สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,อัตลักษณ์,การเปลี่ยนแปลง,สังคมเมือง,เชียงใหม่
Author Boonyasaranai, Panadda (ปนัดดา บุณยสาระนัย)
Title From the upland forest to the urban city : Akha identity in changing process
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 16 Year 2544
Source Social Research Institute Chiang Mai University
Abstract

กลุ่มผู้หญิงอาข่าในเมืองเชียงใหม่พยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ในทางบวกของอัตลักษณ์ของอาข่า (Akhazang) เพื่อให้พ้นจากการเข้าใจผิดของผู้คนภายนอกในสังคมไทย ทำให้กลุ่มผู้หญิงที่มีการศึกษาพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ สังคมไทยรู้จักอาข่าในฐานะผู้ต่ำกว่า ด้อยกว่า และอยู่นอกสังคมไทย แต่ใช้ภาพลักษณ์ของอาข่าในด้านการท่องเที่ยว กลุ่มอาข่าที่อาศัยในเมืองไม่สามารถแยกตัวในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ได้เหมือนกลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เพราะว่าพวกเขามีปฎิสัมพันธ์กับสังคมเมืองหลากหลาย เป็นไปตามบริบทและอำนาจความสัมพันธ์เหล่านั้น อาข่าในเชียงใหม่ต้องต่อสู้กับหลากหลายปัญหา แม้กระนั้นก็ยังคงต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง จากความเข้าใจผิดในอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของพวกเขาจากกลุ่มคนภายนอก (หน้า 1)

Focus

การสร้างอัตลักษณ์อาข่าของผู้หญิงอาข่าที่ย้ายเข้ามาอาศัยในเมือง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่า

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1997-1998

History of the Group and Community

ในช่วงปลาย ค.ศ.19 และต้น ค.ศ.20 รัฐบาลพยายามพัฒนาไปสู่ความทันสมัย การเป็นศูนย์กลาง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มิใช่คนเมืองรู้จักในฐานะชาวเขา ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่อาศัยบนภูเขา คำนี้รับมาจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมที่เรียกกลุ่มคนในพม่าที่อาศัยบนพื้นที่สูง (Hill Tribes) รัฐบาลไทยสมัยใหม่ได้ใช้คำนี้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1959 คำว่า "ชาวเขา" จะเน้นอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่แสดงให้เห็นแบบแผนวัฒนธรรมในการปรับตัวบางแบบ คำตรงข้ามกับสังคมที่ครอบงำอยู่และมีวัฒนธรรรมที่เป็นหนึ่งเดียว และทำให้เห็นความไม่สอดคล้องกับความราบรื่นทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ และยังแสดงให้เห็นว่ามีความล้าสมัยตรงข้ามกับความทันสมัยของอีกกลุ่มหนึ่ง ภาพลักษณ์ของชาวเขาในความเข้าใจของคนกรุงเทพฯ คือ กลุ่มคนจน มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน สกปรก ไม่มีการศึกษา ติดฝิ่น เป็นผู้ค้ายาเสพติด อันตรายและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ และสิ่งแวดล้อมด้วยการทำไร่เลื่อนลอย (หน้า 2 )

Settlement Pattern

กลุ่มอาข่ามีการจำแนกที่อยู่อาศัยออกเป็นสองประเภท คือ Phu และ Yaqah Phu คือ หมู่บ้าน เป็นสถานที่ตั้งหมู่บ้าน มีที่สำหรับผีบรรพบุรุษ และมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมและพื้นที่เผาศพ Yaqah ไม่ใช่หมู่บ้านสมบูรณ์มีจำนวนผู้คนอาศัยเล็กน้อย และไม่ได้นับรวมเป็นหมู่บ้านจากทางการ ผู้คนที่อยู่ไม่ได้รู้สึกว่าด้อยกว่า แต่มีความรู้สึกเท่าเทียมกันกับกลุ่มคนที่อยู่ Phu อาข่าที่อาศัยใน Yaqah ในทุกสลัมในเมืองจะพบกันในเวลากลางคืนเพื่อแสดงความเป็นอาข่าใส่เสื้อผ้าในวัฒนธรรมของตน โดยเฉพาะหมวกและเสื้อนอก (หน้า 9-10)

Demography

สถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับประชากรของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนภูเขาในตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นที่รู้กันว่าเชื่อถือไม่ได้ อาข่าในยูนนานและพื้นที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จากพม่า ตะวันออกของรัฐฉาน-ภาคเหนือของไทย ตะวันตกของลาว รวมถึงตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม) อาจจะมีประมาณ 3-5 แสนคน ในปี 1986 มีอาข่าในไทยมากกว่า 33,000 คน และในปี 1998 มีอาข่าประมาณ 60,000 คน (สถาบันวิจัยชาวเขา 1998) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือของไทย (หน้า 2-3)

Economy

แนวทางการปลูกพืชเศรษฐกิจและการส่งเสริมการทำฟาร์มนั้น เหมือนกับแนวทางการศึกษาหรือการพัฒนาชุมชนจะประสบความสำเร็จต่อกลุ่มเป้าหมายได้ ต่อเมื่อพวกเขาให้ความร่วมมือภายในกระบวนการ ถ้าระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่นเดียวกัน แนวการพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ การศึกษาที่ดีกว่า ระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาของการพัฒนาพื้นที่สูง คุณภาพชีวิตของพวกเขายังคงเหมือนเดิม และมีการเพิ่มขึ้นของการติดเฮโรอิน ผู้ค้ายาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มที่เคยทำไร่ได้กลายมาเป็นแรงงานรับจ้าง กระบวนการพัฒนานอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จยังสร้างปัญหาใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นภายในสังคมไทย (หน้า 3-4) ในช่วงหลังปี 1960 เชียงใหม่ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวทางภาคเหนือ หนึ่งในโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวคือการนำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตลาด Night Bazaar เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในการขายสินค้าหัตถกรรมชาวเขา เครื่องประดับตกแต่ง ปัจจุบันได้มีกลุ่มชาวพื้นทีสูงหลายกลุ่ม เช่น ม้ง เย้า อาข่า ลีซู เข้ามาในเชียงใหม่และขายสินค้าโดยตรงให้กับนักท่องเที่ยว ในปี 1975 อาข่าผู้หญิงได้เปิดร้านขายของให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ อาข่าจำนวนมากเริ่มอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองและใช้ชีวิตกลางคืนขายของที่ Night Bazaar (หน้า 6-7) นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนบนพื้นที่สูง โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ที่เข้ามาทำงานในเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในร้านอาหาร ปั้มน้ำมัน สลัม ตลาด ถนน ซึ่งได้รับค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐาน (หน้า 10)

Social Organization

ผู้หญิงอาข่าเริ่มมีรายได้เป็นของตัวเองและเป็นเอกเทศไม่อยู่ภายใต้สามีอีกต่อไป (หน้า 7) เด็ก ๆ ห่างจากหมู่บ้านเนื่องจากต้องเข้ามาทำงานในเมืองหรือการศึกษาเล่าเรียน กลุ่มความสัมพันธ์ทางสังคมเปลี่ยนไปจากเดิมที่ศูนย์กลางคือครอบครัวมาเป็นเพื่อนที่โรงเรียนหรือกลุ่มคนที่ทำงานด้วยกัน (หน้า 11)

Political Organization

ปัญหาสำคัญของกลุ่มคนบนพื้นที่สูงคือการไม่มีบัตรประชาชน แม้ว่าจะอยู่ในประเทศไทยมายาวนานก็ตาม แต่ก็มีบางส่วนที่อพยพเข้ามาใหม่แต่เป็นเพียง 10-15% บัตรประชาชนเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการและเป็นสิ่งจำเป็น พวกเขาต้องการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ และมีปฎิสัมพันธ์ในสังคม การเมือง การได้มีพื้นที่อาศัย เลือกตั้ง เนื่องจากรัฐบาลขับไล่พวกเขาออกจากพื้นที่ทำกินในส่วนหนึ่งเพราะไม่มีบัตรประชาชนยืนยันความเป็นคนไทย (หน้า 4-5) ในช่วงปี 1999 เดือน เมษายน - พฤษภาคม กลุ่มคนบนพื้นที่สูงได้ประท้วงในเมืองเชียงใหม่ เรียกร้องสัญชาติไทย และการแก้ไขปัญหาป่าและที่ดินทำกิน ผลจบลงด้วยการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ในการสลายการประท้วง ภายหลังรัฐได้มอบบัตรพิเศษซึ่งมีสีต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้สิทธิเท่ากับบัตรประชาชน (หน้า 5)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

เด็ก ๆ ห่างจากหมู่บ้านเนื่องจากต้องเข้ามาทำงานในเมืองหรือการศึกษาเล่าเรียน ในระบบการศึกษาของรัฐบาลไทย (หน้า 11)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ชุดอาข่าผู้หญิงแบบดังเดิมจะเป็นเสื้อครึ่งตัว เสื้อนอกและกระโปรงสั้น พร้อมกับสนับเข่า ประดับตกแต่งด้วยลูกเดือยและอื่น ๆ สีสันหลากหลาย และมีชุดสีดำด้วยเช่นกัน ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นฝ้ายที่ปลูกกันในแต่ละพื้นที่หมู่บ้าน พร้อมกับมีกระเป๋าย่าม ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าที่ระลึกที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว และมีเครื่องประดับสำหรับศรีษะทำด้วยเงินตกแต่งลวดลาย (หน้า 9)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองอาข่าแต่และกลุ่มได้สร้างอัตลักษณ์ใหม่ ความเป็นตัวตนให้ปรากฎต่อผู้ที่เข้าใจผิดและอาข่ารุ่นใหม่ใช้เป็นแนวทาง โดยกลุ่มผู้หญิงอาข่า ที่มีความรู้และการศึกษาจากตัวอย่างของผู้หญิงอาข่าสามคน คือ Mee- Seu Choo Poh, Deuleu Choopoh และ Mee Ju Moh Poh จากบทบาทของผู้หญิงสามคนซึ่งแตกต่างกัน คนที่หนึ่ง Mee- Seu ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ คนที่สอง Deuleu เป็นเจ้าของกิจการส่งออก หัตถกรรม สินค้าที่ระลึก และคนที่สาม Mee Ju เป็นเจ้าหน้าที่ NGO ทั้งสามเป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีความรู้ พวกเขามีความเหมือนกันคือสร้างอัตลักษณ์ ตัวตนของอาข่าในสังคมไทย การแต่งกาย วัฒนธรรม หมู่บ้าน อาจหายไปแต่จิตสำนึกของความเป็นอาข่า (Akha zang) ยังคงอยู่และได้รับการสืบทอดต่อไป (หน้า 12-13)

Social Cultural and Identity Change

อาข่าบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทยพยายามปรับตัวเข้าสู่สังคมไทย และเรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพการณ์โดยรอบ อาข่าเป็นที่รู้จักในฐานะ ชาวเขา ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา และเป็นวัตถุทางการท่องเที่ยว การรับรู้และเข้าใจผิดเกี่ยกับอาข่ามีให้เห็นในสื่อ อาข่าพยาพยามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความเป็นตัวตนของพวกเขา ภายหลังการพัฒนาตามโครงการของรัฐบาล การปลูกพืชเศรษฐกิจและการศึกษาระบบใหม่นำพวกเขาไปสู่ความเป็นไทยมากขึ้น สภาพชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจและสูญเสียความรู้ทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ชุมชนหมู่บ้านบนพื้นที่สูงแม้ว่ายังมีสภาพภูมิศาสตร์แยกออกไปจากเมือง แต่ขาดความเป็นอัตลักษณ์อาข่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เลือกที่จะดำเนินชีวิตในแบบสังคมไทยและอพยพเข้าสู่เมือง โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ เพื่อการศึกษาและรายได้ที่สูงกว่า สำหรับอาข่าในเมืองไม่สามารถแยกชุมชนในเชิงพื้นที่ได้ แต่ต้องเผชิญกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์อาข่า ได้พยายามสร้างอัตลักษณ์ใหม่และฟื้นฟูจิตสำนึกความเป็นอาข่าขึ้นมาอีกครั้ง (หน้า 13)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG อาข่า, อัตลักษณ์, การเปลี่ยนแปลง, สังคมเมือง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง