สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชาวจีนฮกจิว, อำเภอนาบอน, นครศรีธรรมราช, ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ชาวจีนในภาคใต้
Author ปิยชาติ สึงตี และสิรีธร ถาวรวงศา
Title ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิว อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีน จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหลำ ไหหนำ จีนกวางตุ้ง จีนแคะ, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 177 Year 2553
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
Abstract

งานวิจัยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิว อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาผ่านทางเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการเก็บข้อมูลบอกเล่าจากผู้สูงอายุในพื้นที่ ที่ถูกถ่ายทอดมาจากของบรรพบุรุษมายังลูกหลาน โดยศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนฮกจิวที่มายังอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่ชาวจีนฮกจิวอพยพมายังประเทศไทย ในสมัยที่เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือครองที่ดิน พ.ศ. 2473 โดยในช่วงแรก ชาวจีนฮกจิวที่อพยพมามีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หรือนโยบายชาตินิยมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ล้วนส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนฮกจิว นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องการศึกษามิติทางวัฒนธรรมในการก่อตั้งระบบวิถีชุมชน หรือการมีธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น เช่น ด้านอาหาร พิธีกรรม เป็นต้น

Focus

งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนฮกจิวที่เข้ามาตั้งรกรากในอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนวิถีชุมชนและมิติทางวัฒนธรรมของชาวจีนฮกจิวในอดีต และที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

Theoretical Issues

ผู้วิจัยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม ตามวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างชาวจีนฮกจิว แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 – 70 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 40-60 ปี และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ภายใต้การตั้งคำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนฮกจิวมาจากเมืองซีเทียวัน รัฐเประ ประเทศมาเลเซียมายังอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย ตลอดจนวิถีทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งตั้งรกรากในพื้นที่แห่งนี้

Ethnic Group in the Focus

ชาวจีนฮกจิวที่มีถิ่นฐานมาจากเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจียน สาธารณรัฐประชาชนจีน

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาจีนสำเนียงฮกจิว (ตารางเทียบภาษาจีนกลางกับจีนฮกจิว หน้า 90-97)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2553-2554

History of the Group and Community

ชาวจีนฮกจิวที่อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชาวจีนฮกจิวที่มีถิ่นฐานมาจากเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจียน สาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเทือกเขาสูงไม่สามารถสร้างพื้นที่ทำกินได้ ก่อให้เกิดการปล้นสะดมของกลุ่มโจรสลัดประกอบกับปัญหาทางการเมืองในประเทศ จึงทำให้ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพมาทางทะเลจีนใต้เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งเมืองซีเทียวัน รัฐเประ ประเทศมาเลเซียก็เป็นจุดหมายหนึ่งที่ชาวจีนฮกจิว อพยพมาเป็นแรงงานในไร่พริกไทย ซึ่งต่อมาอังกฤษได้นำต้นยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจเข้ามาปลูกในเมืองดังกล่าวเพื่อแสวงหาประโยชน์ ภายใต้โครงการบุกเบิกพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ของสำนักข้าหลวงอังกฤษ จนเมื่อ พ.ศ. 2456 ชาวจีนฮกจิวได้ขาดแคลนที่ดินทำกินจากกฎหมายคุ้มครองและสงวนที่ดินชาวมลายู จึงได้อพยพออกมาหาโอกาสที่ดีขึ้น โดยอพยพมายังประเทศไทยผ่านเส้นทางการคมนาคมทางรถไฟที่สะดวกขึ้น จากอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ต่อรถไฟชุมทางสถานีทุ่งสง และเดินเท้ามายังอำเภอนาบอน หรือเดินทางมาทางเรือจากเกาะปีนัง ต่อมายังท่าเรือกันตัง จังหวัดตรัง และต่อรถไฟชุมทางทุ่งสง ประกอบกับการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติมีการจับจองที่ดินทำกินคนละ 50 ไร่ โดยมีชาวจีนฮกจิวอพยพมาในช่วงแรกจำนวน 10 คน (หน้า 61)  
แม้ว่าช่วงแรกชาวจีนฮกจิวที่เข้ามายังอำเภอนาบอน จะมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก เนื่องด้วยเป็นพื้นที่รกชัฎ และต้องใช้แรงงานถางทางเพื่อทำการเพาะปลูกต้นยางพารา ตลอดจนต้องรอจนกว่าต้นจะสามารถกรีดน้ำยางได้ราว 5-6 ปี วิถีชีวิตของชาวจีนฮกจิวยังต้องดำเนินไปโดยการปลูกผัก เลี้ยงหมู กินข้าวไร่ แม้ว่าต่อมาชาวจีนฮกจิวกลุ่มนี้จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการกรีดยางพารา และนำไปแปรรูปเพื่อส่งขาย ชาวจีนฮกจิวยังต้องเผชิญกับภาวะสงครามโลก และการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการตั้งถิ่นฐาน แม้ว่าต่อมาเบื้องต้นการปกครองของสยามประเทศเอื้อต่อการแสงหาโอกาสทำกินของชาวจีนฮกจิว จนสามารถมีฐานะที่ดีขึ้นได้ และเกิดการขยายตัวของครอบครัวไปยังพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการแต่งงาน ชาวจีนฮกจิวจึงอาศัยในบริเวณอื่นๆ เช่นในจังหวัดตรัง 

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

ไม่มี

Economy

ชาวจีนฮกจิวในอำเภอนาบอน เมื่อครั้งอพยพมายังประเทศไทยได้นำเมล็ดต้นยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ จากเมืองซีเทียวัน รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย มาเพาะปลูก และเมื่อต้นยางพารามีน้ำยางแล้วจึงเริ่มกรีดนำยางที่ต้นตั้งแต่ช่วงเช้า มาเก็บน้ำยางเพื่อนำไปแปรรูปขายส่งตลาด

Social Organization

การแต่งงาน – ชายชาวจีนฮกจิวเมื่อครั้งอพยพมายังอำเภอนาบอน จะเริ่มแต่งงานเมื่อสร้างตัวได้ คือหลังช่วงที่สามารถขายยางพาราแปรรูปส่งตลาดได้แล้ว โดยมักจะแต่งงานกับชาวจีนสำเนียงเดียวกันจากชุมชนอื่นๆ เช่น ในจังหวัดตรัง เพื่อสร้างเครือข่ายชาวจีน และเป็นเส้นทางในการเดินทางค้าขาย โดยมีพ่อสื่อแม่สื่อเป็นผู้แนะนำให้รู้จักกัน
ระบบชุมชน – ในระยะแรกของการตั้งถิ่นฐานที่อำเภอนาบอน ไม่มีผู้นำชุมชน จนเมื่อมีการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นความขัดแย้งจึงเริ่มก่อตัว อีกทั้งการติดต่อกับทางการก็ไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้จึงเริ่มมีคนกลางในการช่วยประสาน และพัฒนาเรื่อยมาในรูปแบบสมาคมที่มีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการ การรับสมัครสมาชิก ระเบียบและข้อตกลงร่วมกัน โดยถือเป็นพื้นที่กลางของชุมชน ในการพบปะพูดคุย และยังเป็นห้องสมุดจุงซัน หรือจุงซันเป้าเซ่อ โดยสมาคมจุงซันได้สร้างสาธารณกุศลอย่างมากแก่ชาวจีนฮกจิวในอำเภอนาบอน แต่ในปัจจุบันสมาคมจุงซันได้ลดบทบาทลง โดยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมฟุโจวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชาวจีนฮกจิวทั้งในและต่างประเทศ

Political Organization

ในช่วงแรกนโยบายสิทธิถือครองที่ดินของชาวต่างชาติในสยามประเทศ เป็นไปอย่างเสรี เนื่องจากรูปแบบการปกครองที่ไม่เน้นการพัฒนาพื้นที่ในชนบท จึงทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าของ และรกร้าง โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศ จึงทำให้เกิดโอกาสในการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าของชาวจีนฮกจิวที่เริ่มเข้ามาจับจองที่ดินเป็นจำนวนมาก
ต่อมาชาวจีนฮกจิวในอำเภอนาบอนประสบปัญหาภาวะขาดที่ดินทำกินในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475สืบเนื่องมาถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่รัฐมีนโยบายส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนชาวไทย โดยพัฒนาที่ดินเป็นเชิงเกษตรกรรม ผ่านการอ้างสิทธิพื้นที่ป่าสงวนบริเวณรอยต่ออำเภอนาบอนและอำเภอช้างกลาง จึงส่งผลต่อการริดรอนพื้นที่ทำกินของชาวจีนฮกจิว นอกจากนี้ ยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจยังถูกรัฐควบคุมโดยการจัดตั้งกองการยาง ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ขึ้นตรงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์การสวนยาง ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวจีนต้องอพยพไปยังพื้นที่ใหม่ บางพวกกลับไปยังมาเลเซีย และบางคนตัดสินใจจบชีวิตที่สวนยาง

Belief System

เทศกาลประจำปี

  1. เทศกาลตรุษจีน ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน โดยก่อนช่วงเทศกาลชาวจีนฮกจิวจะทำความสะอาดบ้าน และประดับประดาบ้านเรือนให้สวยงาม และในวันตรุษจีนชาวจีนฮกจิวจะถือเป็นวันหยุด และนิยมใส่เสื้อผ้าใหม่ รวมทั้งจะให้อั่งเปาแก่ลูกหลาน หรือให้พ่อแม่  สำหรับขนมที่นิยมไหว้บรรพบุรุษ ได้แก่ ขนมอิ๊ ขนมจันอับ และน้ำชา
  2. เช็งเม้ง (ชิงหมิง) ตรงกับวันที่ 5 เดือน 3 ของจีน หรือ 5 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ โดยลูกหลานจะทำความสะอาดสุสานหรือฮวงซุ้ย ตกแต่งด้วยกระดาษสี หรือธงสี พร้อมทั้งอาหารคาว ผลไม้ เผากระดาษเงิน กระดาษทอง เสื้อผ้าที่ทำจากกระดาษเพื่อให้บรรพบุรุษใช้ในปรโลก และถือเป็นการรวมตัวกันของญาติพี่น้อง
  3. เทศกาลไหว้ขนมจ่าง ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน โดยมักเซ่นไหว้ขอพรจากเทพเจ้าเพื่อให้ครอบครัวประสบแต่ความสุข
  4. ประเพณีสารทจีน ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณไร้ญาติ โดยมีการเซ่นไหว้เจ้าที่ บรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติ ด้วยขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และน้ำชา
  5. เทศกาลไหว้พระจันทร์ (วันสารทตงซิว) ตรงกับวันที่ 15 ค่ำ เดือน 8 ของจีน ซึ่งเป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวของฤดูใบไม้ร่วง และมีอากาศที่ปลอดโปร่ง จึงมีการบูชา และขอบคุณเทพเจ้า ซึ่งชาวจีนภายใต้สังคมเกษตรเชื่อว่าพระจันทร์ หมายถึงพลังอำนาจ ที่ควบคุมความเป็นตายของมนุษย์ได้ และกระต่ายที่เป็นผู้บันดาลให้เกิดพืชผลต่างๆ ซึ่งการเซ่นไหว้จะประกอบด้วยขนมไหว้พระจันทร์ ขนมโก๋ ขนมเปี๊ยะ ผลไม้ และน้ำชา
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิต
  1. การแต่งงานในอดีตฝ่ายชายจะนำขนมแหล่เปี้ยง หรือขนมสินสอดเพื่อเป็นการเชิญญาติผู้ใหญ่ และหาบไปยังครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อสู่ขอ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ขนมเปี๊ยะแปะด้วยกระดาษสีแดง หรือคุ๊กกี้ที่มีกล่องแดง นำไปให้ครอบครัวฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงาน 10 – 20 วัน เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่นำเงินขวัญถุง หรือของขวัญมามอบในวันงาน ส่วนในพิธีแต่งงานของชาวจีนฮกจิวจะไม่มีการยกน้ำชา แต่บ่าวสาวจะยืนคำนับผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ที่นั่งเก้าอี้เรียงตามลำดับอาวุโสของฝ่ายเจ้าภาพ และมีการมอบเงินขวัญถุงหรือของขวัญแก่คู่บ่าวสาว ต่อด้วยการเคารพบรรพบุรุษ เคารพฟ้าดิน และเคารพบ่าวสาวตามลำดับ ทั้งนี้ พิธีแต่งงานของชาวจีนฮกจิวนิยมจัดขึ้นที่สมาคมฟุโจวแห่งประเทศไทย ศาลาประชาคม หรือสมาคมคลองจัง ในอำเภอนาบอน ในรูปแบบงานเลี้ยงโต๊ะจีนที่มีอาหารสูตรเฉพาะที่ขึ้นชื่อของชาวจีนฮกจิวให้แก่แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน
  2. งานศพชาวจีนฮกจิวนิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศล 3 – 10 วันตามความเหมาะสม ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลกิจ มูลนิธิบุญประทีป และสมาคมคลองจัง โดยลูกหลานผู้ตายจะนำอาหารที่ผู้ตายชอบรับประทานมาเซ่นไหว้จำนวน 3-4 อย่าง มาเลี้ยงในช่วงเช้า และช่วงเย็น และจะใช้ถ้วยชามชุดเดียวกันตลอดทั้งงานจนกว่าจะออกศพ สำหรับการแต่งกายลูกหลานผู้ตายต้องติดผ้าไว้ทุกข์ที่แขนเสื้อ โดยผู้ชายจะติดผ้าไว้ทุกข์ที่แขนซ้าย และแขนขวาสำหรับผู้หญิง ทั้งนี้การติดผ้าไว้ทุกข์จะมีสีผ้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ลูกชายและลูกสะใภ้ต้องติดผ้ากระสอบป่าน หลานในติดผ้าสีเหลือง หลานนอกติดผ้าสีน้ำเงิน ลูกสาวและลูกเขยติดผ้าสีดำ เมื่อออกศพแล้วจะมีการไว้ทุกข์เป็นเวลา 1 – 3 ปี
    3)    พิธีฮวงฮัว (กงเต๊กในแต้จิ๋ว) เป็นพิธีวางดอกไม้ หรือโปรยดอกไม้ เพื่อปล่อยความทุกข์ หรือไล่สิ่งอัปมงคลออกไปตามความเชื่อของลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในพิธีจะมีการสวดเป็นเวลา 6 ชั่วโมง โดยมีครูผู้ชายสวดประกอบดนตรี 16 คน และลูกหลานจะใส่ชุดกระสอบ แต่ไม่มีการข้ามสะพานเหมือนชาวจีนกลุ่มอื่นๆ สำหรับลำดับในการเคารพศพจะเรียงเป็น 3 ลำดับ ได้แก่ (1) ลูกชาย ลูกสะใภ้ ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน และหลายใน (2) ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว ลูกเขย และหลานนอก (3) น้องชาย น้องสะใภ้ และเครือญาติอื่นๆ โดยผู้เคารพต้องถือธูป และผลัดกันยกอาหาร ซึ่งในปัจจุบันนิยมนำหมูย่างทั้งตัวมาใช้ในพิธี เมื่อถึงการออกศพ จะมีการจุดประทัดเพื่อนำศพไปยังสุสานหรือวัด และเจ้าภาพจะนำผ้าขาวม้ามาแจกผู้ร่วมงานซึ่งถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธี 
  3. ความเชื่ออื่นๆ
    1)  การบูชาเจ้าที่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน โดยชาวจีนฮกจิวจะตั้งหิ้งเพื่อบูชาเทพเจ้า และตั้งศาลเจ้าที่บนพื้นดิน โดยมีการประดับไฟ และมีการนำอาหารคาว อาหารหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่มต่างๆ ในการสักการะ
    2)  การบูชาบรรพบุรุษ เป็นการแสดงความกตัญญู โดยมีการตั้งรูปหรือป้ายชื่อบนหิ้ง หรือบูชาเถ้าอัฐิ

Education and Socialization

เนื่องจากเกิดการขยายตัวของครอบครัวชาวจีนฮกจิวในอำเภอนาบอน ก่อให้เกิดความต้องการด้านการศึกษาสำหรับสมาชิกใหม่ ประกอบกับความเชื่อตามลัทธิขงจื๊อที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา จึงได้จัดตั้งโรงเรียนจงฮั้วขึ้นครั้งแรก โดยติดต่อคณะมิชชันนารีที่จังหวัดตรังมาช่วยในการจัดสร้างโรงเรียน โดยในช่วงแรกทำการเรียนการสอนเป็นภาษาจีน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนนาบอนวิทยา จนในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โรงเรียนปิดตัวลง แต่ปัจจุบันได้เปิดทำการเรียนการสอน โดยดำเนินงานในรูปแบบมูลนิธิ และใช้ชื่อว่า โรงเรียนสหมิตรบำรุง ทั้งนี้ ในอดีตมีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจีนฮกจิวที่ต้องตื่นเช้าเพื่อกรีดยาง และต้องใช้เวลาในการแปรรูปยางพาราเพื่อส่งออกราวครึ่งวัน แล้วจึงทำการเรียนการสอนในช่วงเวลาที่เหลือ

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ความบันเทิง – หลังจากความเป็นอยู่ที่ยากลำบากของชาวจีนฮกจิว ในอำเภอนาบอน สู่ช่วงเวลาที่พอลืมตาอ้าปากได้ ความบันเทิงของชาวจีนฮกจิว คือ งานเทศกาลประจำปีศาลแปะกงที่จัดขึ้นทุกเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อบูชาเทพเจ้าแปะกง โดยมักมีการแสดงงิ้วตลอด 5 วัน 5 คืน นอกจากนี้ ในอดีตยังมีโรงภาพยนตร์ในชุมชนอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวลงไปด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

อาหารเป็นทรัพยากรวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สามารถถูกกลืนและเลือนหายได้ ชาวจีนฮกจิวในอำเภอนาบอน มีผู้อนุรักษ์สูตรอาหารจีนฮกจิวดั้งเดิมเพียง 2 คน (หน้า 111) ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ที่ในปัจจุบันอาหารเหล่านี้ยังคงถูกใช้รับประทานในงานเลี้ยงของชาวจีนฮกจิว เช่น งานแต่งงาน ที่มีอาหารสูตรเฉพาะให้บริการแก่แขกที่ร่วมงาน อาทิ แฮกึ๊น ขาหมูตุ๋น หูฉลามหรือกระเพาะปลา หรืองานศพ ที่มีรายการอาหาร 5-6 อย่างเลี้ยงผู้ร่วมงาน เช่น หมี่เหลืองผัด แปดเซียน ราดหน้าไข่ (หน้า 112-119)

Map/Illustration

-แผนที่การอพยพของชาวจีนในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน (หน้า 32)
-แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลฝูเจียนและเมืองฝูโจว (ในแผนที่เขียนว่า Foochow) เป็นภูมิลำเนาเดิมของชาวจีนสำเนียงฮกจิว (หน้า 45)
-แผนที่แสดงการปกครองรัฐต่างๆ ของประเทศมาเลเซีย (หน้า 57)
-แผนที่รัฐเประ (Perak)(หน้า 58)
-แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (หน้า 65)

Text Analyst นุชจรี ศรีวิเชียร Date of Report 08 เม.ย 2565
TAG ชาวจีนฮกจิว, อำเภอนาบอน, นครศรีธรรมราช, ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ชาวจีนในภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง