สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ระบบเครือญาติ,โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม,ระบบตลาด,ผลกระทบ,เชียงใหม่
Author Hamilton, James W.
Title Effects of the Thai Market on Karen Life.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 7 Year 2506
Source Practical Anthropology, 10: 5 (Sept-Oct.1963), p.209-215 [Tarrytown, N.Y.]
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาผลกระทบของตลาดที่มีต่อชุมชนกะเหรี่ยง และชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนเทคโนโลยี การจัดองค์กรทางสังคม และอุดมการณ์ของชุมชนกะเหรี่ยงบ้าน Hong จ.เชียงใหม่นั้นเป็นผลมาจากการเกี่ยวข้องกับตลาดและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่ระบบเศรษฐกิจภายใน ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความร่วมมือ แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสายตระกูลมารดามีความสำคัญกว่า กลายมาเป็นเศรษฐกิจภายนอก คือ การติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับผู้ที่ไม่ใช่เครือญาติ ไม่ใช่กะเหรี่ยงเริ่มมีบทบาทสำคัญมาก

Focus

ผลกระทบของตลาดที่มีต่อวิถีชีวิตของกะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดเชียงใหม่

Theoretical Issues

ระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ศึกษาเป็นแบบทวิภาค มีลักษณะการจัดระเบียบที่แตกต่างกันแยกเป็น 2 ระบบ คือ 1) ระบบเศรษฐกิจภายใน มีพื้นฐานจากเศรษฐกิจแบบยังชีพที่อาศัยความร่วมมือ การตอบแทน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในตระกูลซึ่งสืบสายเลือดข้างผู้หญิง 2) ระบบเศรษฐกิจภายนอกซึ่งจัดระเบียบอีกแบบหนึ่ง คือทำให้กะเหรี่ยงมีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่ใช่กะเหรี่ยงบนหลักการที่ถือผลประโยชน์เป็นหลัก โดยอิงกับอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของ "ตลาด" ที่มี 2 ระดับ คือ "market proper" ที่เป็นอุปสงค์และอุปทานในเรื่องปัจจัยการผลิต กับ "bazaar" ที่เป็นอุปสงค์และอุปทานต่อผลผลิต ในทัศนะของผู้วิจัย วัฒนธรรมกะเหรี่ยงจะเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจาก "market proper" เพราะมีแนวโน้มที่จะหันไปผูกกับระบบเศรษฐกิจภายนอกซึ่งเป็นเศรษฐกิจการตลาด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (น.211) เงื่อนไขสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ทรัพยากรสำคัญ คือ ที่ดิน เมื่อกะเหรี่ยงต้องมาอยู่ภายใต้โครงสร้างรัฐไทย ซึ่งจำกัดการเคลื่อนย้าย ซึ่งทำให้เกิดภาวะกดดันทางประชากรและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมของกะเหรี่ยง คือต้องเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกจากการทำไร่หมุนเวียนไปทำนา ซึ่งนำกะเหรี่ยงเข้าสู่ระบบตลาด และจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่ม ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะนำความคิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เช่น คันไถ ซึ่งส่งผลการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงแบบแผนกรรมสิทธิ์ที่ดินและการตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงาน ที่มีการย้ายไปตั้งบ้านเรือนบริเวณบ้านฝ่ายหญิงลดน้อยลง รวมทั้งความเชื่อที่หันไปนับถือพุทธศาสนามากขึ้น ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคือการสูญเสียความเป็นอิสระทางวัฒนธรรม โดยกะเหรี่ยงได้โน้มเอียงไปพึ่งวัฒนธรรมภายนอกมากขึ้น

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

เดิมจะตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกันในกลุ่มสายตระกูลมารดา เมื่อลูกสาวออกเรือนสามีจะย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่ เพื่อพึ่งพิงกันในการลงแรงทำนา (น.209) Marshall (1922) รายงานว่ากะเหรี่ยงที่อยู่บนเขาในพม่านั้นอาศัยอยู่ในบ้านทรงยาว (longhouse) ขณะที่พวกที่อาศัยอยู่ในที่ราบอยู่เป็นบ้านหลังเดี่ยว ๆ ผู้เขียนไม่พบเห็นว่ามีการอาศัยรวมกันของครอบครัวเดี่ยวหลาย ๆ ครอบครัวในบ้านทรงยาวในประเทศไทย มีแต่การตั้งบ้านรวมกลุ่มเรียงติด ๆ กัน (น.214)

Demography

ชุมชนกะเหรี่ยงที่บ้าน Hong มี 35 หลังคาเรือน ส่วนบ้านวังลุงมี 300 หลังคาเรือน และประมาณจำนวนประชากรกะเหรี่ยงที่อยู่ทางภาคเหนือของไทยว่ามี 71,500 คน และอย่างต่ำสุดจำนวน 26,500 คนนั้นอพยพมาจากพม่า (น. 209)

Economy

ชุมชนกะเหรี่ยงทำนาเป็นหลักทั้งนาดำ และนาหว่าน มีการล่าสัตว์ เก็บของป่า ตกปลา ปลูกผักผลไม้บ้าง ผู้หญิงเลี้ยงหมู ไก่ วัวควาย บ้างก็ค้าปศุสัตว์ ผลิตภัณท์ที่ขายเพื่อให้ได้เงินก็คือ ผ้าทอ พืชผัก เชือก ตะกร้า (น.209) เศรษฐกิจของชุมชนมี 2 ระบบ คือ เศรษฐกิจภายใน มีพื้นฐานอยู่บนความร่วมมือ แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสายตระกูลมารดา ผู้ชายเข้าไปอยู่ในสายตระกูลมารดาของหญิงที่เขาแต่งงานด้วย ช่วยทำงานตกปลา เพาะปลูก เก็บเกี่ยว และล่าสัตว์ร่วมกัน แม้จะไม่ได้รับส่วนแบ่งเท่ากันแต่หากครอบครัวใดมีความจำเป็น ก็หยิบยืมจากครอบครัวอื่น ๆ ในสายตระกูลเดียวกันได้ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพที่มีพื้นฐานอยู่ที่การปลูกข้าวไร่ จึงจำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์สายตระกูลและเครือญาติ (น.210) ส่วนเศรษฐกิจภายนอกนั้น คือ การติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับผู้ที่ไม่ใช่เครือญาติ ไม่ใช่กะเหรี่ยง มีจุดหมายที่จะ "หาให้ได้มากที่สุดและจ่ายน้อยที่สุด" เป็นความสัมพันธ์แบบอุปสงค์ (supply) อุปทาน (demand) โดยคำนึงถึงแรงงาน ทรัพยากร และทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น ๆ (commodities) ซึ่งในอดีตเศรษฐกิจภายนอกจะมีความสำคัญน้อยกว่าเศรษฐกิจภายใน แต่เมื่อการเผาถางป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ต้องแอบลักลอบทำ การปลูกข้าวไร่ต้องใช้เวลานานขึ้นและให้ผลผลิตต่ำลง กะเหรี่ยงจำนวนมากจึงเปลี่ยนไปปลูกข้าวนาดำ (wet-rice) ที่ดินกลายเป็นสินค้าที่ถูกซื้อ-ขาย และครอบครอง ต้องขึ้นทะเบียนและเสียภาษี การเพาะปลูกด้วยเทคนิคใหม่นี้ทำให้เจ้าของนาจำเป็นต้องหาเงิน ถูกผูกเข้ากับตลาด พืชเศรษฐกิจเริ่มมีความสำคัญ สิ่งของที่มีอยู่ก็ถูกนำไปขายและเปลี่ยนในตลาดและบาซาร์ ของหลายสิ่งกลายเป็นสินค้า เงินเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น ทุกบ้านผลิตข้าวไม่พอกินถึงฤดูหน้า จำต้องซื้อข้าว ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ภายในสายตระกูล เพราะต้องการเงินมาจับจ่ายของที่จำเป็น เศรษฐกิจภายนอกจึงมีบทบาทนำ (น.212) ตัวแปรหลักที่ทำให้ผูกติดกับตลาดมากขึ้น ได้แก่ ระบบจ้างงานและคนกลางระหว่างชุมชนกับตลาด ได้แก่ - ผู้ทำการค้า (trader) มีมานานแล้วในสังคมกะเหรี่ยง คือคนหนุ่มจำนวนหนึ่งที่เดินทางไปตามภูเขา 2-3 เดือนเพื่อทำการค้าขายทอง วัว ฝิ่น ลูกปัด มีด ฯลฯ ขณะที่วิจัย กลุ่มนี้ทำกำไรด้วยการกู้เงินคนไทย (เสียดอกเบี้ย) ไปซื้อวัวในพม่าและนำกลับมาขายในไทย - คนขายของ (salesman) เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่พัฒนามาจากการค้าทางไกล มีคนหนุ่ม 3-4 คนในหมู่บ้านที่รับผ้าทอและเชือกถักที่ชาวบ้านทำไปขายเอากำไร - นายงาน (labor boss) เป็นบทบาทใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายนัก ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการที่ดินของตนเอง ของกะเหรี่ยงคนอื่น ตลอดจนนายทุนไทยด้วย เขาจะจ้างคนงานมาเตรียมดิน เพาะปลูก เก็บเกี่ยว นวดข้าว บางทีก็จ่ายค่าแรงด้วยเงิน บางทีก็จ่ายด้วยข้าว กะเหรี่ยงบางรายสามารถเพาะปลูกทั้งแบบเผาถางป่า (Swidden field) และทำนาดำ (paddy field) ได้ โดยจ้างนายงานมาดูแลนาให้ คน ๆ นี้เป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของที่ดินกับแรงงาน แม่ของเขาเป็นคนไทยคนเดียวในหมู่บ้าน (น.213) - การเป็นแรงงาน เนื่องจากชายส่วนใหญ่ในหมูบ้านไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน (มี 8 ครอบครัวเท่านั้นเป็นเจ้าของที่) 25 ครอบครัวต้องหารายได้พิเศษด้วยการขายผ้าทอ เชือกถัก ปลา และผัก ดังนั้น สามี รวมถึงภรรยาและลูกที่ยังไม่แต่งงานจะไปรับจ้างทำงานที่หมู่บ้านคนไทย หรือรับจ้างนายงานเป็นครั้งคราวเพื่อหาเงิน แต่เมื่อมีพอแล้วก็จะไม่รับจ้าง บทบาทของคนกลางและแรงงานนั้นทำให้เกิดความคิด พฤติกรรม ความเชื่อใหม่ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (น.213)

Social Organization

ครอบครัวเดี่ยวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด บางครั้งอาจมีญาติผู้ใหญ่หรือเด็กมาอยู่ร่วมในครัวเรือนด้วย ผู้หญิงจะเป็นเจ้าของบ้านและโดยทั่วไปจะตั้งอยู่ใกล้บ้านแม่ หน่วยทางสังคมที่ใหญ่ขึ้นคือ สายตระกูลฝ่ายมารดา ซึ่งอาศัยในละแวกเดียวกัน มักเป็นพี่น้องกัน ลูกสาวที่ออกเรือนแล้ว และเด็กที่ยังไม่แต่งงาน กลุ่มสายตระกูลนี้จะมีผู้หญิงที่อาวุโสสุดเป็นผู้ควบคุมทำพิธีกรรมให้เมื่อเกิดเจ็บป่วย โดยจะห้ามผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกในสายตระกูลเข้าร่วมพิธี หมู่บ้านที่มีประมาณ 35 หลังคาเรือนนี้ ควบคุมโดยหัวหน้าหมู่บ้านที่เป็นชาย ซึ่งทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญของชุมชนปีละ 1-2 ครั้ง ดูแลตัดสินข้อพิพาท และทำพิธีขอขมาผีเมื่อเกิดการทำผิดผีหรือวิกฤตต่าง ๆ (น.210)

Political Organization

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในชุมชนได้แก่ หัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าสายตระกูลที่เป็นผู้หญิง หมอตำแย หมอผีชาย ผู้มีเวทมนต์คาถา หมอทำนายชะตา เซลส์แมน พ่อค้า นายงาน และผู้สูงอายุที่รอบรู้ธรรมเนียมประเพณี นิทานปรัมปราของกะเหรี่ยง และทำพิธีกรรมต่าง ๆ คณะผู้อาวุโสเหล่านี้จะอยู่ใต้การควบคุมของหัวหน้าหมู่บ้าน ทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วย เป็นตัวแทนทางการเมืองที่ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านคนกลางที่เป็นหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งรัฐไทยแต่งตั้ง (น.210) การที่มีคนที่มีบทบาทพิเศษในการติดต่อการค้ากับตลาดมากขึ้นส่งผลให้กะเหรี่ยงสูญเสียการปกครองตนเอง เริ่มต้องพึ่งพิงไทยมากขึ้น องค์กรทางการเมืองแบบกะเหรี่ยงยังคงอยู่เพื่อจัดการปัญหาภายใน แต่ก็ต้องมีหัวหน้าที่ได้รับแต่งตั้งจากไทยด้วย ซึ่งหัวหน้าทางการนี้อาจดูแลหลายหมู่บ้าน ทำรายงาน รับคำสั่งและแจ้งข่าวจากราชการไทยให้ชาวบ้านทราบ มีหลายครั้งที่เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้นำทางการกับผู้นำตามประเพณี (น.215)

Belief System

แต่เดิมนั้น คนในชุมชนกะเหรี่ยงนับถือผีเป็นหลัก ต่อมามีการเปลี่ยนอุดมการณ์จากนับถือผีมานับถือพุทธ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกี่ยวข้องกับตลาด กะเหรี่ยงที่มีที่นาจะไปวัดและเข้าร่วมในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ผู้นำกะเหรี่ยงกล่าวว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและศาสนา หากการเปลี่ยนศาสนานั้นช่วยให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ดังกรณีที่ชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ เป็นผู้จ้างแรงงานและขายข้าวจำนวนมากให้แก่ตลาด มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ เมื่อเขาจัดงานศพมารดาเขาจัดพิธีแบบพุทธก่อน มีพระสงฆ์มาสวด จากนั้นจึงค่อยทำพิธีแบบกะเหรี่ยง เขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยในส่วนของพิธีแบบพุทธ (น.214) เมื่อเริ่มนับถือพุทธมากขึ้น จริยธรรมแบบเดิมเริ่มเปลี่ยน มีความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นหนึ่งกับอีกรุ่น มีการเชิญคนทรงของไทยและพระสงฆ์มาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งระบบความเชื่อแบบผีดั้งเดิมของกะเหรี่ยงไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป (215)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เดิมมีหมอตำแย หมอผีชายที่ทำการรักษาโดยใช้คาถา ผู้ทำนายดวง และผู้ที่มีเวทมนต์ดำ (น.209)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่มิใช่ว่ากะเหรี่ยงจะกลายเป็นไทยอย่างสมบูรณ์ พวกเขายังคงรักษาความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เอาไว้ กลายเป็นวัฒนธรรมย่อย (sub-culture) ของรัฐไทย ซึ่งต้องทำการศึกษาต่อไปว่า อะไรคือแรงบีบให้กะเหรี่ยงพยายามธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เอาไว้ แม้นจะสูญเสียอิสระทางวัฒนธรรม (cultural autonomy) ไปแล้ว (น.215)

Social Cultural and Identity Change

ในยุคก่อนตลาดนั้น กะเหรี่ยงใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ ของส่วนใหญ่ผลิตจากไม้ หญ้า ใบไม้ เปลือกไม้ ทำเชือก ปลูกฝ้ายและทอผ้าใช้เอง การเพาะปลูกก็ใช้ไม้ขุดและเผาถางที่ จึงมีการใช้วัสดุภายนอกเพียงอย่างเดียว คือ มีดโลหะ แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำนาดำ เจ้าของที่ต้องมีเครื่องมือโละ เช่น ไถ คราด ล้อหมุนน้ำ อุปกรณ์เทียมควาย ซึ่งต้องซื้อหามาทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่ได้ผลิตเพื่อบริโภคเท่านั้นต้องเพื่อขายด้วย เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับตลาดมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจภายในลดความสำคัญลงแบบแผนการอยู่อาศัยหลังแต่งงานก็เปลี่ยนไปด้วย 9 รายจากจำนวน 40 รายไม่ทำตามแบบแผนการสืบสายตระกูลมารดา ผู้ชาย 6 คนแต่งงานเข้าในตระกูลที่มีที่นามากที่สุด รายที่ 7, 8 นั้นคู่แต่งงานอาศัยอยู่กับพ่อแม่ภรรยาชั่วคราว แล้วก็ย้ายไปอยู่หมู่บ้านสามีเพราะใกล้ที่นาของพ่อ ส่วนรายที่ 9 นั้นย้ายมาบ้านหงส์ด้วยความช่วยเหลือของญาติๆ และเพราะภรรยาต้องการอยู่ใกล้ตลาดเพื่อขายสินค้าผ้าทอ แต่เธอก็เล่าว่า มีแผนที่จะกลับไปยังหมู่บ้านของเธอเอง การสืบทอดมรดกที่นาทำกิน ซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้ ทำให้เจ้าของต้องอยู่ในหมู่บ้านเดิม ไม่ได้ย้ายออกไป และภรรยาต้องย้ายเข้ามาแทน นับเป็นการทลายกฎสายตระกูลแบบเดิม เพราะเดิมนั้นไม่มีการสืบทอดที่ดินสู่ทายาท ที่ดินเป็นทรัพยากรที่ "ไม่มีมูลค่า" ของหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่มีที่นาในสายตระกูลเลย ผู้หญิงก็จะย้ายกลับไปหมู่บ้านของตนพร้อมสามี แม้ว่าเศรษฐกิจ 2 ระบบยังคงมีอยู่ในช่วงที่ทำการศึกษา แต่เศรษฐกิจภายนอกเริ่มมีบทบาทนำ ดังนั้นจึงมีความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างบุคคลด้วย เพราะต้องพึ่งพิงไทยมากขึ้นเพื่อเงินและสินค้า มีการเปลี่ยนมานับถือพุทธ และทำตามผู้นำที่ราชการแต่งตั้ง (น.215)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ระบบเครือญาติ, โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม, ระบบตลาด, ผลกระทบ, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง