สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรม ไทยอง พม่า ลำพูน ไทย
Author สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Title ไทยอง ชีวิต ศรัทธา สล่าแผ่นดิน
Document Type เอกสารวิชาการ Original Language of Text -
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  Total Pages 230 Year 2551
Source ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

งานเขียนกล่าวถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง ซึ่งเป็นลื้ออีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไทยองได้เรียกลุ่มของตนเองว่า ไทยอง หรือคนยอง เพื่อบ่งบอกว่าเป็นคนเมืองยอง ซึ่งทุกวันนี้มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า สำหรับ กลุ่มไทยองที่อยู่เมืองลำพูนนั้น มีการอพยพมาจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองลำพูนนั้น ไทยองย้ายมาสองช่วงใหญ่ๆคือ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2348ซึ่งจากหลักฐานท้องถิ่นเรียกว่าการอพยพแบบเทครัว หรือนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองเมื่อในอดีต  โดยมาตั้งรกรากอยู่ที่ริมแม่น้ำปิง  แม่น้ำกวง แม่น้ำทาและในระยะที่สองอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2356-2395  ปัจจุบันกลุ่มไทยองในเมืองลำพูนยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมของตนเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับไทยอง จากประเทศพม่า รวมทั้งพระเณรจากเมืองยองก็ยังนิยมมาเรียนหนังสือที่วัดในจังหวัดลำพูนและภาคเหนือของไทย 

Focus

           เพื่อสร้างองค์ความรู้วางแนวทางรูปแบบเพื่อการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรม และชาติพันธุ์ล้านนา  ขึ้นในมหาวิทยาลับเชียงใหม่ ทั้งที่เป็นจริงกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง(Virtual Museum) อันจะเป็นการนำไปสู่การส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาและการทำการวิจัยด้านชาติพันธุ์ในพื้นที่ล้านนา รวมไปถึงการพัฒนาและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในภาคเหนือกับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
           เพื่อสร้างความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่อยู่ในล้านนา และเพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้กับลูกหลานในชุมชนที่เป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้าบทนำ  vii)

Theoretical Issues

 ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยอง       
             ไทยองอพยพครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ แห่งล้านนา (พ.ศ. 2324-2358) หรือเรียกว่าช่วง “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” (หน้าบทนำ) ในการศึกษาระบุว่า “ไทยอง” หรือ “คนยอง” คือการเรียกกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่สร้างบ้านเรือนอยู่เมืองยอง ที่มีชื่อบาลีว่า “มหิยังคนคร” ส่วนคนยองที่สูงอายุเรียกว่า เมืองเจงจ้าง หรือ เมืองเชียงช้าง ซึ่งทุกวันนี้เมืองยองมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง  นอกจากนี้ยังมีคนยองกระจายอยู่ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน และบางส่วนอยู่ในประเทศลาว  (หน้า 1)
           ในกลุ่มคนไทลื้อเมืองยองในประเทศไทยเรียกตนเองว่า “คุนยอง” ส่วนคนไทยเรียกไทลื้อจากเมืองยองว่า “ไทยอง” โดยเรียกกันอย่างแพร่หลาย นับจาก พ.ศ.2348หลังจากที่ไทลื้อจากเมืองยองอพยพเข้ามอยู่ในเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ และเมืองอื่นๆในล้านนา โดยเรียกกลุ่มของตนว่า “คนยอง” เพื่อบอกว่ากลุ่มของตนเดินทางมาจากเมืองยอง  (หน้า 1) (หน้า 2) 

Study Period (Data Collection)

ใช้เวลาวิจัย 8เดือน นับจากเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550- มีนาคม พ.ศ. 2551( หน้า x)     

History of the Group and Community

การอพยพของไทยองมาที่ลำพูนและเชียงใหม่
            การอพยพมาจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองลำพูนนั้น ไทยองย้ายมาสองช่วงใหญ่ๆคือ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2348 ซึ่งจากหลักฐานท้องถิ่นเรียกว่าการอพยพแบบเทครัว  โดยมาตั้งรกรากอยู่ที่ริมแม่น้ำปิง  แม่น้ำกวง แม่น้ำทาและในระยะที่สองอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2356-2395 แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าอพยพมาอยู่พื้นที่ใดของเมืองลำพูนกับเชียงใหม่  (หน้า 33) 

Settlement Pattern

เรือนไทยอง
            เรือนของไทยองตั้งแต่อพยพมาอยู่ที่ลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2339 นั้น การสร้างบ้านเรือนเป็นทั้งแบบเครื่องผูกและแบบเครื่องสับ (หน้า 62)  การสร้างบ้านเรือนจะเน้นให้เข้ากับสภาพอากาศ หลังคาทรงจั่ว การสร้างบ้านของไทยองมีการปรับตามสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความน่าอยู่ คำนึงถึงความสะอาด เช่นบริเวณทางขึ้นบันไดจะทำที่ล้างเท้า เพื่อใช้เป็นที่ทำความสะอาดก่อนจะเดินขึ้นบ้านเพราะไทยองส่วนใหญ่ทำงานในไร่นา และทำร้านน้ำเอาไว้ใส่น้ำดื่มเพื่อกับกระหายหลังจากการทำงาน (หน้า 63)  ตัวบ้านกว้างขวาง ถ่ายเทอากาศได้สะดวก  ใต้ถุนบ้านมีความสูง เพื่อใช้เป็นที่นั่งพักผ่อน ทอผ้าและทำงาน จักสาน เป็นต้น (หน้า 64)

Demography

            ประชากรเมืองยองมีประมาณ 3-4 หมื่นคน โดยอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน 77-78หมู่บ้าน จาก 6หัวสิบหรือตำบล  (หน้า 7) 

Economy

          ในพื้นที่เมืองยองอยู่ มีตลาดหรือกาด 5แห่งด้วยกัน ได้แก่ กาดหลวงในเวียงยอง  กาดหัวยาง ตั้งอยู่ที่บ้านหัวยาง  กาดบ้านแพดตั้งอยู่ที่บ้านแพด กาดบ้าน(กาดตวง)ตั้งอยู่ที่บ้านตวง กับกาดไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านฮ่องเกย  (หน้า 6) 

Social Organization

              สังคมของไทยอง ความเป็นอยู่ในหมู่บ้านของไทยองนั้นมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน เพราะมีความเป็นอยู่แบบเครือญาติกันและนับถือผีเดียวกัน โดยบริเวณทางด้านเหนือของหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของหอผี โดยในช่วงเดือนเมษายน จะมีการทำพิธีเซ่นไหว้ผีเมืองยอง โดยมากคนที่มาร่วมพิธีจะเป็นชาวยองที่อยู่ในหลายตำบลเช่น ตำบลป่าสัก  ตำบลศรีบัวบาน ตำบลมะเขือแจ้ ตำบลบ้านกลางเป็นต้น  (หน้า 28)
             นอกจากนี้ชายหญิงที่สมรสกันแล้ว ฝ่ายชายจะทำพิธีเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลฝ่ายหญิงก่อนที่จะมาอยู่กินด้วยกันแบบคู่ชีวิตสามีภรรยา ซึ่งประเพณีนี้เริ่มยึดถือปฏิบัติลดน้อยลงตามลำดับ (หน้า 28) 

Political Organization

            ในอดีตนั้นเมืองยองมีอิสระ มีการปกครองตนเอง และมีเจ้าเมืองปกครองตนเองเหมือนกับเมืองต่างๆ กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2497พม่าได้ระงับระบบเจ้าฟ้าแล้วเข้ามาปกครองเมืองยอง และเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน (หน้า 6) การปกครองของเมืองยองนั้นได้แบ่งเป็นกลุ่มบ้าน หรือ “หัวสิบ” เท่ากับตำบลของไทย  (หน้า 7)
           เมืองยองประกอบด้วย 6หัวสิบ โดยแต่ละหัวสิบมีหมู่บ้าน 10-20หมู่บ้าน โดยหัวสิบนั้นจะมี “อุ๊กระทะ” หรือกำนัน ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ส่วนแต่ละหมู่บ้านจะมี “แก่นาย” หรือ ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ ซึ่งในเมืองยองนั้นมีหมู่บ้าน 77-78หมู่บ้าน (หน้า 7)
             ส่วนในเขตเมืองยอง แบ่งเป็น แปดกลุ่มบ้าน กลุ่มบ้านของเมืองยองเรียกว่า “ป๊อก” โดยแบ่งตามการทำบุญในแต่ละวัดในพื้นที่เมืองยอง ได้แก่ ป๊อกหนึ่ง บ้านม่อน, ป๊อกสอง ตุ้งน้ำ (หรือ จอมแจ้ง), ป๊อกสาม เชียงยืน,  ป๊อกสี่ ม่อนแสง,  ป๊อกห้า ม่อนน้อย, ป๊อกหก หนองแสน,  ป๊อกเจ็ด จอมสะหลี,  และป๊อกแปดหัวข่วง  (หน้า 7) ชาวเมืองยองเรียกตนเองว่า “ไตเมิงยอง” ส่วนคนที่อยู่นอกเมือง (นอกเวียก, นอกเวง คือ นอกเมือง) คนเหล่านี้จะเรียกตนเองว่า “ไตบ้านนอกนาปาง” (หน้า 7)

Belief System

           สถานที่สำคัญทางศาสนามี 4แห่งดังนี้ พระธาตุจอมยอง  ตั้งที่บ้านตอง, ไม้สะหลีคำ หรือต้นโพธิ์ทองคำ ตั้งอยู่ที่บ้านจูวัดพระเจ้าหลวง ตั้งอยู่บ้านพระแก้ว, ส่วนตำหนักพระปี่หลวงป่าบุง ตั้งอยู่บ้านกอลง (หน้า 6) คนเมืองยองชอบทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรมกันเป็นประจำ ดังจะเห็นจากที่ชาวเมืองส่งลูกหลานมาเรียนธรรมะ เรียนหนังสือตัวเมืองและภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อไม่อยากให้ทหารพม่าเกณฑ์ไปเป็นลูกหาบ (หน้า 8) ส่วนคนไทยองที่อยู่ในจังหวัดลำพูน ก็ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหลานจากเมืองยองให้ได้เรียนหนังสือ เช่นที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีพระเณรจากเมืองยองมาศึกษาเล่าเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก (หน้า 8)

Education and Socialization

          ชาวยองนิยมส่งลูกหลานให้ไปบวชเรียนที่วัด ส่วนในครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะก็จะให้ลูกหลานไปเรียนหนังสือในโรงเรียนที่ตัวเมืองซึ่งที่โรงเรียนจะมีการสอนหนังสือเป็นภาษาพม่า ส่วนในหมู่บ้านต่างๆ ก็จะมีโรงเรียนสอน โดยเปิดการสอนในระดับชั้นต่างๆโยในส่วนชั้นประถมศึกษาสอนตั้งแต่ปีที่1-4  เช่น ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียกว่า ปะถะมะตาน, ชั้น ป.2เรียกว่า ทุติยะตาน ชั้น ป.3เรียกว่าตะติยะตาน ชั้น ป.4เรียกว่า สะทกทะตาน ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1คือชั้นที่ 5เรียกว่า เบญจมะตาน  (หน้า 8)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ตำนานเมืองยอง
              ไทยอง คือกลุ่มคนเชื้อสายไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่สร้างบ้านเรือนอยู่เมืองยอง ที่มีชื่อบาลีว่า “มหิยังคนคร” ที่มีชื่อหนึ่งว่า เมืองเจงจ้าง หรือ เมืองเชียงช้าง ซึ่งทุกวันนี้เมืองยองมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง ไทยองเรียกตนเองว่า “คนยอง” ตามตำนานของเมืองยอง ระบุถึงคำว่า “ยอง” หรือ “ญอง” ว่าเป็นชื่อของหญ้าอย่างหนึ่งที่เคยเจริญเติบโตในพื้นที่เมืองยอง ในเวลาต่อมามีนายพรานจากเมืองอาฬวีนครหรือ      “เชียงรุ่ง” ได้มาแถวนั้นแล้วจุดไฟเผาป่า ดังนั้นจึงทำให้หญ้ายองปลิวไปในอากาศทำให้ความหอมนั้นแพร่กระจายไปยังเมืองต่างๆ (หน้า 1)
               ตำนานเมืองยองนั้น มีรูปแบบใกล้เคียงกับเรื่องราวของการเกิดเมืองสิบสองปันนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ กับตำนานไทลื้อที่กล่าวว่า นานมาแล้วมีพรานคนหนึ่งเดินทางมาจากเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตามความหมายที่เชื่อมโยงกับตำนานได้บอกลุถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อ กลุ่มชาติพันธุ์ยอง กับไทยวน ที่กล่าวว่า 
             กาลครั้งหนึ่ง ขณะนั้นเมืองยองยังเป็นหนองน้ำ  เมื่อพระเจ้ากะสะปะมองเห็นโลกเป็นหนองน้ำ จึงได้ใช้ไม้ขีดเป็นช่อง ดังนั้นน้ำจึงแห้งขอด บริเวณนั้นจึงกลายสภาพเป็นป่าแขมป่าคากว้างใหญ่ ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ต่อมามีนายพรานคนหนึ่งจากเมืองเชียงใหม่ ได้เดินทางไปบริเวณที่เป็นป่าแขมป่าคาแห่งนั้น แล้วก็จุดไฟเผาป่าแขมป่าคา แล้วเขม่าไฟจึงปลิวไปตกยังสถานที่แห่งหนึ่งจึงได้เกิดเป็นเมืองยอง นับแต่นั้น (หน้า 1)
 
ไม้สะหลีคำ
              หรือการค้ำต้นโพธิ์ ตำนานเล่าว่า ชาวเมืองยองในอดีตนั้นได้นำกิ่งโพธิ์ จากเมืองพุทธคยา ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ โดยนำมาปลูกที่เมืองยอง ซึ่งทุกวันนี้ต้นโพธิ์ ต้นนี้ได้เจริญเติบโตงอกงามมีอายุหลายร้อยปี ดังนั้นต้นโพธิ์ หรือไม้สะหลีจึงเป็นที่ศรัทธาของชาวเมืองยองและคนในเมืองใกล้เคียงโดยเชื้อว่า การเดินทางมาค้ำต้นโพธิ์ในแต่ละปีนั้นจะเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาและทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง มีความสำเร็จในหน้าที่การงานอีกด้วย (หน้า 6) 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

 ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพ ลักษณะคนยอง เมืองลำพูน เป็นคนที่มีรูปร่างดี ส่วนใหญ่ไม่อ้วน มีผิวเนียน    และหน้าตายิ้มแย้ม (หน้า 2) ภาพถ่ายทางอากาศจาก googleearth.com แสดงบริเวณ สบยอง ประเทศเมียนมาร์ (หน้า 3)สบยองภาพที่คณะสำรวจชาวฝรั่งเศส Francis Garneierเขียนเมื่อ พ.ศ. 2410(หน้า 4, 5) บ้านเวียงยอง ที่เจ้าฟ้าหลวงยองได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน (หน้า 12) เมืองยอง เมื่อพ.ศ. 2536ในช่วงประเพณีปอยหลวง (หน้า 20)จากซ้าย :พระยากาวิละ  เจ้าอุปราชธรรมลังกา และเจ้าบุรีรัตน์คำฟั่น (หน้า 22)วัดฉางข้าวน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน  สร้างขึ้น 23ปี หลังการอพยพเมืองยองสู่ลำพูน โดยมีผู้นำชุมชนมากมายช่วยกันสร้างตามแบบแผนวัดที่เมืองยอง (หน้า 24)
          แอ่งที่ราบป่าซาง เทือกเขาข้างหน้านั้นคือดอยสุเทพ (หน้า 25) บุคคลนั่งขวามือคือเจ้าหนานหมื่น วงศ์สาม สกุลเจ้าเมืองยอง, กูบรรจุอัฐิเจ้าเชื้อสายยอง วัดหัวขัว (หน้า 26) ต้นมะม่วงที่ชาวยองเพาะไว้ระหว่างทาง อายุกว่า 200ปี ที่บ้านประตูป่า, แม่น้ำกวงช่วงไหลผ่านสบทา (หน้า 27) เสาอินทขีลที่ป่าซาง (หน้า 28) พระธาตุจอมยองจำลองที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือ โดยพระครูเวฬุวันพิทักษ์ (หน้า 29) หนานปัญญา ไชยวรรณ(ยืน)เชื้อสายผู้นำไทเขินจากเชียงตุง ที่มาอยู่ลำพูนตรงที่ราบน้ำแม่ทา (หน้า 32) การแต่งกายของชาวยองในวันอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวยอง อำเภอป่าซางเมื่อปี 2547(หน้า 34) วัดป่าซางงาม วัดประจำองค์พระยากาวิละ (หน้า 35)
          วิหารวัดบ้านล้อง (หน้า 36) วิหารวัดหนองหอย, เจดีย์ฉางข้าวน้อยเหนือ สร้างเลียนแบบพระธาตุจอมยองที่เมืองยอง (หน้า 37) วิหารวัดฉางข้าวน้อยใต้ (หน้า 38) หน้าบันไม้แกะของหอไตรวัดกองงานฝีมือสล่าชาวไทยอง (หน้า 39)พระสงฆ์วัดแม่แรงกำลังช่วยกันหุ้มหน้ากลองหลวง (หน้า 40)  เจดีย์วัดต้นผึ้ง (หน้า 41) เจดีย์วัดหนองเงือก (หน้า 43) วิหารวัดดอนหลวง (หน้า 44) วิหารวัดป่าบุก (หน้า 45) หอไตรกลางน้ำวัดสันกำแพง  (หน้า 51) หอไตรวัดห้วยน้ำดิบ (หน้า 54) เจดีย์วัดสารภีชัย บ้านร่องช้าง (หน้า 55) เจดีย์วัดนางเกิ้ง บ้านร่องห้า (หน้า 56) อุโบสถวัดหนองสมณะ (หน้า 57)เจดีย์วัดโป่งรู (หน้า 58) ลายเส้นเรือนชาวยองที่เมืองยอง (หน้า 62)
          การออกแบบหลังคาจั่วแบบมะนิลาซ้อนสันหลังคาเชื่อมต่อกันบ้านนายชุม จอมขันเงิน ตำบลมะกอก, กระบะที่ล้างเท้า คุ้มเจ้ายอดเรือน (หน้า 63) ซ้าย- หลังคาคุ้มบันไดทางขึ้น บ้านนายวัง ใจจิตร ตำบลมะกอก, กลาง- ฮ่อมจกบ้านนายมา ธิยะ ตำบลทุ่งหัวช้าง,  ขวา- ใต้ถุนเรือน บ้านนายวัง ใจจิตร ตำบลมะกอก (หน้า 64) ทำยันต์บ้านยองนายไพรินทร์ ปาคำ ตำบลท่ากาน, ต๊อมน้ำ บ้านนายสิงห์คำ ปินตาวนา ตำบลประตูป่า (หน้า 65) สองภาพบนเป็นลวดลายฉลุไม้บ้านนายวัง ใจจิตร ตำบลมะกอก ส่วนภาพล่างมาจากบ้านนายชุม จอมขันเงินตำบลมะกอก สะระไนปั้นปูนและระเบียงหล่อปูนบ้านนายวัง ใจจิตร ตำบลมะกอก (หน้า 66) บ้านนายสิงห์คำ ปินตาวนา ตำบลประตูป่า, โครงหลังคาและบ้านนายจัน นันทพรหม ตำบลเมืองง่า (หน้า 67)
          แม่พิมพ์กระเบื้องซีเมนต์ นายวัง ใจจิตร ตำบลมะกอก (หน้า 68) เรือนพ่อจูภิญโญคำ  ตำบลมะกอก  อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน ,เติ๋น (หน้า 69) ด้านหน้าห้องนอน, ฮ้านน้ำที่ทำยื่นไปข้างนอก, ห้องครัว (หน้า 70) บันไดบ้าน, ประตูและหน้าต่าง (หน้า 71) เรือนพ่อชุม จอมขันเงิน ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง  จังหวัดลำพูน  (หน้า 72)ด้านหลังหลองข้าว, บันไดและหัวบันได, สะระไนเหนือจั่วบ้าน (หน้า 73) ลายฉลุช่วงโถงบันได (หน้า 74) เรือนแม่บัวลา ใจจิตร เลขที่ 48 หมู่ที่ 4ตำบลมะกอก  อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน  (หน้า 75) เติ๋นที่สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ (หน้า 76) ห้องนอนของแม่บัวลาและห้องพัก (หน้า 77)
          หลองข้าวติดตัวบ้าน, ประตูเชื่อมหลองข้าว, ฮ้านน้ำ, ห้องครัว, ระเบียงเชื่อมเรือน, (หน้า 78)สองภาพบนเป็นบันได และเชิงชายด้านหน้าและหลังเรือน ส่วนภาพล่างเป็นหลังคาทรงจั่ว และการประดับด้วยสะระไนเหนือจั่ว (หน้า 79) บ่อน้ำหน้าเรือน ล้อมรอบด้วยต้นดีปลี (หน้า 80) หลองข้าว, ชานเรือน, ไม้ฉลุเหนือบันไดด้านหน้า ภาพขวาติดอยู่ด้านข้าง (หน้า 82) เรือนพ่อศักดิ์ กันทะยวง (หน้า 83)ห้องครัวที่มีลักษณะโล่ง ระบายอากาศและกลิ่นได้ดี, หน้าต่างลูกกรงสายบัว และกรอบลายฉลุระบายอากาศ, ไม้ฉลุลายตรงโถงบันได, หอผีของบ้าน  (หน้า 84) เรือนนางปี้ โชตินันท์ (หน้า 85) บันไดขึ้นเรือน ทำราวจับแบบเรียบง่าย มีบังแดดฉลุลายตรงโถงบันได และจั่วที่มีแผงปูนหล่อสวยงาม, ต๊อมน้ำโบราณ (หน้า 86)
          ภาพปูนปั้นที่วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด (หน้า 91) เนินดินที่มีซากกองปกคลุมด้วยหญ้า สันนิษฐานว่าเป็นซากวัดร้างก่อนการสร้างวัดใหม่บนที่เดิมซึ่งอยู่ในเขตของวัดท่าก่อม่วง (หน้า 92) เจดีย์แบบพม่าในเขตบ้านสบทายังไม่มีการบูรณะ (หน้า 92) กู่บรรจุอิฐครูบา (หน้า 93) ภาพจารึกที่มีการจำลองขึ้นใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากเดิมที่มีการจารึกไว้ เมื่อ จ.ศ. 1156 (พ.ศ. 2337) ปัจจุบันตั้งอยู่ในวิหารพระนอน วัดพระนอนม่อนช้าง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (หน้า 93) ภาพเขียนตามคำบอกเล่าประวัติของครูบาชัยยะวงศาลพัฒนา ซึ่งอุปสมบท โดยมีครูบา พรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ภาพนี้อยู่บนผนังกำแพงแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน (หน้า 94)       
          ภาพเปรียบเทียบรูปแบบพระธาตุดอยสุเทพ(ซ้าย) และพระธาตุจอมยอง(ขวา)  (หน้า 98)พระธาตุหริภุญไชย ต้นแบบหนึ่งของเจดีย์ของชาวยอง, วัดพระบาทตากผ้า, วัดป่าซางงาม, วัดช้างค้ำ, วัดพระนอนม่อนช้าง, เจดีย์ทรงกลมฐานย่อเก็จสวยงามมาก วัดหนองเงือก  (หน้า 99) เจดีย์วัดตีนดอย เจดีย์วัดนางเกิ้ง และเจดีย์วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว จังหวัดลำพูน ตามลำดับ จัดเป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างองค์ประกอบของเจดีย์หลายแบบ ซึ่งเป็นลักษณะของงานช่างพื้นบ้านที่มีอิสระในการสร้าง และกำหนดรูปแบบ (หน้า 100) เจดีย์วัดกอม่วง, เจดีย์วัดสันกำแพง, เจดีย์วัดสะปุ๋งน้อย, เจดีย์วัดดอนหลวง, เจดีย์วัดป่าตาล, เจดีย์วัดฉางข้าวน้อยใต้ อีกแบบหนึ่ง (หน้า 101) วิหารไม้วัดฉางข้าวน้อยเหนือ ภาพการบูรณะลวดลายไม้แกะตกแต่งหน้าบันโดยการทาสีน้ำมันสีแดง(ขวาบน) หน้าบันก่อนการบูรณะ (ซ้าย) และโครงสร้างม้าต่างไหม (ขวาล่าง) (หน้า 103)
          วิหารพระนอน(ด้านหลัง) วัดพระนอนม่อนช้าง จังหวัดลำพูน มีอุโบสถอยู่ด้านทิศเหนือ ภาพถ่ายจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (หน้า 104) วิหารวัดหนองเจดีย์ สร้างตามแบบของครูบาเขื่อนคำ (หน้า 104)วิหารวัดท่ากอม่วง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  (หน้า 104) วิหารทรงปราสาทวัดฉางข้าวน้อยใต้, ซุ้มโขงด้านหลังพระประธาน วัดฉางข้าวน้อยใต้ (หน้า 105) ลวดลายหน้าบันวิหารวัดฉางข้าวน้อยใต้ (หน้า 106) วิหารวัดป่าซางงาม ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปบนฐานชุกชีที่มีความสูงซึ่งก่อทับซุ้มโขงที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน มีส่วนบนของซุ้มโขงที่โผล่ออกมาเป็นชั้นบัวถลาขนาดใหญ่ และยอดปราสาท โดยด้านล่างของฐานชุกชีเป็นประตูเพื่อเปิดเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในซุ้มโขงไต้  (หน้า 106)
          อุโบสถวัดพระนอนม่อนช้าง ด้านหลัง และด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวิหารพระนอน หรือตั้งอยู่ด้านหลังองค์พระนอน ลักษณะเป็นอาคารทรงโรง หลังคาซ้อนสองชั้น เครื่องบนประดับตกแต่งด้วยช่อฟ้ารวยระกามีลักษณะเป็นตัวเหงา และสันหลังคา ประดับปราสาทเฟื้อง (หน้า 107) ด้านในอุโบสถวัดพระนอนม่อนช้าง มีลักษณะเป็นโถง ไม่มีเสาร่วมในเนื่องจากอาคารขนาดเล็ก จึงใช้คานไม้ขนาดใหญ่พาดผนัง และใช้เสาตุ๊กตาถ่ายน้ำหนักจากหลังคาลงสู่คาน และผนังตามลำดับ ส่วนภาพใหญ่ และสองภาพขวาเป็นการตกแต่งหน้าบันด้วยสะตายจิน (หน้า 108) ภาพบนคืออุโบสถวัดตีนดอย ภาพกลางเป็นอุโบสถวัดช้างค้ำ ลำพูน ส่วนภาพล่างคืออุโบสถวัดป่าเหียงที่มีลายหน้าบันสวยงามมาก (หน้า 109) อุโบสถวัดสันกำแพง มีการจารึกด้านข้างพระประธานในอุโบสถระบุปีที่บูรณะปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ. 2493 อุทิศถวาย พ.ศ. 2494(หน้า 110) อุโบสถวัดบ้านไร่ (หน้า 110) อุโบสถวัดหนองโจง บูรณะโดยครูบาเขื่อนคำเมื่อปี 2520โดยยังคงผนังศิลาแลงไว้ (หน้า 110)
          อุโบสถวัดหนองเจดีย์ บูรณะโดยครูบาพรหมา, อุโบสถวัดนางเกิ้ง พ.ศ. 2518  อุโบสถวัดกอม่วง พ.ศ. 2521, อุโบสถวัดฉางข้าวน้อยใต้, อุโบสถวัดบ้านเหล่า พ.ศ. 2525-2531, อุโบสถวัดแม่แรง พ.ศ. 2527-2529, อุโบสถวัดบ้านหวาย พ.ศ. 2525   (หน้า 111) หอไตรวัดสันกำแพง, หอไตรวัดป่าเหียง สร้าง พ.ศ. 2438 บูรณะ พ.ศ. 2530,หอไตรวัดแม่แรง, หอไตรวัดป่าซางงาม, หอไตรวัดน้ำดิบ, หอไตรวัดฉางข้าวน้อยใต้  (หน้า 112) หอไตรวัดหนองหอย ใช้วงกบและคานไม้ในการสร้างช่องแสง ทำให้บานประตู และหน้าต่างเป็นบานสี่เหลี่ยม แต่งด้วย แต่ชั้นล่างประดับตกแต่งด้วยวงโค้งด้านบน (หน้า 113) หอไตรวัดดอนตอง (หน้า 113) บนซ้าย ไซดักกบ บ้านบวกค้าง เชียงใหม่  บนขวา สุ่มก่อง หรือสุ่มซี่ สันกำแพง เชียงใหม่  กลางซ้าย ตุ้มเอยี่ยน สันกำแพงเชียงใหม่ กลางขวา สุ่มไก่ หรือ ก๋วยไก่เมืองยอง ล่าง ไซบ่าหลอด (หน้า 114)
          ตูบอย่างร่างเรือน หรือเรือนเครื่องเมืองยอง (หน้า 116) พื้นฟากเมืองยอง  (หน้า 117) รั้วตาแสง, รั้วสะลาบ (หน้า 118) สาดตองขาว แม่ค้านำขอมาขายที่ตลาดเช้าเมืองยอง (หน้า 119) สาดตองขาวเชียงใหม่, สาดผิว ใช้ปูพื้นเชียงใหม่ (หน้า 119) ไซหัวหมู สันกำแพง เชียงใหม่ (หน้า 120) ไซหัวหมูใหญ่ (หน้า 121) ไซบ่าหลอด (หน้า 121) ไซบั้ง (หน้า 121) หลืบ, ไซโต้ง หรือหลืบใหญ่ (หน้า 122) ไซดักกบหรือแอบดักกบ    (หน้า 123) ตุ้มเอยี่ยน หรือตุ้มดักปลาไหล (หน้า 123) สุ่มก่อง หรือสุ่มซี่ (หน้า 124)    สุ่มไก่หรือโขง (หน้า 125) หมงหรือข้องดักปลา เชียงใหม่ (หน้า 125) ข้องขนาดใหญ่ เมืองยอง (หน้า 126) ข้องเขียด หรือป่อมเขียด, แซะ (หน้า 126) ตุ้มไก่ ก๋วยไก๋ หรือก๋วยหมู , แอ็บข้าว (หน้า 127) อุ๊กข้าวใบลานหรือใบตาล (หน้า 128) ด้ง-ตาทึบ  เทิง- ตาห่าง (หน้า 128) เสวียนเก็บข้าวเปลือกที่เมืองยอง นิยมตั้งไว้ชิดเรือน โดยต่อชายคาคลุมกันแดดและฝน, ก๋วยตาห่างแบบก๋วยกล้า (หน้า 129)
          ก๋วยผัก ด้านซ้าย และก๋วยกล้า ด้านขวา (หน้า 130) ก๋วยจุกหรือก๋วยขี้ปุ๋ม (หน้า 130) ก๋วยตีนช้าง (หน้า 130) ปุ้งกี๋ (หน้า 131) ปุ้งกี๋ใช้ตักดิน (หน้า 131) ซ้าลอม (หน้า 131) ส้อหล้อ, วี, ต๋าง (หน้า 132) บุงไทยอง เชียงใหม่  (หน้า 133) บุงตีบ เมืองยอง (หน้า 133) ซ้าหวดบ้านบวกค้าง, ซ้าหวดและไหไม้ (หน้า 134) น้ำถุ้ง        (หน้า 135) กุบ, ตาแหลวหรือเฉลว (หน้า 136) รั้วราชวัตร (หน้า 137)  รูปแบบผ้าทอผ้าปักของไทยอง มีการเลือกใช้สีทั้งสีที่ใช้ส่วนตัว และสีสันเพื่อแสดงออกทางสังคม เป็นสิ่งแสดงถึงรสนิยมทางศิลปะของพวกเขา (หน้า 138) ที่นอน หรือสะลี ไทยอง หน้าสะลีเป็นผ้าทอลายขิต กุ๊นขอบดำ (หน้า 139) ผ้าหลบเมืองยอง โครงสร้างผ้าหลบ ผ้าสองชิ้นนำมาเย็บต่อกันตามความยาว (หน้า 140) ผ้าหลบหรือผ้าปูที่นอน ทอด้วยฝ้ายย้อมสี ใช้เทคนิคขิด ให้เกิดลวดลายต่างๆ คือบนซ้าย ลายนกเกาะสิงห์ บนขวา ลายนกหัสดีลิงค์  กลางซ้าย ลายม้า กลางขวา ลายขอไล่  ล่างซ้ายลายดอกจัน และล่างขวา ลายช้างต่างปราสาท (หน้า 141)
          ผ้าห่มดำและแดงลายงูลอย สลับลายดอกหน่วย, ผ้ากั้งเมืองยอง (หน้า 142)หมอนหก, หมอนวงเดือน, หมอนผา, (หน้า 143)  หมอนวงเดือน  หมอนปล่อง  หมอนผา และอาสนะถวายเป็นพุทธบูชา (หน้า 143) ผ้าเช็ดเมืองยอง (หน้า 144)  (หน้า 144)     
 
แผนที่ ที่อาณาเขตที่ตั้งวัดสำคัญ และตำแหน่งของไม้สะหลีคำของเมืองยอง (หน้า 7) ตั้งเมืองยองอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศเมียนมาร์ (หน้า 17) อินโดจีนสมัยรัตนโกสินทร์ (หน้า 19)  
 
แผนภูมิ โครงสร้างการปกครองเมืองลำพูน พ.ศ. 2354(หน้า 23)
 
แผนผัง ผังเรือพ่อชุม  จอมขันเงิน (หน้า 74) เรือนและผังเรือนพ่อไร มายาง    (หน้า 81) ผังเรือน (หน้า 86) ผังวัดพระธาตุหริภุญไชย, วัดป่าซางงาม, วัดท่าตุ้ม, วัดกอข่า, วัดป่าเหียง, วัดป่าสีเสียด (หน้า 97)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 07 ต.ค. 2563
TAG ความเป็นมา, ศิลปวัฒนธรรม, ไทยอง, พม่า, ลำพูน, ไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง