สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ จีน โซ่ง ประเพณีและพิธีกรรมของชาวคลอง จังหวัดสมุทรสาคร ภาคกลาง ประเทศไทย
Author อุมาภรณ์ วงศ์วิสิฐศักดิ์
Title ประเพณีและพิธีกรรมของชาวคลอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, มอญ รมัน รามัญ, จีน จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหลำ ไหหนำ จีนกวางตุ้ง จีนแคะ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 230 Year 2547
Source มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Abstract

ประเพณีและพิธีกรรมงานของชาวคลองอำเภอบ้านแพ้ว แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ประเพณีและพิธีกรรมทั่วไป และประเพณีพิธีกรรมตามเชื้อสายของกลุ่มชน ประเพณีทั่วไป คือ ประเพณีและพิธีกรรมงานประจำปีหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร การทำบุญสวน การลงแขกสวนองุ่น การทำบุญข้าวหลาม และการแข่งเรือ ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อเกิดจากศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความเชื่อในการนับถือผีและเจ้าที่ ความเชื่อในอำนาจบนบานและสภาพแวดล้อมที่เป็นคลองเป็นสวน ส่วนประเพณีและพิธีกรรมของชนชาติแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายโซ่ง และไทยเชื้อสายมอญ โดยผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ที่ประเพณีและพิธีกรรมในครอบครัว คือ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีงานศพและประเพณีที่คงเอกลักษณ์เฉพาะเชื้อสาย กล่าวคือ คนไทยเชื้อสายจีนศึกษาประเพณีและพิธีกรรมตรุษจีน ประเพณีการเกิด และประเพณีการเปลี่ยนวัย ส่วนประเพณีคนไทยเชื้อสายโซ่ง ศึกษาประเพณีการแต่งกาย การเล่นคอนฟ้อนแคน การแสนเรือน และการเล่นปาตตง ขณะที่ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายมอญ ศึกษา ประเพณีการแต่งกาย สงกรานต์ การรำผี และการบวช ผู้ศึกษาได้เสนอว่า ความเป็นมาของประเพณีและพิธีกรรมเกิดจากความศรัทธาในศาสนาพุทธ ผสมผสานผสานกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ การอบรมสั่งสอนให้เคารพเชื่อฟังและความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ และเกิดการใช้ภูมิปัญญาด้านความคิดของกลุ่มชนในการรักษาประเพณีและพิธีกรรมดังกล่าว   

Focus

          ศึกษาความเป็นมาของประเพณีและพิธีกรรมทั่วไป ศึกษาลักษณะของประเพณีและพิธีกรรมที่ปฏิบัติตามเชื้อสาย และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพิธีกรรม ของชาวคลอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

Theoretical Issues

          ผู้ศึกษาใช้เป็นแนวคิดโครงสร้างหน้าที่มาเป็นแนวทางศึกษาเรื่องประเพณีว่าเป็นโครงสร้างของสังคมที่จะช่วยให้สังคมอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงนำแนวคิดเรื่องนิเวศวัฒนธรรมเป็นแนวทางหาปัจจัยที่มีผลต่อประเพณีและพิธีกรรม  ของชาวคลองอําเภอบ้านแพ้ว  จังหวัดสมุทรสาคร

Ethnic Group in the Focus

จีน, มอญ, โซ่งในอำเภอบ้านแพ้ว 

Study Period (Data Collection)

          ภาคสนามโดยอาสัยความเป็น “คนใน” ซึ่งเกิดจากการย้ายถิ่นเข้ามาประกอบอาชีพในราว พ.ศ. 2524-2547 งานภาคสนามจึงอาจพิจารณาว่าเป็นช่วงเวลาดังกล่าว    

History of the Group and Community

          ผู้ศึกษาให้ข้อมูลประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์จีน มอญ และโซ่ง ในลักษณะภาพรวมของการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย หากแต่ไม่ได้บอกเล่าหรือวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้อพยพเข้ามาตั้งรกรากที่คลองดำเนินสะดวก อำเภอบ้านแพ้ว เมื่อใดและอย่างไร 

Settlement Pattern

          อําเภอบ้านแพ้ว  เป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร มีภูมิศาสตร์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทําสวนผลไม้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ติดกับคลองที่ นอกจากนี้ ยังมีคลองเล็กๆ แยกย่อยไปอีกเป็นจํานวนมาก และตามคลองเล็กๆ เหล่านี้มีคนอาศัยอยู่มานานมากกว่าร้อยปี จึงเรียกคนที่อาศัยในที่นี้ว่า “ชาวคลอง” ชีวิตชาวคลองมีความผูกพันกับสายน้ำ ทั้งทางด้านการคมนาคม การประกอบอาชีพ รวมทั้งงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ ล้วนขึ้นอยู่กับแม่น้ำลําคลองเป็นปัจจัยสําคัญ อีกทั้งเมื่อมีการผสมผสานความเชื่อพื้นฐานดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนา การประพฤติและปฏิบัติต่อส่วนรวม จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดต่อจนเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม (หน้า, 4-5)

Demography

          ผู้ศึกษาให้ข้อมูลประชากรของจังหวัดสมุทรสาครทั้งจังหวัด ไม่ได้ให้ข้อมูลจำนวนประชากรกลุ่มพื้นที่ศึกษา 

Economy

          อาชีพเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดสมุทรสาคร  พื้นที่จํานวนสองในสามของจังหวัดประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา ปลูกผัก ประมง เลี้ยงสัตว์น้ำ และทำงานในภาคอุตสาหกรรม   

Social Organization

          ชาวคลองในอําเภอบ้านแพ้วเป็นคนไทยหลายเชื้อสายมารวมกัน  ได้แก่ คนไทยเชื้อสายจีน  คนไทยเชื้อสายมอญ และคนไทยเชื้อสายโซ่ง ทําให้มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรม และมีประเพณีที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ เช่น คนไทยเชื้อสายจีนมีประเพณีตรุษจีนซึ่งถือเป็น ประเพณีสําคัญ เมื่อถึงวันตรุษจีน จะมีการนําอาหารมาไหว้บรรพบุรุษ นักเรียนจะหยุดเรียนกัน เกือบหมดเพื่อไปร่วมในวันสําคัญดังกล่าว คนไทยเชื้อสายมอญมีประเพณีรําผีเพื่อขอขมา โทษเมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว หรือมีประเพณีล้างเท้าพระในวันออกพรรษา คนไทยเชื้อสายโซ่งมีประเพณีการเสนเรือน ในกรณีระยะสามปีที่ผ่านมาไม่มีคนในครอบครัวเสียชีวิต ต้องมีการบวง สรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว

Belief System

          ประเพณีและพิธีกรรมทั่วไปเป็นสิ่งที่ชาวคลองส่วนใหญ่ที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ ปฏิบัติกันมาช้านาน ได้แก่ ประเพณีงานประจําปีหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎรสโมสร ที่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธา ในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อโต ศรัทธาในการทําบุญและศรัทธาบทบาทของพระสงฆ์และความเชื่อถือในการทําบุญ รวมถึงการที่อําเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีคนไทยที่มีเชื้อสายต่าง ๆ อาศัยอยู่มาก การถือปฏิบัติประเพณีและพิธีกรรมตามเชื้อสายของตนก็ยังคงมีอยู่  จึงสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1)ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีน   ประเพณีและพิธีกรรมตรุษจีนซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสายจีน มีการ ทําความสะอาดบ้านและเตรียมอาหารสําหรับไหว้เจ้าที่  ไหว้บรรพบุรุษ  และไหว้วิญญาณที่ไม่มี ญาติพี่น้อง  วันสําคัญของประเพณีและพิธีกรรมนี้ได้แก่ วันจ่าย วันไหว้ และวันถือหรือวันเที่ยว หรือวันตรุษจีน  ประเพณีในรอบปีและพิธีกรรมในวัฎจักรชีวิตต่างๆ 2) ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายโซ่ง ประเพณีการแต่งกาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายโซ่ง เสื้อฮีจะแต่งใน โอกาสพิเศษที่ต้องมีการประกอบพิธี เช่น งานแต่งงาน  ส่วนชุดสําคัญอื่น ๆ ได้แก่  ผู้ชายจะสวม เสื้อก้อมและส้วงก้อม ประเพณีการแสดงและการรื่นเริง เป็นประเพณีการเล่นคอนฟ้อนแคน หรือ การเล่น ลูกช่วง ส่วนประเพณีและพิธีกรรมการเสนเรือน คือการเซ่นไหว้ผีเรือนเพื่อแสดงถึงความนับถือ เพื่อให้ผีบรรพบุรุษคอยดูแลลูกหลานและให้เกิดแต่สิ่งที่ดีๆ และเป็นการขอขมาถ้าได้ทําผิดผี 3)ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายมอญ ประเพณีการแต่งกาย ซึ่งจะแต่งเมื่อมีงานเทศกาลหรือพิธีการต่างๆ  ผู้ชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่ง  มีผ้าพาดบ่า  ผู้หญิงสวมเสื้อลูกไม้  นุ่งผ้าซิ่น  พาดผ้าสไบเฉียง วิธีการพาดสไบมี ๓ แบบ ประเพณีและพิธีกรรมสงกรานต์ จัดให้มีการทําบุญในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี ช่วงเช้ามีการทําบุญด้วยข้าวแช่ ส่วนของหวานก็คือกาละแม ช่วงบ่ายจะมีการแห่หางหงส์หรือธงตะขาบ ไปติดที่เสาหงส์ โดยจะเปลี่ยนผ้าธงตะขาบปีละหนึ่งครั้งในช่วงวันสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายนจะมีการ บังสกุลเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว  ส่วนมหรสพที่มีในเทศกาลนี้  ประเพณีและพิธีกรรมงานศพ นําศพมาวางบนแคร่ที่เสาแคร่ทั้งสี่เสาผูกผ้าขาวและมี บายศรีประกอบ ทําพิธีมัดตราสังข์และนําผ้ามาคลุมศพ  ไม่นําโลงศพขึ้นบ้าน  เดิมการสวดพระใช้ ภาษามอญ  แต่ในปัจจุบันใช้ภาษาไทยมากขึ้นหรืออาจใช้สลับกันอย่างละคืน  ผู้ที่มานั่งฟังพระสวด จะต้องแยกชายและหญิงนั่งกันคนละฝั่ง  โลงศพมีลักษณะแตกต่างจากผู้อื่น  และเคารพศพพระมาก โดยต้องจุดไฟด้วยลูกหนู ส่วนการเคลื่อนย้ายศพออกจากบ้านจะต้องนําลงทางทิศตะวันตกเท่านั้น และห้ามนําลงบันไดของบ้าน  จึงต้องมีการรื้อฝาบ้านเพื่อนําลงทางที่เรียกว่าบันไดผี (หน้า, 116-199)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          ผู้ศึกษาเสนอแบบแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มเป็นภาพสะท้อนอัตลักษณ์ของกลุ่มชน โดยแดงผ่านประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม 

Social Cultural and Identity Change

          ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประเพณีและพิธีกรรมของชาวคลองพบว่า มีทั้งปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ประเพณีคงอยู่ คือ ความศรัทธาในพุทธศาสนา ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อผี ความเชื่อเรื่องการบน ความเชื่อและพิธีกรรม กฎแห่งกรรม ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม การถ่ายทอดและเผยแพร่ในการกระจายวัฒนธรรม ตลอดจนลักษณะผู้นำ การเล็งเห็นประโยชน์ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมของคนไทย รูปแบบการเปลี่ยนแปลงชีวิต การเปลี่ยนแปลงขนาดของครอบครัว และระบบนิเวศที่เปลี่ยนเปลี่ยนล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง 

Map/Illustration

ภาพ
          ภาพเสาหินบอกหลักที่ 1 อยูมุมสวนของบานชาวบาน มีสภาพดี (หน้า, 46)
          ภาพที่เสาหินบอกหลักที่ 2อยูหนาบานชาวบาน  แตอยูติดกับบาน  มีสภาพชํารุด (หน้า, 46)
          ภาพเสาหินปกเขต หลักที่ 3อยูหนาบาน ติดกับรานอาหารศรีสุวรรณมีสภาพดีสมบูรณที่สุด (หน้า, 47)
          ภาพเสาหินหลัก 4อยูหางจากวัดหลักสี่ราษฎรสโมสรไปเล็กนอย สภาพชํารุด ไมมีหัวเสาหัวเสาวางอยูขางๆ (หน้า, 47)
          ภาพหลวงพอโตมีพระพักตรอิ่มเอิบแสดงถึงความมีเมตตาธรรมและเปนพระพุทธรูปซึ่งเปนที่พึ่งทางใจของชาวคลองเปนอยางมาก(หน้า, 66)
          ภาพวิหารหลวงพอโตหลังปจจุบัน เปนวิหารหลังที่ 4 ประชาชนชวยกันบริจาคจัดสรางขึ้น(หน้า, 68)
          ภาพพระครูพิพัฒนสาครธรรม  เจาอาวาสวัดหลักสี่ราษฎรสโมสร ทําพิธีเปดงานและพรมน้ำมนตไปที่ผลไมจํานวนมากที่ชาวบานนํามาถวาย เมื่อชาวบาน นํากลับไปรับประทานเชื่อวา ทําใหคนในครอบครัวเจริญรุงเรือง(หน้า, 74)
          ภาพสวนทุกแหงจะมีการสรางศาลประจําสวน (หน้า, 91)
          ภาพชาวสวนองุนชวยกันทํางานอยางตั้งใจมาก แมจะไมไดเงินคาจาง(หน้า, 97)
          ภาพเมื่อถึงวันขึ้น 14ค่ำ เดือน 3ซึ่งเปนวันสุกดิบ ชาวบานหมูทอดเกือบทุกครัวเรือนชวยกัน เผาขาวหลาม ขางซายมือเปนเตาที่ทําขึ้นอยางงายๆ โดยเกลี่ยพื้นดินและขุดลงไปเล็กนอย และเหนือเตาจะทําราวสําหรับวางกระบอกขาวหลาม เมื่อคนในครอบครัวมาชวยกันกรอก ขาวเหนียวและเครื่องปรุงแลวก็จะนําฟนมาวางบริเวณที่เปนเตาไฟแลวจึงติดไฟ(หน้า, 102)
          ภาพเจาบาวไปรับตัวเจาสาว เจาสาวจะปอนบัวลอยใหเจาบาวรับประทาน และเจาบาวก็จะปอนบัวลอยใหเจาสาวรับประทานเชนเดียวกัน (หน้า, 128)
          ภาพที่ธงตะขาบที่คนไทยเชื้อสายมอญชวยกันเย็บเพื่อนําไปแขวนไวที่ ยอดเสาหงส (หน้า, 168)
          ภาพที่โรงพิธีที่เจาของงานสรางขึ้นเพื่อใชประกอบพิธีรําผีมอญ (หน้า, 182)

แผนที่
          ภาพแผนผังแสดงคลองดําเนินสะดวกและคลองซอย เสาบอกหลักตาง ๆ ตั้งแตหลักหนึ่งจนถึงหลักแปด เสาหลักหนึ่งถึงหลักหาอยูในอําเภอบานแพว จังหวัดสมุทรสาคร หลักหาเพียงสวนนอยถึงหลักแปด อยูในจังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ยังมีแผนผังแสดงที่ตั้งวัดหลักสี่ราษฎรสโมสรประตูน้ำบางยาง และประตูน้ำบางนกแขวก(หน้า, 81) 

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG มอญ, จีน, โซ่ง, ประเพณีและพิธีกรรมของชาวคลอง, จังหวัดสมุทรสาคร, ภาคกลาง, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง