สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,อัตลักษณ์คนยอง,การประกอบสร้าง,การเมืองเรื่องการประกอบสร้าง,ลำพูน
Author ธนวัฒน์ ปาลี
Title การเมืองเรื่องการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของคนยองในลำพูน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 
Total Pages 126 Year 2559
Source วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ศึกษากระบวนการประกอบสร้างและการให้ความหมายอัตลักษณ์ของคนยอง ในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพ.ศ. 2556-2557 โดยใช้แนวคิดในการศึกษา คือ แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ การโหยหาอดีต และประเพณีประดิษฐ์ แนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ จากศึกษาของงานชิ้นนี้ พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีบุคคลชาวยองหลายกลุ่มพยายามอธิบายเกี่ยวกับความเป็นคนยอง รวมทั้งการสร้างนิยามความหมายเกี่ยวกับอัตลักษณ์ยอง แต่ทั้งนี้ การพยายามนิยามหรือสร้างอัตลักษณ์ยองเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาในการต่อต้านหรือต่อสู่ ต่อรองกับนโยบายรัฐแต่อย่างใด แต่เป็นการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาภายใต้บริบทของกระแสท้องถิ่นและกระแสการท่องเที่ยวที่ชาวยองได้หวนกลับมารื้อฟื้นวัฒนธรรมของตนใหม่ เพื่อตอบสนองการส่งเสริมของท้องถิ่นและสนองตอบต่อความเป็นยองในตนเอง โดยพบว่าการสร้างความเป็นยองเหล่านี้ ได้มีการหยิบยืม ผสมผสานวัฒนธรรม ความเชื่อ มีการตีความและประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ เพื่ออธิบายความเป็นยองให้มีพลังมากขึ้น เช่น ผ่านพื้นที่งานสัมมนาวิชาการ การตีพิมพ์งานศึกษาของชาวยอง การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย สิ่งเหล่านี้ได้ คือ การนำเสนอตัวตนและเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นยอง จนสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองและผลประโยชน์ของกลุ่ม (หน้า ฉ)

Focus

          งานศึกษาชิ้นนี้มุ่งศึกษากระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นยองในจังหวัดลำพูน โดยศึกษาพิจารณากิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของคนยองที่จัดขึ้นโดยกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้านเวียงยอง หมู่ 3 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในงานชิ้นนี้ต้องการอธิบายให้เห็นบริบทของคนยองในจังหวัดลำพูนในเบื้องต้น และมุ่งอธิบายกระบวนการรื้อฟื้นอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของคนยองในยุคต่าง ๆ จนกระทั่งความเป็นยองได้กลายเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เด่นชัด นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์จะวิเคราะห์ผ่านการสร้างพื้นที่ทางสังคม การให้ความหมายต่อพื้นที่ รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์และปรับตัวกับอำนาจรัฐของคนยอง (หน้า 4-5)

Theoretical Issues

          ศึกษาถึงปรากฏการณ์การตื่นตัวของการรื้นฟื้นอัตลักษณ์วัฒนธรรมโดยใช้แนวคิดและทฤษฎี การประดิษฐ์ประเพณี แนวคิดอัตลักษณ์และแนวคิดการโหยหาอดีต ซึ่งได้อธิบายและวิเคราะห์ถึงการพยายามรื้อฟื้นอัตลักษณ์ของชาวยองว่า เกิดขึ้นภายใต้กระแสท้องถิ่นและการส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริบทโลกาภิวัตน์เช่นนี้ โดยในงานชี้ว่า เป็นการกระตุ้นและก่อให้เกิดความรู้สึกการโหยหาอดีตของตนเอง จนกลายเป็นที่มาของการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตัวตน ค้นหาประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และพร้อม ๆ กันนั้นได้มีการนำวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมของตนมาผลิตซ้ำใหม่เพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกโหยหาอดีตและเพื่อตอบสนองต่อสังคมการท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ การรื้อฟื้นอัตลักษณ์ชาวยอง ได้กลับกลายเป็นพื้นที่ของการนิยามความหมายตัวตน และกลายเป็นอำนาจในการต่อรองในสังคม (หน้า 21-22)

Ethnic Group in the Focus

          ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ยอง บ้านเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ซึ่งมีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมายาวนานกว่า 200 ปี (หน้า 23)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มี

Study Period (Data Collection)

          การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา โดยเข้าไปสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาวยอง นอกจากนี้ งานชิ้นนี้ได้ใช้ข้อมูลเอกสารที่เป็นข้อมูลวิทยานิพนธ์ รายงาน และเอกสารอื่น ๆ ที่สำคัญผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้ Key Informant ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทในการทำงานด้านประวัติศาสตร์ กิจกรรมของชาวยอง โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน 2556 (หน้า 25-26)

History of the Group and Community

          บ้านเวียงยองเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ยาวนานถึง 200 ปี ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการอพยพโยกย้ายจากเมืองยองในรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งในสมัยดังกล่าวถูกกวาดต้อนมาใสมัยพระเจ้ากาวิละ ดังที่พบว่ามี กู่ที่บรรจุอัฐิเจ้าเมืองยองที่วัดหัวขัว และยังเป็นวัดที่ใช้สำหรับจัดงานอุปสมบทของตระกูลเจ้าเมืองยอง และในหอของวัดหัวขัวมีเทวบุตรหลวงที่เป็นเทพรักษาเมือง ที่คนยองได้อัญเชิญมาจากเมืองยองที่ตนเดินทางมา (หน้า 28)

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

ไม่มี

Economy

          อาชีพปัจจุบันของชาวยอง ส่วนใหญ่ยังคงทำเกษตร ทำนา ปลูกลำไย ปลูกหอม ใบยาสูบ เลี้ยงวัวนม สัตว์อื่น ๆ ทอผ้า และรับจ้างเป็นหลัก แต่บางส่วนมีรับราชการครู พยาบาล ปลัด หรือตามหน่วยงานรัฐในเมืองลำพูน และจำนวนมากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับคนรุ่นใหม่ทำงานพนักงานบริษัทจำนวนมาก เข้าไปทำงานในเมืองเชียงใหม่และกรุงเทพ  (หน้า 27,33,37)

Social Organization

          ระบบการแต่งงานของชาวยอง คือ เมื่อหญิงชายชาวยองแต่งงานกัน ซึ่งเป็นการดองระหว่างบ้านฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยฝ่ายชายจะเป็นบุคคลที่ต้องแต่งงานเข้าบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งระบบการแต่งงานคล้ายกับการแต่งงานของคนเมืองเชียงใหม่และทางภาคเหนือ (หน้า 37)

Political Organization

          กลุ่มคนยองมีการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเพื่อการรักษาและสร้างความเป็นยอง โดยในงานได้ชี้ให้เห็นดังนี้
1. การจัดตั้งเป็นสมาคมยอง เกิดขึ้นจากรวมกลุ่มของอดีตข้าราชการเกษียณ ครูวิทย์ จันทร์เอี่ยม และบรรดาครูจากสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นชาวยอง โดยได้จัดตั้งเป็นชมรมในปีพ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกิจกรรม เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม ส่งเสริมฟื้นฟูศิลปะที่เกี่ยวกับคนยองในลำพูน การรวมกลุ่มจัดตั้งสมาคมเช่นนี้ส่งผลให้เกิดบทบาทและอำนาจในการต่อรองกับหน่วยงานราชการ หรือมีความสามารถในการสานสัมพันธ์กับองค์กร เครือข่าย และกลุ่มชาวยอง จึงได้รับความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี (หน้า 45)

2. การช่วงชิงอัตลักษณ์ความเป็นยอง ปรากฏให้เห็นจากการสร้างพื้นที่ เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ ได้แก่ การสร้างพิพิธภัณฑ์ในวัดต้นแก้วปีพ.ศ. 2545 โดยได้งบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน มีการสร้างอาคารที่เป็นทรงเรือนแบบสถาปัตยกรรมยอง ในพื้นที่ได้มีการเก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้โบราณวัตถุของชาวยอง ยังมีการสร้างหอเทวบุตรหลวงในปีพ.ศ. 2553 และมีการสร้างพื้นที่เวียงยองให้เป็น “ลานคนยอง ของกิ๋นเมือง” เพื่อเป็นสถานที่จัดงานแสดงศิลปวัฒนธรรม งานขายสินค้าอาหารพื้นเมือง สิ่งเหล่านี้ คือกระบวนสร้างอัตลักษณ์ความเป็นยองที่ต้องการช่วงชิงพื้นที่ในเขตเมืองลำพูน จึงเป็นการเมืองอย่างหนึ่งในบริบทสังคมสมัยใหม่ (หน้า 24)

Belief System

          ชาวยองนับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในหมู่บ้านเวียงยอง มีศาสนาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ วัดหัวขัว วัดต้นแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่มีสุสานเจ้าเมืองและลูกหลาน ในวัดมี “เทวบุตรหลวง” เป็นเทพที่ชาวยองกราบไหว้บูชา (หน้า 23) ซึ่งความเชื่อต่อเทวบุตรหลวง เป็นการเชื่อมโยงตัวตนของเทวบุตรกับเมืองยอง โดยเทวบุตรหลวงยังเชื่อมโยงกับพระอินทร์ที่เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั้งนี้ เทวบุตรหลวงของชาวยอง ยังผูกโยงความเชื่อกับท้าวจตุโลกบาล เทวดาสี่ทิศแห่งลังกาสู่จตุคามรามเทพ ฤๅษีสี่ตนแห่งหริภุญไชยนคร (หน้า 94)

          นอกจากนี้ ยังมีพระสงฆ์ที่ได้รับการยกย่องบูชา คือ พระมหาเขื่อนหรือพระครูเวฬุวันพิทักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิหาร ลูกศิษย์คนสำคัญของครูบาพรหมา พระนักบุญเชื้อสายคนเมืองยอง พระมหาเขื่อนรูปนี้มีบทบาทต่อสังคมชาวยอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวยอง เช่น การเดินทาง นำกฐิน ผ้าป่าจากลำพูน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 2540 และ 2548 ถือว่าเป็นการเดินทางเพื่อแสวงบุญและสืบสานพระพุทธศาสนาข้ามรัฐชาติ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องในด้านความศรัทธา วิถีปฏิบัติจากชาวยอง นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถในงานช่างและมีการถ่ายทอดความรู้ งานช่าง ศิลปะแบบล้านนา หรืออาจเรียกว่าเป็น “สล่า” อีกทั้งท่านยังเข้าไปบูรณะสร้างวิหารรวมทั้งหมด 57 แห่ง อุโบสถ 38 แห่ง และศาลา 26 หลัง พระธาตุ 8 แห่ง (หน้า 50-51)

Education and Socialization

          การส่งผ่านความรู้และการสืบทอดวัฒนธรรมของคนยอง ในงานชิ้นนี้ได้กล่าวถึงรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชาวยองร่วมสร้างสรรค์ และผลิตหรือประดิษฐ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นยองนั้น หากมองในอีกแง่หนึ่งคือ เป็นกระบวนการส่งทอดความรู้และขัดเกลาสังคมชาวยอง เช่น กิจกรรมการเดินร่วมทัวร์จาริกแสวงบุญที่นำโดยพระมหาเขื่อน การนำเสนอความเป็นยองผ่านงานวิชาการที่เป็นการถ่ายทอดความรู้ การตีพิมพ์หนังสือ ประวัติศาสตร์สังคม วัฒนธรรม การจัดงานทำบุญประจำปีเพื่อสักการะเทวบุตรหลวงและการทำสลากย้อม หรือแม้แต่การจัดงานการสืบสานตำนานยองและการจัดแสดงการฟ้อนรำและอื่น ๆ เหล่านี้ คือนอกจากการประกอบสร้างอัตลักษณ์แล้วยังเป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรม และส่งผ่านความเป็นยองไปสู่หมู่ชาวยองและคนอื่น ๆ นั่นเอง (หน้า 53-57)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

          การฟ้อนยอง ถือเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวยอง ท่าฟ้อนยองมีทั้งหมด 16 ท่า ในการฟ้อนยองจะเป็นการนำเสนอวัฒนธรรม จารีต และวิถีชีวิต โดยจะเน้นทำนองเพลงที่มีความสงบ รักสันโดษ นุ่มนวล อ่อนหวาน โดยการฟ้อนจะใช้เพลง “ฝ้ายคำ” เป็นเพลงประกอบ (หน้า 54)

Folklore

          ระบุถึงกลอนที่เป็นเรื่องราวการอพยพของชาวยอง ในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง หรือสมัยเทครัว โดยพระเจ้ากาวิละ แห่งเชียงใหม่ ที่ได้ใช้กลอุบายว่า “ถ้าผู้ใดโกนหัวให้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปอยู่เมืองลำพูน” แต่มีเพียงเจ้าเมืองยองและช่างฝีมือเท่านั้นโกน แต่การกระทำเช่นนี้ ได้ทำให้พระเจ้ากาวิละกลับคำให้ผู้คนที่โกนหัวเท่านั้นที่ถูกต้อนมาอยู่ในเมืองลำพูน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเขียนกลอนลงในผ้า ซึ่งกลายเป็นลายผ้ายอง กลอนที่บันทึกนี้ ได้ระบุเป็นภาษาว่า

ไตเมิงยอกแตกเหย้า แยกเมือง
สองย่านม่านไทยเคือง เคลื่อนย้าย
อพยพพรากหญ้าเนือง นองตรลบ
ขืนปาดน้ำตามป้าย เลือดข้นปนโขง
เคยเป็นขี้ข้าม่าน นานครา
ปลดเอกจากทาสา เปลี่ยนเจ้า
มานถวิลถิ่นฐานมา เมืองใหม่
คลุกฝุ่นคลุ้งศพเคล้า ครอบทิ้งเทครัว
หมายใจจัดพลิกหล้า ลำพูน
เมืองเก่ายิ่งใหญ่สูญ สาบฟื้น
แปงเวียงก่องไวกูณฑ์ กาวิละ
เกณฑ์เผ่าไตลื้อรื้น ลุ่มน้ำยองสลาย
ไผไป่ยอมพ่ายให้ โกนหัว
ไผอยากปลดแอกตัว ไป่ต้อง
ฝูงหงส์ห่อนเกรงกลัว เกลี้ยงเกศ
ยังแต่หมู่ไพร่พร้อง เสี่ยงแพ้ยอมเชลย
เปลี่ยนใจเกณฑ์หมู่เจ้า ฝืนจำ
กาวิละกลับคืนคำ เลือกข้าง
หมายคนค่าควรสำ คัญกว่า
ระลอกเคลื่อนหัวโล้นคว้าง เคลื่อนข้ามพนาไคล
ดุจภาพกองทัพริ้ว ขบวนสงฆ์
บ้างปลดชีพปลิดปลง จริตบ้า
ที่เหลือทรุดใจลง เยี่ยงทาส
ร่วมเก็บผักใส่ซ้า เก็บใส่เมือง
(เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์, 2550) (หน้า 44)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          ความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวยองนั้น มีกระบวนการสร้างและผลิตซ้ำขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ จนกระทั่งได้กลายเป็นอัตลักษณ์ที่ค่อนข้างชัดเจน โดยในงานชิ้นนี้ได้อธิบายและสามารถสรุป ดังนี้

ประการแรก อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนยองเกิดขึ้นภายใต้บริบทของการท่องเที่ยวและการให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น โดยเริ่มตื่นตัวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 จุดเริ่มต้นจากพระสงฆ์ที่ออกเดินทางแสวงบุญและแสวงหาความเป็นยองในเมืองยอง ประเทศพม่า จึงนำไปสู่การโหยหาอดีต กระทั่งเกิดเป็นที่มาของการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ยองขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากการศึกษาทางวิชาการ มีการจัดสัมมนาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในระดับพื้นที่เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งสมาคมเพื่อสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อระลึกและประดิษฐ์วัฒนธรรมความเป็นยองขึ้นมา ฉะนั้นการสร้างความรู้ทางวิชาการ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับชาวยองด้วยกันและกับกลุ่มคนอื่น ๆ ทั้งจากหน่วยงานรัฐ นักวิชาการ ทำให้กระบวนสร้างความเป็นยองจึงมีพลังในการขับเคลื่อน ขยายขอบเขตการรับรู้ เป็นที่รู้จักของคนกลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ชาวยองได้สร้างบทบาทและภาพลักษณ์ของตนในสังคมได้อย่างดี เช่น คนยองสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ มีสถานะทางสังคมที่ดี เป็นนักธุรกิจที่สร้างเครือข่ายและเป็นที่รู้จักในสังคมภาคเหนือ (หน้า 72-23)

ประการที่สอง การธำรงวัฒนธรรมของชาวยองในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของตัววัฒนธรรมที่ตนผลิตสร้างขึ้น เช่นว่า มีการประกอบสร้างท่า “ฟ้อนรำยอง” มีการนำกระบวนท่าจากพม่า มาประดิษฐ์และคิดค้นท่าใหม่ และการประยุกต์การแต่งกายผสมผสานแบบจีนและแบบกุลสตรีเมืองยอง มีการใช้ด้ายสีขาวมัดด้านข้าง นุ่งซิ่นมีลายน้ำไหล ชายผ้าที่เป็นสีเขียว และมีการโพกศีรษะด้วยผ้าขาวแซมดอกไม้เกล้ามวยผมแบบไทลื้อ สวมใส่เครื่องประดับด้วยเครื่องเงิน การประดิษฐ์ใหม่ของการฟ้อนรำยองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาแสดงในโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ ที่มาจากการโหยหา รื้อฟื้นความเป็นยอง (หน้า 54)

Social Cultural and Identity Change

          การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวยองปรากฏให้เห็นในหลายด้านด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้บริบทของการพัฒนาและความทันสมัย  เช่น

1. การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ สมัยก่อนพื้นที่ของชาวยอง คือ เป็นพื้นที่ทำนา ทำไร่ เป็นป่ารกหรือป่าไมยราพ มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ล้อมรอบ และมีที่นาเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน พื้นที่นาดังกล่าว ถูกแปลงให้เป็นพื้นที่ราชการ ที่พักข้าราชการต่าง ๆ ซึ่งมีหน่วยงานราชการที่เข้ามาตั้งอยู่มากถึง 13 หน่วยงาน และยังมีการขยายถนน มีการตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และการเข้ามาของหน่วยงานรัฐและอุตสาหกรรม ทำให้ผู้คนชาวยองต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากอาชีพทำนา หรือเป็นเกษตรกร ได้หันมาเข้าระบบการศึกษาและเข้าทำงานในอาชีพทั้งราชการ พนักงานบริษัท หรืองานในโรงอุตสาหกรรม การปรับเปลี่ยนอาชีพตามความต้องการของยุคสมัยใหม่ ส่งผลให้ชาวยองต้องละทิ้งวิถีบรรพบุรุษ คือ การทำนา อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ชาวยองสามารถปรับตัวเข้าได้ดีและกลายเป็นกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจอีกด้วย (หน้า 28)

2. การมีสถานะทางเศรษฐกิจดีของชาวยอง และเป็นกุล่มคนที่เข้ากับความทันสมัยได้ดีนั้น ทำให้พบว่า มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ในงานชิ้นนี้ได้กล่าว ถึง การสร้างบ้านของคนยองปัจจุบัน คือ สมัยก่อนการสร้างบ้านของชาวบ้านจะสร้างบ้านตามแบบวัฒนธรรม ที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ยอง คือ การปลูกบ้านด้วยไม้ทรงสูง มีใต้ถุนบ้าน ไว้ทิ้งเศษอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงไก่ เป็ด หมู  แต่ปัจจุบันคนยอง มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างบ้านเป็นแบบใหม่ไปเสียหมด บ้านเรือนใหญ่โตด้วยอิฐปูนตามที่นิยมในสมัยปัจจุบัน (หน้า 55 )

3. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลดีต่อชาวยอง คือ การหวนกลับมาของกิจกรรมทำสลากย้อม พื้นที่การทำสลากย้อมได้กลายเป็นพื้นที่ของการพบปะของหนุ่มสาว ซึ่งมาสู่การพูดคุย แลกเปลี่ยนและเกิดการคบหาดูใจกันของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จากเดิมที่กิจกรรมเช่นนี้ และรูปแบบการหาคู่ในพื้นที่สลากย้อมเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยบรรพบุรุษ ฉะนั้นการรื้อฟื้นกิจกรรมทำสลากย้อม จึงกลายเป็นกำเนิดอีกครั้งของวิถีการหาคู่แบบชาวยอง (หน้า 76-77)

4. การจัดตั้งกลุ่มสมาคม การสร้างเทวบุตรหลวง หรือจัดทำพื้นที่กิจกรรมลานคนยอง ได้สร้างให้เกิดบรรยากาศของการรำลึกถึงที่มาของวัฒนธรรมยอง ญาติพี่น้องที่อพยพมาจากเมืองยอง ส่งผลให้เกิดความเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีความสามัคคีและช่วยเหลือกันและกันของชาวยอง ซึ่งถือว่าสังคมชาวยองมีการเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีมากขึ้น

Critic Issues

          การกล่าวถึงอัตลักษณ์ที่ประกอบสร้างขึ้นมานั้นมีความหลากหลายและถูกประกอบสร้างจากหลากหลายกลุ่ม ซึ่งอัตลักษณ์ยองไม่ได้เกิดขึ้นมาแบบลอย ๆ แต่เป็นผลมาจากการตื่นตัวของสำนึกทางชาติพันธุ์ ที่ไม่ใช่เป็นวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์ดั้งเดิมที่เป็นเรื่องอดีต หากแต่เป็นเรื่องการผลิตหรือประดิษฐ์ใหม่ด้วยการเชื่อมโยงและหยิบยืมจากเมืองยองในสิบสองปันนาและนำมาผสมผสานกับความเป็นไทยแบบล้านนา ซึ่งสำนึกทางชาติพันธุ์และการปฏิบัติการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นมาต้นปีพ.ศ. 2530ที่กระแสความเป็นท้องถิ่นกำลังถูกให้ความสนใจภายหลังรัฐบาลให้การสนับสนุนการกลับมองท้องถิ่น และภายใต้การประกาศของรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2540 ที่เปิดทางให้อำนาจการบริหารท้องถิ่น ทำให้ความเป็นชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในตัวและในวิถีชีวิตประจำวันถูกเปิดโอกาสให้มีพื้นที่ในการแสดงออก จึงถือว่ารัฐมีส่วนผลักดันในสิ่งที่มีอยู่ในตัวตนชาติพันธุ์ใช้เป็นจุดขายเพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว แต่กระนั้นการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในบริบทที่ต้องตอบสนองต่อนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นขายเพื่อการท่องเที่ยว ได้กลับเพิ่มเสริมความเป็นชาติพันธุ์ให้มีตัวตนและเกิดความเข้มแข็งขึ้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้น รัฐมีนโยบายที่ค่อนข้างกดทับ ปกปิดอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ แต่จากนโยบายปีพ.ศ. 2540 กลับเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ได้นำเสนอตัวตนให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

          อย่างไรก็ตาม ในงานได้ชี้ว่า การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นยองไม่ได้มีความเหมือนกัน แต่เกิดขึ้นจากหลากหลายประสบการณ์ ความรู้ การถูกบ่มเพาะและการศึกษา หรือแม้แต่การหยิบยืม ผสมผสาน ทำให้เกิดอัตลักษณ์แบบใหม่ที่ไม่ได้เป็นอัตลักษณ์ยองแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ในงานยังชี้ว่า การนำเสนออัตลักษณ์ของชาวยองนั้น ที่ดูเหมือนเป็นการนำเสนอเพื่อการตลาดหรือการท่องเที่ยว แต่หากวิเคราะห์กิจกรรมที่เกิดขึ้นและบทบาทต่าง ๆ ของกลุ่มชาวยองแล้วกลับกลายเป็นการต้องการประกาศความภูมิใจในความสำเร็จของคนยองที่มีความสามารถในการประสบความสำเร็จในการงาน อาชีพและธุรกิจ (108-112)

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพที่ 1.1 แผนที่ตั้งหมู่บ้านเวียงยอง หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (หน้า)
ภาพที่ 2.1 แผนที่จากสถานีรถไฟลำพูนไปบ้านเวียงยอง (หน้า)
ภาพที่ 2.2 แผนที่เวียงยอง แสดงพื้นที่นาและศูนย์ราชการ (หน้า)
ภาพที่ 2.3 แผนที่หมู่บ้านหนองช้างคืน (หน้า)
ภาพที่ 2.4 แผนที่หมู่บ้านอุโมงค์ (หน้า)
ภาพที่ 3.1 พิพิธภัณฑ์หลังแรกของทางวัดได้กลายเป็นอาคารนอนของพระสงฆ์ (หน้า 55)
ภาพที่ 3.2 พิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (หน้า 56)
ภาพที่ 3.3 พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ เฮือนยองวัดต้นแก้วหลังที่ 3 (หน้าที่ 56)
ภาพที่ 3.4 กลุ่มทอผ้าวัดต้นแก้ว (หน้า 58)
ภาพที่ 3.5 บรรยากาศภายในงาน (ภาพโดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ) (หน้า 65)
ภาพที่ 3.6 กลุ่มสมาคมชาวยองจังหวัดลำพูนเข้าร่วมงาน (ภาพโดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ) (หน้า 65)
ภาพที่ 3.7 บรรยากาศภายในงาน (ภาพโดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ) (หน้า 66)
ภาพที่ 3.8 บรรยากาศภายในงานหล่อพระเจ้าแสนทองทิพย์ (ภาพโดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ) (หน้า 66)
ภาพที่ 3.9 บรรยากาศภายในงานหล่อพระเจ้าแสนทองทิพย์ (ภาพโดยองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ) (หน้า 67)
ภาพที่ 3.10 ช้างสานไม้ไผ่ฝีมือสล่าชาวเมืองยองขนาดเท่าตัวจริง (หน้า 71)
ภาพที่ 4.1 ต้นสลากย้อมที่แต่ละหมู่บ้านส่งเข้าประกวด (หน้า 80)
ภาพที่ 4.2 ฐานต้นสลากย้อมที่ตกแต่งอย่างสวยงาม (หน้า 80)
ภาพที่ 4.3 เปรียบเทียบสลากย้อมของชาวบ้านกับต้นสลากย้อมที่ประกวด (หน้า 80)
ภาพที่ 4.4 การประกวดเล่ากะโลงที่วัดศรีสุพรรณ (หน้า 82)
ภาพที่ 4.5 ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 งานสลากภัต สลากย้อม วัดพระธาตุหริภุญชัย (หน้า 82)
ภาพที่ 4.6 หนังสือประกอบการสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับเทวบุตรหลวง (หน้า 96)
ภาพที่ 4.7 ภาพร่างออกแบบเทวบุตรหลวงในระยะแรก โดยอาจารย์ ลีปีกร มาแก้ว (หน้า 97)
ภาพที่ 4.8 รูปหล่อเทวบุตรหลวงที่เสร็จแล้ว (หน้าที่ 98)

Text Analyst อัสรี มาหะมะ Date of Report 15 ม.ค. 2564
TAG ยอง, อัตลักษณ์คนยอง, การประกอบสร้าง, การเมืองเรื่องการประกอบสร้าง, ลำพูน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง