหรือเกี่ยวข้าวเพื่อนบ้านที่ได้ข่าวก็จะพากันมาช่วยปลูกข้าวหรือเกี่ยวข้าวเพื่อเอามื้อเอาวัน หรือการลงแขก หลักการเอามื้อเอาวัน คือ เมื่อมีคนมาเช่วยทำนา คนในครอบครัวนั้นก็จะต้องเข้าไปช่วยเขาเป็นการตอบแทน ตามจำนวนตน จำนวนวันที่เขามาช่วย คนโบราณจะรู้ว่าใครรวยใครจนจะมองได้จากหลองข้าว ถ้าบ้านใดมีเสาหลองข้าวขนาดใหญ่และมีเสาหลายต้น แสดงว่าเป็นคนรวย หนุ่มที่ไปเที่ยวอู้สาว ถ้าเห็นเสาหลองข้าวบ้านหญิงใดมีขนาดใหญ่ มักจะไม่ค่อยกล้าเข้าไปจีบเพราะคิอว่าตนเองจนกว่าจึงทำให้รู่ว่าคนโบราณใช้ข้าวเป็นเครื่องชี้วัดความรวยความจน (หน้า 5, 34-36, 62)

Political Organization

ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ในหนังสือระบุว่าเมื่อ พ.ศ.1839 พญามังรายสร้างเวียงเชียงใหม่บริเวณเวียงเดิมของลัวะ ไทยยวนปกครองลัวะ โดยให้ส่งส่วยพืชผลทางการเกษตรจากไร่ทุกปี ที่ดินทุกตารางนิ้วอยู่ในความครอบครองของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ที่ทำนาต้องเช่าและเสียภาษีให้หลวง เงินภาษีที่เข้ารัฐมีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ 1. นาที่พระเจ้าแผ่นดินหรือมหาเทวีได้อุทิศถวายเป็นที่กัลปนาให้กับวัดเรียกว่า "นาวัด นาพระ" ภาษีที่ได้ปกติจะเสียเข้าหลวง แต่ต้องเสียภาษีให้เป็นรายได้ของวัด 2. นาที่ยกให้เป็นที่นาประจำตำแหน่งของข้าราชการตามศักดินา ในล้านนาเรียกนาประเภทนี้ว่า "นาขุม นาขาง" ผู้ที่ทำนาขุม นาขางจะต้องเสียภาษีให้แก่ผู้ครอบครองนา (หน้า 4-5, 13-14)

Belief System

การเลือกพื้นที่ทำไร่ของลัวะ จะเลือกเอาตามความพอใจของตนไม่ได้ สุดแล้วแต่หัวหน้าหรือสะมางจะแบ่งให้ เมื่อเลือกที่ทำไร่ได้แล้ว จะมีการเลี้ยงผีโดยการฆ่าไก่ การตัดต้นไม้ในเขตไร่และก่อนที่จะมีการตัดต้นไม้ใหญ่ ต้องมีพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีโดยรวมตัวกันทำครั้งเดียวและในที่แห่งเดียวกัน เพื่อขอให้ผีช่วยคุ้มครองให้ทุกคนอยู่ดีมีสุข ข้าวและพืชผลอุดมสมบูรณ์ สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเซ่นไหว้มี หมู 1 ตัว ไก่หลังคาเรือนละ 1 ตัว เหล้าจำนวนหนึ่งและเบี้ยจำนวนหนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่าผีใช้เบี้ยในการแลกสิ่งของ (หน้า 6) ก่อนทำการเผาไร่ ก็จะมีพิธีเซ่นไหว้ผีอีกเพื่อว่าต้นไม้เศษไม้จะได้ไหม้หมด และขอให้ผีช่วยอย่าให้ต้นหญ้าหรือวัชพืชขึ้นรกในระหว่างการทำไร่ ก่อนการเก็บซากไร่ก็ต้องมีการทำพิธีเซ่นไหว้อีกเช่นกัน โดยเครื่องเซ่นไหว้มี สุนัข 1 ตัว ไก่ เหล้า และเบี้ย การหยอดเมล็ดข้าวก็จะเริ่มด้วยการบอกเจ้าแผ่นดินหรือแม่ธรณี แล้วจึงลงมือทั่งหลุม เมื่อตีข้าวเสร็จจะมีการเลี้ยงผีด้วยการฆ่าไก่ แล้วเอาเลือดไก่ทารอบ ๆ เสื่อที่ใช้รองข้าว เรียกว่า สาดกะลา จากนั้นจึงจะเก็บข้าวเข้ายุ้ง ผลแห่งความสำเร็จที่ได้ข้าวมากมายเชื่อว่าเป็นเพราะผีช่วย จึงมีการนัดหมายจัดพิธีเลี้ยงผีใหญ่ขึ้น ลัวะนับถือผีและยึดถือพิธีกรรมเช่นเดียวกับคนไทยยวน ผีที่ลัวะนับถือมีผีฟ้า ผีป่าหรือผีมอญ ผีขุนห้วย ผีขุนน้ำ ผีบ้าน ผีเมือง ผีอารักษ์ ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อไร่ ส่วนประเพณีการทำนาของคนไทยยวน ก็ผสมผสานความเชื่อเกี่ยวกับผีไว้เกือบทุกขั้นตอนของการทำนาและในวิถีชีวิต เช่น - การเตรียมนาสำหรับหว่านกล้าก่อนการลงมือไถ พ่อนาจะนำกระทงใส่ข้าว 1 ปั้น กล้วย 1 ผล ดอกไม้ธูปเทียนไปวางที่บริเวณที่ตั้งอารักษ์รักษานา เรียกว่า ผีเสื้อนา เพื่อบอกกล่าวให้รู้และขออนุญาตไถที่ดินกับแม่พระธรณี - เมื่อหว่านข้าวเสร็จแล้ว จะสานตาแหลว คือเฉลวปักไว้ 4 มุมของนาที่หว่านกล้า เชื่อว่าจะป้องกันไม่ให้ผีนำเมล็ดหญ้าไปหว่านปนกับเมล็ดพันธุ์ข้าว - การไถนาในแต่ละวันต้องดูตำราว่าพญานาคหันหัวไปทางไหนเพื่จะได้ไม่ไถย้อนเกร็ดพญานาค และพ่อนาคือผู้ทำนาจะต้องไม่ตัดผม - การทำพีธีตั้งค้างข้าวแฮก เพื่อให้ผีเสื้อนาช่วยดูแลรักษาข้าวในนาให้งอกงามได้ผล - พิธีตอบแทนคุณควายเพื่อเป็นการปลอบใจและคิดถึงคุณความดีของสัตว์จึงมีพิธีการเรียกขวัญควายขึ้น - ไม้นะโมตาบอด เป็นไม้ที่ทำและเสกด้วยคาถาไสยศาสตร์เพื่อป้องกันไม่ให้ผีเห็นข้าว โดยการนำไม้ดังกล่าวปักที่ 4 มุมของตารางกองข้าวเปลือก เชื่อว่าผีที่จะมาขโมยข้าวจะมองไม่เห็นกองข้าว - คนโบราณเชื่อว่าข้าวเป็นของสูง จึงกำหนดให้ทิศหัวนอนคือทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของยุ้งข้าว ไม้สำหรับใช้ทำยุ้งข้าวจะไม่ใช้ไม้เก่าที่เป็นส่วนล่างของบ้านมาทำ และจะไม่เอาไม้จากยุ้งข้าวมาสร้างบ้านเพราะถือว่า"ขึด" ไม่ดี - ความเชื่อเรื่องผีที่จะมาขโมยข้าวเป็นความเชื่อที่ฝังใจ ดังนั้น เมื่อเก็บข้าวใส่ยุ้งแล้วนอกจากต้องระวังเรื่องนกเรื่องหนูยังต้องระวังเรื่องผีจะมาขโมยอีกด้วย เชื่อว่าสิ่งที่ป้องกันได้คือ คาถานะโมตาบอด เพราะว่าถ้าติดด้วยคาถานี้ผีจะมองไม่เห็นข้าว นอกจากนั้นยังมีการเอาอกเอาใจข้าวด้วย เช่น เมื่อเก็บข้าวใส่ยุ้งแล้วจะใช้กระดองเต่าใส่ไว้มุมใดมุมหนึ่ง บางแห่งยังใส่ฟักเขียวฟักหม่นไว้ ผลของการกระทำเช่นนี้เชื่อว่าจะกินข้าวไม่เปลือง - พิธีกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เช่น พิธีเรียกขวัญข้าวเพื่อขอบคุณแม่โพสพที่ช่วยให้ได้ผลผลิตข้าวมากมาย พิธีสืบชะตาข้าวจะทำเมื่อรู้สึกว่ากินข้าวเปลือง หรือข้าวเปลือกบกพร่องไปผิดปกติเจ้าของข้าวกังวลใจกลัวว่าข้าวจะไม่พอกินไปชนปีหน้า จึงได้จัดพิธีสืบชะตาข้าว - การรับขวัญข้าว เมื่อสืบชะตาข้าวแล้ว เชื่อว่าข้าวที่หนีไปจะกลับมาอยู่ที่เดิม จึงมีพิธีรับขวัญข้าวขึ้น - ความเชื่อและการปฏิบัติตนต่อต้นข้าว เพราะถือว่าข้าวเป็นของสูงเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ต้องปฏิบัติตนต่อข้าวให้เหมาะสม ผู้ดีที่ไม่เห็นความสำคัญของข้าวเชื่อว่าผู้นั้นจะไม่มีความสุขจะพบแต่ความวิบัติถดถอยจากทรัพย์สมบัติทั้งปวง - พิธีขอฝนจะทำในฤดูทำนา คนสมัยโบราณเชื่อว่าสิ่งที่จะบันดาลให้ฝนตกได้ ต้องเป็นเทวบุตร เทวดาที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ชื่อพิธีขอฝนที่พบมีดังนี้ ฟังธรรมปลาช่อน ชุมนุมธรรม ทานช้างเผือก แต่งรูปนาค บูชาแถน แห่มอม การขอฝนที่นิยมทำกันคือการฟังธรรมปลาช่อน (หน้า 5-11, 36-41, 44, 47-53, 71-72, 74, 93, 97 )

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแต่ในหนังสือพบว่า ประโยชน์ของน้ำข้าวมวกสามารถใช้เป็นยากลางบ้านได้ เช่นยารักษาอาการเจ็บคอเนื่องจากหวัด ตื่นนอนตอนเช้าพูดไม่ออก ไอมีเสลดเหนียว ใช้น้ำข้าวมวกสักครึ่งจอก ใส่เกลือตัวผู้ หนึ่งเม็ด ดื่มในตอนเช้า ถ้ามีอาการเจ็บคอมากกว่านี้ ให้นำเอาผลมะละกอดิบผ่าครึ่งใส่น้ำข้าวมวกแล้วตั้งไฟให้อุ่นกินแก้เจ็บคอ อีกประการในสมัยโบราณใช้น้ำข้าวมวกลูบหัวและอาบให้ทารก เชื่อว่าน้ำข้าวมวกจะช่วยไม่ให้ผิวหนังของเด็กเป็นผดผื่น (หน้า 94)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

เรื่องราวการตั้งถิ่นฐานของลัวะ มีการกล่าวถึงในตำนานต่างๆ เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานพื้นเมืองพะเยา ตำนานพระธาตุดอยตุง เป็นต้น จนเมื่อมีการเข้ามาของคนพื้นราบลัวะจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของคนไทยยวน ในการทำนาของไทยยวน มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าเมื่อก่อนเมล็ดข้าวเปลือกมีขนาดใหญ่เป็นร้อยเท่าของที่เห็นในปัจจุบัน ดังนั้นข้าว 1 เม็ดจึงมีค่ามาก และยังเล่าต่อว่าเมื่อก่อนเมล็ดข้าวเหมือนดังกับมีชีวิตจิตใจ เมื่อถึงฤดูหว่านดำข้าวก็จะหว่านตัวเองลงในนาที่เตรียมไว้ เมื่อสุกก็จะพากันหลุดร่วงจากรวงแล้วเลื่อนไหลไปยุ้งฉางข้าวที่เตรียมไว้ วันหนึ่งแม่ม่ายกำลังจัดแต่งซ่อมแซมประตูยุ้งข้าว ข้าวก็พากันเลื่อนไหลจากทุ่งนาจะเข้าประตูยุ้งให้ได้ แม่ม่ายโมโหจึงหยิบไม้ตีเมล็ดข้าวแตกออกกระจัดกระจาย ข้าวจึงพากันโกรธยายแม่ม่าย นับแต่นั้นมาข้าว เมล็ดข้าวจึงมีขนาดเล็กเหมือนดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ หรือนิทานเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงว่าทำไมสุนัขถึงได้กินข้าวและหมูถึงได้กินแกลบว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าตนหนึ่ง ได้มอบหมายให้สุนัขและหมูช่วยทำไร่ปลูกข้าว ในครั้งนั้นสุนัขและหมูยังฟังภาษาคนรู้เรื่อง หมูเป็นสัตว์ที่ขยันเมื่อเพาะเมล็ดข้าวลงในนาเสร็จก็กลับมาหลับ ส่วนสุนัขขึ้เกียจเอาแต่นอนหลับเมื่อตื่นขึ้นมาเห็นหมูไถและปลูกเสร็จจึงกลัวว่าจะถูกลงโทษ จึงคิดหาวิธีโดยการวิ่งไปมาในนาข้าวจนทั่ว ทำให้ในนามีรอยเท้าของสุนัขแทนรอยเท้าของหมู เมื่อพระพุทธเจ้ากลับมาหมูจึงรายงานว่าสุนัขไม่ทำงาน ฝ่ายสุนัขก็ตอบว่าหมูต่างหากที่ไม่ทำงานเอาแต่นอนหลับ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อก็ไปดูให้เห็นกับตาตนเองก็ได้ เมื่อพระพุทธเจ้าไปดูในไร่เห็นแต่รอยเท้าสุนัขในนาข้าว จึงเชื่อว่าสุนัขพูดความจริงจึงกลับมาสั่งว่า ต่อไปนี้ให้สุนัขได้กินข้าวส่วนหมูขี้เกียจให้กินแกลบ ต่อมาทราบความจริงภายหลังจึงสั่งให้สุนัขกินอุจจาระตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ ก็มีตำนานเกี่ยวกับพิธีขอฝนในฤดูแล้งซึ่งเป็นฤดูการทำนา พิธีที่นิยมทำกันคือ การฟังธรรมปลาช่อน กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อนอยู่ในสระ พร้อมด้วยบริวาร ปีหนึ่งเกิดฝนแล้ง จึงทำให้น้ำในสระแห้งไป นกกระยาง เหยี่ยว และ แร้งกา จึงจับปลามาเป็นอาหาร ปลาช่อนพระโพธิสัตว์เกิดความสงสารปลาเหล่านั้น จึงอธิษฐานขอให้ฝนตกทำให้น้ำในสระที่แห้งกลับมามีตามเดิม (หน้า 2-3, 6, 96-98)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่บอกว่าการปฏิบัติตนต่อเมล็ดข้าวของคนล้านนา เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาช้านาน ปัจจุบันประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวนั้นค่อย ๆ หายไป คนปัจจุบันส่วนมากมักไม่ค่อยทราบถึงการปฏิบัติตนของคนโบราณต่อข้าวกันแล้ว ปัจจุบัน โลกได้เปลี่ยนไปมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเจริญ ประเพณีการทำไร่ทำนาจึงเปลี่ยนไป ( หน้า 93, 121)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst จันทิวา ก๋าวงศ์อ้าย Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, เกษตรกรรม, ไร่, นา, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง