สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,ต้นกำเนิด,หลักเมือง,ศิวลึงค์,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Author Mikio, Mori
Title Taikeisyuzokuno “Kuninihashira” Shisaiwo Megustute-Taikeibunkarikaino-Shikaku (3)
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาญี่ปุ่น
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 10 Year 2535
Source Journal of Asian and African Studies, No.41
Abstract

กล่าวถึงต้นกำเนิดของหลักเมืองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับศิวลึงค์หรือไม่ มีการยกเหตุผลทั้งที่สนับสนุนว่าหลักเมืองมาจากศิวลึงค์และเหตุผลโต้แย้ง

Focus

ต้นกำเนิดของหลักเมือง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทดำ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ในสังคมไทดำให้ความสนใจต่อความคงทนของเสาหลักเมืองมาก เนื่องจากหลักเมืองเป็นเสาที่ค้ำให้สวรรค์และโลกไม่สั่นคลอน และยังเป็นสิ่งเชื่อมต่อกับโลกใต้ดินในจินตนาการอีกด้วย ความคงทนแข็งแรงของเสาหลักเมืองเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงและยั่งยืนของเมืองรวมทั้งตัวเจ้าเมืองด้วย หลักเมืองที่ไม่คงทนและเอนเอียงอาจหมายถึงความล้าหลังของเมือง ความอ่อนแอของเจ้าเมือง ดังนั้นเจ้าเมืองมักจะสร้างหลักเมืองในบริเวณที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการลอบทำความเสียหายจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดี (หน้า 132) ความเชื่อเกี่ยวกับโลกทั้งสามของคนไทนั้น ประกอบด้วยโลก สวรรค์และโลกใต้ดิน ทั้งสามโลกจะสอดคล้องเชื่อมโยงกันด้วย เจ้าเมือง แถนหลวงและผีเมือง โครงสร้างนี้สามารถเชื่อมอำนาจของโลกใต้ดินและสวรรค์ได้ เหตุนี้ทำให้เจ้าเมืองมีความชอบธรรมในการถือครองที่ดินและปกครองเมืองของตน (หน้า 133)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานของชาติพันธุ์ไทดำในเรื่องความเป็นเมือง กล่าวถึงตำนานการเกิดโลกว่า พื้นโลกนั้นมีลักษณะเหมือนน้ำเต้าขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน้ำ หลังจากสวรรค์กับโลกถูกแยกออกจากกันจากความพิโรธของแถนหลวง ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นซึ่งพื้นโลกก็ได้ขนมนุษย์และสัตว์เอาไว้ หลังจากหายนะสิ้นสุด แถนหลวงก็ได้ส่งกษัตริย์สององค์มายังพื้นโลกเพื่อสร้างเมือง และมอบสิ่งจำเป็นในการสร้างเมืองมาให้ คือ เสาค้ำฟ้า (sao kham fa) ซึ่งเป็นเสาที่ทำหน้าที่ค้ำสวรรค์และโลกมั่นคง (หน้า 130-132)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ในปัจจุบันลักษณะและพิธีกรรมเกี่ยวกับหลักเมืองมีความซับซ้อนหลากหลายมากขึ้น นอกจากได้รับอิทธิพลฮินดูแล้ว หลักเมืองยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาอื่นๆ เช่น Ch'eng Huang ซึ่งเป็นศาสนาพื้นเมืองศาสนาหนึ่งที่คนจีนที่อพยพเข้ามานำมา (หน้า 129)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

รูปทรงของหลักเมืองถูกตีความว่ามีรูปร่างใกล้เคียงกับอวัยวะเพศชายหรือศิวลึงค์ เนื่องจากหลักเมืองมีลักษณะเป็นเสากลม นอกจากรูปทรงภายนอกแล้ว หน้าที่ของเสาหลักเมืองและศิวลึงค์ก็ใกล้เคียงกัน คือมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์ (หน้า 125-126) ซึ่งมีการนำข้อมูลเรื่องความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาฮินดูในยุคสุโขทัยมาเป็นหลักฐานอ้างอิงความเกี่ยวข้องดังกล่าว แต่มีการศึกษาและโต้แย้งความคิดดังกล่าวโดยมีข้อโต้แย้งดังนี้ 1.การรับศาสนาฮินดูของไทยคือในชนชั้นกษัตริย์นั้น เทพที่ได้รับการนับถือคือพระวิษณุ (รวมถึงพระรามซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระวิษณุ) ส่วนพระศิวะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้ว ศาสนาฮินดูก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับมโนคติของอำนาจกษัตริย์ 2.ช่วงเวลาการเข้ามาของศิวลึงค์ในไทยอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 7-11 หลังจากนั้นไทยก็อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรขอมในช่วงศตวรรษที่ 13 ซึ่งหลักเมืองเกิดขึ้นหลังจากนั้น 3. วัสดุของหลักเมืองทำมาจากไม้แต่วัสดุที่ใช้ทำศิวลึงค์ในสมัยก่อนทำมาจากหินแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นไม้ (หน้า 127-128) แม้กระนั้นก็มีหลักฐานที่ระบุถึงช่วงเวลาหนึ่งที่ชาวบ้านนับถือศิวลึงค์ โดยในช่วงนั้นสัญลักษณ์อวัยวะเพศชายที่ทำจากไม้มีความรุ่งเรืองมาก ข้อสรุปและเหตุผลที่ถูกนำมาใช้อ้างว่าหลักเมืองไม่ได้มาจากศิวลึงค์ 1. หลักเมืองมีปรากฏเฉพาะในสังคมชาติพันธุ์ไท แต่เขตที่ได้รับอิทธิพลเขมรไม่ใช่อยู่แค่เขตที่ชาติพันธุ์ไทอาศัยอยู่เท่านั้น 2. การแพร่ขยายของอิทธิพลเขมรนั้นไม่ได้ครอบคลุมเขตที่ชาติพันธุ์ไทอาศัยอยู่ทุกกลุ่ม แต่ก็พบความเชื่อเรื่องหลักเมืองในเขตชาติพันธุ์ไทที่ไม่ได้รับอิทธิพลเขมรด้วย 3. ในประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ได้รับอิทธิพลเขมรกับกลุ่มไทที่ไม่ได้รับไม่มีการติดต่อกัน (หน้า 129)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst Tatsuo Iida, Sivarin Lertpusit Date of Report 18 มี.ค 2564
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, ต้นกำเนิด, หลักเมือง, ศิวลึงค์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง