สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียดนาม, การดำรงชาติพันธุ์, การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, ชุมชนบุ่งกะแท่ว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Author วรินรดา พันธน้อย
Title การดำรงอยู่และการปรับปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 79 Year 2552
Source มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Abstract

ชุมชนบุ่งกะแทวเป็นชุมชนที่มีลักษณะทั่วไปทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาวไทยอีสานกับวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ประชากรของชุมชนส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก สภาพทางด้านสังคมจึงเป็นสังคมของชาวคริสต์โดยแท้จริง ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ มีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมให้เข้ากับสังคมไทย การพูดภาษาไทย การเรียนหนังสือไทย และในด้านศาสนา มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมงานศพ งานแต่งงาน ประเพณีไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ การไหว้ตรุษญวน เป็นต้น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกเหล่านี้ ล้วนเป็นการสืบทอดและดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมเหล่านั้นใช่ว่าจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง หากแต่มีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ทางสังคม มีการรับเอาและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ หรือการที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเลือกที่จะใช้ภาษาเวียดนาม ภาษาอีสาน และภาษาไทยเมื่อครั้งที่ต้องปฏิสัมพันธ์ กับคนกลุ่มต่างๆ การสร้างบ้านเรือนแบบทรงไทยอีสาน ซึ่งจากเดิมบ้านเรือนแบบเวียดนามจะเป็นบ้านชั้นเดียว วัฒนธรรมการกิน การแต่งกาย หลายอย่างมีการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทย ในส่วนของประเพณี เช่น งานศพที่มีการลดขั้นในพิธีกรรมบางขั้นตอนเพื่อความสะดวกเช่นเดียวกับงานแต่งงานที่ปรับรูปแบบไปมาก แต่ยังคงส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางชาติพันธุ์ คือ การไหว้บอกกล่าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วต่อหน้าแท่นบูชาบรรพบุรุษของตระกูล เป็นต้น เหตุนี้ การผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวไทยอีสานและชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทว บ่งบอกถึงวิธีชีวิตของกลุ่มชนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาและมรดกทางวัฒนธรรม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานความเป็นอยู่แบบสังคมพหุวัฒนธรรม

Focus

          ศึกษาการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มชาวไทยอีสานและชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  

Theoretical Issues

          งานศึกษาเรื่องนี้ประยุกต์แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์ พหุนิยม วัฒนธรรมสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย การปรับตัว และอัตลักษณ์ มาเป็นแนวทางศึกษาการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มชาวไทยอีสานและชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทวเพื่อค้นหาคำตอบว่าชุมชนดังกล่าวปรับตัวท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร 

Language and Linguistic Affiliations

          คนไทยเชื้อสายเวียดนามใช้ภาษาเวียดนาม อังกฤษ และจีนสื่อสารทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ใช้ภาษาลางและไทยในการสื่อในชีวิตประจำวัน (หน้า, 46)

Study Period (Data Collection)

          ผู้ศึกษาเก็บข้อมูลเอกสารนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489-2551และทำงานภาคสนามในช่วง 2550-2551    

History of the Group and Community

          ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มคนเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทวอพยพจากประเทศเวียดนามด้วยเหตุผลความขัดแย้งภายในประเทศ ตลอดจนผลพวงของลัทธิจักรวรรดินิยม เรื่อยมาจนกระทั่งสงครามโลกคร้งที่ 1 และ 2 รวมถึงจึงสงครามอินโดจีน ผู้คนได้อพยพสู่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย และหนึ่งในพื้นที่ที่มีชาวเวียดนามอาศัยอยู่หนาแน่นก็คือในอำเภอเมืองอุบลราชธานี (หน้า, 1-2; 37-42) ส่วนประวัติชุมชนจะสัมพันธ์กับการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มขึ้นเมื่อคณะมิชชันนารีได้เดินทางจากกรุงเทพผ่านหลายจังหวัด กระทั้งมาถึงเมืองอุบลราชธานี หลังจากนั้นได้พักชั่วคราวที่ทำการเมืองอุบลฯ และพยายามเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีการพิจารณาตัดสินคดีความของคน หลังจากคณะมิชชันนารีอยู่ที่เมืองอุบลราชธานีได้ไม่ถึงสองเดือนก็สามารถจัดตั้งกลุ่มคริสตังกลุ่มแรกได้ซึ่งเป็นชาวลาวจำนวน 18 คน ที่พวกกุลาจับมาจากเมืองพวน ประเทศลาว เพื่อขายให้เป็นทาสในเมืองอุบลราชธานี บาทหลวงโปรดมจึงได้ช่วยเหลือโดยยื่นคำร้องต่อศาลและได้ฟ้องพวกกุลา ดังนั้น ชาวลาวกลุ่มนี้จึงสมัครใจอยู่ในความคุ้มครองของบาทหลวง และเข้าเรียนศาสนาเป็นกลุ่มแรก หลังจากนั้น พวกทาสได้สร้างที่พักอาศัยในบริเวณที่พักชั่วคราวของคณะมิชชันนารี จึงทำให้เกิดความแออัดขึ้นภายในที่ทำการเมืองอุบลราชธานี คณะมิชชันนารีจึงได้ขอร้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเมืองอุบลราชธานี จัดสรรที่ดินให้เป็นแหล่งที่อยู่ถาวร และได้รับการจัดสรรที่ดินทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลราชธานี ตั้งอยู่เหนือบึง (บุ่ง) ตามลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งตั้งขึ้นพร้อมกับสร้างเมืองอุบลราชธานี อยู่ห่างจากรั้วไม้และคูใหญ่ล้อมรอบตัวเมือง ประมาณ 500 เมตร คณะมิชชันนารีและคริสตังกลุ่มแรก ได้เข้ามาอยู่ในบริเวณ ป่าบุ่งป่าทามแห่งนี้ เรียกหมู่บ้านเดิมชื่อเดิมว่า “บุ่งกะแทว”(หน้า, 72-74)

Settlement Pattern

          ในอดีต สภาพทั่วไปของดินแดนอีสานอยู่ห่างไกลความเจริญจากส่วนกลาง การคมนาคมทุรกันดารมาก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา นับถือผี เทวดา เชื่อถือโชคลางของขลัง อภินิหารต่างๆ และสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาของคณะมิชชันนารี ซึ่งยากต่อการเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อดั้งเดิมของชาวบ้านให้มานับถือเป็นพระเจ้าแทน การปลดปล่อยทาสจึงเป็นวิธีการเผยแพร่ศาสนาอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เชื่อเสียงของมิชชันนารีแพร่สะพัดไปทั่งหัวเมืองใกล้เคียงอื่นๆ อย่างรวดเร็ว ประกอบกับในปี พ.ศ. 2429 ดินแดนอีสานเกิดความแห้งแล้งติดต่อกันมา 3 ปี ทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร ผู้คนอดอยากยากจน คณะมิชชันนารีจึงช่วยเหลือด้วยการเป็นหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านพร้อมกับสอนศาสนาควบคู่กันไปด้วย และยังได้สอนการทำอาชีพต่างๆ อีก เช่น การเกษตร การล่าสัตว์ การเลื่อยไม้ เป็นต้น จึงทำให้มีผู้เข้ารีตมากขึ้น เมื่อมีคริสตังมากขึ้นคณะมิชชันนารีก็ได้จัดสรรที่ดินบริเวณป่าบุ่งกะแทวให้แก่พวกนี้เป็นที่ทำกิน ทีอยู่อาศัย ซึ่งเป็นชุมชนคาทอลิกแห่งแรกในอีสาน และได้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะสร้างด้วยไม้มุงหลังคาสังกะสี ด้านหน้าเป็นทรงสี่เหลี่ยมและหลังคาลาดชัน มีใต้ถุนบ้าน หันหน้าออกสู่ถนน ปัจจุบันผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจจะสร้างบ้านรูปทรงสมัยใหม่ และยังมีการสร้างอาคารตึกแถว (หน้า, 73-74)  

Demography

          ประชากรของชุมชนบุ่งกะแทวส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมือง (ไทยอีสาน) ถึงร้อยละ 70 อีกร้อยละ 29 สืบเชื้อสายมาจากเวียดนาม และร้อยละ 1 สืบเชื้อสายมาจากจีน แต่การสื่อสารจะพูดภาษาไทย-อีสานเป็นหลัก นอกจากชาวเวียดนามหรือชาวจีน ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ของชุมชนเท่านั้นจะพูดภาษาของตนด้วยกัน ชุมชนบุ่งกะแทวเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลนครอุบลราชธานี ฉะนั้นจึงไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหัวหน้าชุมชน แต่จะมีบาทหลวงเป็นผู้นำหรือเป็นหัวหน้าชุมชนทางด้านศาสนา โดยจะมีทะเบียนคาทอลิกไว้ โดยจะมีบาทหลวงเจ้าอาวาทโบสถ์ (อาสนวิหารแม่พระนิรมล) ทะเบียนนี้จะมีลักษณะเหมือนกับทะเบียนราษฏร์ เมื่อเด็กคาทอลิกเกิดแล้วนำไปรับศิลล้างบาปจะมีการลงทะเบียนคาทอลิกไว้ โดยมีบาทหลวงเจ้าอาวาสโบสถ์เป็นนายทะเบียน (หน้า, 73)

Economy

          ประชากรชุมชนบุ่งกะแทวมีการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไปซึ่งมีลักษณะเหมือนกับชุมชนเมืองอื่นๆ เช่น ค้าขาย ธุรกิจ รับราชการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การประมง รับจ้างทั่วไป ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ประชากรในชุมชนบุ่งกะแทวส่วนมากจะมีฐานะระดับปานกลางและฐานะดี ในชุมชนบุ่งกะแทว มีร้านขายสินค้าเล็ดเตล็ด ร้านขายอาหารมากมาย มีโรงงานทำขนมจีน โรงงานผลิตเส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นก๋วยจั๊บ โรงงานผลิตหมูยอ แหนม กุนเชียง โรงงานผลิตอิฐแดง นอกจากนี้ยังมีร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ร้านซ่อมรถยนต์ ซ่อมจักรยานยนต์ ปั้มน้ำมัน บ้านเช่า บ้านพัก และธุรกิจอื่นๆ (หน้า, 73)

Social Organization

          สภาพครอบครัวของชาวเวียดนามจเป้นครอบครัวขยายที่อยู่รวมกัน เลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง เมื่อโตขึ้นจะให้แต่งงานแยกครอบครอบครัวหรือไม่อาจอยู่รวมกัน ระบบเครือญาติของคนไทยเชื้อสายเวียดนามจึงให้ความสำคัญต่อการนับถือเครือญาติ ตั้งบ้านเรือนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดความรักพกพ้อง ยกย่องผู้อาวุโส เคารพญาติฝ่ายหญิงและชายเท่าเทียมกัน (หน้า, 42-44)

Belief System

          สภาพทางสังคม ชุมชนบุ่งกะแทว เป็นชุมชนที่มีลักษณะทั่วไปทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากชุมชนอื่นๆ ในเขตเทศบาลอุบลราชธานี ด้วยเหตุที่ว่ามีการผสมผสานทางวัฒนธรรมในชุมชนแห่งนี้ ประชากรของชุมชนบุ่งกะแทวส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ฉะนั้นทางด้านสภาพทางสังคมจึงเป็นสังคมของชาวคริสต์โดยแท้จริง มีบาทหลวงเป็นผู้นำทางศาสนา ประชากรส่วนใหญ่จะให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟังบาทหลวง มากกว่าผู้นำทางด้านการปกครอง พอถึงเทศกาลงานประเพณีต่างๆ ในรอบปี ชาวชุมชนบุ่งกะแทวจะไปร่วมงานที่โบสถ์โดยพร้อมเพียงกัน ซึ่งจะมีเฉพาะชาวคาทอลิกเท่านั้น ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอื่นจะมีน้อยคนมากที่จะให้ความสนใจ แสดงให้เห็นว่าสังคมคาทอลิกแห่งนี้มีความผูกพันทางด้านแนวความคิด ความเชื่อ อันเป็นหนึ่งอันเดียวกันยากที่คนนับถือศาสนาอื่นจะเข้าใจได้ ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธก็จะไปร่วมงานประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาที่วัดสุปัฏนารามวิหาร ซึ่งอยู่ในเขตชุมชนบุ่งกะแทวเช่นเดียวกัน ในทุกศาสนาจะมีพิธีกรรมพิเศษสำหรับช่วงเวลาที่สำคัญของชีวิตตลอดทั้งปีมีเทศกาลสำคัญๆ ที่ทำให้ผู้คนทีนับถือศาสนาเดียวกันมารวมตัวกัน ด้านวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวคาทอลิกชุมชนบุ่งกะแทวจึงสะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตและจิตใจของชาวคาทอลิกแห่งนี้ตั้งแต่อดีตสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นมรดกสืบทอดทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษที่มีประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก ถ้าพิจารณาดูประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ของชาวคาทอลิก ที่ถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อๆ กันมาพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเพณีพิธีกรรมตามปฏิทินคาทอลิกและประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต ซึ่งการประกอบพิธีกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาทุกพิธีกรรม และจะมีพิธีกรรมการเสกรวมอยู่ด้วย ชาวคาทอลิกได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพิธีกรรมการเสกเป็นอย่างมาก จึงได้ยึดถือปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการดำเนินชีวิตของชาวคาทอลิก (หน้า, 43-44; 73-75)

Education and Socialization

          ด้านการศึกษา ชุมชนบุ่งกะแทวมีโรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนถึง 2 แห่ง คือ โรงเรียนพระกุมารอุบล เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนี้ยังเปิดรับเลี้ยงเด็กบริบาลอีกด้วย และโรงเรียนอาเวมารีอา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ทั้งสองโรงเรียนตั้งอยู่ภายในบริเวณโบสถ์คาทอลิก (อาสนวิหารแม่พระนิรมล) และอยู่ในความรับผิดชอบของเขตมิสซังอุบลราชธานี (หน้า, 40)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

           การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มชาวไทยอีสานและชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ผู้วิจัยพบว่า คนไทยเชื้อสายเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทวเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองทั้ง “ญวน” “เหวียต” และ “คนไทยเชื้อสายเวียดนาม” และ คำว่า “คนไทยเชื้อสายเวียดนาม” เพิ่งถูกนำมาใช้ในภายหลังจากที่ได้รับสัญชาติไทย สำหรับ คำว่า “ญวน” นั้น ถึงแม้ความหมายจะเป็นไปในทางดูหมิ่นดูแคลนทางชาติพันธุ์บ้าง แต่ผู้วิจัยกลับพบว่า คนไทยเชื้อสายเวียดนามชุมชนบุ่งกะแทวสามารถยอมรับได้ เพราะเมื่อคนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยายตนเองให้มีความแตกต่างไปจากชาวไทยอีสานทั่วไป พบว่าใช้คำว่า “คนญวน” ที่มีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายและอพยพมาจากประเทศเวียดนาม มีการสืบทอดวัฒนธรรมแบบเวียดนาม นับถือศาสนาพุทธ บางส่วนนับถือศาสนาคริสต์ ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ทีพิธีกรรม มีวิถีชีวิตในแบบของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง ขณะที่ การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยอีสานและชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในชุมชนบุ่งกะแทว พบว่า การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นการสร้างด้วยการใช้วัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีการปรับเปลี่ยน ลื่นไหลไปด้วยตามบริบทของสังคม เป็นไปในลักษณะที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ เมื่อบริบทสถานการณ์ทางสังคมนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้มีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมให้เข้ากับสังคมไทย การพูดภาษาไทย การเรียนหนังสือไทย และด้านศาสนามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมงานศพ งานแต่งงาน ประเพณีไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ การไหว้ตรุษญวน เป็นต้น สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกเหล่านี้ ล้วนเป็นการสืบทอดและดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งสิ้น และในขณะเดียวกันก็ใช่ว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง หากแต่มีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ทางสังคม มีการรับเอาและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ อาทิ การเปลี่ยนนามสกุลแบบเวียดนามมาเป็นนามสกุลแบบไทย เมื่อได้รับสัญชาติ แต่ยังพบว่ามีการคงรูปคำและความหมายของนามสกุลแบบเวียดนามเอาไว้ด้วย เพื่อให้ลูกหลานทราบถึงเครือญาติและความเป็นชาติพันธุ์เวียดนาม หรือการที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเลือกที่จะใช้ภาษาเวียดนาม ภาษาอีสาน และภาษาไทยเมื่อครั้งที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ ในชุมชนบุ่งกะแทว การสร้างบ้านเรือนแบบทรงไทยอีสาน ซึ่งจากเดิมบ้านเรือนแบบเวียดนามจะเป็นบ้านชั้นเดียว แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมไทย พบว่า มีการสร้างบ้านสองชั้น วัฒนธรรมการกิน การแต่งกาย หลายอย่างมีการผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทย ในส่วนของประเพณี เช่น งานศพที่มีการลดขั้นตอนในพิธีกรรมบางขั้นตอนเพื่อความสะดวก เช่นเดียวกับงานแต่งงานที่ปรับรูปแบบไปมาก แต่ยังคงส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางชาติพันธุ์ คือ การไหว้บอกกล่าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วต่อหน้าแท่นบูชาบรรพบุรุษของตระกูล เป็นต้น (หน้า, 72-78)

Social Cultural and Identity Change

          ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากประเทศเวียดนาม เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยไนประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีกระบวนการต่อรองทางวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้กลุ่มของตนเองสามารถที่จะอยู่ร่วมในสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมของสังคมไทย ถือได้ว่าวัฒนธรรมแบบเวียดนามนั้นเป็นวัฒนธรรมย่อย และในบริบททางการเมืองทั้งประเทศเวียดนามและประเทศไทย โดยเฉพาะยุคที่รัฐบาลไทยปราบปรามคอมมิวนิสต์ และผู้นำของชาวเวียดนามในประเทศไทยถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์แล้วนั้น การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์มีการปรับวัฒนธรรมต่างๆ ให้สอดคล้องสถานการณ์ละบริบททางการเมือง การแสดงออกทางวัฒนธรรมและประเพณีแบบเวียดนามเป็นกระบวนการต่อรองกับสังคมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีตัวตนทางชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม

Map/Illustration

แผนภูมิ
          แผนภูมิกรอบแนวคิดการวิจัย (หน้า, 6)

ภาพ
          ภาพวัดสุปัฏนาวรามวรวิหาร (หน้า, 51)
          ภาพโบสถ์โรมันคอทอริก (หน้า, 59)
          ภาพสำนักงานอธิการโบถส์ (หน้า, 65)
          ภาพโรงเรียนพระกุมารกุล (หน้า, 66)
          ภาพโรงเรียนอาเวมารีอา (หน้า, 67)

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG เวียดนาม, การดำรงชาติพันธุ์, การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, ชุมชนบุ่งกะแท่ว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง