สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน อิวเมี่ยน , ลีซู ,ลาหู่ ลาฮู,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง,อาข่า,กลุ่มคนบนที่สูง,การใช้ยาเสพติด,ภาคเหนือ
Author Bamrung, Panadda (ปนัดดา บำรุง)
Title Drug Abuse Among Highlanders of Northern Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 8 Year 2540
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝิ่น หรือ เฮโรอีนที่เกิดขึ้นในพื้นที่สูงในชุมชนทางภาคเหนือนั้น เป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาที่เกิดมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชน แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและจัดการชุมชน รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนของชุมชนให้เกิดขึ้น (หน้า 8)

Focus

ศึกษาการใช้ยาเสพติดและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย โดยศึกษาประวัติความเป็นมาของการปลูกฝิ่นทางภาคเหนือ จากการอพยพเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นโดยแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มคนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย เช่น ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ลีซู ลาหู่ และ อาข่า เป็นต้น

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1997

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม เช่น กะเหรี่ยง จะเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำไร่หมุนเวียน และอพยพในพื้นที่เขตใกล้เคียงกับพื้นที่เดิม สำหรับกลุ่มที่อพยพเข้ามาใหม่จะเลือกตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกฝิ่นโดยเฉพาะ และมีการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวโพดอยู่รวมในพื้นที่ปลูกฝิ่นเพื่อใช้เลี้ยงหมู หรือปลูกข้าวบ้างแต่มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มแรก การใช้พื้นที่ปลูกฝิ่นจะใช้ประมาณ 10 ปี เมื่อดินขาดความอุดมสมบูรณ์จะย้ายไปยังพื้นที่อื่นต่อไป (หน้า 1-2)

Demography

ในปี 1980 ประชากรบนพื้นที่สูงมีประมาณ 200,000 คน ประมาณ 1,000 ครอบครัว ปลูกฝิ่นเป็นหลัก (หน้า 2)

Economy

พื้นที่ปลูกฝิ่นส่วนใหญ่อยู่ในเขต 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน 40% ในเชียงรายและแม่ฮ่องสอน 10% ในเชียงใหม่ ในปี 1980 พื้นที่ปลูกฝิ่นมีราย 30,000-50,000 ไร่ ผลผลิตที่ได้ประมาณ 1 กิโลกรัม/ไร่ และจากการสำรวจในปี 1967 การผลิตฝิ่นในพื้นที่ 10,902 hectares ได้ผลผลิตประมาณ 145 ตัน ประวัติความเป็นมาการปลูกฝิ่นในกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย มีดังต่อไปนี้ - ม้งและเย้า เป็นกลุ่มที่มีการปลูกฝิ่นมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ฝิ่นถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของครอบครัว ฝิ่นที่ผลิตได้จะถูกขายและเก็บส่วนหนึ่งไว้ใช้ในครัวเรือน ในหมู่บ้านม้งการใช้ฝิ่นเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ฝิ่นในการรักษาอาการเจ็บป่วย การใช้ฝิ่นเพื่อหาความสุข หรือจากการใช้ฝิ่นเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ฝิ่นเป็นเหมือน เหล้า ชา ยาสูบ อย่างไรก็ตาม มีกฎเกณฑ์ภายในสังคมที่ห้ามไม่ให้เด็กใช้สิ่งเหล่านี้จนกว่าจะอายุมากกว่า 10 ปี การปลูกฝิ่นของม้งมีพื้นที่ประมาณ 3.25 hectares ต่อครอบครัว (1 ไร่ = 0.16 hectares) - กะเหรี่ยง มีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่บนการทำไร่หมุนเวียนและการทำนาขั้นบันไดมาก่อน ไม่มีการใช้ฝิ่นก่อนที่จะมีการอพยพเข้ามาในประเทศไทยของกลุ่มม้งและเย้า โดยเริ่มจากการเข้าไปเป็นแรงงานในการทำไร่ฝิ่นและได้มีบางส่วนหันมาปลูกฝิ่น แต่ผลผลิตต่อไร่ไม่ดีนัก - ลีซู ลาหู่ และอาข่า มีรูปแบบเหมือนกับกลุ่มม้งและเย้า แต่บางครอบครัวที่เศรษฐกิจไม่ดีนักก็จะไปทำงานรับจ้างในไร่ฝิ่นเหมือนกับกะเหรี่ยง (หน้า 2-4) เมื่อการปลูกฝิ่นกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายได้มีการจัดโครงการพัฒนาสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจแทนที่การปลูกฝิ่น ทั้งจากภาครัฐและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้นมา พืชที่เพาะปลูก เช่น ดอกไม้เมืองหนาว ถั่วเหลือง มะม่วง ลำไย ฝ้าย กาแฟ ฯลฯ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต และตลาดการรับซื้อ รวมถึงการเพาะปลูกต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีซับซ้อน (หน้า 5-6)

Social Organization

กลุ่มผู้ติดยาได้กลายเป็นปัญหาของชุมชน มีรายงานการขโมยทรัพย์สินของกลุ่มผู้ติดยาบ่อยครั้งขึ้น และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มพ่อค้ายากับชุมชนที่ต่อต้านยาเสพติด รวมถึงปัญหา HIV ที่เกิดจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้เสพยา ปัญหาที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาภายในชุมชนที่ต้องอาศัยความร่วมมือและหาแนวทางในการแก้ไข โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด และสร้างความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายในชุมชน และการมีระบบลงโทษและรางวัลนับจับสำหรับผู้แจ้งข่าวสาร (หน้า 7)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

แนวทางในการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงนโยบายการปกครองของรัฐไทย การไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ มีผลกระทบในด้านลบโดยชุมชนสูญเสียการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่น ขาดความเป็นอิสระในการดำเนินวิถีชีวิต และมีผลเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดในชุมชนที่ไม่สามารถจัดการให้หมดไปได้ในปัจจุบัน (หน้า 8)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การผลิตฝิ่นในหมู่บ้านมีการผลิตเพื่อขายและการใช้ในครัวเรือน ในกลุ่มผู้สูงอายุการสูบฝิ่นเป็นเรื่องปกติ เป็นการใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย คลายความปวดเมื่อยและให้ความผ่อนคลายหลังจากการทำงานหนักในไร่ สำหรับผู้ชายที่ยังไม่ได้แต่งงานการสูบฝิ่นไม่ได้รับการนิยมนัก เนื่องจากพวกเขารู้ดีว่าถ้าติดฝิ่น พวกเขาจะไม่สามารถทำงานหาเงินสำหรับเป็นค่าสินสอดเจ้าสาวหรือมีที่ทางในการทำกินของตัวเองได้ แม้ว่าจะมีหมู่บ้านที่ยากจนที่ติดฝิ่นแต่มีไม่มากนักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การใช้ยาเสพติดของกลุ่มชนบนพื้นที่สูงแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันไป ในลาหู่ใช้ผลผลิตฝิ่นในครัวเรือนประมาณ 34% ของผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยว และ 27% ของผลผลิตใช้เป็นค่าจ้างในการทำไร่ฝิ่น ส่วนที่เหลือ 39% จะนำออกจำหน่าย ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มม้งที่นำออกขาย 90% ของผลผลิตที่ที่ทำการเก็บเกี่ยว สำหรับการปลูกฝิ่นนั้นกลุ่มม้ง/เย้า ลีซู เป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำไร่ฝิ่นเป็นอย่างดีได้ผลผลิตสูง รวมถึงเป็นผู้ว่าจ้างชาวพื้นที่สูงกลุ่มอื่น เช่น กะเหรี่ยงเข้ามาทำงานในไร่ฝิ่น และมีรายได้ค่อนข้างมากในการจำหน่าย แต่อย่างไรก็ตามในสังคมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงจะมีรูปแบบกฏเกณฑ์ที่กำหนดให้บุคคลใดสามารถสูบฝิ่นได้ผู้ที่ยังอยู่ในวัยเด็ก ไม่ได้รับการอนุญาตให้สูบฝิ่น ดื่มสุรา และสูบยาสูบ เป็นการควบคุมทางสังคมแบบดั้งเดิม (ดูการใช้ยาเสพติด หน้า 2-7)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, เมี่ยน อิวเมี่ยน, ลีซู, ลาหู่ ลาฮู, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ กะเหรี่ยง, อาข่า, กลุ่มคนบนที่สูง, การใช้ยาเสพติด, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง