สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไตหย่า,ศาสนาคริสต์,เชียงราย,ชาวไตน้ำ,ชาวไตลาย, มณฑลยูนนานประเทศจีน,ภูมิหลัง,วัฒนธรรมประเพณี,การแต่งกาย,การแต่งงานของชาวไตหย่า,หมอสอนศาสนา, การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
Author รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และดร.ราญ ฤนาท
Title อิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงราย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity ไตหย่า ไทหย่า ไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 62 Year 2532
Source รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และ ดร.ราญ ฤนาท (2532) อิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงราย. รายงานการวิจัย , สถาบันวิจัยและพัฒนา , มหาวิทยาลัยพายัพ
Abstract

         รายงานการวิจัยชิ้นนี้ศึกษาชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ชีวิตความเป็นอยู่ในประเทศจีน สาเหตุของการอพยพ และอิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อชีวิตของไตหย่าในเชียงราย ซึ่งผู้ศึกษาได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ และศึกษาจากเอกสารอ้างอิง และพบว่า ชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงรายอพยพเข้ามาตามการนำของหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันและไทย เมื่ออพยพมานั้นมีความเชื่อและยึดคำมั่นคำสั่งสอทางคริสตศาสนานอย่างจริงจังและนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในการประอาชีพและทำงานร่วมกันผู้อื่น มีอาชีพและรายได้มั่นคง (หน้า ข-ค) จนในปัจจุบันรุ่นลูกรุ่นหลานเชื่อศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่นับถือมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยไม่รู้มาก่อนว่านับถือผีบรรพบุรุษมาก่อน (หน้า57)

Focus

         เน้นการศึกษาถึงอิทธิพลของชาวไตหย่าจากมณฑลยูนนานจนอพยพเข้าสู่ประเทศไทย โดยศึกษาทั้งในเรื่องของความเป็นอยู่ ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคม และการประกอบอาชีพของชาวไตหย่า

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาวไตหย่า เป็นชาวไตหย่าที่แต่เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองหย่า หรือ เมืองสินผิงอยู่ทางเหนือของเวียดนามหรือทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน(หน้า1)และอพยพมาที่เชียงราย

Language and Linguistic Affiliations

          ภาษาของชาวไตหย่านั้น เป็นภาษาตระกูลไตที่จัดอยู่ในกลุ่มสายตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่ม ph ซึ่งลักษณะภาษาเป็นคำโดด และระบบเสียงในภาษาไตหย่ามี 3 ระบบแต่มีระบบเสียงเป็นของตนเอง เป็นเสียงเช่นเดียวกับตระกูลไตทุกภาษามีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนของตัวเอง แต่ใช้อักษรจีนเขียน(หน้า 37)

Study Period (Data Collection)

ช่วงเวลาของการลงพื้นที่ใช้เวลาสัมภาษณ์เป็นเวลา 4 เดือนที่หมู่บ้านตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (หน้า 4)

History of the Group and Community

          เป็นงานศึกษาในลักษณะด้านประวัติศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวไตหย่าที่ดั้งเดิมถิ่นฐานตั้งอยู่ที่มณฑลยูนนานและศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของการนับถือศาสนาคริสต์ในประเทศไทยและในจังหวัดเชียงรายจนถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตของคนไตหย่าในจังหวัดเชียงราย (หน้า 3) เริ่มจากการนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่โดยกลุ่มคนในประเทศยุโรปที่เข้ามาในประเทศ ซึ่งนอกจากจะเข้ามาเผยแพร่ศาสนาและยังเข้ามาในประเทศเพื่อค้าขายหลังจากปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้ศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา โดยเริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่กรุงศรีอยุธยาในช่วงปี พ.ศ. 2054 จนเกิดการสร้างโบสถ์และไม้กางเขนหรือตรงกับช่วงของสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นโชคดีที่พระสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เปิดโอกาสและเสรีภาพแก่คณะมิชชันนารีและได้พระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเพื่อสร้างโบสถ์และโรงเรียนหรือเรียกอีกอย่างว่า ค่ายนักบุญโยเซฟ (หน้า 7) ที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเพราะเพื่อใช้ศาสนาเป็นตัวนำที่จะได้ให้ประเทศไทยไปเป็นอาณานิคมแต่เนื่องจากไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ประเทศไทยจึงแค่เสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2436 (หน้า 8)
          การเผยแพร่ศาสนานิกายโปรเตสแตนด์ที่แพร่หลายเข้ามาในทางภาคเหนือของไทยนั้นเนื่องจากการทำสงครามที่ทำให้มิชชันนารีสนใจกลุ่มไตหย่ามากขึ้น โดยเฉพาะวิลเลี่ยมคริฟตัน ดอดด์ หรือเรียกว่า หมอดอดด์ ซึ่งเป็นมิชชันนารีที่จังหวัดเชียงรายได้เดินทางไปเชียงตุง ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีการก่อตั้งสถานีประกาศศาสนาขึ้นที่เมืองเชียงตุง แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากมีปัญหาด้านทุนทรัพย์ของผู้สอนศาสนาและประกอบกับมีคณะหมอสอนศาสนานิกายแบบติสต์ตั้งอยู่ที่เชียงตุงแล้ว จึงทำให้ความพยายามของหมอดอดด์ไม่ประสบผลสำเร็จ ศูนย์จึงถูกปิดในปี พ.ศ. 2451 แต่ความตั้งใจของหมอดอดด์นั้นก็กลับมีมากขึ้นที่จะสอนศาสนาในชนกลุ่มไตหย่าให้ได้มากที่สุดจึงเดินทางไปประเทศจีนได้ไปเยี่ยมบริเวณต่างๆที่มีคนไตอาศัยอยู่เมื่อเข้าใกล้เมืองหยวนเกียงซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีชาวคริสเตียนอยู่เลยทำให้คณะที่เดินทางไปพร้อมกับหมอดอดด์มีความมั่นใจว่าจะไม่ประสบปัญหาใดอีก เมื่อได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลจีนในปี พ.ศ. 2456 จึงได้มีการตั้งศูนย์ประกาศศาสนาขึ้นที่เมืองเชียงรุ้ง ซึ่งในสองปีแรกนั้นบริเวณที่ก่อสร้างนั้นชาวเมืองเชียงรุ้งเชื่อว่ามีผีร้ายแต่เมื่อหมอศาสนาเข้ามาก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงทำให้ชาวไตเกิดความเชื่อถือและให้ความเคารพนับถือศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้นและศูนย์ได้พัฒนาและเจริญมากขึ้นในปี พ.ศ. 2484 แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในเวลานั้น ชาวอเมริกันที่อยู่ในประเทศจีนต้องกลับประเทศสหรัฐอเมริกาและในปีพ.ศ. 2489 กองทัพของจีนได้เดินทางเข้ามาและยึดเอาศูนย์ประกาศศาสนาเป็นที่ตั้งประจำการจนสงครามเลิกจึงทำให้ต้องล้มเลิกความคิดเพราะเกิดการปฎิวัติของจีน (หน้า 27 - 29) นอกจากจะมีมิชชันนารีแล้วก็ยังมีคนไทยไปด้วย คือ หนานสุข น้อยจันตา และผป.แก้ว ใจมา เมื่อพ.ศ. 2464 ได้เข้ามาประกาศคำสอนศาสนาคริสต์ให้กับชาวไตหย่า โดยใช้ภาษาไทยและอักษรล้านนาในการสอน นับได้ว่าคนไทยก็ได้เข้าไปมีบทบาทให้ชาวไตหย่าสนใจและนับถือศาสนาคริสต์เพิ่มขึ้น (หน้า 41)
          เมื่อชาวไตหย่าได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์จึงทำให้ฝ่ายปกครองไม่พอใจเพราะจากรายงานของหมอสอนศาสนานั้นพบว่ามีครอบครัวชาวไตหย่าได้ถูกบังคับให้จ่ายภาษีโบสถ์ซึ่งเป็นการละเมิดสัญญาที่ตกลงกันไว้ และนอกจากนี้ชาวไตหย่าได้ถูกบีบคั้นจากรัฐบาลก็ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากพวกฮั่นเรื่องของค่าเช่าที่ดินและหรือบางครั้งก็เข้าปล้นสะดมภ์ชาวไตหย่า จึงทำให้ชาวไตหย่าหวาดกลัวดังนั้นจึงต้องคอยดูแลและระวังบ้านเรือนของตนเองในเวลากลางคืน ชาวไตหย่าที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์จึงตัดสินใจอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ตามการชักนำของหมอศาสนา (หน้า 44)
         การอพยพของชาวไตหย่าที่เข้ามาในไทยนั้นเดินเท้าจากเมืองหย่า เมืองจุ้ง มาทางเมืองซือเหมา สิบสองปันนา เมืองยอง และแม่สายและพักที่หมู่บ้านหนองกลมใช้เวลาเดินทางสองเดือนและได้ไปปักหลักอยู่สองหมู่บ้านคือหมู่บ้านป่าสักขวางกับหมู่บ้านน้ำบ่อขาว ซึ่งสองหมู่บ้านนี้อยู่ไม่ไกลกันมากนักเป็นการอพยพเข้ามาเป็นครั้งแรกและได้มีการประกอบอาชีพรับจ้างทำนา เลี้ยงปลา ปลูกต้นกก และทอเสื่อกก ส่วนการอพยพครั้งที่สองคือในปี พ.ศ. 2470 Backteal ผป.แก้ว  ใจมา และเพื่อนร่วมทีมอีกสองสามคนได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาที่เมืองหย่า มีอีกสิบครอบครัวที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์และหลังจากนั้น 2 ปี คนที่เปลี่ยนมาถือคริสต์ได้เดินทางอพยพมาที่เชียงราย ผู้ที่อพยพเข้ามานั้นจะมีอายุประมาณ 14 - 35 ปี (หน้า 47) และเมื่อทำมาหากินในหมู่บ้านป่าสักขวางได้ไม่นานก็มีที่ดินเป็นของตนเองและก็ได้เดินทางกลับบ้านที่เมืองหย่าอีกครั้งเพื่อพาชาวไตหย่าและญาติพี่น้องเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง และยังมีชายหนุ่มที่หลบหนีจากการถูกเกณฑ์เป็นทหารอพยพเข้ามาด้วย หลังจากนั้นก็มีการอพยพแบบประปรายจนกระทั่งจีนเปลี่ยนแปลงการปกครอง (หน้า 47)
เมื่ออพยพเข้ามาในตอนแรกนั้น ไตหย่าทุกคนมีใบต่างด้าว ต่อมาปี พ.ศ.2480 มีการสำรวจชายไทยเพื่อเป็นทหารรบกับฝรั่งเศส เมื่อสำรวจและสัมภาษณ์ชาวไตหย่า พบว่าภาษาพูดคล้ายภาษาไทย สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ จึงยกเลิกใบต่างด้าวคนจีน และให้สัญชาติไทยตั้งแต่บัดนั้น และชายไตหย่าทั้งหมดถูกเกณฑ์ไปแนวหน้า อย่างไรก็ตาม ต่อมา มีปัญหาชาวไตหย่าที่บ้านน้ำบ่อขาว อ.แม่สาย ถูกถอนสัญชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำเภอแม่สายใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 เพราะเข้าใจผิดว่า ชาวไตหย่าเป็นจีนฮ่อ ไทใหญ่ หรือพม่า ส่วนไตหย่าที่เขตอื่นๆ ยังคงได้สัญชาติไทย (หน้า 48)
 

Settlement Pattern

         ประเด็นเรื่องของการดำรงชีวิตอยู่ของชาวไตหย่าทั้งในแบบดั้งเดิมและในปัจจุบันโดยจากถิ่นฐานดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของจีนหรือทางเหนือตอนบนของประเทศเวียดนาม ซึ่งหนึ่งในสี่ของชาวไตนี้เป็นชาวไตลื้อในสิบสองปันนา ชาวไตบางส่วนก็อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอโมซ่า เมืองหย่า นอกจากนี้ภูมิประเทศของชาวไตหย่ามักเป็นแบบเอียงจากภูเขาลงสู่แม่น้ำและมีภูเขาหัวโล้นเป็นหย่อมๆ ในบริเวณที่เป็นที่ราบเอียงนั้นจะมีการทำนาแบบขั้นบันได้ด้วย (หน้า 22) ขณะอาศัยในยูนนาน ชาวไตหย่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในที่โล่ง ลมแรง และมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว ซึ่งการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยของชาวไตหย่านั้นส่วนใหญ่เป็นทรงลักษณะสี่เหลี่ยม เตี้ย เป็นชั้นเดียว ใต้ถุนไม่สูง ตัวบ้านนั้นสร้างมาจากก้อนดินที่ทำขึ้นเอง ซึ่งก้อนดินนั้นเป็นการนำดินผสมหญ้าผม และใยลินินและปั้นให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมๆ และนำไปตากให้แห้ง และเมื่อนำมาก่อให้เป็นบ้าน โดยเชื่อมก้อนดินด้วยกันจากการนำโคลนมาเป็นตัวเชื่อมแล้วใช้โคลนฉาบผนัง เพดาน และพื้นให้เรียบ ส่วนหลังคาบ้านนั้นจะมีลักษณะเป็นหลังคาหน้าตัดและเรียบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และจะมีบันไดที่อยู่ในบ้านพาดกับหลังคา ซึ่งไว้สำหรับการตากอาหาร หรือเป็นที่ไว้สำหรับให้ผู้ชายไว้เฝ้าระวังข้าศึกที่จะมาโจมตีหรือโจรที่จะมาปล้นบ้านลักษณะบ้านที่พักอาศัยนั้นจะคล้ายๆกับการสร้างบ้านดิน เพราะทำมาจากดินและฉาบด้วยโคลน(หน้า 24) 

Demography

         ประชากรของชาวไตหย่าที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานมีประมาณ 2,000,000 คนในปี พ.ศ. 2481ช่วงบริเวณเมืองสินผิง (Xinping) เมืองโม่ซ่า (Mosha) เมืองหยวนเกียง (Yuanking) หรือ (Yuanjiang) ซึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (หน้า 22) ในเชียงรายมีคริสตจักรไทยสมัครที่หมู่บ้านป่าสักขวาง อ.แม่จัน มีสมาชิก เป็นไตหย่าประมาณ 20 ครอบครัว คริสตจักรนทีธรรมในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว มีสมาชิกเป็นไตหย่าประมาณ 210 คน และคริสตจักรถาวรธรรมในหมู่บ้านหนองบึ๋ง มีสมาชิกเป็นไตหย่า 7 ครอบครัว (หน้า 51)

Economy

         งานศึกษาระบุว่าอาชีพหลักของชาวไตหย่าที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนคือการปลูกต้นกก การทำนา และเลี้ยงปลา ในการทำนาจะได้ 3 ครั้งต่อหนึ่งปีเพราะเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแดงจึงสามารถทำนาได้ดี ผลผลิตนั้นแบ่งให้เจ้าของที่นาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเลี้ยงปลานั้นมีวิธีอยู่ 2 วิธี คือขุดบ่อเลี้ยงหรือจะเลี้ยงปลาให้มารวมกับน้ำที่อยู่ในที่นา เมื่อน้ำแห้งปลาก็จะไหลเข้าสู่บ่อที่มีน้ำโดยขุดบ่อปลาไว้ในนาทุกแปลง (หน้า 29) นอกจากนี้ก็ยังมีวัฒนธรรมประเพณีของชาวไตหย่าที่รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก มีการทานข้าวจ้าวบ้างแต่ไม่มากนัก และยังมีการทำข้าวต้มด้วย โดยมีสองวิธี คือ การนำข้าวเหนียวปรุงกับหมูแล้วนำไปมัดติดกันเหมือนการทำข้าวต้มมัดแล้วจึงนำไปนึ่ง ชาวไตหย่าเรียกว่า ข้าวต้มก๊บ หรือ ข้าวจ๋า และอีกวิธีคือนำข้าวสารเหนียวไปคลุกกับถั่วลิสงและหญ้าหอม มัดเป็นแท่งๆและห่อด้วยใบตองแล้วจึงนำไปต้ม เป็นอาหารที่ทำในประเพณีไหว้ผีบรรพบุรุษ และผีประจำหมู่บ้าน (หน้า 30-31) 

Social Organization

         เรื่องการแต่งงานของชาวไตหย่านั้น การที่จะมีคู่ครองนั้นส่วนใหญ่พ่อแม่จะเป็นคนหาให้ ซึ่งอาจจะมีการหมั้นหมายไว้ตั้งแต่ตอนเด็กโดยเจ้าตัวอาจจะยังไม่รู้ แต่พอเวลาเปลี่ยนไปก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดยหนุ่มสาวก็จะมีโอกาสเกี้ยวพาราสีกัน เมื่อฝ่ายชายชอบสาวคนไหน ก็จะให้พ่อแม่ทำพิธีไปสู่ขอสาวคนนั้นให้โดยต้องนำ ไก่ 1 ตัว เป็ด 1 ตัว ข้าว 1 ห่อ เหล้า 2 ขวด น้ำตาล 2 ชั่ง ไปให้กับพ่อแม่ของฝ่ายสาว ถ้าพ่อแม่ฝ่ายผู้หญิงพอใจก็จะรับของทั้งหมดและยกลูกสาวให้แต่ถ้าไม่พอใจก็ไม่รับของอะไรไว้ถือว่าเป็นการปฎิเสธ โดยปกติผู้ชายชาวไตหย่านั้นจะมีภรรยา ได้คนเดียว แต่ถ้าภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ก็สามารถมีภรรยาใหม่ได้ (หน้า 35)
ชาวไตหย่าในสมัยบรรพบุรุษที่อพยพเข้ามารุ่นแรกและมีลูกรุ่นแรกส่วนใหญ่จะหาเลี้ยงชีพโดยการทำนา ปลูกยาสูบ ปลูกต้นกก เป็นการเริ่มต้นของนายจายที่นำต้นกกเข้ามาปลูก และต่อมาได้มีรุ่นลูกรุ่นหลานตามมาได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาในระดับอุคมศึกษาก็จะสนใจอาชีพหลากหลายด้านเช่น พยาบาล ครู ตำรวจ ทหาร เป็นต้น สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมก็จะประกอบอาชีพเพาะปลูกและทอเสื่อกก เพื่อเป็นการหารายได้เลี้ยงบิดามารดาให้มีชีวิตดำรงอยู่จนทุกวันนี้ (หน้า 50)
บุคคลที่มีบทบาทต่อสังคมคริสเตียนนั้นก็คือ สตรีคริสเตียนมีทั้งประธานและรองประธานที่เป็นสตรีคริสเตียนในคริสตจักรทำหน้าที่คอยประสานงานระหว่างสมาชิกคริสตจักรที่เป็นสมาชิก มีการจัดการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆสำหรับสตรีทุกระดับเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตที่สมบูรณ์ และยังมีอีกแผนกที่มีบทบาทในคริสตจักรคือ แผนกชูชีพชนบทเป็นแผนกที่ทำให้สมาชิกของคริสตจักรมีความสามัคคี มีการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นแผนกที่ขึ้นตรงกับสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทยและยังมีหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่คริสตจักรให้ปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและฝึกผู้นำชนบท ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำ การเลี้ยงสัตว์ การเพิ่มผลผลิต การส่งเสริมนั้นเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมเอง จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้ และร่วมมือกับสตรีหรือคณะอนุชน ซึ่งองค์กรนี้ได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่เป็น คริสเตียนเป็นหลักจึงทำให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพมากกว่าเกษตรกรอื่นๆทั่วไป (น.55- 56)
 

Political Organization

          ความเป็นผู้นำของชาวไตหย่านั้นก็จะมี ผป. หรือ ผู้ปกครอง เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมาจากสมาชิกของคริสตจักร โดยจะต้องมีความเป็นผู้นำได้ เป็นผู้ที่มีครอบครัวสมบูรณ์ มีความประพฤติดีและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับครอบครัวอื่นๆได้ โดยผู้ปกครองจะต้องมีหน้าที่คอยดูแลและเอาใจใส่สมาชิกของคริสตจักรที่มีประพฤติไม่เหมาะสม ไม่ดีงาม และคอยให้กำลังใจเมื่อสมาชิกมีปัญหา ส่วนมัคนายกจะเป็นผู้ที่คอยออกไปเยี่ยมคนยากคนจนหรือผู้ที่เจ็บป่วย (หน้า 54)

Belief System

         ประเพณีที่สำคัญของชาวไตหย่านั้นส่วนใหญ่เป็นสิ่งสำคัญที่ให้ชาวไตหย่ามาอยู่รวมกันชาวไตหย่านั้นจะมีประเพณีที่สำคัญคือ ประเพณีตรุษสารท จะมีทุกวันที่ 5 ของเดือน 5 คล้ายเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่และถือว่าเป็นแรกของการเก็บเกี่ยวข้าวครั้งแรกของปี โดยในช่วงเช้าของวันนั้นจะมีการตั้งเครื่องเซ่นเพื่อไหวผีบรรพบุรุษโดยเครื่องเซ่นประกอบด้วย อาหารคาว หวาน ข้าว น้ำชา เหล้า ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น จากนั้นก็นำข้าวที่เก็บเกี่ยวไปโม่เพื่อให้เปลี่ยนรูปเป็นแป้งแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆต้มให้สุดแล้วจึงนำไปแปติดเครื่องมือ เครื่องใช้การเกษตร เขา ขา ของสัตว์ที่ใช้งาน ประตูบ้าน หน้าต่างบ้าน จากนั้นจึงนำไปเซ่นไหว้ผีประจำหมู่บ้าน เมื่อเซ่นไหว้ทุกอย่างหมดแล้วทุกครอบครัวนั้นก็จะมีการจัดงานเลี้ยงฉลอง โดยอาหารที่ไม่ควรขาดหายไป คือ ข้าวต้ม ข้าวก๊บ หรือข้าวจ๋า ปลาและหมู ที่ไว้ต้อนรับญาติพี่น้องที่เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยผู้อาวุโสที่สุดในบ้านจะต้องเป็นคนรินน้ำชา เพื่อต้อนรับแขกและแขกก็ต้องอวยพรให้กับเจ้าของบ้านและร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน แล้วจึงลากลับเพื่อไปเยี่ยมบ้านอื่นต่อไป ซึ่งในงานชาวไตหย่านั้นจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าแล้วไปเกี้ยวพาราสีกันและงานเลี้ยงฉลองนั้นก็จะมีตลอดทั้งวันตลอดทั้งคืน ซึ่งประเพณีนี้ครอบครัวนั้นต้องมีการประพิธีกรรมเซ่นไหว้และจัดงานเลี้ยง เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จมีความสุขความเจริญ แต่ถ้าไม่ประกอบพิธีเซ่นไหว้อาจจะประสบโชคร้ายหรือได้รับอันตรายได้ (หน้า 31 - 32) 
ประเพณีงานศพ ในการจัดพิธีศพ จะมีการคำนวนว่าจะตั้งศพไว้ที่บ้านกี่วันนั้นจากอายุและปีเกิดของผู้ตาย รวมถึงเวลาในการนำศพไปฝังหรือเผา มีการทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณด้วยการฆ่าวัวควายจำนวนมาก บางครั้งมีถึง 20 ตัว นอกจากนี้ ญาติผู้ตายที่เป็นผู้หญิงจะมีผูกหยังไว้ที่เอวโดยผูกกลับหัวกลับหางเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่บ้านมีผู้ตาย ถ้าผู้ตายตายแบบปกติจะนำไปฝัง แต่ถ้าตายแบบอุบัติเหตุหรืออัตวิบากกรรมจะนำศพไปเผา ขบวนที่จะเอาศพไปฝังหรือเผาจะมีญาติผู้ชายถือมีดดาบนำหน้า ตามด้วยผู้ถือโคมไฟ ลูกชายต้องสวมเสื้อฮีสีขาว ญาติพี่น้องและผู้ไปร่วมงานทุกคนต้องใส่เสื้องหลวงสีขาว โพกหัวด้วยผ้าขาว (หน้า 36-37)
 

Education and Socialization

          ชาวไตหย่าส่วนใหญ่จะได้รับการศึกษาในระดับของอุดมศึกษาก็คือรุ่นหลาน ซึ่งอาจจะเกิดจากการพัฒนาและความก้าวหน้าของชุมชนที่ส่งในรุ่นหลานได้รับการศึกษาที่ดี ส่วนใหญ่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นจะประกอบอาชีพ พยาบาล ทหาร ครู ตำรวจ เป็นต้น ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประถม ก็จะประกอบอาชีพที่บิดามารดาเคยประกอบอาชีพมาก่อน (หน้า 50)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

          การแต่งกายของกลุ่มชาวไตหย่านั้นทั้งชายและหญิงจะใช้ผ้าขาวที่มีสีดำ โดยจะมีเครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นเงิน เป็นแผ่นวงกลม โดยดุนแผ่นเงินด้วยเหล็กปลายบนให้ออกมามีลักษณะเป็นลูกบอลผ่าครึ่งและเจาะรูเล็กๆทั้งสองข้างเพื่อเว้นไว้ให้เย็บติดกับผ้า ซึ่งคนไตหย่านั้นเรียกเครื่องประดับนี้ว่า มะลาว ซึ่งคนไตหย่านั้นจะสวมเสื้อที่มีแขนกระบอกที่มีสีดำด้านหน้า และประดับด้วยมะลาวตามขอบเสื้อส่วนเรื่องของกางเกงนั้นก็เป็นผ้าสีดำด้วยเช่นกันไม่มีการตกแต่งด้วยเครื่องประดับหรือตกแต่งใดๆ ซึ่งกางเกงจะมีลักษณะเป็นกางเกงหลวมๆเหมือนกางเกงสะดอของภาคเหนือ (หน้า 32) 
          ส่วนการแต่งกายของหญิงไตหย่านั้น สวมเสื้อและผ้านุ่ง มีเอกลักษณ์คือ สวมเสื้อ 2 ตัว คือ เสื้อน้อย ไม่มีแขน คอตั้ง ตัวยาว ด้านหน้าประดับด้วย มะลาว จากนั้นสวมทับด้วยเสื้อผ่าหน้า เอวลอย ขอบเสื้อประดับด้วยลวดลายสีต่างๆ นุ่งผ้านุ่งแบบหยักรั้ง เชิงผ้าสูงข้างต่ำข้าง มีผ้าคาดเอว หญิงที่แต่งงานแล้วโพกศรีษะด้วยผ้าพื้นสีดำ แต่สาวที่ยังไม่แต่งงานจะโพกผ้าดำที่ประดับด้วยมะลาว (หน้า 33) 
 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

         ชาวไตหย่านั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ที่มณฑลยูนนานของจีนและได้เมื่อได้รับการเผยแพร่ศาสนาคริสต์จากมิชชันนารีและผู้เผยแพร่ชาวไทย จึงได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยโดยเริ่มเดินทางผ่านประเทศพม่าก่อน ก่อนที่จะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยทั้งในจังหวัดเชียงราย และได้กระจายไปยังจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือ (หน้า 1) เมื่อก่อนชาวไตหย่าได้มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างชาวจีนเพราะอยู่ในเขตจีนจึงทำให้คนชาวไตหย่านี้ถูกเรียกชื่อได้หลายชื่อจากกลุ่มคนจีน เช่น ไตน้ำ ไตลาย เป็นต้น (หน้า 22)

Social Cultural and Identity Change

         ชาวไตหย่าก็มีประเพณีวัฒนธรรมที่มีตั้งแต่ดั้งเดิมจนปัจจุบัน ทั้งการแต่งงาน งานศพ การบริโภค ตลอดจนถึงการปรับสินไหม คือถ้าสามีภรรยาไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้แล้วก็ต้องเลิกกัน ถ้าฝ่ายหญิงต้องการแต่งงานใหม่ คือสามีใหม่ต้องเป็นคนเสียค่าปรับให้กับสามีเก่าแล้วแต่ที่จะตกลงกัน (หน้า 35) ส่วนการเปลี่ยนศาสนานั้นก็มีอิทธิพลต่อประเพณีวัฒนธรรม ชาวไตหย่าเปลี่ยนจากการนับถือผีมานับถือศาสนาคริสต์ และได้ย้ายจากถิ่นกำเนิดเดิมอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย การบริโภคอาหารนั้นก็เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนมารับประทานข้าวจ้าวมากกว่าข้าวเหนียว เพราะในประเทศไทยมีการปลูกข้าวจ้าวมากกว่าจึงทำให้ข้าวมีบทบาทในกลุ่มชาวไตหย่ามากขึ้น  ชาวไตหย่านั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบชีพด้วย ตั้งแต่อยู่ยูนนานจนอพยพเข้ามาในประเทศไทยก็หันมาสนใจการศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาประกอบอาชีพสุจริตเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพให้ครอบครัว จากที่เมื่อก่อนปลูกกก ปลูกยาสูบ ทำไร่ทำนา ก็พัฒนามาประกอบอาชีพ ทหาร พยาบาล ครู เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มมากขึ้น (หน้า 49)

Map/Illustration

หน้าที่ 5 รูปแผนที่ที่ชาวไตหย่าอพยพเข้ามา
หน้าที่ 6 รูปชาวไตหย่าในจังหวัดเชียงราย
หน้าที่ 21 รูปแผนที่
หน้าที่ 25 รูปบ้านชาวไตหย่าที่หมู่บ้านใหม่ ในหยวนเกียง พ.ศ. 2533
หน้าที่ 25 รูปบ้านชาวไตหย่าที่หมู่บ้านน้ำบ่อขาว พ.ศ. 2532
หน้าที่ 25 บ้านชาวไตหย่าที่หมู่บ้านป่าสักขวาง พ.ศ. 2532
หน้าที่ 45 ทางเข้าหมู่บ้านบ่อน้ำขาว ถิ่นที่อยู่ของชาวไตหย่า
หน้าที่ 45 ส่วนหนึ่งของชาวไจหย่าที่หมู่บ้านน้ำบ่อขาว ถ่ายหน้าคริสตจักรนทีธรรม
 

Text Analyst พิสชา ศรีวิจิตรปภรณ์ Date of Report 18 พ.ค. 2559
TAG ไตหย่า, ศาสนาคริสต์, เชียงราย, ชาวไตน้ำ, ชาวไตลาย, มณฑลยูนนานประเทศจีน, ภูมิหลัง, วัฒนธรรมประเพณี, การแต่งกาย, การแต่งงานของชาวไตหย่า, หมอสอนศาสนา, การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง