สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การตั้งถิ่นฐาน, อูรักลาโว้ย, ภูเก็ต, นิเวศวัฒนธรรม
Author เมธิรา ไกรนที
Title พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Call no. 521540, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 255 Year 2552
Source วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นชุมชนเก่าแก่กว่าร้อยปี และถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่มากที่สุด ผู้ศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดภูเก็ตส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชาวอูรักลาโว้ย อย่างการขาดเอกสารสิทธิในพื้นที่ที่ตนตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยควรได้รับความร่วมมือจากองค์กรรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยการจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษเพื่อให้ชาวอูรักลาโว้ยสามารถดำรงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุ่มตนเองได้

Focus

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งผลกระทบที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวอูรักลาโว้ยในปัจจุบัน อันมีผลจากการพัฒนาและเติบโตของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี จนทำให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ เช่น การขาดสิทธิในการอยู่อาศัย ปัญหาหนี้สิน และพื้นที่ทำมาหากินมีจำกัด

Theoretical Issues

แนวคิดในการวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตเป็นการศึกษาที่มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ทั้งด้านพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคมการเมือง วัฒนธรรม และประชากร ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวอูรักลาโว้ย เช่น การขาดสิทธิเอกสารในพื้นที่ที่ตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน การเพิ่มขึ้นของประชากรต่อพื้นที่ทำกินที่มีจำกัด ตลอดจนการทำมาหากินที่เปลี่ยนไปจากวิถีชีวิตดั้งเดิมท่ามกลางนโยบายการท่องเที่ยวในพื้นที่

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียน ไม่มีภาษาเขียน มีเพียงภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษาเก็บข้อมูลจากเอกสารตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 และเก็บข้อมูลภาคสนามและการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2553

History of the Group and Community

ชาวอูรักลาโว้ยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการตั้งถิ่นฐานแบบเร่ร่อน และได้เดินทางทะเลไปยังพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ โดยได้เดินทางทะเลจากตอนใต้ของแหลมมลายูไปยังเกาะลันตา ซึ่งถือว่าเป็นบ้านของชาวอูรักลาโว้ย ต่อมาได้มีการล่องเรือไปยังเกาะพีพี เกาะจำ จังหวัดกระบี่ เกาะยาว จังหวัดพังงา และมายังบริเวณภูเก็ตตามลำดับ แต่สำหรับชาวอูรักลาโว้ยที่เกาะหลีเป้ะ และเกาะอาดังมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษอพยพออกจากเกาะลันตา และมีโต๊ะคีรี นักผจญภัยชาวมุสลิมอินโดนีเซียมาแต่งงานกับหญิงชาวอูรักลาโว้ย ที่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าเมืองสตูลจึงทำให้ชาวอูรักลาโว้ยได้เข้ามาอาศัยที่หมู่เกาะอาดัง ราวี (หน้า 81)

สำหรับประวัติของชุมชนที่ทำการศึกษา จำนวน 3 แห่ง มีเนื้อหาโดยสังเขป ดังนี้
1) บ้านแหลมตุ๊กแก แต่เดิมมีสภาพเป็นพื้นที่ป่า อยู่ริมทะเลและภูเขา ตลอดจนมีพื้นที่ว่างริมชายหาด ชาวอูรักลาโว้ยจึงเข้ามาอยู่อาศัยโดยถางป่าบริเวณที่จะสร้างบ้าน ปัจจุบันชาวอูรักลาโว้ยตั้งถิ่นฐานเลียบชายหาด และอยู่ชิดติดกันมากขึ้นเนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนของประชากร และพื้นที่ที่จำกัด
2) หมู่บ้านหาดราไวย์ ในอดีตมีสภาพเป็นป่ารกทึบ และมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก มีสัตว์ป่า และทรัพยากรทางทะเลเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ยที่หาดราไวย์สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะของการเดินทางตั้งถิ่นฐานที่ชาวอูรักลาโว้ยได้เคยอพยพออกไปอยู่เกาะบอน และเกาะเฮจากการระบาดของอหิวาห์ตกโรค และกลับเข้ามายังพื้นที่เดิมอีกครั้ง ระยะเอกสารสิทธิที่ดิน ซึ่งเป็นช่วงที่พื้นที่ที่อยู่อาศัยถูกครอบครองโดยคนไทยท้องถิ่น และระยะปัจจุบันที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่ทางตะวันออกของหมู่บ้าน ตลอดจนช่วงเหตุการณ์สึนามิที่ทำให้ชาวเลต่างๆ ต้องมาอาศัยรวมกันอย่างแออัด
3) หาดสะปำ มีลักษณะทางกายภาพเป็นอ่าว มีการตั้งหมู่บ้านติดกับทะเล ทอดยาวจนถึงบริเวณคลองและป่าชายเลนด้านหลังหมู่บ้าน ชาวอูรักลาโว้ยได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านบางเหนียว ตำบลเกาะแก้ว มาช้านาน ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่ตั้งหลา (สถานที่ตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์)ในปัจจุบัน โดยมีคลองกั้นระหว่างบ้านบางเหนียวและซอยป่าพร้าว ต่อมาได้ย้ายไปบริเวณต้นไทรซึ่งมีสภาพพื้นที่ที่ดีกว่าเดิม แต่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในครอบครองของบริษัทเอกชนเนื่องจากเป็นพื้นที่ขุมเหมือง จึงทำให้ชาวอูรักลาโว้ยไม่มีสิทธิบนพื้นที่ดังกล่าว และในที่สุด ได้ทำการอพยพไปยังหาดสะปำอันเป็นพื้นที่ของกรมเจ้าท่า และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าที่ แต่ยังคงขาดเอกสารสิทธิ และต้องรื้อถอนบ้านที่ตั้งในทะเลออกเมื่อหาที่อยู่ใหม่ได้

Settlement Pattern

สภาพพื้นที่ของภูเก็ตเมื่อครั้งที่ชาวอูรักลาโว้ยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมีลักษณะเป็นทุ่งคา หรือเรียกว่า เต๊าะข่า ที่หมายถึงตัวเมืองภูเก็ต และได้ปักหลักอยู่ที่เกาะร้างซึ่งต่อมาได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด จึงทำให้ชาวอูรักลาโว้ยอพยพไปยังหาดราไวย์ และหาดสะปำ รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ระยะต่อมาชาวอูรักลาโว้ยเริ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับกลุ่มภายนอกมากขึ้น จึงได้อพยพไปอยู่ใกล้ฝั่งเพื่อความสะดวกสบายในการแลกเปลี่ยนอาหาร
กล่าวได้ว่า การตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ย ประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ(หน้า 138) ได้แก่

-ปัจจัยด้านกายภาพโดยต้องเป็นพื้นที่ราบ ที่สามารถหลบคลื่นลมได้ ชายหาดมีความลาดชันพอดีและมีร่องน้ำ ตลอดจนปลอดภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ สำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อชาวอูรักลาโว้ย คือการมีแหล่งน้ำจืด มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายของระบบนิเวศ
-ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจชาวอูรักลาโว้ยจะมีผู้นำทางจิตวิญญาณในการตัดสินใจต่างๆ และมีการเดินทางไปติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนอื่น ตลอดจนการเดินทางเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องต่างชุมชน 

Demography

ในพื้นที่ที่ทำการวิจัยแสดงผลจำนวนประชากรได้ดังนี้
1) บ้านสะปำ มีประชากร 221 คน 53 ครัวเรือน
2) บ้านแหลมตุ๊กแก มีประชากร 2,000 คน 315 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 657 คน และหญิง 627 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยคือ 46.5 คนต่อไร่
3) บ้านราไวย์ มีประชากร 2,050 คน 244 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 645 คน หญิง 605 คน นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยเป็นจำนวนมาก ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยคือ 105.1 คนต่อไร่
*ข้อมูลเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553

Economy

1) บ้านแหลมตุ๊กแก เพศชายประกอบอาชีพใช้แรงงาน เช่น รับจ้างโค่นต้นไม้ ก่อสร้าง ทำสวนตามโรงแรม สำหรับเพศหญิงนิยมประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงาน หรืองานในตัวเมืองภูเก็ต เช่น ทำงานในร้านอาหาร
2) หมู่บ้านหาดราไวย์ ชาวอูรักลาโว้ยในพื้นที่ทำมาหากินในทะเล เช่น การดำหอย ตกเบ็ด การทำบากัด เป็นต้น แต่ยังมีการประกอบอาชีพประเภทอื่นๆ เช่น รับจ้างปอกมะพร้าวตามสวน ทำไร่ข้าวโพด
3) หาดสะปำ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงทะเล โดยการหาหอย ลากอวน เป็นต้น โดยมีเส้นทางทำมาหากินอยู่ 5 เส้นทาง ได้แก่ 1)การเดินเรือไปยัง 3 แหลม ผ่านแหลมยามู อ่าวบางโรง อ่าวปอ 2) เกาะนาคาใหญ่ 3) หาดป่าตอง 4) เดินทางลงใต้ไปยังท่าฉัตรไชย เกาะพีพี เกาะลันตา 5) แถบเส้นจังหวัดระนองและประเทศพม่า  นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เช่น การรับจ้าง 

Social Organization

ชาวอูรักลาโว้ยในพื้นที่ที่ทำการศึกษามีการอยู่อาศัยแบบพึ่งพาอาศัยกัน หรือแบบญาติพี่น้อง แต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มข้น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น กรณีปัญหาหนี้สินที่หาดราไวย์ เป็นต้น ในปัจจุบัน ชาวอูรักลาโว้ยมีการรับค่านิยมสมัยใหม่มากขึ้น เช่น การเฉลิมฉลองด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหมู่บ้าน การบริโภคอาหารตามสมัยนิยม การมีแหล่งบันเทิงภายในหมู่บ้าน เป็นต้น 

Belief System

ชาวอูรักลาโว้ยมีความเชื่อหลัก 2 แขนง ได้แก่
1) ความเชื่อท้องถิ่น– ชาวอูรักลาโว้ยยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานที่สะท้อนวิถีชีวิต เช่น ชาวอูรักลาโว้ยจะมีหัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้นำอาวุโสที่เรียกว่า โต๊ะหมอ มีหน้าที่ในการตัดสินใจในการเลือกพื้นที่อยู่อาศัย ตลอดจนทำพิธีขอเจ้าที่เจ้าทาง โดยดูจากไส้เทียน (ถ้าชี้เป็นเส้นตรง หมายถึงไม่สามารถอยู่ได้ และต้องนำสิ่งของไปถวายเจ้าที่เจ้าทาง) หรือการตั้งหลา (ชาวอูรักลาโว้ยเรียกว่า “บาไล้ ดาโต๊ะ”เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองชาวอูรักลาโว้ย ตลอดจนการมีความเชื่อในการให้ความเคารพกับสถานที่ต่างๆ เช่น ห้ามพูดลบหลู่ ห้ามพูดจาไม่ดี เป็นต้น สำหรับความเชื่ออื่นๆของชาวอูรักลาโว้ย ได้แก่
- การไม่ปลูกต้นไม้บังหน้าบ้าน เพื่อให้เจ้าของสังเกตเห็นสิ่งต่างๆได้
- วิญญาณของบรรพบุรุษสถิตอยู่ที่หมอนเสื่อที่เคยใช้มาก่อน
- ความเชื่อของการขึ้นบ้านหลังใหม่ หลังจากบ้านเสร็จสมบูรณ์วันแรกจะห้ามไม่ให้ขอสิ่งใดกับเพื่อนบ้าน และเจ้าของบ้านต้องเตรียมอาหารให้ญาติพี่น้องมาร่วมรับประทานเพราะเชื่อว่าจะมีเงินไหลเข้าบ้านมาเรื่อยๆ
- การขึ้นเสาเอก การขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญบ้าน ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่รับจากคนไทยและมุสลิม (หน้า 148-149)
- พิธีเสี่ยงทายพื้นที่ตั้งชุมชน
- พิธีลอยเรือ
- พิธีกรรมอาบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
- พิธีกรรมการไหว้ทะเล

2) การยอมรับศาสนาอื่นๆ ของชาวอูรักลาโว้ย นอกจากความเชื่อท้องถิ่นของชาวอูรักลาโว้ย ยังมีศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เข้ามาเผยแผ่ในพื้นที่ จนชาวอูรักลาโว้ยในบางพื้นที่เริ่มนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น หมู่บ้านราไวย์มีผู้นับถือศาสนาพุทธราว 70-80%

Education and Socialization

1) บ้านแหลมตุ๊กแก ในอดีตชาวอูรักลาโว้ยในพื้นที่ได้รับการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนการก่อตั้งของโรงเรียนบ้านเกาะสิเหร่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ทำให้ชาวอูรักลาโว้ยมีโอกาสในการศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมีชาวอูรักลาโว้ยเพียง 3-4 คนที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
2) หมู่บ้านหาดราไวย์ ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ และบางคนที่บ้านมีฐานะจะได้รับการศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีส่วนน้อยที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษา
3) หาดสะปำ ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนบ้านสะปำมงคลวิทยา และส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และบางคนได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และอาชีวศึกษา

Health and Medicine

สุขภาพอนามัยของชาวอูรักลาโว้ยยังอยู่ในระดับที่ดี โดยในเพศหญิงจะมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน และในเพศชายจะมีอาการน้ำหนีบ สำหรับอาหารเจ็บป่วยเล็กๆน้อย เช่น หอบ ไอ ชาวบ้านสามารถเดินทางไปพบแพทย์หรือขอยามารับประทานจากโรงพยาบาลของรัฐ

Social Cultural and Identity Change

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ต ได้แก่
1) เทคโนโลยีการเดินทางทางทะเลที่มีความทันสมัย สามารถเดินทางระยะไกลในเวลาสั้นๆ จึงไม่มีความจำเป็นในการอพยพไปยังที่ต่างๆเหมือนแต่ก่อน และยังส่งผลต่อวิถีการทำมาหากินดั้งเดิม
2) การรับอิทธิพลทางสังคมใหญ่จากการติดต่อกับบุคคลภายนอกมากขึ้น หรือการแต่งงานข้ามกลุ่ม
3) การเน้นนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต จึงทำให้การขยายตัวของพื้นที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภาคธุรกิจมากกว่าชาวอูรักลาโว้ย
4) พื้นที่ทำมาหากินลดลง จากการที่ภาคธุรกิจเข้ามาจับจองพื้นที่ริมทะเล และทำให้พื้นที่ของชาวเลทุกกลุ่มลดน้อยลง ตลอดจนการรับรองพื้นที่ทำมาหากินและการอยู่อาศัย
5) การเกรงกลัวบุคคลภายนอก และขาดการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน

ผลที่เกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงทางที่อยู่อาศัย
1) ชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่อย่างแออัดจากการมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นประกอบกับมีพื้นที่ในการอยู่อาศัยจำกัด
2) ปัญหาหนี้สินจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ที่ใช้เงินตราในการดำรงชีพมากขึ้น ไม่มีการออมทรัพย์ อีกทั้งรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมเรือ และมีปัญหาติดการพนันในเพศหญิง
3) เกิดการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 

Critic Issues

แนวทางการจัดการต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
1) การได้รับความมั่นคงทางเอกสารสิทธิรับรองที่อยู่อาศัย โดยการนำหลักฐานที่มีอยู่มายืนยันถึงประวัติการตั้งถิ่นฐานเพื่อตรวจสอบระยะเวลาก่อนจะมีการกำหนดเอกสารสิทธิในที่ดิน
2) การได้รับความมั่นคงด้านการทำมาหากิน โดยการส่งเสริมอาชีพดั้งเดิมอย่างการประมงทะเล ผ่านการท่องเที่ยวทางทะเลเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชาวอูรักลาโว้ย และการส่งเสริมให้มีงานทำ รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพปัจจุบันโดยการให้ความรู้
3) การสร้างการมีส่วนร่วมของชาวอูรักลาโว้ยในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อผลักดันสิทธิที่ควรได้รับ เช่น สิทธิทางการศึกษา สิทธิความเป็นคนไทย
4) การทบทวนถึงบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ภาครัฐที่มักจะทำงานเชิงนโยบายมากกว่าการลงมาปฏิบัติกับวิถีชีวิตที่แท้จริงของชาวบ้าน และทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ตรงจุด
5) ตั้งพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ที่ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่โดดเด่น เพื่อให้ชาวอูรักลาโว้ยสามารถขับเคลื่อนวิถีชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้

Map/Illustration

- ที่ตั้งชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต หน้า 10
- แสดงการอพยพในการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาวเล 3 กลุ่ม หน้า 77
- ภาพถ่ายทางอากาศหมู่บ้านแหลมตุ๊กแก หน้า 84
- พัฒนาการของหมู่บ้านชาวอูรักลาโว้ยแหลมตุ๊กแก หน้า 85
- ภาพถ่ายทางอากาศหมู่บ้านหาดราไวย์ หน้า 99
- พัฒนาการของหมู่บ้านชาวอูรักลาโว้ยหาดราไวย์ หน้า 100
- ภาพถ่ายทางอากาศหมู่บ้านสะปำ หน้า 114
- พัฒนาการของหมู่บ้านชาวอูรักลาโว้ยหาดสะปำ หน้า 115
- พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต หน้า 194
- พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยทั้ง 3 พื้นที่ ในจังหวัดภูเก็ต หน้า 195
- สถานที่ทำมาหากินของชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ตในอดีต หน้า 198
- สถานที่ทำมาหากินของชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน หน้า 199

Text Analyst นุชจรี ศรีวิเชียร Date of Report 04 เม.ย 2565
TAG การตั้งถิ่นฐาน, อูรักลาโว้ย, ภูเก็ต, นิเวศวัฒนธรรม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง