สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,คนไทย,ความสัมพันธ์,วัฒนธรรม,พะเยา
Author สุทธิ จันทรวงษ์
Title วัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า-ไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 112 Year 2531
Source บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

ระดับวัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างคนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทยเป็นวัฒนธรรมในเชิงบวก โดยต่างฝ่ายต่างลดระดับอัตตนิยมวัฒนธรรม ไม่ค่อยถือเขาถือเรา และไม่มีความขัดแย้งในแนวโน้มที่สูงมากนัก มีแนวโน้มในการยอมรับสถานภาพซึ่งกันและกัน เพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวก ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และฐานะทางเศรษฐกิจ ปัจจัยส่วนใหญ่มีผลต่อวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างคนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทย ยกเว้นปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรม ในชุมชนนั้นไม่มีผลต่อวัฒนธรรมสัมพันธ์ ในคนไทยภูเขาเผ่าเย้า (หน้า 78-84)

Focus

ศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ระหว่างคนไทยภูเขาเผ่าเย้ากับคนไทย บ้านใหม่ร่มเย็น บ้านคุ้ม และบ้านสบสา อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (หน้า 80-84)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยภูเขาเผ่าเย้าและคนไทย เฉพาะบ้านใหม่ร่มเย็น บ้านคุ้ม และบ้านสบสา หมู่ที่ 11 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 5 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (หน้า 8)

Language and Linguistic Affiliations

คนไทยภูเขาเผ่าเย้าใช้ภาษาเย้า คล้ายกับภาษาจีนกลาง ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง บางคนใช้อักษรจีนเป็นตัวเขียน แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาเย้า (หน้า 3 )

Study Period (Data Collection)

งานวิจัยนี้ไม่ได้ระบุระยะเวลาที่ศึกษา ระบุเพียงวันที่สัมภาษณ์วิทยากร คือ ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม -10 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (หน้า 33)

History of the Group and Community

ในอดีตชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าอาศัยอยู่ ณ บริเวณตอนกลางของประเทศจีน ต่อมาอพยพลงมาทางทิศใต้ผ่านมณฑลกวางสี และ ยูนนาน เข้าสู่ตังเกี๋ย เวียดนาม ลาว และบริเวณภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน กำแพงเพชร นครสวรรค์ และหนาแน่นที่สุด คือที่จังหวัดพะเยา เย้าในจังหวัดพะเยาแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอำเภอแม่ใจ อพยพมาจากเชียงราย และกลุ่มอำเภอปงและอำเภอเชียงคำ อพยพมาจาก สปปล. ในปี พ.ศ.2508 รัฐบาลปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์บริเวณเทือกเขาสูงเขตรอยต่อกับ สปปล.บริเวณอำเภอเชียงคำ ปง จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ทำให้ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าบริเวณสู้รบได้อพยพไปอยู่หมู่ที่ 7 และ 11 บ้านใหม่ร่มเย็น ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ ซึ่งแต่เดิมเป็นเขตเลี้ยงสัตว์ของคนไทยพื้นราบ หมู่ที่ 5 บ้านสบสา และหมู่ที่ 6 บ้านคุ้ม การอพยพถิ่นฐานดังกล่าวทำให้เกิดการสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คือ คนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทยพื้นราบ (หน้า 4)

Settlement Pattern

ไทยภูเขาเผ่าเย้าอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใหม่ร่มเย็น มีที่ดินเพาะปลูกห่างไกลจากหมู่บ้าน เมื่อถึงฤดูเพาะปลูกจึงจะไปอาศัยอยู่บริเวณแหล่งเพาะปลูก ส่วนคนไทยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสบสา และบ้านคุ้ม (หน้า 30, 37)

Demography

คนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทยอาศัยอยู่ที่หมู่ 5 บ้านสบสา หมู่ที่ 6 บ้านคุ้ม หมู่ที่ 7 และ 11 บ้านใหม่ร่มเย็น ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,815 คน เป็นคนไทยจำนวน 1,583 คน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าจำนวน 232 คน จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 7 และ 11 บ้านใหม่ร่มเย็น จำนวน 232 คน หมู่ที่ 5 บ้านสบสา จำนวน 818 คน หมู่ที่ 6 บ้านคุ้ม จำนวน 765 คน (หน้า 29-30)

Economy

คนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทย มีอาชีพเพาะปลูกมากที่สุด รับราชการ ค้าขาย รับจ้าง และอาชีพอื่น ๆ กลุ่มชนทั้งสองต่างก็มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง (40,001 บาท ขึ้นไป) และฐานะทางเศรษฐกิจต่ำสุด (ต่ำกว่า 20,000 บาท) (หน้า 45 )

Social Organization

องค์กรทางสังคมที่พบมี ดังนี้ กรมประชาสงเคราะห์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา (หน้า 33) ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าและชาวไทยมีกิจกรรมพัฒนาที่กระทำร่วมกัน 3 โครงการ คือ โครงการกสช. โครงการพัฒนาหมู่บ้าน และโครงการพัฒนาสาธารณะสถาน(หน้า 38 )

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

คนไทยทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ส่วนคนไทยภูเขาเผ่าเย้านับถือผี ตามความเชื่อดั้งเดิม (หน้า 78-79)

Education and Socialization

คนไทยภูเขาเผ่าเย้าส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 คนไทยภูเขาเผ่าเย้าจะพูดคุยกับคนไทยมากกว่าที่คนไทยพูดคุยกับคนไทยภูเขาเผ่าเย้า การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาของไทยมีมากกว่าคนไทยภูเขาเผ่าเย้า (หน้า78-79)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การอพยพย้ายถิ่นของชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า บริเวณตอนกลางของประเทศจีนลงมาทางใต้ จนถึงประเทศลาว และบริเวณภาคเหนือของไทย จนกระทั่งถึงหมู่ที่ 7 และ 11 บ้านใหม่ร่มเย็น ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ ซึ่งแต่เดิมเป็นเขตเลี้ยงสัตว์ของคนไทยพื้นราบ หมู่ที่ 5 บ้านสบสา และหมู่ที่ 6 บ้านคุ้ม การอพยพถิ่นฐานดังกล่าวทำให้เกิดการสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คือ คนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทยพื้นราบ (หน้า 4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยภูเขาเผ่าเย้า กับคนไทยในชุมชนที่ศึกษาปรากฏผลดังนี้ คนไทยภูเขาเผ่าเย้าที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มจะมีวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวกมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก เช่น ด้านความขัดแย้ง คนไทยภูเขาที่มีอายุมากมีความขัดแย้งกับคนไทยมากกว่าคนที่มีอายุน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี เชื่อในคุณลักษณะแบบฉบับของกลุ่มทางวัฒนธรรม ส่วนผู้ทีมีอายุน้อยมีความคิดเสรีนิยมมากกว่า และมักจะยึดมั่นในอุดมการณ์มากกว่า (หน้า 54-55) ฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือต่ำไม่มีผลต่อวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวก (หน้า 59 -60) คนไทยภูเขาเผ่าเย้า และคนไทยที่มีระดับการศึกษาสูงมีแนวโน้มจะมีวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวกมากว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำ เนื่องจากผู้ที่ได้รับการศึกษาได้เรียนรู้แบบแผนของปฏิกิริยาโต้ตอบกันทางสังคม มีการปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้เข้ากับสังคม และมีโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารจากภายนอกมากกว่า ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมอื่นมากขึ้น รวมถึงการรับรู้ความเท่าเทียบกันในสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย (หน้า 64 - 65) นอกจากนี้พบว่า คนไทยภูเขาเผ่าเย้าที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับคนไทยมาก มีแนวโน้มจะมีวัฒนธรรมสัมพันธ์ในเชิงบวกสูง เนื่องจากการติดต่อสัมพันธ์กันบ่อยครั้งทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ทำให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น และมีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าผู้ที่ติดต่อสัมพันธ์น้อย (หน้า 70 -71)

Social Cultural and Identity Change

คนไทยภูเขาเผ่าเย้า อาศัยในบริเวณเทือกเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศ ประกอบอาชีพการเกษตรแบบทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาภายหลังรัฐแก้ปัญหาคนไทยภูเขาโดยให้ชาวเขาสำนึกในความเป็นคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย รัฐมีจุดมุ่งหมายผสมกลมกลืนคนไทยภูเขาเผ่าเย้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย นอกจากนี้ คนไทยภูเขาเผ่าเย้ามีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น โดยการยอมรับนวกรรมและวัฒนธรรมของคนไทย ตลอดจนนำเอาวิถีชีวิตแบบใหม่มาผสมผสานกับวัฒนธรรมของด้วย ( หน้า 4- 7 )

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst อัจฉรี ทิพย์วิเศษ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG เย้า, คนไทย, ความสัมพันธ์, วัฒนธรรม, พะเยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง