สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,กำมุ,ข่ามุ,เศรษฐกิจ,สังคม,การเมือง,การเปลี่ยนแปลง,น่าน
Author ชาติชาย มีเกิดมูล
Title การยอมรับวัฒนธรรมไทยของชาวข่ามุบรรณโศภิษฐ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 220 Year 2529
Source สาขาพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

การศึกษาเรื่องการยอมรับวัฒนธรรมไทยของข่ามุบรรณโศภิษฐ์ ได้ศึกษาวัฒนธรรมของข่ามุทั้งทางด้านสังคม ความเชื่อ เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของข่ามุเกิดขึ้นเมื่อมีการอพยพโยกย้ายถิ่นลงมาสู่พื้นราบ ทำให้วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการเมืองการปกครองต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวพื้นราบ ได้แก่ ทางเศรษฐกิจ ได้มีระบบการผลิตที่ซับซ้อน มีการรับพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เข้ามาเป็นพืชเศรษฐกิจ และผลิตเพื่อขายเป็นหลัก ทำให้มีการพึ่งพาตลาดของชุมชนคนไทยมากขึ้น ลักษณะทางสังคม ขนาดครอบครัวมีขนาดเล็กลง มีการใช้ภาษาไทยติดต่อกับคนนอกชุมชน สนับสนุนให้บุตรหลานเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน ยอมรับศาสนาพุทธควบคู่ไปกับการนับถือผี มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในรายละเอียดของกิจกรรมในขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนการรวมกลุ่มทางสังคมยังคงเป็นการรวมกลุ่มแบบธรรมชาติตามแบบบรรพบุรุษ ส่วนลักษณะทางการเมืองการปกครอง มีการยอมรับรูปแบบการปกครองตามกฏหมายของรัฐ แต่ยังคงรักษาการปกครองแบบดั้งเดิมในลักษณะของสายตระกูล โดยมีจารีตประเพณีเป็นเครื่องมือในการปกครอง (หน้า 217-218)

Focus

ศึกษา ข่า ที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลชนแดน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ข่ามุ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของข่ามุเป็นภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน เป็นภาษาในตระกูลมอญ-เขมร (หน้า 1) ข่ามุในจังหวัดน่านมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ ข่ามุฮอก ข่ามุลื้อ และข่ามุเลาะ ส่วนข่ามุชุมชนบรรณโศภิษฐ์นั้นเป็นข่ามุฮอก ข่ามุฮอกจะตั้งถิ่นฐานอยู่แถบอำเภอเชียงกลางและอำเภอทุ่งช้าง ในชุมชนที่ศึกษาภาษาข่ามุยังใช้เป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน (หน้า 79-80, 103)

Study Period (Data Collection)

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2527 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

History of the Group and Community

หลักฐานการมีบ้านเมืองหรืออาณาจักรของข่ามุไม่ปรากฏชัด มีเพียงข้อสันนิษฐานของ จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่าข่ากันฮางหรือข่าเก่าที่พงศาวดารจดไว้ว่าหนีมาทางภูคาและน้ำทานั้นคงจะได้แก่ พวกข่ามุ ที่มีมากที่สุดในแขวงหัวของหลวงพระบาง (หน้า 141) ส่วน ข่ามุ น่าจะเข้ามาอยู่ในเขตเมืองน่านตั้งแต่ พ.ศ.2329 ในสมัยเจ้าพระยามงคลวรยศ ซึ่งไปกวาดต้อนไพร่ไทยจากเมืองเชียงแสน หรืออาจจะเข้ามาใน พ.ศ.2355 ซึ่งเจ้าหลวงสุมนเทวราชขึ้นไปกวาดเอาผู้คนเมืองล้า เมืองพง เมืองเชียงแซง และเมืองหลวงภูคามาไว้ที่เมืองน่าน (หน้า 157) ข่ามุในจังหวัดน่านมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ข่ามุฮอก ข่ามุลื้อ และข่ามุเลาะ ข่ามุที่ชุมชนบรรณโศภิษฐ์ บ้านน้ำปาน ห้วยมอย ห้วยแกลบ น้ำหลุ เป็นข่ามุข่าฮอก ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณเมืองหลวงภูคา กองภูคาและระหว่างกองภูคามายังเมืองห้วยทราย ประเทศลาว แล้วอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน (หน้า 80) ส่วนข่ามุบ้านห้วยเลา เป็นข่ามุลื้อ ซึ่งมีลักษณะภาษาแตกต่างจากข่ามุฮอกในบางคำ ข่ามุลื้อจะนับถือศาสนาพุทธและผีเมือง ส่วนข่ามุฮอกนับถือผีปะกุ๋น และผีโสลก ที่เรียกว่า ข่าลื้อ เพราะได้รับวัฒนธรรมของไทยลื้อมาเป็นวัฒนธรรมของตนหลายอย่าง ข่ามุลื้อเป็นข่ามุที่อยู่ในเขตบรรณโศภิษฐ์มานานกว่าข่ามุฮอก โดยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยาวซึ่งเรียกว่า บ้านเก๊าม่วง และบริเวณห้วยน้ำบอนในเขตบ้านผาหลัก ตำบลยอด ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงอพยพไปอยู่ที่บ้านสบพาง ตำบลชนแดน บ้างก็ย้ายไปอยู่ที่อำเภอท่าวังผา (หน้า 83-84)

Settlement Pattern

หมู่บ้านข่ามุทั้ง 5 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ หมู่บ้านน้ำปาน บ้านห้วยมอย บ้านน้ำหลุ และบ้านห้วยเลา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยาว ส่วนหมู่บ้านห้วยแกลบตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำพริก ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะอยู่เป็นกระจุก และกระจายยาวไปตามสองข้างถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้าน บ้านเรือนส่วนใหญ่มีรั้วบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ติดถนน มีศาลาตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน 2 ศาลา คือ ศาลาโสลก และศาลากลางบ้าน ศาลาโสลกใช้เป็นสถานที่เลี้ยงผีของหมู่บ้าน และเป็นสถานที่ซ่อมแซมมีด พร้า และเครื่องมือเครื่องใช้ ต่าง ๆ เพราะในศาลาโสลกมีเตาเส่าหรือเตาสูบลมและทั่งตีเหล็กซึ่งถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะของหมู่บ้าน และต้องมีการเลี้ยงผีโสลก ส่วนศาลากลางบ้านใช้เป็นสถานที่ประชุมราษฎรและเป็นที่พักสำหรับพ่อค้าแม่ค้าและคนต่างถิ่น (หน้า 30, 33)

Demography

ตำบลชนแดนมีประชากร 166 หลังคาเรือน 236 ครอบครัว 1,164 คน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากประชากรเป้าหมาย 140 หลังคาเรือน 197 ครอบครัว 1,010 คน (หน้า 29) ระดับการศึกษาของข่ามุชุมชนบรรณโศภิษฐ์ มีการศึกษาต่ำกว่า ป.4 จำนวน 13 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.3 จบป.4 หรือ สูงกว่า ป.4 จำนวน 52 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 37.1 และไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 75 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 53.6 (หน้า 40) มีจำนวนผู้นับถือผีจำนวน 130 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 92.9 และมีเพียง 10 ครัวเรือน หรือร้อยละ 7.1 ที่นับถือผีและศาสนาพุทธ (หน้า 42) รูปแบบครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยวจำนวน 83 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 62.21 ครอบครัวขยายจำนวน 57 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 37.79 (หน้า 85)

Economy

ข่ามุ ชุมชนบรรณโศภิษฐ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่เป็นอาชีพหลัก เมื่อว่างจากการทำไร่จะหาของป่า ซึ่งได้แก่ เก็บลูกต๋าว ก้านแขมที่ใช้ทำไม้กวาด เก็บกวางหรือชัน และหวาย เมื่อได้มาก็จะนำไปขายให้กับพ่อค้า ข่ามุบางคนก็ยึดอาชีพเป็นพ่อค้ารายย่อย บางคนก็สามารถเลื่อนฐานะเป็นพ่อค้ารายใหญ่ในระดับตำบลและอำเภอ มีการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู หมา วัว ควาย และม้า และอาชีพรับจ้างนอกชุมชน (หน้า 37,47-64) ส่วนการทำไร่ มีการทำไร่ข้าวเหนียวและข้าวโพดเป็นหลัก โดยทำไร่แบบหมุนเวียน แต่ละครอบครัวมีที่ทำกิน 5-6 แห่ง แต่ละแห่งทำกินอยู่ 1-3 ปี แล้วย้ายไปแห่งใหม่ ปล่อยที่เก่าให้เป็นป่าเป็นการพักฟื้นดิน แล้วจึงเวียนกลับมาใช้อีกครั้ง การผลิตเป็นการผลิตเพื่อขาย และใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก แต่ถ้าไม่พอก็มีการเอามื้อหรือการลงแขกในแบบภาคกลาง แต่ถ้าไม่เอามื้อก็ต้องจ้างแรงงาน การปลูกข้าวจะใช้วิธีหยอดเมล็ด โดยใช้ไม้ปลายแหลมขุดหลุม อาศัยน้ำจากน้ำฝนไม่มีระบบชลประทาน (หน้า 44-46,48,66) ตลาดขายผลผลิตจะอยู่ที่อำเภอท่าวังผา หรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแม่ค้าเข้าเร่ขายอาหารสำหรับบริโภค เช่น ผัก เนื้อ ปลา ขนม ฯลฯ เข้ามายังหมู่บ้าน (หน้า 70-71)

Social Organization

ข่ามุ บรรณโศภิษฐ์มีครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ในระยะแรกครอบครัวของข่ามุมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย หลังการแต่งงานผู้ชายจะไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิงประมาณ 1-2 ปี จากนั้นจึงจะเริ่มแยกครอบครัวไปอยู่อิสระ หรือแยกไปอยู่กับครอบครัวของพ่อแม่ฝ่ายชายสักระยะหนึ่ง แล้วไปอยู่อิสระ นอกจากครอบครัวฝ่ายชายขาดแรงงาน ผู้หญิงจะไปอยู่กับฝ่ายชาย โดยจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้แก่ครอบครัวฝ่ายหญิง สังคมข่ามุให้สิทธิและเสรีภาพแก่สมาชิกภายในครอบครัวในเรื่องทั่ว ๆ ไป และการเลือกคู่ครอง สงวนสิทธิเสรีภาพไว้เพียงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผีปะกุ๋น ( ผีตระกูลของพ่อ) ที่ต้องให้ผู้ถือผี คือ พ่อเป็นผู้ตัดสินใจ สำหรับการอบรมสั่งสอนเด็กเป็นหน้าที่ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ข่ามุนิยมมีลูกมาก ประมาณ 4-6 คน ญาติของข่ามุมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ซึ่งมีอยู่ 12 ตระกูล โดยสืบทอดทางพ่อ เพราะพ่อจะถือผีประจำตระกูลที่เรียกว่า "ผีปะกุ๋น" ญาติที่มีความสัมพันธ์จากการแต่งงาน และญาติโดยการสมมุติซึ่งเกิดจากความสนิทสนมคุ้นเคย (หน้า 85-86,94,97,102) ข่ามุมีความผูกพันอยู่กับครอบครัวและญาติพี่น้องมาก เมื่อมีครอบครัวก็จะปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านของพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง และท้ายที่สุดก็กลายเป็นพี่น้องกันหมดทั้งหมู่บ้าน (หน้า 110)

Political Organization

ในอดีตข่ามุอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองน่าน ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มีการปกครองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ข่ามุในชุมชนบรรณโศภิษฐ์เป็นส่วนหนึ่งของตำบลชนแดน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (หน้า 159-160) ลักษณะการปกครองประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2-4 คน มีลักษณะเช่นเดียวกับหมู่บ้านคนไทยพื้นราบโดยทั่วไป (หน้า 42) ซึ่งเป็นลักษณะการปกครองแบบทางการโดยใช้กฎหมายของทางราชการปกครองราษฎรในหมู่บ้าน และการปกครองแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ระเบียบจารีตประเพณีที่ถ่ายทอดผ่านมาทางครอบครัว สายตระกูลและกลุ่มผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เป็นกฎที่ช่วยควบคุมสมาชิกในสังคม (หน้า 189)

Belief System

ข่ามุ นับถือผีเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ข่ามุ เรียก "ผี" ว่า "โฮร่ย" ผีที่ได้รับการนับถือ ได้แก่ ผีโสลก (โฮร่ยกุ้ง) ผีประกุ๋น หรือบางครั้งเรียก ผีเรือน (โฮร่ยก่าง) หรือผีพ่อแม่ ผีแม่ธรณี (โฮร่ยธรณี) ผีเมือง (โฮร่ยเมือง) (หน้า 113) ความเชื่อเรื่องผีโสลก โสลกเป็นศาลาที่มี เตาเส่า และ ทั่งตีเหล็ก หนึ่งหมู่บ้านจะมีเตาเส่าและทั่งตีเหล็กเพียงชุดเดียว การทำพิธีเลี้ยงผีโสลกเพื่อเป็นการขอบคุณเตาเส่าที่ทำให้ได้ผลิต และซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ทำการเกษตร และใช้ในชีวิตประจำวัน มีการจัดพิธีเลี้ยงผีโสลกในชุมชนข่ามุแตกต่างกัน บ้านห้วยเลาทำพิธีเลี้ยงในเดือน 4 และเดือน 8 ขึ้น 2 ค่ำ ส่วนบ้านน้ำปาน น้ำหลุ และห้วยแกลง กำหนดเลี้ยงประมาณเดือน 4-6 ส่วนบ้านห้วยมอยไม่มีพิธีกรรมเลี้ยงผีโสลกเพราะไม่มีเตาเส่าและทั่งตีเหล็ก แต่จะมาใช้กับบ้านน้ำปาน บ้านห้วยมอยจะเลี้ยงผีแม่ธรณีแทน โดยเลี้ยงปีละ 1 ครั้งหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วทุกครัวเรือน (หน้า 33,35,117) ผีปะกุ๋น (ผีพ่อแม่ของพ่อ) เป็นผีที่สำคัญที่สุด และแต่ละครัวเรือนจะมีผีปะกุ๋นประจำครัวเรือนของตน โดยจะใช้แนวขื่อเป็นเขตหวงห้าม ผู้ไม่ได้ถือปะกุ๋นเดียวกันจะก้าวล้ำไปไม่ได้ถือว่าผิดผี (หน้า 113) ผีเมือง เป็นผีที่ข่ามุลื้อบ้านห้วยเลานับถือ ประกอบด้วยผีเจ้าหลวงเวียงบง ผีพระยาบางและกำหนดเลี้ยงในเดือน 8 ขึ้น 3 ค่ำของทุกปี (หน้า 117) นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงผีไร่ เป็นพิธีที่ทำเพื่อขออนุญาตทำไร่ในป่าแก่ซึ่งเชื่อว่ามีผีป่าสิงอยู่ เมื่อประกอบพิธีเจ้าของไร่จะได้แรงงานในการถางไร่ซึ่งเป็นผู้มาร่วมในพิธี เครื่องเซ่นที่สำคัญคือ หมา และไก่ ก่อนที่จะเริ่มปลูกข้าวในเดือน 7-8 จะมีการทำขวัญข้าวก่อนที่จะนำพันธุ์ข้าวออกจากยุ้ง เพื่อให้ข้าวที่นำไปปลูกแข็งแรง ออกรวงแล้วได้ข้าวมาก ๆ และเป็นการเลี้ยงผียุ้งด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวก็จะมีการทำขวัญข้าวเช่นกัน (หน้า 46-47, 49) การนับถือผีของข่ามุนั้นเป็นการนับถือเพราะความสำนึกในบุญคุณของผี และมีการแสดงความกตัญญูกตเวทีโดยการทำพิธีเลี้ยงผี นอกจากนับถือผีแล้วข่ามุบางกลุ่มยังนับถือศาสนาพุทธควบคู่กัน โดยเฉพาะข่ามุลื้อเนื่องจากมีความใกล้ชิดกับไทยลื้อจึงได้มีการยอมรับวัฒนธรรมไทยลื้อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของตน (หน้า 208)

Education and Socialization

ในชุมชนข่ามุบรรณโศภิษฐ์มีโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 - ป.6 อยู่ 1 แห่ง (หน้า 104) ส่วนกระบวนเรียนรู้จากการอบรมสั่งสอนของครอบครัวนั้น พ่อแม่จะไม่ตีลูก จะลงโทษด้วยการดุด่าและตักเตือน เมื่อลูกเกิดอาการไม่สบาย เชื่อว่าเกิดจากความตกใจ พ่อแม่จะต้องทำขวัญหรือเลี้ยงผีให้ เด็กจะเรียนรู้ถึงทัศนคติ ค่านิยม และความสัมพันธ์ของบทบาทต่าง ๆ ของบุคคลในครอบครัว ตระหนักถึงอำนาจที่มีอยู่มากกว่าของพ่อแม่ทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจ อำนาจตามประเพณี อำนาจในการปกครอง หรืออำนาจทางร่างกาย ขณะเดียวกันเด็กก็จะรู้ว่าอำนาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ด้วยการเชื่อฟังและอยู่ในโอวาท (หน้า 212-213)

Health and Medicine

ข่ามุบรรณโศภิษฐ์ได้รับวัฒนธรรมการวางแผนครอบครัวจากสังคมภายนอก การยอมรับอาจมีปัจจัยในเรื่องการถูกจำกัดในเรื่องของที่ดิน ส่งผลให้มีผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอสำหรับครอบครัว จึงต้องจำกัดขนาดครอบครัวให้เล็กลง (หน้า 202)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะบ้านเรือนของข่ามุ มีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ บ้านที่ปลูกติดดินยกพื้นเฉพาะห้องนอนและห้องรับแขก ห้องครัวจะก่อกับพื้นดิน ทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงใบหญ้าหรือใบหวาย ปลายหลังคาตรงยอดจั่วมีกาแล ข่ามุ เรียก "ก๊าบกริอ๊าก" มีอยู่ที่จั่วหัวบ้านและท้ายบ้าน ส่วนลักษณะที่ 2 ตัวบ้านทั้งหลังยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร บางบ้านทำด้วยไม้ไผ่ใช้วัสดุลักษณะเดียวกับแบบที่ 1 และบางบ้านทำด้วยไม้กระดาน มุงด้วยสังกะสี ไม่มีกาแล รูปทรงบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน แบ่งเป็นห้องนอนและห้องรับแขก บ้านแบบแรกมีเตาไฟอยู่กลางบ้านเป็นเขตหวงห้าม มีห่อขวัญมัดไว้ที่ขื่อ ห้ามคนที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวเข้าไป ส่วนบ้านแบบที่ 2 ไม่มีห่อขวัญ แต่บ้านใดมีผีเรือนก็จะทำห้องสำหรับผีโดยเฉพาะมีเตาแต่ไม่ใช้ทำอาหาร จะใช้เตาที่อยู่นอกห้องสำหรับทำอาหารและผิงไฟ ประตูทางเข้าออกของบ้านแบบที่ 1 มีสองประตูจะมีประตูหนึ่งใช้เฉพาะวันเลี้ยงผีเรือน ส่วนบ้านแบบที่ 2 ประตูจะเป็นลักษณะเดียวกัน แต่บางบ้านก็มีประตูเข้าออกหลายประตูและเปิดใช้ทุกประตู (หน้า 32-33) การแต่งกายของข่ามุ : ปัจจุบันจะแต่งกายคล้ายคลึงกับคนไทยทั่วไป มีเพียงหญิงสูงอายุเท่านั้นที่แต่งกายตามวัฒนธรรมเดิม คือ สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือ ตัวเสื้อปล่อยชายยาวถึงบั้นเอวผ่ากลางอก มีรั้งกระดุม บางคนทำกระเป๋าที่หน้าอก บางคนไม่ทำ สีเสื้อเป็นสีดำมีขลิบแถบสีต่าง ๆ เล็ก ๆ คล้ายสีรุ้งอยู่ริมคอเสื้อ ริมตรงผ่ากลางอกและตามแขน หากมีฐานะดีจะประดับด้วยเงิน ส่วนผ้าซิ่นมีลายสีต่าง ๆ พาดขวางรอบตัว จะเป็นสีดำสีแดงมากกว่าสีอื่น เครื่องประดับ ถ้ามีฐานะดีจะสวมกำไลคอและกำไลแขนที่ทำด้วยเงิน หากฐานะไม่ดีจะไม่สวมหรือสวมเป็นกำไลคอและกำไลแขนที่ทำด้วยอลูมิเนียม พบการสักในหญิงและชายผู้สูงอายุเท่านั้น(หน้า 76)

Folklore

ตำนานของข่ามุ นานมาแล้วเมื่อครั้งพี่น้องซึ่งเกิดจากน้ำเต้ายังอยู่ร่วมกัน มีบุคคลผู้หนึ่งอาสามาเป็นครูสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้ แต่ก่อนสอนครูจะวัดพื้นฐานความรู้ โดยให้สานรองเท้ามาส่ง ฝ่ายข่ามุเป็นพี่ใหญ่เป็นคนเกียจคร้านต้องการให้งานเสร็จเร็ว จึงนำบวบแห้งไปแช่น้ำ ลอกเอาเปลือกและไส้ออก ส่วนกลางเป็นช่องสวมเท้าได้ จึงนำรองเท้าไปส่งครูก่อนน้อง ๆ ครูเห็นว่าเก่งแล้วไม่ต้องสอน จึงสอนวิชาความรู้ให้แก่น้อง ๆ ทำให้น้อง ๆ มีความรู้ความสามารถมากกว่าข่ามุ ส่วนข่ามุไม่ได้เรียนวิชาความรู้อื่นจึงมีความรู้เพียงการทำไร่อยู่ตามป่าเขาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 41) นิทานเรื่องเจ้าเจือง ข่ามุ กล่าวว่า พวกตนเคยมีเจ้าผู้หนึ่งเป็นผู้ปกครอง ชื่อเจ้าเจือง เป็นผู้มีความสามารถมาก ไปรบกับใครก็ชนะหมด แต่เมื่อเจ้าเจืองมีอายุมาก มีพระยาคนหนึ่งมาท้าทายเจ้าเจืองให้ประลองฝีมือด้วย เจ้าเจืองรับคำท้า ผลคือ เจ้าเจืองถูกฆ่าตาย ไพร่พลจึงนำศพเจ้าเจืองไปฝังไว้และเชื่อกันว่าเจ้าเจืองจะฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง (หน้า 75)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ข่ามุบรรณโศภิษฐ์ ถูกเรียกว่า "ข่าฮอก" เพราะชาวบ้านเห็นเป็นชาวป่าชาวดอยซึ่งเป็นคำเรียกที่ข่ามุบรรณโศภิษฐ์ไม่พอใจ พวกเขาพอใจให้เรียกว่า "ตะมอย" เพราะมีความหมายว่า "คน" ซึ่งทำให้พวกเขาทัดเทียมกับผู้อื่น ในบางกรณีคำว่า "ข่ามุ" ไม่ได้ใช้เรียกเฉพาะกลุ่มพวกเขาเท่านั้น แต่ใช้เรียกคนไทยทั่วไปด้วย โดยเรียกว่า "ชาวข่ามุแนะ" ซึ่งหมายถึง น้องคนเล็ก ตามนิทานเรื่องที่มนุษย์เกิดจากน้ำเต้า (หน้า 82-85) ความเชื่อในเรื่องผีปะกุ๋นมีบทบาทสำคัญในการธำรงรักษาเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ เนื่องจากประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ การเกิด แต่งงาน และตายได้ผูกพันอยู่กับผีปะกุ๋น (หน้า 211)

Social Cultural and Identity Change

ข่ามุบรรณโศภิษฐ์ได้ติดต่อกับสังคมภายนอกเมื่อมีการอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานยังพื้นราบ และที่สำคัญคือการมีถนนเข้าสู่หมู่บ้าน (หน้า 106) ทำให้มีการติดต่อกับสังคมภายนอกได้สะดวกมากขึ้น ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้านเรือน และสภาพทั่วไปของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในหมู่บ้านที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางคมนาคม เป็นผลให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมภายนอกเข้าสู่ชุมชน (หน้า 194)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ขมุ, กำมุ, ข่ามุ, เศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, การเปลี่ยนแปลง, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง