สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,เมี่ยน อิวเมี่ยน,อาข่า,ลาหู่ ลาฮู,ลีซู,กลุ่มชาติพันธุ์,การปรับตัว,เมือง,เชียงใหม่
Author ปนัดดา บำรุง
Title Ethnic Adaptation in Urban Chiang Mai.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 14 Year 2541
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การพัฒนาไปสู่ความทันสมัยส่งผลให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมบริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสังคมบนพื้นที่สูงเช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของกลุ่มอพยพเข้าสู่เมืองเชียงใหม่สะท้อนให้เห็นถึงผลของการพัฒนาและปัญหาที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สูง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่และปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งทำลายภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน และการสูญเสียการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น ไม่สามารถดำรงชีวิตในแบบดั้งเดิม ส่งผลให้ต้องกลายเป็นแรงงานเข้ามาทำงานก่อให้เกิดปัญหาซับซ้อนทั้งยาเสพติด การค้าประเวณี และการติดเชื้อเอดส์ เมื่อเข้ามาอยู่สภาพสังคมแบบเมืองใหญ่ (หน้า 10)

Focus

ศึกษาและทำความเข้าใจสาเหตุของการอพยพเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ การก่อตัวของเครือข่ายทางสังคม และแนวทางในการจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางเหนือของไทย ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ คือ ม้ง ลาหู่ ลีซู เย้า และ อาข่า (หน้า 7)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1998

History of the Group and Community

เชียงใหม่เป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับประเทศพม่า ลาวและจีน มีกลุ่มคนอพยพเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กล่าวกันว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อยู่รวมกัน แต่บางครั้งก็ไม่สามารถแยกกลุ่มที่อพยพใหม่ออกจากกลุ่มคนที่อาศัยดั้งเดิมได้ ปัจจุบันพวกเขารับวัฒนธรรมสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย เพื่อปรับตัวและยอมรับวัฒนธรรมไทย (หน้า 8)

Settlement Pattern

กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่เมืองเชียงใหม่เพื่อทำงานและอาศัยอยู่ในร้านอาหาร ปั้มน้ำมัน และชุมชนแออัด และพบกลุ่มที่เร่ร่อนไปตามถนน (หน้า 5)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ตั้งแต่ปี 1960 มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงมากมาย โดยเฉพาะการสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่นแต่ราคาผลผลิตไม่แน่นอนและบางครั้งขาดทุน แนวทางในการพัฒนาได้ส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตและความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม และเกิดการอพยพเข้าสู่เมืองการเป็นแรงงานในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ และปัญหาการปลูกฝิ่นแม้ว่าจะหมดไปในประเทศไทยแต่มีการนำเข้าจากประเทศใกล้เคียง กลุ่มคนบนพื้นที่สูงจากเดิมที่ไม่ได้มีเครือข่ายกับกลุ่มผู้ค้ายาภายนอกได้เข้ามาเป็นคนกลางในการขนส่งยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทย และในปัจจุบันมีการใช้เฮโรอีนแทนที่ฝิ่นเนื่องจากเฮโรอีนเข้าได้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่ ผู้ต้องการใช้เป็นกลุ่มแรงงานที่ต้องทำงานหนัก และการเพิ่มขึ้นของการใช้ยาในกลุ่มนักท่องเที่ยว และการติดได้ขยายออกไปยังกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มแรงงานมากขึ้น (หน้า 3)

Social Organization

เมืองเชียงใหม่มีลักษณะเป็นสังคมพหุชาติพันธุ์มาช้านาน "ชาวเขา" เปลี่ยนการแต่งกายและถือปฏิบัติแบบคนไทย บางที่ก็ไม่อาจจะบอกความแตกต่างได้ จึงทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างสามารถเปลี่ยนจากกลุ่มหนึ่งไปเป็นอีกกลุ่มหนึ่งได้ง่ายดาย พรมแดนชาติพันธุ์จึงไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในสถานการณ์ใดมีปฏิสัมพันธ์กับใคร สถาบันสังคมเช่นเครือญาติและความผูกพันกับหมู่บ้านเดิมจึงไม่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์แบบเป็นกลุ่มเดียวกันได้ แต่ประสบการณ์และผลประโยชน์ต่างหากที่ก่อให้เกิดความเป็นพวกเดียวกัน (หน้า 8)

Political Organization

การเรียกรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ บนพื้นที่สูงว่าชาวเขาจากรัฐ ก่อให้เกิดปัญหาในด้านอัตลักษณ์ของกลุ่ม รวมถึงการมองจากรัฐว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นพวกอันตราย สร้างปัญหาในด้านความมั่นคงของชาติ ก่อให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ปัญหาที่สำคัญคือ การรับสัญชาติไทย ความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และปัญหายาเสพติด ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจนถึงปัจจุบัน (หน้า 2)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

การเข้ามาของรัฐในการจัดการระบบการศึกษาแบบใหม่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิม กลุ่มคนรุ่นใหม่มีความเป็นไทยมากขึ้น แต่การศึกษาในรูปแบบใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงบางครอบครัวผู้ปกครองไม่สามารถส่งเสียบุตรหลานได้ มีเด็กจำนวนหนึ่งเข้าไปทำงานในเมืองในช่วงวันหยุดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนของตน และเมื่อต้องการศึกษาในระดับสูงจะอพยพเข้ามาเรียนในเมือง (หน้า 3-4)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การอพยพเข้าสู่เมืองทำให้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ สูญหายไปหรือถูกใช้ไปในด้านของการท่องเที่ยว แม้ว่าจะมีการรวมตัวกันสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนต่าง ๆ ในเมือง แต่ความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของแต่ละปัจเจกบุคคล (หน้า 5-6)

Social Cultural and Identity Change

การอพยพเข้าสู่เมืองของกลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผลของการพัฒนา มีความพยายามในการปรับตัวในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา แต่ในที่สุดพวกเขาได้สูญเสียวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม สูญเสียการจัดการทรัพยากรธรรรมชาติในท้องถิ่นและการดำรงชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ระบบตลาด เชียงใหม่เป็นสถานที่ใหม่ในการประกอบอาชีพ อาจกล่าวได้ว่าการเพิ่มขึ้นของการอพยพเป็นผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนบนพื้นที่สูงในปัจจุบัน (หน้า 5)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ปัญหาการค้าประเวณี ยาเสพติด และการติดเชื้อ HIV จากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยชาวเขาในปี ค.ศ.1993 จาก 225 หมู่บ้านบนพื้นที่สูง มีผู้หญิง 1,683 คน ในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ออกมาทำงานนอกหมู่บ้าน มี ลาหู่ 36.6% เมี่ยน 18.7% อาข่า 16.4% และลีซอ 9.8% 36.2 % ทำงานขายบริการทางเพศ นอกจากนั้นทำงานอื่น ๆ เช่น แม่บ้าน ร้านอาหาร แรงงานรับจ้าง ฯลฯ ในเมืองเชียงใหม่มีผู้หญิงชาติพันธุ์ต่างๆ บนพื้นที่สูงขายบริการทางเพศประมาณ 200 คน และนอกจากนี้ยังมีการออกไปค้าประเวณีนอกประเทศไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น มาเลย์เซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น กลุ่มผู้หญิงที่ค้าประเวณีมีความเสี่ยงในการติดยาเสพติดและเชื้อเอดส์ เพิ่มมากขึ้น

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, เมี่ยน อิวเมี่ยน, อาข่า, ลาหู่ ลาฮู, ลีซู, กลุ่มชาติพันธุ์, การปรับตัว, เมือง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง