สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชาติพันธุ์เวียดนาม นโยบายการอพยพ ปัจจัยและสาเหตุในการกำหนดนโยบาย ผลกระทบของนโยบาย ประเทศไทย อินโดจีน
Author ธนนันท์ บุ่นวรรณา
Title นโยบายชาวเวียดนามอพยพของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2491-2500
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 145 Year 2545
Source วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

การดำเนินนโยบายต่อผู้อพยพชาวเวียดนามในช่วงการเข้ามาบริหารประเทศของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเข้มงวดมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือน อีกทั้งการกำหนดนโยบายชาวเวียดนามอพยพรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงภายในของไทยกับผลประโยชน์ด้านนโยบายต่างประเทศที่ต้องการนำประเทศเข้าไปเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ปัจจัยดังกล่าวทำให้รัฐบาลกำหนดนโยบายเข้มงวดต่อชาวเวียดนามอพยพเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของชาวเวียดนามโดยรวมและยังทำให้ชาวเวียดนามอพยพเหล่านั้นประท้วงการดำเนินนโยบายของรัฐบาล

Focus

          ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนกำหนดนโยบายกับชาวเวียดนามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ช่วง พ.ศ. 2491-2500 และศึกษาการปฏิบัติตามนโยบายและผลกระทบการดำเนินงานของรัฐบาลที่มีชาวอพยพเวียดนาม  

Theoretical Issues

          ประยุกต์ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์เชิงพรรณนาวิเคราะห์หลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เอกสารจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หนังสือพิมพ์ และบันทึกความทรงจำที่เป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงยังใช้วิธีการสัมภาษณ์ชาวเวียดนามที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองไทย ที่จังหวัดด่งนาย สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม และชาวเวียดนามที่อยู่ในเมืองไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว  

Ethnic Group in the Focus

          ชาวเวียดนามในไทย, ชาวเวียด  

Study Period (Data Collection)

          ผู้ศึกษาจำกัดของเขตเวลาในการศึกษาในงานเอกสารนับจากช่วงสมัยอยุทธยาราวปี พ.ศ. 2190 ถึงช่วงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2491-2500

History of the Group and Community

          ชาวเวียดนามได้เดินทางเข้ามาสยามตั้งแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนคือ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199 แห่งกรุงศรีอยุธยา มีหมู่บ้านเวียดนามตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านชาวต่างชาติอื่นๆ ในเขตกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกเวียดนามส่วนมากที่อาศัยในอยุธยาเป็น “ค่ายชาวโคชินจีน” แต่ไม่สามารถประมาณได้ว่ามีชาวเวียดนามจำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามเมื่อมิซซันนารีชาวฝรั่งเศสเดินทางเข้ามาสยามใน พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) สำรวจพบว่ามีครอบครัวชาวโคชินจีนอยู่ประมาณ 100 ครอบครัว ส่วนใหญ่ข้ามาประกอบอาชีพค้าขาย บ้างขนส่งสินค้าไปมาระหว่างตอนใต้ของเวียดนามและสยาม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับพ่อค้าชาวยุโรป รวมถึงเดินเรือสินค้าให้กับราชสำนักสยาม นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากภายในประเทศเวีตดนามเอง จึงทำให้ชาวเวียดนามอพยพออกนอกประเทศสู่ประเทศไทยเป็นระยะๆ นับจากสมัยต้นกรุงรัตนรัตนโกสินทร์เรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมถึงสงครามอินโดจีน (หน้า, 2-11)  

Settlement Pattern

          การตั้งถิ่นฐานของชาวเวียดนามในไทยมีความแตกต่างกันตามช่วงเวลา กล่าวคือ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411) และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453) ตรงกับสมัยจักรพรรดิเถี่ยวจิ (Thieu Tri) (พ.ศ.2384-2390) และจักรพรรดิตื่อดึ๊ค (พ.ศ.2391-2426) พบว่า มีชาวเวียดนามที่เข้ารีตได้ลี้ภัยเข้ามาอยู่สยามเป็นจำนวนมาก และกระจายอยู่ตามเมืองสำคัญ เช่น ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรสงคราม โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงและตัดไม้ขาย เวลาต่อมา ชาวเวียดนามที่มาจากเมืองเหงะอัน (Nghe An) ห่าติ๋นห์ (Ha Tinh) และทันห์ฮั๊ว (Thanh Hua) จะเดินทางทางบก ผ่านลาว เข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้กระจายตัวอยู่บนฝั่งซ้าย และฝั่งขวาของแม่น้ำโขง บริเวณเมืองท่าอุเทน ไชยบุรี จังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม ขณะที่ช่วงฝรั่งเศสยึดประเวีดนาม ทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมากอพยพกระจายตามพื้นที่ต่างๆ หลายจังหวัดของประเทศไทย (หน้า, 11) 

Social Organization

          การดำเนินนโยบายชาวเวียดนามอพยพของรัฐบาลจอมพล ป, พิบูลสงครามในช่วงที่สอง เมื่อรัฐบาลต้องเผชิญปัญหาสภาวะสงครามเย็น สถานการณ์ของโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ส่งผลกระทบต่อประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะการแข่งขันกันหารพันธมิตรระหว่างประเทศในกลุ่มเสรีนิยมนำเลยสหรัฐอเมริกา กับประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต โดยประเทญไทยในช่วงการบริหารประเทศของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แสดงท่าทีหวาดกลัวต่อการขยายตัวของคอมมิวนิสต์โดยเลือกเข้าร่วมกับกลุ่มเสรีนิยมซึ่งมีผู้นำกลุ่มคือสหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลชุดนี้หวังจะให้สหรัฐอเมริกาช่วยเหลือในด้านการเงิน การทหารและด้านอื่นๆ รัฐบาลเริ่มดำเนินนโยบายต่อชาวเวียดนามอพยพโดยการควบคุมเข้มงวดขึ้นส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลสงสัยว่าชาวเวียดนามอพยพเข้ามาสนับสนุนโห่มินห์ และมีพฤติการณ์เกี่ยวพันธ์ในทางการเมืองกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ดังนั้น รัฐบาลจึงตัดสินใจดำเนินนโยบายต่อชาวเวียดนามอพยพอย่างเข้มงวดโดนได้ดำเนินมาตรการสำคัญ คือ ประเภทแรก สอดส่องความเคลื่อนไหวของชาวเวียดนามอพยพ ประการที่สอง จำกัดเขตควบคุมให้ชาวเวียดนามอพยพอยู่ภายในจังหวัดชายแดน 5 จังหวัด คือจังหวัดหนองคาย สกลนคร นครพนม อุบลราชธานีและปราจีนบุรี ประการที่สาม ยุบเลิกองค์กรคณะผู้แทนเวียดนามฝ่ายโห่ชิมินห์ประจำประเทศไทย ในกรุงเทพฯ ประการที่สี่ งดจัดงานฉลองวันที่ระลึกการยึดอำนาจ วันที่ 19 สิงหาคม และประการสุดท้าย ยุบเลิกสมาคมลับของชาวเวียดนาม (หน้า, 41-45)

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG ชาติพันธุ์เวียดนาม, นโยบายการอพยพ, ปัจจัยและสาเหตุในการกำหนดนโยบาย, ผลกระทบของนโยบาย, ประเทศไทย, อินโดจีน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง