สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียดนาม ความเปลี่ยนแปลง คริสต์นิกายโรมันคาทอริก อำเภอองครักษ์ จังหวัดปทุมธานี
Author วริษา วงษ์วิเชียน
Title ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก: กรณีศึกษาหมู่บ้านญวน อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  Total Pages 117 Year 2551
Source วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ถิ่นเดิมของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านยวน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ที่นับถือศาสนาคริสต์ นิมันโรมันคาทอลิก ได้อพยพมาจกชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่สามเสน และเข้ามาอยู่ในอำเภอองครักษ์ ก่อน พ.ศ. 2446 เดิมที ชาวไทยเชื้อสายเสียดนามประกอบอาชีพเกษตร ทำไร่ การประมงน้ำจืด และการทอเสื่อเพื่อเลี้ยงครอบครัว จากการที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านญวนแห่งนี้กว่า 100 ปี ทำให้วิธีชีวิตในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต เนื่องจากความเจริญต่างๆ ได้แผ่ขยายเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทุกด้าน และพยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย ปัจจัยภายใน เกิดจากชาวเวียดนามรุ่นใหม่มีความเป็นคนไทยพูดภาษาท้องถิ่นน้อยลง ดำเนินชีวิตเฉกเช่นคนไทย ประกอบกับชาวเวียดนามรุ่นเก่าลดจำนวนลง ส่วนปัจจัยภายนอก เกิดจากสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านสาธารณูปโภค สาธารณสุข การบริหารด้านท้องถิ่น สื่อสารมวลชน และด้านคมนาคม ล้วนเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะที่สภาพวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านญวน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน คือ การศึกษา การสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน

Focus

          ศึกษาความเป็นมาในการตั้งถิ่นฐานของคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอริก หมู่บ้านญวน อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตภายในหมู่บ้าน และศึกษาสภาพของวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปัจจุบัน 

Theoretical Issues

          ผู้ศึกษาประยุกต์แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงวิถีชีวิตคนของเวียดนามในอำเภอองครักษ์ อีกทั้งยังทำให้เห็นปัจจัยภายในและภายนอกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตภายในหมู่บ้าน

Study Period (Data Collection)

          กรอบศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ย้อนหลังราวปี พ.ศ. 2463 และทำงานภาคสนาม ช่วงปี พ.ศ. 2551   

History of the Group and Community

          ชาวเวียดนามมีการอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว และมีการขยับขยายหาหลักแหล่งที่พักอาศัยไปยังที่ต่างๆ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ชาวเวียดนามในยุคนั้นนิยมมาตั้งหลักแหล่งทำกิน เป็นกลุ่มคนญวนสามเสน กรุงเทพฯ ก่อนมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ก่อนปี พ.ศ. 2446 เนื่องจากพื้นที่ใหม่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัย และการทำการเกษตร ทำไร่ ประมง และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ชาวเวียดนามหลังจากอพยพมามักจะรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นชุมชน มีการสร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก และยังได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรไว้พบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน นกจากนี้ยังมีการสร้างศาสนสถาน เช่น โบสถ์ เพื่อเป็นที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักของชนชาติ มีทั้งพิธีกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน และพิธีกรรมที่ทำกันในหนึ่งรอบปีดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากประวัติความเป็นมา และพิธีกรรม ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นชาวเวียดนามในหมู่บ้านญวน (หน้า, 43-54)

Settlement Pattern

          การตั้งถิ่นฐานแรกเริ่มมีพระสงฆ์เวียดนามจากวัดสามเสน คือ คุณพ่อมิน มาดูแลสัตบุรุษที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณชุมชนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จึงสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดพระผู้ไถ่เสาวภา ก่อนขยายพื้นที่วัดและชุมชน ส่วนตระกูลคนเวียดนามสำคัญที่อพยพในช่วงต้น คือ ตระกูล “เหวียง” ก่อนขยายวงศ์เครือญาติเป็น สุวิชากร ฉันทพิริยกุล เรืองบุญสุข ชื่นชม รัตนเกรียงไกร วุฒิศักดิ์ชัยกุล วีรอนันตมิตร และทองเหวียง เป็นต้น (หน้า, 43-54)   

Belief System

          ความเชื่อในการนับถือบูชาซึ่งแสดงออกในพิธีกรรมของคนในชุมชนคริสต์คาทอลิกมีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญคือ การบูชาของพระเยซู และพระแม่มารีอารวมทั้งนักบุญโดยเฉพาะนักบุญที่ให้ความเคารพนับถือ ส่วนพิธีกรรมศาสนาคริสต์ที่เป็นพิธีหลักของชุมชน ซึ่งคริสตชนต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่เกิดหรือช่วงวัยเด็กเล็ก คือศีลล้างบาป (หรือพิธีกรรมล้างบาป) เป็นศีลแรกที่ต้องทำโดยทำเพราะมีความเชื่อทางศาสนาว่าทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากไม่ทำจะไม่สามารถผ่านทำศีลอื่นได้ เมื่อเริ่มโตขึ้นก็จะเริ่มทำศีลอภัยบาป ศีลแก้บาป ศีลมหาสนิทนอกจากนี้ ยังมีประเพณีพิธีกรรมในรอบปี เป็นประเพณีพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและคนไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านญวน อำเภอองครักษ์ ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ ทั้งพิธีกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันและพิธีกรรมในรอบปี เช่น ประเพณีเกิด แต่งงาน ตาย และวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ต่างๆ (หน้า, 52-60)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          อัตลักษณ์สำคัญในงานศึกษาเรื่องนี้คือพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับศาสนาคริสต์ดังสะท้อนผ่านพิธีกรรมในวัฎจักรชีวิตและพิ๊กรรมรอบปี ชาวเวียดนามมีการอพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว และมีการขยับขยายหาหลักแหล่งที่พักอาศัยไปยังที่ต่างๆ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ชาวเวียดนามในยุคนั้นนิยมมาตั้งหลักแหล่งทำกินและชาวเวียดนามหลังจากอพยพมามักจะรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นชุมชน มีการสร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก และยังได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรไว้พบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน นกจากนี้ยังมีการสร้างศาสนสถาน เช่น โบสถ์ เพื่อเป็นที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักของชนชาติ มีทั้งพิธีกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน และพิธีกรรมที่ทำกันในหนึ่งรอบปีดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากประวัติความเป็นมา และพิธีกรรม ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นชาวเวียดนามในหมู่บ้านญวน ยังมการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เคยเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งผู้วิจัยจะได้นำเสนอในตอนต่อไป (หน้า, 105-112)

Social Cultural and Identity Change

          ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเวียดนาม อำเภอองค์รักษ์ ประกอบด้วยปัจจัยภายใน คนรุ่นใหม่เริ่มปฏิเสธความเวียดนาม ทำให้เกิดการสื่อศารด้วยภาษาเวียดฯมลดลง รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมก็ลดลงเช่นกัน ตรงข้ามกัน กับการรวมกลุ่มคนไทยเชื้อสายเวียดนามกลับมีความเหียวแน่นส่งผลทำให้การมีส่วนร่วมของกลุ่มคนดังกล่าวในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ,ล่วงไปด้วยดี การเปลี่ยนระบบการศึกษามาเป็นการศึกษาประถมที่เข้ามามีบทบาทการศึกษาแทนโรงเร๊ยนของหมอสอนศาสนานับเป้นอีปปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเวียดนามผ่านระบบความเชื่อลดลง รวมถึงค่านิยมในการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนมานิยมอาชีพเหมือนคนไทยทั่วไปที่ต้องการรับราชการ ทำงานบริษัท หรือการร่วมตัวกันอยู่ของชาวเวียดนามที่ไม่มีพลังในการรวมตัวเหมือนกลุ่มคนรุ่นก่อน ขณะที่ปัจัจัยภายนอกประกอบด้วยรูปแบบสังคมวัฒนธรรมแบบเมือง ปัจจัยด้านสาธารณสุข และการปกครองท้องถิ่น ที่ส่งให้ไทยคนเวียดนามต้องปรับอัตลักษณ์และการใช้ชีวิตตนเองให้เข้ากับรัฐไทยถึงจะมีโอกาสเข้าถึงการบริการของรัฐดังกล่าว (หน้า, 106-112)

Map/Illustration

ภาพ
          ภาพโบสถ์พระผู้ไถ่เสวภา “ปัจจุบัน” (หน้า, 56)
          ภาพพิธีแต่งงานในโบสถ์ (หน้า, 76)
          ภาพประเพณีการตาย (หน้า, 78)
          ภาพประเพณีตรุษญวน (หน้า, 79)
          ภาพประเพณีวันรำลึกถึงผู้วายชนม์ (หน้า, 81)
          ภาพประเพณีแห่แม่พระ (หน้า, 82)
          ภาพประเพณีแห่พระกุมาร (หน้า, 83)

แผนที่
          แผนที่จังหวัดนครนายก (หน้า, 39)
          แผนที่อาณาเขตอำเภอองค์รักษ์ (หน้า, 41)
          แผนที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก (หน้า, 43)

ตาราง
          ตารางประเพณีและพิธีกรรมในรอบ 1 ปี (หน้า, 67)

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG เวียดนาม, ความเปลี่ยนแปลง, คริสต์นิกายโรมันคาทอริก, อำเภอองครักษ์, จังหวัดปทุมธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง