สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ, ม้ง, เมี่ยน, ดาราอาง, ลัวะ, ลาหู่, ไทลื้อ, อาหาร, ป่า, ทรัพยากรธรรมชาติ
Author สุพจน์ หลี่จา
Title ภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชอาหารและการจัดการทรัพยากรป่า 9 ชาติพันธุ์
Document Type หนังสือ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, อ่าข่า, ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, ปกาเกอะญอ, ดาราอาง ดาระอางแดง รูไม ปะเล รูจิง ตะอาง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสร้างปัญญา (สสส.)
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 194 Year
Source สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาพันธุ์พืชอาหารของ 9 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ อาข่า ลีซู ปกาเกอะญอ ม้ง เมี่ยน ดาราอาง ลัวะ ลาหู่ ไทลื้อ ผ่านการค้นคว้า และการเก็บข้อมูลจากคนในพื้นที่ พบว่าแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีวิธีในการเก็บรักษาอาหารอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การปลูกซ้ำทุกปีในช่วงฤดูฝน และการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเพื่อบูชาเทวดาที่ดูแลรักษาพันธุ์พืช ซึ่งทั้งสามลักษณะเป็นภูมิปัญญาที่ทำให้มีอาหารไว้บริโภคตลอดทั้งปี 

Focus

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ 9 ชาติพันธุ์ในภาคเหนือ ได้แก่ อาข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ, ม้ง, เมี่ยน, ดาราอาง, ลัวะ, ลาหู่, ไทลื้อ รวมทั้งภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชอาหาร และภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรป่าที่สะท้อนความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีอาหารบริโภคตลอดทั้งปี งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าส่วนหนึ่งภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาความมั่นคงทางอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ 

Theoretical Issues

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 9 กลุ่ม (อาข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ, ม้ง, เมี่ยน, ดาราอาง, ลัวะ, ลาหู่, ไทลื้อ) มีความแตกต่างกันออกไป แต่กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มักอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ โดยลักษณะการตั้งถิ่นฐานมีส่วนสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารของแต่ละกลุ่ม การคิดค้นหาวิธีในการเก็บรักษาอาหารเพื่อให้คนในชุมชนสามารถมีอาหารไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังนำเสนอภูมิปัญญาในการรักษาทรัพยากรป่าอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร สมุนไพรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างมาก

Ethnic Group in the Focus

อาข่ามีชื่อเรียกต่างกันไปตามสถานที่และการตั้งกลุ่ม เช่น ในประเทศจีน เรียกว่าฮานี หรือโวน ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ อุโลอาข่า โลมีอาช่า จุงโกอาข่า อาเค้ออาข่า อูพีอาข่า อูเปี๊ยะอาข่า หน่าค้าอาข่า และผะมี๊อาข่า
ลีซู แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยได้แก่ ลีซูลาย ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด และลีซูดำอาศัยอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย ไทย
ปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งเรียกตนเองว่าปากะญอหรือปกาเกอะญอ และเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด กะเหรี่ยงโปร์อาศัยบริเวณอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และฝั่งตะวันตกของประเทศไทย กะเหรี่ยงบเว อาศัยที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่อ่อองสอน และกะเหรี่ยงปะโอ หรือตองสู พบน้อยมากในประเทศไทย
ม้งเป็นคำใช้เรียกตนเอง และมีอีกชื่อเรียกว่า แม้ว ม้งในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ม้งนำเงิน (ม้งลาย ม้งดำ ม้งดอก) และม้งขาว ที่มีความแตกต่างกันทางภาษา เครื่องแต่งกาย และคำที่ใช้เรียกตนเอง
เมี่ยน(เย้า) เป็นกลุ่มเชื้อชาติมองโกลอยด์ ในตระกูลจีนธิเบต ปรากฎในบันทึกของจีนครั้งแรกสมัยราชวงศ์ถัง ว่า ม่อ เย้า ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่งเหลือเพียงคำว่า เย้า เท่านั้น เย้ามีชื่อเรียกแตกต่างกันราว 28 ชื่อ แต่คนเย้าที่อาศัยในประเทศไทยเรียกตนเองว่า เมี่ยน หรืออิ้วเมี่ยน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เผ่าเปี้ยน มีจำนวนมากที่สุด เผ่าปูนู เผ่าฉาชัน และเผ่าผิงตี้
ดาราอางหรือดาระอั้ง มีชื่อเรียกสำหรับกลุ่มที่อาศัยในประเทศไทยเรียกว่า ปะหล่อง ชาวพม่าเรียกว่า ปะลวง ส่วนชาวไทยใหญ่เรียกว่า ประหล่องหรือกนหลอย (คนดอย)  
ลัวะ มีชื่อเรียกตนเองว่าละเวือะ คนไทยจะเรียกว่า ละว้า ส่วนคนเมืองเรียกว่า ลัวะ
ลาหู่ มีเผ่าย่อยหลายเผ่า โดยเผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทสไทย ไดแก่ ลาหู่แดง
ไทลื้อ กลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายอาศัยอยู่ในจีน พม่า ลาว เวียดนาม และไทย โดยอพยพมากจากทางตอนใต้ของจีนจากปัญหาทางการเมือง

Language and Linguistic Affiliations

ลีซู ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง แต่ต่อมากลุ่มมิชชันนารีได้นำอักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู และมีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) อยู่ในตระกูลธิเบต-พม่า โดย 30% เป็นภาษาจีนอ่อ
ปกาเกอะญอ/กะเหรี่ยง มีภาษาเขียนของตนเอง คิดค้นโดยกลุ่มมิชชันนารีที่ดัดแปลงจากตัวหนังสือพม่าผสมกับภาษาโรมัน
ม้ง ใช้ภาษาพูดสื่อสารระหว่างม้งในพื้นที่ต่างๆกันได้ แม้มีความแตกต่างกัน โดยภาษาที่ม้งในประเทศไทยใช้มีความใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้อยู่ทางตอนใต้ของจีน
เมี่ยน มีภาษาถิ่นย่อย 3 ภาษา ได้แก ภาเมี่ยน ภาษาปูนู และภาษาลักจา

History of the Group and Community

อาข่า เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมืองจึงได้อพยพไปยังพื้นที่ต่างๆ  เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน สำหรับชาวอาข่าที่อาศัยในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่อพยพมาจาก 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางจากประเทศพม่าสู่อำเภอแม่จัน หมู่บ้านพญาไพร และเส้นทางจากจีนผ่านพม่าและลาวสู่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันอาข่าในประเทศไทยกระจายอยู่ 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่
ลีซู มีต้นกำเนิดที่ต้นน้ำสาละวินและแม่น้ำโขงทางตอนเหนือธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนาน ชาวลีซูอพยพเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง ต่อมามีการแยกกลุ่มไปทำมาหากินบริเวณตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงราย ในปัจจุบันมีชุมชนลีซุในประเทศไทย 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง
ปกาเกอะญอ แต่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศพม่า แต่เกิดการรุรกรานจากสงครามจึงได้อพยพมาสู่ประเทศไทย
ม้ง เป็นกลุ่มที่มีประวัติความเป็นมายาวนานราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำเหลือง มณฑลยูนนาน กวางสี กวางเจาประเทศจีน จนเมื่อจีนขยายตัวม้งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และถอยร่นไปอาศัยในพื้นที่ห่างไกล ต่อมาช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 และ 24 ชาวม้งและชาวญวนได้สู้รบกันเมื่อครั้งอพยพมาสู่ตอนใต้สู่ตังเกี๋ยและประเทศญวน หลังจากนั้นม้งได้ถอนตัวจากการอาศัยในที่ราบและกลับไปตั้งถิ่นฐานบนภูเขา ชาวม้งในประเทศไทยอพยพมากจากประเทศลาวและพม่า อาศัยกระจายอยู่ในจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ ตาก แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก
เมี่ยน เดิมเคยตั้งถิ่นฐานที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้อพยพเข้าไปป่าลึกบนภูเขาสูง เนื่องจากไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ
ดาราอาง อาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาสูงในรัฐแน และทางตอนใต้ของรัฐคะฉิ่น แต่ด้วยภัยสงครามและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ชาวดาราอางจำนวนราว 6,000 คน ได้อพยพมายังประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2522 บริเวณอำเภอเชียงดาว และอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านแม่น้ำสาละวิน
ลัวะ มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยอาณาจักรละว้า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงกับเชิงดอยสุเทพ จรดใต้สุดจังหวัดตาก โดยมีชนชาติต่างๆ เข้ามายึดครองเป็นเจ้าของอาณาจักรละว้า
ลาหู่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในธิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และถอยร่นมาอยู่ทางตอนใต้ของจีนตามลำดับ ต่อมาชาวลาหู่ได้อพยพไปยังแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า และตอนเหนือของไทยราวปี พ.ศ. 2423 ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อีกส่วนได้อพยพเข้าสู่ประทศลาวและเวียดนาม ชาวลาหู่ในไทยอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงราย แม่อ่องสอน เชียงใหม่ และลำปางตามพื้นที่ติดชายแดน
ไทลื้อ ชาวไทลื้อในประเทศไทยเริ่มอพยพมาครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อครั้งเจ้ากาวิละเข้าตีเมืองสิบสองปันนา และได้อพยพนำชาวไทลื้อเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ด้วย ปัจจุบันชาวไทลื้ออาศัยกระจายในประเทศจีน พม่า ลาว เวียดนาม และไทยบริเวณภาคเหนือตอนบน ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน และพะเยาซึ่งเป็นศูนย์กลางชาวไทลื้อ 

Settlement Pattern

อาข่า บ้านป่าคาสุขใจตั้งอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,142 เมตร โดยเป็นกลุ่มที่อพยพมากจากหมู่บ้านพญาไพรเล่ามา หมู่ที่ 5 ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และกลุ่มที่มาจากบ้านหัวแม่คำ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
ลีซู ชุมชนบ้านปางสาเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากบ้านห้วยมะหินฝน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน และบ้านหัวแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง
ม้ง มักตั้งถิ่นฐานห่างไกลจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ลักษณะบ้านเรือนจะปลูกติดกับพื้นดิน ภายในบ้านมีเตาไฟที่ใช้ดินก่อสำหรับวางภาชนะ ภายในบ้านส่วนหน้ามีการตั้งครก ข้างๆครกมีร้านยกสูง 1 ศอกเพื่อเก็บผลผลิตจากไร่ และเครื่องมือเพาะปลูก ประตูหลังมีแท่นบูชาบรรพบุรุษหรือผีเรือน มีโรงม้า คอกหมู เล้าไก่ที่ทำจากไม้ไผ่อยู่ ติดกับตัวบ้าน
เมี่ยน ชาวบ้านชุมชนบ้านปางบอบส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร หลังจากเหตุการณ์คอมมิวนิสต์ พื้นที่บริเวณชุมชนบ้านปางบอบกลายเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น แต่ต่อมาได้มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชผลไม้ (ลำไย) และกาแฟเพื่อสร้างรายได้แทนการปลูกฝิ่นขาย ตลอดจนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งต้นน้ำสะอาดของชุมชน และในปีพ.ศ. 2545 องค์กรสงเคราะห์การทำสวนยางได้ส่งเสริมการปลูกยางพารา และได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านน้ำยวนพัฒนา
ดาราอาง บริเวณชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยมเป็นพื้นที่ที่มีต้นหมากเลี่ยมปกคลุมทั่วดอย โดยชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณเป็นผู้ย้ายถิ่นมาจากบ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้นำในการย้ายถิ่นคือ นายน้อย ละวัน
ลัวะ ปัจจุบันชาวบ้านชุมชนบ้านเฮาะประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน เลี้ยงปศุสัตว์และมีการล่าสัตว์หาของป่า แม้ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่าคนบ้านแม่เฮาะอพยพมาแต่เมื่อไร และอพยพมาจากที่ไหน แต่คนในพื้นที่สามารถบ่งบอกที่มาของตนโดยดูจากต้นขนุนที่ชาวบ้านในยุคแรกปลูกไว้มายาวนาน เดิมทีบริเวณชุมชนบ้านเฮาะมีผู้อาศัยอยู่ก่อนที่เรียกตนเองว่า ยวงโระ ที่เรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านโระ แต่ชุมชนอื่นเรียกว่า เฮาะ จากนั้นมีกลุ่มยวงระกลุ่มที่สองย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย จนกลุ่มยวงเยือกเข้ามาสมทบเป็นกลุ่มสุดท้าย และอยู่ร่วมกันภายใต้กฎระเบียบ
ลาหู่ ชาวลาหู่มักอาศัยในพื้นที่สูง แต่เดิมบ้านก้วยน้ำริม (บ้านดอยมด)เป็นพื้นที่ของกะเหรี่ยง และเกิดโรคระบาด ต่อมาชาวม้งเข้ามาอาศัยแล้วอพยพออดไป จนในที่สุดชาวลาหู่เข้ามาอาศัย โดยชาวลาหู่ชุมชนบ้านดอยมดเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากลำปาง แม่สอย เมืองปาน และได้อพยพมายังดอยโถ ขณะนั้นมีประมาณ 100 ครอบครัวก่อนที่จะแยกย้ายเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ย้ายมาอยู่ดอยมด มีผู้นำคือ แม่แสน จะหงะ ส่วนกลุ่มที่เหลืออพยพไปที่ห้วยนำ้ริน ห้วยม่วง และห้วยโป่งตามลำดับ
ไทลื้อ บ้านไทลื้อมีลักษณะเป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคาสูงมุงด้วยหญ้าคา หรือมุงด้วยแป้นเกล็ด ฝาบ้านทำจากไม้ไผ่ขัด และมีชั้นยกระดับขั้นแรกก่อนขั้นบันไดเพื่อวางรองเท้าเรียกว่า ปุ้มปุก ชาวไทลื้อชุมชนบ้านปางถำ้อพยพมาจากหมู่บ้านผาลาด สปป.ลาว โดยมีผู้นำ คือ นายปัน พรมเทพ ชุมชนแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยโดยก่อนเหตุการณ์คอมมิวนิสต์ในชุมชนมีการตั้งอาราม มีตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาสอนหนังสือ และมีผู้ใหญ่บ้าน หลังจากชาวบ้านในชุมชนต้องย้ายออกจากเหตุการณ์คอมมิวนิสต์ และได้กลับเข้ามาในพื้นที่อีกครั้ง ชุมชนได้มีการก่อตั้งโรงเรียน รวมทั้งมีองค์กรเอกชนเข้ามาพัฒนาหมู่บ้านทั้งด้านสาธารณสุขโดยมูลนิธิศุภนิมิตร เกิดการก่อตั้งสถานีอนามัย วัด จนเมื่อพ.ศ. 2524 พื้นที่ของหมู่บ้านถูกประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังจากมีการก่อสร้างถนนเข้ามาในหมู่บ้านและติดตั้งไฟฟ้าชาวบ้านเกิดการติดต่อกับชุมชนภายนอกมากขึ้น และได้ทำไร่ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์จนเกิดรายได้ และต่อมาเกิดการส่งเสริมการปลูกยางพาราจนเป็นรายได้หลักของชุมชนแห่งนี้

Demography

อาข่า กลุ่มโลเมอาข่าในชุมชนบ้านป่าคาสุขใจมีประชากรจำนวน 592 คน และบ้านบูสีมีจำนวนประชากร 154 คน รวมทั้งสิ้น
ลีซู ในพื้นที่ชุมชนบ้านปางสาประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ลีซู(ลีซอ) จำนวน 60 ครัวเรือน หรือ 68 ครอบครัวลาหู่จำนวน 27 ครัวเรือน หรือ 28 ครอบครัว และจีนฮ่อจำนวน 10 ครัวเรือน
ปกาเกอะญอ ในชุมชนบ้านขุนวินเป็นชาวพุทธ 99% และชาวคริสต์ 1%
ดาราอาง ในประเทศไทยมีชาวดาราอางจำนวนราว 6,000 กว่าคน สำหรับชาวดารางอางในชุมชนบ้านห้วยหมากเลี่ยมมีจำนวน 47 หลังคาเรือน
ลาหู่ ในประเทศไทยมีชาวลาหู่ราว 1.5 แสนคน และกระจายไปตามแนวชายแดนไทย-พม่าจำนวน 800 หมู่บ้าน

Economy

สภาพเศรษฐกิจที่ปรากฎในงานศึกษาเกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแง่ของพืชพันธุ์อาหาร ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในหมู่บ้านที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งความมั่นคงทางอาหารนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลทำเกษตร และระดับความชื้นในแต่ละปี ดังนั้นการเก็บรักษาพืชพันธุ์จะอยู่ในรูปแบบของการปลูก/ผลิตซ้ำปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ต้นพันธุ์ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำการศึกษาสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งต้องทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ อีกทั้งยังมีความเชื่อของบางกลุ่มชาติพันธุ์ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น การให้หญิงตั้งครรภ์เป็นผู้เก็บ หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เป็นต้น และเมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วนั้นมักถูกจัดเก็บในลูกนำ้เต้า และวางไว้เหนือเตาไฟ เพื่อไล่ความชื้นและแมลง
2. การปลูกซำ้ทุกปีในช่วงฤดูฝน โดยแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะมีวงเวลาในการปลูก และเก็บเกี่ยวแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ (หน้า 65, 77, 91, 138)
3. การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเพื่อบูชาเทวดาที่ดูแลรักษาพันธุ์พืช

Social Organization

อาข่าชาวบ้านป่าคาสุขใจมีการอยู่รวมกันเชิงโครงสร้างทางสังคม ภายใต้ระบบการเมืองการปกครองในระบบดั้งเดิมและระบบใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 10 ตระกูล ได้แก่ หมื่อแลกู่ อาซ้องกู่ เยเบียงกู่ เยส่อกู่ แซเบวกู่ หม่อโปกู่ อายิกู่ หวุ่ยยือกู่ เบเชกู่ เบียงแลกู่
ลีซู  ชาวลีซูมีตระกูลดั้งเดิม 6 กลุ่ม คือ ตระกูลน้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ซึ่งแตกออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ตระกูลไม้ (ซือผ่า) ตระกูลปลา (งัวะผ่า) ตระกูลหมี ตระกูลแมลงข้าว ตระกูลสาลี และตระกูลกัญชง และมีสายตระกูลอีก ​9 ตระกูลที่มีการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู จ้าง โดยกลุ่มที่มีการแต่งงานข้ามเผ่านี้ กลุ่มย่างและกลุ่มลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
ม้งระบบเครือญาติของม้งเป็นการยึดถือวงศ์ตระกูล หรือแซ่ โดยนับตระกูลทางฝ่ายชาย และมีตระกูลที่สำคัญ 11 ตระกูล ได้แก่ ซ้ง ลี้ ซอง วั่ง มัว เฒ้า ฮู วู โล(เลา) คิน และย่าง 

Political Organization

การปกครองในพื้นที่ที่ทำการศึกษามีลักษณะของการปกครองที่คล้ายคลึงกัน คือการมีผู้นำกลุ่ม ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการประกอบพิธีทางศาสนา และผู้นำในระบบราชการอย่างผู้ใหญ่บ้าน ที่มีขึ้นหลังจากเหตุกาณณ์คอมมิวนิสต์สงบลง
ชาวอาข่าตั้งแต่ผู้นำรุ่นแรกที่อพยพมายังประเทศไทย ณ บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ชาวอาข่าได้กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า ทั้งนี้ ชุมชนบ้านป่าคาสุขใจมีผู้นำในระบบดั้งเดิมเรียกว่า โจ่วมา ซึ่งเป็นผู้นำที่ประกอบพิธีทางศาสนา วัฒนธรรมของชุมชนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 คือนายอาเพียว หมื่อแลกู่ จนเมื่อระบบราชการเข้ามาสู่หมู่บ้านจึงมีการตั้งตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ลีซูชาวลีซูมีการนับถือผู้นำ ได้แก่ ผู้นำด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) ต่อมาเมื่อระบบราชการเข้าสู่ชุมชนได้มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยในปัจจุบันมีนายอาซี เบียะผะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน

Belief System

กลุ่มชาติพันธุ์มีระบบความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามกลุ่มย่อย แต่เดิมกลุ่มชาติพันธุ์มีการนับถือผี โดยมีผู้นำทางศาสนาเป็นบุคคลสำคัญในการประกอบพิธีและต่อมามีการรับศาสนาอื่นๆแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการนับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาพุทธ

Folklore

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวลัวะ ว่าเป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยบริเวณดอยสุเทพ และมีชาวไทยวนอาศัยอยู่รวมกัน จนในสมัยพระยาวีจอบ้านเมืองได้เกิดความวุ่นวายจากภูตผีปีศาจ และพระอินทร์ได้ขอให้ชาวลัวะถือศีล 5 และศีล 8 จนบ้านเมืองกลับมาสงบสุข ต่อมาพระอินทร์ยังประทานบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ประกอบกับมีเศรษฐีที่ชื่อว่านพบุรี ปั้นเงิน ปั้นทองเท่าลูกพุทราไปโปรยในป่า เพื่อให้ชาวบ้านเข้าไปแผ้วถาง จนทำให้อาณาจักรละว้าขยายกว้างใหญ่ไพศาล และมีความเจริญรุ่งเรือง
จนเมื่อสถาปนาศรีนครพิงค์เชียงใหม่บริเวณดอยสุเทพ ในช่วงแรกพญามังรายยังได้รับอิทธิพลในการบูชาเสาอินทขิล อันเป็นเสาหลักเมืองของชาวลัวะ และได้มอบเครื่องบรรณาการให้พญาละว้า จนสุดท้ายได้เสาอินทขิลยังเป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่อีกด้วย
อีกตำนานของชาวลัวะ คือ ชาวลัวะเคยมีวังอยู่เชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองหลวงของละว้า และมีการปลูกไผ่หนามล้อมรอบวัง ซึ่งคนไตไม่สามารถเข้าไปได้ ชาวไตจึงออกอุบายซื้อที่ดินขนาดเท่าหนังแมว แต่ได้นำหนังแมวมาเป็นเส้นด้ายล้อมรอบต้นไผ่ทั้งหมดไว้ และได้จ้างชาวลัวะมาถางต้นไม้ออกจึงทำให้ทั้งสองกลุ่มอาศัยปะปนกัน

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีอัตลักษณ์ของตนเอง ตามที่ปรากฎในงานศึกษา อาทิ ชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและสามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี แต่ยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคร่งครัดต่อกฎระเบียบ และมีความเท่าเทียมทางเพศมากที่สุด หรือชาวไทลื้อที่มีประเพณีเกี่ยวกับศาสนาพุทธมากมาย และยังส่งผลต่อรูปแบบของศาสนสถานที่งดงาม และมีหลังคาโบสถ์หรือวิหารสองชั้นที่เป็นเอกลักษณ์ (หน้า 46) เป็นต้น

Other Issues

ภูมิปัญญาในการรักษาผืนป่า
กลุ่มชาติพันธ์ทั้งเก้าที่ทำการศึกษาต่างมีภูมิปัญญาในการรักษาผืนป่าอันเป็นทั้งถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ต้นนำ้ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งภูมิปัญญาในการรักษาผืนป่ามีองค์ประกอบร่วมกัน ดังนี้
- การเชื่อว่าในป่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่เพื่อปกป้องคุ้มครอง เช่น เทพแห่งป่า เทพแห่งต้นไม้ เทพแห่งนำ้ ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น
- มีพิธีกรรมในการอนุรักษ์ผืนป่า โดยการนำอาหารหรือสิ่งของมาถวายแก่เทพเจ้า โดยพิธีกรรมเป็นไปเพื่อขอบคุณ หรือขอขมาผืนป่า และผืนนำ้ นอกจากนี้บางพื้นที่มีการตั้งกฎระเบียบเพื่อเป็นข้อปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิด
- ผืนป่าในแต่ละที่จะมีการแบ่งประโยชน์การใช้สอย เพื่อให้ทราบว่าเขตใดเป็นเขตหวงห้าม หรือเป็นเขตที่เข้าไปหาอาหาร หรือใช้ประโยชน์อื่นๆได้
สำหรับภูมิปัญญา/พิธีกรรมที่เกี่ยวกับป่าที่ปรากฎในงานศึกษา มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มอาข่า พิธีแมซ่องล่อดู่ (หน้า 151)
- กลุ่มลีซู พิธีอิ๊ด่ามาหลัวะ (หน้า 158)
- กลุ่มปกาเกอะญอ พิธีบวชป่า พิธีสืบชะตานำ้ กิจกรรมเลี้ยงแนวกันไฟ(หน้า 162) กฎระเบียบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หน้า 164-167)
- กลุ่มม้ง พิธีดงเซ้ง (หน้า 168) พิธีเด่งเฮ้าเด้ (หน้า 170)
- กลุ่มเมี่ยน พิธีชิงออม
- กลุ่มดาราอาง (กำหนดเฉพาะผู้ทำพิธีกรรม)
- กลุ่มลัวะ กำหนดข้อห้ามและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับป่าไม้ (หน้า 179) พิธีกรรมแบ่งป่า(เจียกเตะ) การโนกไปฮ การตั้งกฎระเบียบในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่า(หน้า 182-183)
- กลุ่มลาหู่ พิธีบวชป่า การทำฝายชะลอนำ้ การปลูกป่า การทำเขตแนวป้องกันไฟป่า ตั้งกฎระเบียบการใช้ทรัพยากรป่าไม้
- กลุ่มไทลื้อ พิธีบวชป่า ประเพณีเลี้ยงเจ้าพ่อหมื่นจัย (หน้า 189)

Map/Illustration

- ลาบ(แซเบียหยุ่ง) หน้า 57
- ต้มหน่อไม้ดอง หน้า 58
- นำ้พริกอาข่า หน้า 59
- ขั่วหยื่อเกอโถ (ลาบหมูห่อใบตอง) หน้า67
- โถจีลาเผียะ (ต้นขม) หน้า 68
- งามาโท (แกงหัวปลี) หน้า 69
- ลาจึตี (นำ้พริก) หน้า 70
- ข้าวเบ๊อะ หน้า 79
- ต้มไก่สมุนไพร หน้า 82
- ต้มไก่สมุนไพร (ไก่ดำ) หน้า 92
- ต้มหน่อไม้ส้ม หน้า 93
- หลู้กระด้าง หน้า 94
- อึนพริห อารึม (นำ้พริกถั่วเน่า) หน้า 99
- โตะแบต, โตะสะเบื๊อก (ยำสมุนไพร) หน้า 106-107
- แกงเผือ,มัน หน้า 108
- ลาบหมูใส่เปลือกอ่อยมะกอก (หมูชูปะ) หน้า 123
- อะพิตี่เลอ (ตำนำ้พริกมูเซอ) 124
- มะเขือสื่อเฮาจาเลอ (ยำมะเขือเปราะ) หน้า 125
- หมื่อหิหล่อมาจ๊ะเลอ (ต้มเห็ดแดงป่า) หน้า 126
- หลมบอน (สูตรไทลื้อ) หน้า 135
- นำ้พริกมะกอก หน้า 136
- ห่อนึ่งตะ (สาหร่ายที่มีอยู่ในแม่นำ้) หน้า 137

Text Analyst นุชจรี ศรีวิเชียร Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG อาข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ, ม้ง, เมี่ยน, ดาราอาง, ลัวะ, ลาหู่, ไทลื้อ, อาหาร, ป่า, ทรัพยากรธรรมชาติ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง