สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียดนาม วัฒนธรรมการบริโภค อาหารเวียดนาม เทศบาลเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
Author วารีรัตน์ ปั้นทอง
Title วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 124 Year 2543
Source มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นกลุ่มโดยทางจังวัดอุบลราชธานี ได้จัดที่ทำกินให้เฉพาะคือบริเวณถนนนิคมสายกลาง กลุ่มที่ประกอบอาชีพปลูกผัก ช่างซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสี ช่างเหล็ก ทางด้านถนนพโลชัยและถนนศรีณรงค์ กลุ่มที่ทำการค้าขาย เช่น ขายหมูยอ ข้าวเกรียบปากหม้อ เส้นก๋วยจั๊บ ขายอาหารเวียดนาม เป็นต้น ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในเรื่องวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมีธรรมเนียมประเพณีวิธีการต่างๆ ที่คนในชุมชนหรือสังคมหนึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารทุกขั้นตอน การบริโภคอาหารประเภทชนิดต่างๆ วัฒนธรรม การบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี มีวัฒนธรรมที่รับเอามาจากการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวจีนฝรั่งเศสและไทย ทั้งนี้เพราะชาวเวียดนามเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน ฝรั่งเศสมาก่อนที่จะอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย จึงทำให้วัฒนธรรมต่างๆ มีลักษณะคล้ายกับของวัฒนธรรมจีน

Focus

          ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี และศึกษาวิถีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี 

Theoretical Issues

          ผู้ศึกษาประยุกต์แนวคิดนิเวศวิทยา นิเวศวัฒนธรรม แนวคิดพฤติกรรมทางสังคมกับการบริโภค แนวคิดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับบริโภควิสัยมาเป็นกรอบศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวเวียดนาม โดยผู้ศึกษาพยายามอธิบายให้เห็นถึงวัฒนธรรมของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง ย่อมจะมีสภาพแวดล้อมของกลุ่มนั้นๆ เป็นตัวกำหนด ดังนั้น วัฒนธรรมของกลุ่มชนที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันย่อมแตกต่าง วัฒนธรรมการบริโภคของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ย่อมจะแตกต่างไปจากวัฒนธรรมการบริโภคของกลุ่มชนนั้นๆ   

Ethnic Group in the Focus

คนไทยเชื้อสายเวียดนาม, เวียด   

Study Period (Data Collection)

          ศึกษาภาคสนามช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 

History of the Group and Community

          ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ลี้ภัยสงคราม การเดินทางโดยผ่านประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้ามทางแม่น้ำโขงโดยทางเรือเข้ามายังจังหวัดมุกดาหาร และย้ายถิ่นฐานเรื่อยๆ เพื่อแสวงหาที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ และย้ายถิ่นเข้ามายังจังหวัดอุบลราชธานี (หน้า, 27-28; 50)

Settlement Pattern

          ตั้งถิ่นฐานกระจายตามถนนสายสำคัญ 3 สายในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี คือ ถนนพโลชัย ถนนศรีณรงค์ และถนนนิคมสายกลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  

Demography

          ชาวเวียดนามที่โอนสัญชาติเป็นชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมีจำนวนประชากร 3,837 คน มีการโอนสัญชาตินั้นทางรัฐบาลชุดพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำการเปลี่ยนสัญชาติไทยให้เฉพาะชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 20 ปีขึ้นไป และชาวเวียดนามที่เกิดบนแผ่นดินไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ในช่วงรัฐบาลชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีนโยบายให้สัญชาติแก่ชาวเวียดนามมากขึ้น เพื่อต้องการให้ทุกคนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นชาวไทย (หน้า, 116)  

Economy

          ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นกลุ่มโดยทางจังวัดอุบลราชธานี ได้จัดที่ทำกินให้เฉพาะคือบริเวณถนนนิคมสายกลาง กลุ่มที่ประกอบอาชีพปลูกผัก ช่างซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสี ช่างเหล็ก ทางด้านถนนพโลชัยและถนนศรีณรงค์ กลุ่มที่ทำการค้าขาย เช่น ขายหมูยอ ข้าวเกรียบปากหม้อ เส้นก๋วยจั๊บ ขายอาหารเวียดนาม เป็นต้น ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี (หน้า, 116-117)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          อาหารเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยเชื้อสายเสียดนามที่สะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นเชื้อชาติผ่านการสร้างความหมายทั้งตัววัตถุดิบและรูปแบบการปรุงถ่ายทอดเป็นสำรับและวัฒนธรรมการบริโภคอาหารเวีดนามต่างๆ (หน้า, 65-108) 

Social Cultural and Identity Change

          งานศึกษาเรื่องนี้ให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานีพบว่าเกิดจาก สภาวะทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหาร คือ รายได้ของครอบครัว ครอบครัวของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมีรายได้จากการปลูกผักขาย ค้าขายทั่วไป ช่างพ่นสี ช่างซ่อมนาฬิกา ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างต่อตัวถังรถ เป็นต้น อาชีพเหล่านี้จะมีรายได้แตกต่างกันตามประกอบอาชีพ จึงส่งผลต่อการบริโภคอาหารหากรายได้ดีจะได้รับประทานอาหารที่หลากหลายและมีคุณภาพดี หากรายได้น้อยจะได้รับประทานอาหารพื้นเมืองของเวียดนามที่หาง่าย มีขั้นตอนการกินที่ไม่ยุ่งยาก และมีโอกาสจับจ่ายชื้ออาหารต่างชาติไม่บ่อยครั้งนักปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นอย่างมากทั้งนี้เพราะชาวเวียดนามเป็นชาตินิยมที่มีความจงรักภักดีต่อบรรพบุรุษ ดังนั้น สังคมและวัฒนธรรมยังคงยึดถือกับสังคมแบบดั้งเดิมจะมีบางครอบครัวเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการได้รับการศึกษา หากกได้รับการศึกษาทำให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมีการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในปัจจุบันในการบริโภคอาหารนอกจากนี้ยังมีเหตุผลจากการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมวิถีความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นตัวกำหนดในเรื่องของการบริโภคอาหารระหว่างผี กับมนุษย์ ออกจากกันได้เป็นอย่างดี กรณีเช่นการบวงสรวงดวงวิญญาณบรรพบุรุษวัฒนธรรมจะเป็นตัวกำหนดอาหาร และความเชื่อในเรื่องการบริโภคอาหารของแต่ละสังคมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลต่อการจัดการอาหารและแบบอย่างการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน ผลของการเปลี่ยน ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยได้รับการโอนสัญชาติเป็น ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น การบริโภคอาหาร การรับประทานอาหารพื้นเมืองของไทย ได้การยอมรับของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเรื่องของอาหาร ที่จากเดิมชาวไทยเชื้อสายเวียดนามจะรับประทานอาหารที่เป็นของชาวเวียดนาม แต่ก็ยังหลงเหลืออยู่บางที่ยังคงยึดวัฒนธรรมดั้งเดิมของพื้นเมือง ส่วนในเรื่องอาหารพื้นเมืองของเวียดนามจริงๆ พอมีให้ได้รับประทานบ้างเป็นบางชนิดเท่านั้น (หน้า, 119-120)

Map/Illustration

ตาราง
         ตารางแสดงการบริโภคอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม (หน้า, 75)

ภาพ
         ภาพร้านขายหมูยอดาวทองของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม (หน้า, 57)
         ภาพสภาพห้องครัวของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม (หน้า, 58)
         ภาพแท่นบูชาบรรพบุรุษ (หน้า, 79)
         ภาพอาหารสำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษในวันปีใหม่ (หน้า, 79)
         ภาพขันหมากที่ใช้ในพิธีแต่งงาน (หน้า, 84)
         ภาพตรา 8 ทิศกับสิงห์คาบดาบที่แขวนไว้หน้าบ้านของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม (หน้า, 85)
         ภาพขบวนแห่ขันหมากในพิธีแต่งงาน (หน้า, 87)
         ภาพขนมโวเซ (หน้า, 108) 

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG เวียดนาม, วัฒนธรรมการบริโภค, อาหารเวียดนาม, เทศบาลเมืองอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง