สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คนยอง, ลำพูน, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์
Author อภินันท์ ธรรมเสนา
Title การประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มคนยองในจังหวัดลำพูน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 211 Year 2553
Source วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

งานวิจัยเล่มนี้ ผู้ศึกษาต้องการทราบถึงอัตลักษณ์ความเป็นยองในจังหวัดลำพูน ภายในสังคมชุมชนท้องถิ่น และความเป็นยองจากมุมมองของกลุ่มเยาวชนในท้องที่ ผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่เพื่อทำการศึกษาเชิงทดลอง ตามแนวมานุษยวิทยาทัศนา โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเข้าไปสังเกตการณ์ ตามกระบวนการที่วางไว้ โดยเริ่มจากการให้กลุ่มเยาวชนระดมสมองเพื่อเลือกหัวข้อนำเสนอความเป็นยองในรูปแบบสารคดี ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการทำสารคดี การวางแผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเยาวชน โดยผู้ศึกษาจะคอยสังเกตการณ์สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการทำงานของกลุ่มเยาวชนจนพบว่า (1)สารคดีที่กลุ่มเยาวชนนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นยองนั้นเป็นการสะท้อนเรื่องราวในอดีต ผ่านการสอบถาม สัมภาษณ์จากผู้สูงอายุที่เคยผ่านประสบการณ์เหล่านั้นมาก่อน (2) กลุ่มเยาวชนสะท้อนความเป็นยอง และความเป็นท้องถิ่น (การอู้กำเมือง) ว่าเป็นสิ่งที่ทดแทนกันได้ ซึ่งแตกต่างจากมุมมมองของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน และ (3) การนำเสนอสารคดีของกลุ่มเยาวชนเป็นการผลิตซ้ำและสร้างความหมายใหม่ โดยมองว่าหัวข้อที่นำเสนอในสารคดีเป็นเรื่องลึกลับมากกว่าการเป็นเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีต 

Focus

งานวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองตามแนวมานุษยวิทยาทัศนา ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับ(1) ความเป็นยองในจังหวัดลำพูนภายในชุมชนท้องถิ่น ที่มีชุดความรู้ของการเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา และรัฐไทยภายใต้โครงการวิจัยท้องถิ่น และ(2)ความเป็นยองตามสำนึกของกลุ่มเยาวชน ที่เป็นกลุ่มคนภายใต้กระแสโลก พร้อมกับการดำรงซึ่งความเป็นคนยองในท้องที่ ตลอดจนเป็นกลุ่มที่ได้รับข้อมูลความเป็นยองจากการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นภายใต้โครงการวิจัยท้องถิ่น

Theoretical Issues

ผู้วิจัยนำการศึกษาเชิงทดลองตามแนวมานุษยวิทยาทัศนามาใช้เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นยองในจังหวัดลำพูน จากชุมชนวัดประตูป่า และความเป็นยองจากกลุ่มเยาวชนในชุมชน ในรูปแบบสารคดี เพื่อสะท้อนแนวคิดในการเลือกรับ/ต่อรอง/ช่วงชิงอัตลักษณ์ความเป็นยองที่เกิดขึ้น โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่เพื่อเข้าไปสังเกตการณ์สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชน ตลอดจนเข้าไปช่วยให้ทักษะการทำสารคดีแก่กลุ่มเยาวชนเพื่อให้เกิดการนำเสนอจากมุมมองประสบการณ์ของเยาวชนอย่างแท้จริง

Ethnic Group in the Focus

คนยองในจังหวัดลำพูน มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับกลุ่มไทลื้อที่อาศัยในเมืองยอง ในจังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า 

Language and Linguistic Affiliations

ภาษายอง ภาษาไทยเหนือ ภาษาไทยกลาง

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2553

History of the Group and Community

คนยองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับไทลื้อ ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณปลายสุดของรัฐฉานด้านตะวันออก ห่างจากชายแดนแม่สายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 157 กิโลเมตร โดยปัจจุบันเมืองยองเป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า และเมื่อพ.ศ. 2348 หรือราว 200 ปีก่อน ในสมัยพระเจ้ากาวิละเข้าตีเมืองเชียงตุงและกวาดต้อนผู้คนที่อาศัยในเมืองยอง ประเทศพม่า ในรูปแบบเทครัว หรือเป็นการอพยพที่นำระบบสังคมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าเมือง บุตร ภรรยา ขุนนาง พระ และไพร่ จำนวนมากกว่า 10,000 คน เข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ และกระจายตัวไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ซึ่งนับได้ว่ากลุ่มคนยองที่อพยพมาในจังหวัดลำพูนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานของเมืองลำพูนเนื่องจากเป็นกลุ่มพลเมืองหลักในพื้นที่นั้น และด้วยลักษณะการอพยพดังกล่าวนี้จึงทำให้การเอาความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสำนึกความผูกพันกับถิ่นฐานเดิมเข้ามาด้วย  

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

90% ของประชากรเป็นคนยองที่อพยพมายังลำพูนเมื่อ 200 ปีก่อน และประชากรร้อยละ 2 เป็นคนไตยวนหรือคนเมือง และประชากรที่เหลือเป็นคนไทยกลางที่เข้ามาอยู่ใหม่

Economy

ไม่มี

Social Organization

ไม่มี

Political Organization

ไม่มี

Belief System

ไม่มี

Education and Socialization

ไม่มี

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

อัตลักษณ์ความเป็นยองในจังหวัดลำพูน ไม่สามารถอธิบายได้อย่างตรงไปตรงมาอันเนื่องมาจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ดังนั้นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จึงเกิดการช่วงชิง ต่อรอง ผ่านการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับเงื่อนไขและผลประโยชน์ของแต่ละชุมชน ไม่ว่าจะเป็น(1) กระแสฟื้นฟูวัฒนธรรมในช่วงปีพ.ศ. 2530-2540 ซึ่งกลุ่มคนยองเองได้ประกอบสร้างความเป็นยองผ่านการสร้างเอกลักษณ์บางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการฟ้อนยอง การอู้กำยอง การมีสถาบันวิจัยหริภุญไชย การใช้ภาษายองในรายการวิทยุท้องถิ่น การประกวดเทพธิดายอง บทเพลงยอง หรือกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว (2)กระแสการท่องเที่ยว ที่วัฒนธรรมล้านนา หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ถูกทำให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก อบจ./อบต. หรือเทศบาลในการจัดกิจกรรมเพื่อรื้อฟื้นประเพณีอย่างสลากย้อม และ (3)ความเป็นยองในบทบาทวิชาการ หรือยองศึกษา เป็นการประกอบสร้างความเป็นยองในรูปแบบชุดความรู้ที่รับรองมาตรฐานความเป็นยองผ่านการศึกษาวิจัยจากโครงการวิจัยท้องถิ่น ที่สะท้อนว่าความเป็นยองเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพ
กลุ่มชาวยองจากเมืองยองที่เดินทางมาร่วมงานสืบสานตำนานยองลำพูน-ยองโลก หน้า 113
บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มเยาวชน หน้า 145
บรรยากาศการอบรมทฤษฎีการถ่ายภาพเพื่อสื่อความหมาย หน้า 156
บรรยากาศการอบรมเทคนิคการใช้กล้องวีดีโอ หน้า 156
บรรยากาศการอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับตัดต่อ หน้า 158
บรรยากาศการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุของกลุ่มเยาวชน หน้า 161
บรรยากาศการถ่ายทำสารคดีของกลุ่มเยาวชน หน้า 163
บางส่วนจากสารคดีเรื่อง "อดีตที่ถูกเลือนรางสู่ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง" หน้า 179
บางส่วนจากสารคดีเรื่อง "เจาะตำนานลึกลับของป่าม่วงจุม" หน้า 182
บางส่วนจากสารคดีเรื่อง "กิ๊ดเติงหาประจูป่าวัดบ้านเฮา" หน้า 185
 
แผนภาพ
การวิเคราะห์ชุมชนประตูป่าของเยาวชนกลุ่มที่ 1 หน้า 149
การวิเคราะห์ชุมชนประตูป่าของเยาวชนกลุ่มที่ 2 หน้า 149
การวิเคราะห์ชุมชนประตูป่าของเยาวชนกลุ่มที่ 3 หน้า 149

Text Analyst นุชจรี ศรีวิเชียร Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG คนยอง, ลำพูน, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง