สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,การเปลี่ยนแปลง,การรักษาโรค,เชียงใหม่
Author มาลี สิทธิเกรียงไกร
Title Changing Indigenous Health Care Practices of Akha People
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 11 Year 2541
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

รูปแบบการรักษาแบบดั้งเดิมของอาข่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างสาเหตุของการเจ็บป่วยกับวิธีในการรักษา สาเหตุของการเจ็บป่วยที่เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติและความสมดุลของร่างกาย รูปแบบในการรักษามีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมอผีผู้เชี่ยวชาญกับผู้ป่วย ในการยอมรับแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันผู้คนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรคแตกต่างไปจากเดิม จากการรับรู้ข้อมูลใหม่ ทำให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการรักษาจากดั้งเดิมไปสู่รูปแบบสมัยใหม่มากขึ้น และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (หน้า 10-11)

Focus

ศึกษารูปแบบการรักษาโรคแบบดั้งเดิมของกลุ่มอาข่า โดยมองถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นความเชื่อและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงศึกษาอิทธิพลของการรักษาในแบบตะวันตกต่อรูปแบบการรักษาแบบดั้งเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างหมอแบบดั้งเดิมและผู้ป่วย และเสนอความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างผู้วิจัยและชุมชนในช่วงการเก็บข้อมูลภาคสนาม (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่า หมู่บ้าน Huay I-Kho อำเภอ เชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1998

History of the Group and Community

อาข่าที่หมู่บ้าน Huay I-Kho ได้อพยพมาจากหมู่บ้าน Hin Daek ใน อ.แม่จัน จ.เชียงใหม่ ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาอยู่อาศัยรวมกับลีซูในพื้นที่ และในระยะเวลาต่อมาได้มีการอพยพเข้ามาเพิ่มเติมทั้งจากที่หมู่บ้าน Hin Daek และดอยช้าง ใน อำเภอ แม่จัน (หน้า 3)

Settlement Pattern

การเลือกพื้นที่ตั้งถิ่นฐานในอดีตจะมีผู้นำหมู่บ้าน (Yeu Ma) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเสี่ยงทายโดยโยนไข่บนพื้นถ้าไข่แตกถือว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมสามารถตั้งถิ่นฐานได้ แต่กลุ่มอาข่าที่ Huay I-Kho ไม่ได้ทำพิธีนี้เนื่องจากไม่มีผู้นำหมู่บ้านในขณะที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นทีหมู่บ้านปัจจุบัน (หน้า 3)

Demography

ปัจจุบันมีจำนวนประชากร 275 คน 46 ครอบครัว (หน้า 3)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่ดูแลและแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านรวมถึงการจัดระเบียบทางสังคม เนื่องจากอาข่ามีความเชื่อในเรื่องของเด็กแฝดและสัตว์ที่เกิดผิดธรรมชาติ จะต้องนำออกไปจากหมู่บ้าน แต่เนื่องจากกลุ่มอาข่าที่บ้าน Huay I-Kho ไม่มีผู้นำ ความเชื่อที่กล่าวข้างต้นไม่ได้รับการสืบทอด ปัจจุบันมีการใช้กฎหมายของรัฐในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (หน้า 4)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อของกลุ่มอาข่าที่หมู่บ้านนี้แตกต่างไปจากการรับรู้ทั่วไปของนักชาติพันธุ์วรรณา คือพวกเขาไม่มีความเชื่อในเรื่องประตูหมู่บ้าน (Lok Khor) และไม่มี เทพเจ้า Lan Xao God แต่ในหมู่บ้านนี้มีความเชื่อในเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยมีการแบ่งเทพเจ้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 A pii mee yea เป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นผู้สร้างโลกและสวรรค์ กลุ่มที่ 2 A peu pii เป็นวิญญาณผีบรรพบุรุษ เป็นผู้คุ้มครองหมู่บ้าน เมื่อมีเทศกาลพิธีกรรมจะทำพิธีเพื่อเลี้ยงผีในกลุ่มนี้ กลุ่มที่ 3 คือ วิญญาณทั่วไป วิญญาณในพิธีโล้ชิงช้า เจ้าป่า แม่น้ำ เทพในกลุ่มนี้โกรธเคืองง่าย (หน้า 4)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ในสังคมอาข่าดั้งเดิมมีความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเจ็บป่วย จากหลายประการดังนี้ 1. การเจ็บป่วยโดยการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติ อาข่าเชื่อว่าสิ่งเหนือธรรมชาติสามารถโกรธและก่อให้เกิดการเจ็บป่วยรวมไปถึงผลผลิตในไร่เสียหาย ด้วยเหตุนี้ จะต้องมีการทำพิธีบวงสรวงขอขมา ถ้าทำให้อำนาจเหล่านั้นโกรธเคือง 2. ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเสียขวัญ (Soul Essence) โดยเชื่อว่าขวัญในร่างกายของมนุษย์มีอยู่ 12 ส่วน ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากร่างกายก็จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ แต่ถ้าออกทั้ง 12 ส่วนก็จะตาย จะต้องมีการทำพิธีเพื่อเรียกขวัญกลับเข้าที่โดยหมอผีผู้มีความรู้เท่านั้นที่จะสามารถกระทำได้ 3. ความเจ็บป่วยจากธรรมชาติ อันเกิดมาจากอุบัติเหตุ หรืออาการปวดเมื่อยตามร่างกายจากการทำงาน โดยส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการใช้สมุนไพรหรือการการใช้ฝิ่น และมีการรักษาโดยการเอาเลือดออกจากร่างกายเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เนื่องจากเชื่อว่ามีเลือดไปที่สมองมากเกินไปต้องทำให้เกิดความสมดุลในร่างกาย (หน้า 4-5) รูปแบบและบทบาทในการรักษาแบบดั้งเดิม หมอผีผู้เชี่ยวชาญเป็นบุคคลที่สำคัญในการรักษา เพื่อสร้างสมดุลที่ดีระหว่างจิตวิญญาณ และร่างกายของมนุษย์ สำหรับหมู่บ้านอาข่า ได้มีหมอผีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้านมากนักเนื่องจาก ติดฝิ่น บางกลุ่มเลือกใช้การรักษาแบบสมัยใหม่มากกว่าเนื่องจากได้ผลดีกว่า และโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีความซับซ้อนการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผล และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีกลุ่มแพทย์เคลื่อนที่เข้ามาให้บริการในชุมชน ได้รับความนิยมอย่างมาก สาเหตุเพราะรักษาอาการโรคได้หายขาดและสามารถจ่ายค่ารักษาเป็นงวดได้ อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันการรักษาแผนใหม่ได้เข้ามาแทนที่การรักษาในแบบดั้งเดิมมากขึ้น (หน้า 6-9)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การรับรู้ข่าวสารใหม่ และการเข้ามาของรัฐในการจัดการด้านสาธารณสุข ส่งผลให้เกิดทางเลือกในการรักษาโรคมีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรักษาแบบดั้งเดิมมาใช้บริการโรงพยาบาล และแพทย์เคลื่อนที่ที่เข้ามาในชุมชน (หน้า 10-11)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG อาข่า, การเปลี่ยนแปลง, การรักษาโรค, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง