สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ซาไก,อัตลักษณ์ชาติพันธุ์,การสื่อสาร,การสื่อสารกับวัฒนธรรม,การปรับตัว,นครนายก,ภาคกลาง,ประเทศไทย,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author เชิญขวัญ ภุชฌงค์
Title การสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมืองในการปรับตัวและการแสดงอัตลักษณ์ แห่งชาติพันธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มานิ มานิค โอรังอัสลี อัสลี จาไฮ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
  • ฉบับพิมพ์: สำนักงานวิทยบริการ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Call No. 491072
  • ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ : คลังปัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://goo.gl/z3Eumv
  • ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Call No.HM258 .ช72 2549EB
Total Pages 264 Year 2549
Source วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

การศึกษาการสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมือง เกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหา และการแสดงอัตลักษณ์ ดำเนินการเก็บรวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ในจังหวัดนครนายก ได้แก่ กลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมือง จำนวน 4 คน และกลุ่มบุคคลที่เป็นคู่สื่อสารต่างวัฒนธรรมของกลุ่มซาไก จำนวน 13 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์และเจาะลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการสื่อสารขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยใช้ความร่วมมือของทั้งครอบครัวชาวซาไก และบุคคลคู่สื่อสาร ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการทำความเข้าใจวัฒนธรรมร่วมกัน การให้ความรู้หรือการศึกษา การใช้สื่อบุคคล สื่อมวลชน หรือสื่อเฉพาะกิจช่วยในการสื่อสาร การลดปัญหาการมองแบบเหมารวมหรือมีอคติ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลคู่สื่อสาร

ส่วนด้านอัตลักษณ์ ซาไกมีการแสดงอัตลักษณ์ที่เป็นปัจเจกผ่านทางวัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และพบว่าการแสดงความเป็นตัวตนจะแปรผกผันการอัตลักษณ์ที่ตนเองมี กล่าวคือ หากตนเองมีอัตลักษณ์น้อย การแสดงความเป็นตัวตนจะยิ่งมาก เช่น การวาดภาพโดยแทนรูปตนเองให้มีลักษณะผมหยิก หรือ การสัมภาษณ์ออกรายการโทรทัศน์ด้วยความภูมิใจที่สมาชิกในกลุ่มของตนได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง เป็นต้น

Focus

การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมือง ทั้งด้านปัญหา กระบวนการแก้ไขปัญหา การปรับตัว และกระบวนการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ โดยศึกษาจากกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาที่จังหวัดนครนายก และกลุ่มบุคคลที่เป็นคู่สื่อสารต่างวัฒนธรรมของกลุ่มซาไก

Theoretical Issues

แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethic Group)
อ้าง อมรา พงศาพิชญ์ (2538) กล่าวถึงชาติพันธุ์ หมายถึง คนที่มีจุดกำเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษา ตลอดจนความรู้สึกในเผ่าพันธุ์เดียวกัน (น.12) อ้าง Gudykunst และ Kim (1996) กล่าวถึง ลักษณะทางชาติพันธุ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของตนเองที่มีผลต่อการสื่อสารกับคนแปลกหน้า (น.14)

แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์
อ้าง อมรา พงศาพิชญ์ (2538) เกี่ยวกับแนวคิดระบบต่าง ๆ กล่าวถึง แนวคิดระบบรวม หมายถึง ระบบที่ประกอบไปด้วยส่วนย่อยต่าง ๆ และระบบย่อยนั้น ๆ ประสานกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในลักษณะที่สมดุลกัน การเปลี่ยนแปลงส่วนอื่น ๆ เกิดขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพ โดยมองว่าสังคมทั้งระบบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด (น.21) ส่วนแนวคิดเรื่องลักษณะชีวภาพหรือสีผิว ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกมาตั้งแต่อดีต มุ่งเน้นการวิเคราะห์จากแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ เกิดเป็นทฤษฎีความขัดแย้งเรื่องอคติ และการเลือกปฏิบัติ (น.23)

แนวคิดการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
เน้นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน แบบไม่ผ่านสื่อ เน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้า และปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน (น.26) โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับระหว่างบุคคล ระดับองค์กร และระดับมวลชน (น.26-32)
         
แนวคิดเกี่ยวกับอุปสรรคและปัญหาการสื่อสารทางวัฒนธรรม
กล่าวถึงสาเหตุของอุปสรรคและปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรม มี 3 ประการ คือ
 1. ด้านความรู้และความคิดเห็น เช่น การใช้ภาษาที่เข้าใจไม่ตรงกัน การใช้ระดับภาษาที่ไม่เหมาะสม ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา รวมถึงการขาดความรู้ทางวัฒนธรรม หรือรู้เพียงผิวเผิน
 2. ด้านทัศนคติและความรู้สึก ได้แก่ การรับรู้ที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น การมองแบบเหมารวม การด่วนสรุป และทัศนคติที่เป็นอุปสรรค เช่น อคติ การใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นศูนย์กลาง
 3. ด้านพฤติกรรม เช่น การหลบหลีกความแตกต่าง ความยึดมั่นในความเชื่อเดิม การไม่เคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง (น.32-35)

Ethnic Group in the Focus

ชาวซาไก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ของตนเอง ทั้งประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการเกิด หรือประเพณีการทำศพ (น.3)

สำหรับงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาครอบครัวชาวซาไก ที่อพยพจากถิ่นฐานเดิมในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา มาอยู่ในสังคมเมือง ที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครนายก โดยศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก (น.6, 59)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มชาวซาไกมีภาษาพูดเป็นของตนเอง เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) เป็นภาษาตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม (ไพบูลย์ ดวงจันทร์ 2523) ดังนี้
 1. ภาษาแต็นแอ๊น มีถิ่นฐานอยู่บริเวณจังหวัดพัทลุง สตูล
 2. ภาษาแตะเด๊ะ  มีถิ่นฐานอยู่บริเวณอำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
 3. ภาษายะฮายย์มีถิ่นฐานอยู่บริเวณอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
 4. ภาษากันซิว   มีถิ่นฐานอยู่บริเวณจังหวัดยะลา (น.3-4)

กลุ่มชาวซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาที่จังหวัดนครนายก สามารถพูดภาษาซาไก และภาษาไทยถิ่นใต้ได้ (น.65, 66, 68, 69)
ภาษาของชาวซาไกได้รับอิทธิพลจากภาษาของชนชาติใกล้เคียง และมีลักษณะสำคัญคือ
 1. มักใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ หรือเสียงของสัตว์นั้น ๆ
 2. สังคมซาไกเป็นสังคมเชิงเดี่ยว ไม่มีความซับซ้อน จึงไม่มีคำศัพท์ที่แยกความแตกต่างได้
 3. ภาษาของซาไกเป็นภาษาระดับเดียว (น.71)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลา 69 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (น.59)

History of the Group and Community

กลุ่มชาวซาไก มีหลายกลุ่มและหลายชื่อ บางกลุ่มมีการตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งเร่ร่อนกึ่งถาวร เป็นชุมชนขนาดเล็กประมาณ 10 ครัวเรือน สำหรับชาวซาไกในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ปัจจุบันเริ่มมีการปลูกข้าวและทำไร่เลื่อนลอยแต่ไม่ยึดเป็นอาชีพหลัก มีการตั้งถิ่นฐานถาวร บางกลุ่มอาจประกอบอาชีพล่าสัตว์ จับปลา และหาของป่า (น.18)

การแต่งกาย สมัยก่อนใช้ใบไม้ เปลือกไม้ หรือตะไคร้น้ำถักเป็นเครื่องนุ่งห่ม นิยมสวมเครื่องประดับ สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะใช้หวีเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์ (น.19)

Settlement Pattern

กลุ่มชาวซาไก มีการตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งเร่ร่อนกึ่งถาวร เป็นชุมชนขนาดเล็กประมาณ 10 ครัวเรือน สำหรับชาวซาไกในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ปัจจุบันเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานถาวร (น.18) หรือย้ายถิ่นฐานเดิมไปสู่สังคมเมือง (น.3)

Demography

อัตราการเกิดสูง แปรผันตรงกับอัตราการตายของเด็ก จำนวนประชากรจึงเพิ่มน้อย อีกทั้งได้รับผลกระทบจากการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร จึงจำเป็นต้องพบปะกับกลุ่มคนภายนอกมากยิ่งขึ้น (น.4)

Economy

ชาวซาไก ปัจจุบันเริ่มมีการปลูกข้าวและทำไร่เลื่อนลอยแต่ไม่ยึดเป็นอาชีพหลัก บางกลุ่มอาจประกอบดั้งเดิม เช่น ล่าสัตว์ จับปลา และหาของป่า (น.18)

ชาวซาไก ไม่สะสมทรัพย์สิน เมื่อได้รับเงินจะนำไปซื้อของจนหมด (น.4) ชาวซาไกได้รับการจ้างงานในราคาถูก (น.73)

ลักษณะทางเศรษฐกิจของชาวซาไกไม่ซับซ้อน ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า เมื่อรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือ จึงเริ่มประกอบอาชีพทำสวนยาง แต่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย จึงประกอบอาชีพรับจ้างถางป่า ทำสวน หรือหาสมุนไพรป่า (น.73)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวชาวซาไก เป็นครอบครัวแบบจุดเริ่มต้น ไม่พบปู่ย่าเนื่องจากชาวซาไกมีอายุสั้น และคู่แต่งงานใหม่จะแยกไปสร้างครอบครัวใหม่ (น.19)

Political Organization

ชาวซาไกจากจังหวัดยะลา รวมกลุ่มอาศัยอยู่ในอำเภอบันนังสตา ธารโต และเบตง จนกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาบริหารจัดการ และจัดระเบียบ ตั้งเป็นนิคมสร้างตนเองธารโต ในปี พ.ศ. 2506 โดยชักชวนชาวซาไกประมาณ 60 คน มาอยู่ในหมู่บ้าน มีพื้นที่ 300 ไร่ และพยายามจัดระเบียบครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2516 โดยรวบรวมชาวซาไกจากอำเภอเบตง และอำเภอบันนังสตา จำนวน 52 คน แล้วเปลี่ยนชื่อจากหมู่บ้านแหร เป็นหมู่บ้านซาไก อีกทั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานนามสกุล ศรีธารโต ให้ชาวซาไก เมื่อปี พ.ศ. 2518 และรัฐบาลได้อนุมัติสัญชาติไทยให้ชาวซาไก เมื่อปี พ.ศ. 2532 (น.5)

ซาไกในพื้นที่ดังกล่าว ปัจจุบันมีการย้ายถิ่นฐานไปสู่สังคมเมือง เนื่องจากสังคมเมืองมีความความสะดวกสบายและไม่อดอยาก (น.5)

Belief System

ชาวซาไกมีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง เช่น ต้นไม่ใหญ่มีผีสิงอยู่ หรือ เมื่อมีคนตายจะย้ายบ้านไปจากจุดเดิม เพราะเชื่อว่า คนที่ตายไปแล้วจะมีวิญญาณเหลืออยู่ จะมาหลอกญาติพี่น้อง และทำอันตรายคนที่ไม่ชอบ

ประเพณีการเลือกคู่ครอง ชาวซาไกจะแต่งงานเฉพาะวันสำคัญของปี ประมาณเดือน 5 ของทุกปี เป็นเวลาที่ชาวซาไกแต่ละกลุ่มจะได้พบปะกัน เนื่องจากมีสภาพอากาศเหมาะสม และเป็นช่วงเวลาในการเลือกคู่

ประเพณีการทำศพ ชาวซาไกจะฝังแคร่ไปพร้อมกับศพ มีกระบวนการห่อศพ มีพิธีซังย่อล ซึ่งเชื่อว่าเป็นเครื่องนำทางให้ผู้ตายไปสู่สุขคติ (น.18-19)

Education and Socialization

ชาวซาไกที่ออกมาใช้ชีวิตในสังคมเมืองเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบว่ามีปัญหาในการสื่อสารและปรับตัว เนื่องจากมีความเคยชินกับวิถีชีวิตในป่า ส่วนชาวซาไกที่ออกมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวได้ดีกว่า เนื่องจากมีความคุ้นชินกับสังคมภายนอก โดยเฉพาะการมีโอกาสได้รับการศึกษาในระบบตามที่รัฐบาลกำหนด สังเกตได้จากการใช้ภาษา (น.75)

Health and Medicine

ชาวซาไก มีหมอตำแย เป็นผู้ช่วยทำคลอด เรียกว่า โต๊ะดัน หรือ โต๊ะบิดัน (น.18)

ส่วนด้านสุขอนามัย แต่เดิมไม่รู้จักการดูแลทำความสะอาดร่างกาย ไม่ชอบอาบน้ำ หรือนาน ๆ อาบครั้งเพราะเชื่อว่าจะทำให้สัตว์ผิดกลิ่น จนไม่สามารถล่าสัตว์ได้ และเนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บริเวณที่มีลำธารน้ำไหลตลอดปี จึงสามารถทำความสะอาดได้โดยไม่จำกัดเวลา (น.74)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ชาวซาไกไม่นิยมสะสมสิ่งของ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีสิ่งของสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตเท่าที่จำเป็น เช่น มีด ทำจากอุปกรณ์กรีดยาง นำมาตัดแต่งให้พอใช้การได้ เครื่องครัวเดิมใช้กระบอกไม้ไผ่แทนภาชนะหุงต้ม ใช้ใบไม้แทนจาน ในปัจจุบันใช้เครื่องครัวแบบสังคมเมืองมากขึ้น เช่น หม้อ ชาม แต่มีใช้เท่าที่จำเป็น การเก็บเสื้อผ้าใช้กระสอบทรงแบนสานจากใบเตย ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 45 เซนติเมตร (น.72)

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มซามังซาไก เป็นชาวพื้นเมืองโบราณ สืบทอดเผ่าพันธุ์มาประมาณ 1,500 – 10,000 ปีมาแล้ว (น.2) อาศัยอยู่บริเวณแถบเทือกเขาในแหลมมลายู (น.3)

ลักษณะรูปร่างของชาวซาไก คล้ายกับพวกนิกริโตในแถบทวีปแอฟริกา แต่ความสูงและสีผิวเข้มน้อยกว่า ความสูงเฉลี่ยประมาณ 140 – 150 เซนติเมตร สีผิวค่อนไปทางสีน้ำตาลไหม้ กะโหลกศีรษะกลม ผมหยิกเป็นก้นหอยติดหนังศีรษะ โครงหน้ากลม แบนและกร้าน คิ้วโตหนา นัยน์ตาสีดำกลมโต จมูกแบนกว้าง ฟันซี่สั้นแต่ใหญ่ ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ใบหูเล็ก น่องสั้นเรียว ท้องป่อง สะโพกแฟบ นิ้วมือและนิ้วเท้าใหญ่ (น.3)

ลักษณะนิสัยชาวซาไก มีนิสัยร่าเริง ยิ้มง่าย พูดน้อย ตรงไปตรงมา นับถือใครแล้วจะเชื่อฟังอย่างเคร่งครัด นิสัยเฉพาะคือ ดำรงชีวิตตามอัตภาพ ไม่สนใจการสะสมทรัพย์สินเงินทอง ไม่สะสมอาหาร (น.3)

Social Cultural and Identity Change

เมื่อสังคมเมืองมีอิทธิพลเข้ามาในสังคมชาวซาไก จึงมีพฤติกรรมที่ปรับตัวมากขึ้น เช่น การใช้อุปกรณ์เครื่องครัวแบบสังคมเมืองแทนของเดิม เช่น ใช้หม้อ ชาม แทนการหุงต้มด้วยกระบอกไม้ไผ่ การแต่งกายแบบสังคมเมืองแทนการนุ่งห่มด้วยใบไม้ การดูโทรทัศน์แทนการออกล่าสัตว์หรือเที่ยวในป่า เป็นต้น (น.72)

Critic Issues

กรณีปัญหาการสื่อสาร การปรับตัว และการแสดงอัตลักษณ์

1. ปัญหาการสื่อสาร เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่าปัญหาการสื่อสารอยู่ในระดับปัญหาปานกลางถึงระดับปัญหามาก (น.90) และมีปัญหามากเมื่อเป็นชาวซาไกที่เคยอยู่ในวิถีชีวิตแบบเดิม (น.91) โดยมีรายละเอียดดังนี้
 - ไม่เข้าใจหรือไม่รู้ภาษาที่ใช้สื่อสาร เนื่องจากความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตในสังคมเดิม (น.76) ไม่สามารถแปลความจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้ภาษาหรือสำเนียงอื่นเป็นภาษาสื่อกลางในการสื่อสาร (น.77)
  - ไม่เข้าใจคำหรือสัญลักษณ์ เช่น เรียกโลหะทุกชนิดว่า เหล็ก (ช้อน ทัพพี ตะปู เรียกอย่างเดียวกัน) เห็นคำที่ขึ้นต้นด้วย ก.ไก่ จะอ่านว่า กรุงเทพ หมดทุกคำ (น.78)
 - ไม่สามารถเลือกใช้ระดับภาษาที่เหมาะสม เช่น ไม่ทราบว่าการพูดกับผู้ที่มีอาวุโสกว่า จะต้องใช้คำลงท้ายอย่างไร หรือตอบอย่างไร แต่ปัญหานี้จะลดลงเมื่อปรับตัวและใช้เวลาอยู่กับสังคมแบบใหม่มากขึ้น (น.87)

2. ปัญหาการปรับตัว
 ในบางกรณี ชาวซาไกปรับตัวทุกครั้งที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน เช่น ปรับตัวจากสังคมเดิมมาสู่สังคมภาคใต้ และปรับตัวจากสังคมภาคใต้ไปสู่สังคมเมืองภาคกลาง (น.77)
 - ความเคยชินกับวิถีชีวิตเดิม เช่น การกินอยู่ จะรับประทานอาหารจนหมด ไม่เก็บเหลือไว้ (น.101) ไม่มีการแบ่งอาหารเป็นมื้อ (น.103)
  - ความเคยชินในการเอาตัวรอด เช่น เมื่อทำผิดจะไม่บอกความจริง เกิดการหลีกเลี่ยงการสื่อสาร (น.104)
 - ความเคยชินเรื่องสุขอนามัย เช่น ไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์ทำความสะอาด และมักใช้เล่นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าเพื่อทำความสะอาด (น.104)
 - ขาดความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก (น.105) เคยชินกับการเล่นโลดโผน (น.106-107)
3. ขาดความรู้ในการสื่อสารตามวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพิจารณาภาพรวม พบว่าปัญหาการสื่อสารตามวัฒนธรรมใหม่ ส่วนใหญ่มีปัญหาในระดับปานกลาง (น.95)
  - การแสดงมารยาททางสังคม เช่น ไม่เข้าใจการทักทาย ไม่ทราบว่าเมื่อใดควรขอบคุณหรือสวัสดี              (น.92)
 - ขาดความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ประเพณีทางศาสนา เนื่องมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม (น.94)
4. การหลีกเลี่ยงการสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรม เนื่องจากมีรูปร่างที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างชัดเจน และมักแสดงอาการ ไม่พอใจที่คนอื่นเห็นว่าตนแตกต่าง (น.96) เป็นต้นเหตุที่ไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ เช่น ลาออกจากโรงเรียน (น.98) ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ต้องการสื่อสารกับคนที่ไม่ไว้วางใจหรือมองตนเองในแง่ลบ (น.99)

อีกทั้ง ขาดความพยายามปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ เช่น วิธีการใช้เงิน มักใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือใช้จ่ายเกินจริงเพราะความซื่อ  ไม่มีการเก็บออม (น.110) ไม่ประกอบอาชีพ เนื่องจากที่อยู่เดิมมีความอุดมสมบูรณ์ในการหาเลี้ยงชีพ ไม่เห็นความจำเป็นและไม่เข้าใจว่าเหตุใดจะต้องประกอบอาชีพ (น.111)

นอกจากนี้ พบว่า มีปัญหากับการมองแบบอคติ และการมองแบบเหมารวม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทั้งฝ่ายชาวซาไก และฝ่ายบุคคลที่แวดล้อมชาวซาไก (น.114) เช่น รูปลักษณ์ สีผิว สายตา

Other Issues

ไม่มี

Google Map

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD+%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%95+%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2/@6.0469259,100.9884366,10z/data=!4m5!3m4!1s0x31b48944eb8c0d35:0x30223bc2c368650!8m2!3d6.0759921!4d101.2977322

Map/Illustration

ภาพ
- เข้าใจในวิธีทำการเกษตร (น.135)
- การใช้สื่อสารมวลชน (น.141)
- ความสัมพันธ์ระหว่างซาไกกับบุคคลแวดล้อม (น.150)
- ได้รับการยอมรับ (น.154)
- การแต่งกายเพื่อปกปิดความแตกต่าง (น.162)
- การปกปิดการแสดงอัตลักษณ์ทางรูปร่าง (น.164)
- การใช้สิ่งอำนวยความสะดวก (น.173)
- ชีวิตในโรงเรียน (น.251 - 252)
- ชีวิตที่บ้าน (น.253)

Text Analyst นิกร สังขศิริ Date of Report 17 ก.ย. 2563
TAG ซาไก, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์, การสื่อสาร, การสื่อสารกับวัฒนธรรม, การปรับตัว, นครนายก, ภาคกลาง, ประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง