สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน,ประวัติศาสตร์,การอพยพ,บ้านหมี่,ลพบุรี
Author ปรารถนา แซ่อึ้ง
Title 'ประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายของชาวไทพวนในประเทศไทย' และ 'ลักษณะทั่วไปของชาวไทยพวน ในเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี'
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 38 Year 2539
Source ย่าเล่าให้ฟัง, ภักตร์เพ็ญ ทิพยมนตรี, พิมพ์เนื่องในโอกาสมงคลอายุครบเจ็ดรอบ นายประเสริฐ เรืองสกุล 27 สิงหาคม พ.ศ. 2455, (หน้า 29-62)
Abstract

ไทพวนเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวนและเมืองเชียงขวางทางตอนเหนือของประเทศลาว ต่อมาถูก "กวาดต้อน" เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชกาลที่ 3 ไทพวนที่อยู่ในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากลาวพวน ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ครั้งแรก ไทพวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ "บ้านเซ่า" จังหวัดลพบุรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2482 "บ้านเซ่า" ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "อำเภอบ้านหมี่" ไทพวนมีผิวขาวเหลืองและมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับลาวพวกอื่น ๆ มีความขยัน รักสงบ โอบอ้อมอารี และรักพวกพ้อง พูดภาษาตระกูลไต อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเครือญาติ นับถือศาสนาพุทธ นิยมแต่งกายด้วยด้วย "ผ้ามัดหมี่" อยู่บ้านเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นกระดานเป็นไม่แผ่นใหญ่ ๆ หนาและแข็งแรง ใต้ถุนมีคอกวัว เมื่อขึ้นบันใดไปจะพบชานบ้านที่กว้างขวาง มีเรือนครัวอยู่ด้านในสุด ด้านตรงข้ามเรือนครัวทางขวาของบันไดมีเรือนเล็กหลังหนึ่ง ตัวเรือนใหญ่อยู่ด้านซ้ายมีโถงกว้าง

Focus

ประวัติการอพยพเคลื่อนย้าย และลักษณะทั่วไป ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ความเชื่อ ภาษา และ อาชีพ ของไทพวน เขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

พวน เป็นชื่อของชนกลุ่มหนึ่งที่ทางภาคอีสานเรียกว่า "ไทพวน" แต่คนไทยภาคกลางเรียกว่า "ลาวพวน" (หน้า 35) ไทพวนมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับลาวพวกอื่น ๆ แต่ไทพวนจะมีผิวขาวเหลือง มีความขยัน รักสงบ โอบอ้อมอารี และรักพวกพ้อง (หน้า 36)

Language and Linguistic Affiliations

ไทพวนมีภาษาพูดเป็นของตนเองซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลไต (Tai) ภาษาของพวนจะมีสำเนียงคล้ายภาษาของคนไทยทางภาคอีสาน และคำบางคำก็จะใช้เหมือนกันอีกด้วย เช่น คำว่า บ่ ซึ่งแปลว่า ไม่ หรือ มะหุ่ง ซึ่งแปลว่า มะละกอ เป็นต้น (หน้า 37)

Study Period (Data Collection)

นับจากปี พ.ศ. 2434 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มเล่าประวัติไทพวน ในหน้า 30 และปี พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นปีที่ระบุว่ามีการเปลี่ยนจาก "บ้านเซ่า" เป็น "อำเภอบ้านหมี่" ในหน้า 57 จึงสรุปว่า ช่วงเวลาในการศึกษาอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2434 - 2482

History of the Group and Community

ไทพวนเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวนและเมืองเชียงขวางทางตอนเหนือของประเทศลาว ต่อมาเกิดสงครามระหว่างลาวกับไทยหลายครั้ง จึงถูก "กวาดต้อน" เข้าสู่ประเทศไทยในหลายสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ชนะแล้วกวาดต้อนครอบครัวลาวจากเวียงจันทน์ลงตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยจำนวนมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 สยามยกทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ถึง 2 ครั้ง (สมัยสงครามไทย - เวียงจันทน์ครั้งที่ 1 และในสมัยสงครามไทย - เวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสมัยที่มีการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้สำเร็จ) และแต่ละครั้งได้กวาดต้อนชาวลาวลงมาอีกเป็นจำนวนมาก (หน้า 38 - 50) ไทพวนที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากลาวพวน ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ คนไทยเชื้อสายพวนเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง และอำเภอบ้านหมี่ ซึ่งเป็นอำเภอที่ไทพวน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่สุดถึงประมาณ 21 หมู่บ้าน (หน้า 55) อย่างไรก็ตาม ไทพวนอพยพเข้ามาครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวยกทัพไปปราบฮ่อและส่วนใหญ่ของพวนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดลพบุรี (หน้า 49) เดิมทีเดียวเมื่อไทพวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีเป็นครั้งแรกนั้น ไทพวนเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านเซ่า" เนื่องจากพวนเหล่านี้อพยพมาจาก "บ้านเซ่า" ในเมืองพวน ต่อมาในปี พ.ศ. 2426 ทางราชการได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้นที่บ้านเซ่าและให้ชื่อว่า "อำเภอสนามแจง" ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่เป็น "อำเภอห้วยแก้ว" ต่อมาในปี พ.ศ.2457 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบ้านเซ่า" และใช้ชื่อนี้มานานถึง 25 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2482 มีการปรับปรุงชื่อสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย "บ้านเซ่า" ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "อำเภอบ้านหมี่" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (หน้า 57)

Settlement Pattern

บ้านของไทพวน เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นกระดานเป็นไม่แผ่นใหญ่ๆ หนาและแข็งแรง ใต้ถุนมีคอกวัว เมื่อขึ้นบันใดไปจะพบชานบ้านที่กว้างขวาง มีเรือนครัวอยู่ด้านในสุด ด้านตรงข้ามเรือนครัวทางขวาของบันไดมีเรือนเล็กหลังหนึ่ง ตัวเรือนใหญ่อยู่ด้านซ้ายมีโถงกว้าง (หน้า 27)

Demography

งานวิจัยระบุเพียงว่า ประชากรในจังหวัดลพบุรีส่วนใหญ่เป็นคนไทยภาคกลาง แต่มีบางส่วนที่สืบเชื้อสายมาจากลาวพวน ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ คนไทยเชื้อสายพวนเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรงและอำเภอบ้านหมี่ ซึ่งเป็นอำเภอที่ไทพวนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่มากที่สุดถึงประมาณ 21 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหมี่ใหญ่ บ้านหมี่น้อย บ้านกล้วย บ้านทราย บ้านเชียงงา บ้านโพนทอง บ้านบางกะพี้ บ้านหินปัก บ้านคลองไม้เสียบ บ้านละเตย บ้านราษฎร์ธานี บ้านห้วยกรวด บ้านหนองทรายขาว บ้านห้วยแก้ว บ้านมะขามเฒ่า บ้านเนินยาว บ้านกลาง บ้านสว่างอารมณ์ บ้านไผ่ใหญ่ บ้านหนองเมือง และ บ้านเซ่า (หน้า 55)

Economy

อาชีพหลักของไทพวน คือ การทำนา ปลูกข้าวเจ้า พวนโดยทั่วไปบริโภคข้าวเจ้า แต่มีบางส่วนบริโภคข้าวเหนียว อาชีพรองลงมา คือ การทอผ้า ซึ่งขึ้นชื่อว่าสวยงาม และประณีตมาก (หน้า 37)

Social Organization

สังคมของไทพวนเป็นสังคมเครือญาติ ปลูกเรือนอยู่ใกล้กัน และมีการช่วยเหลือกันและกัน ทั้งการทำมาหากินและการประกอบประเพณีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งระหว่างเครือญาติและไทพวนที่อยู่ต่างบ้านต่างเมือง ไทพวนถือว่า แม้จะอยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็เป็นสายเลือดเดียวกัน เป็นเสมือนพี่น้องกัน (หน้า 36 - 37)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไทพวนนับถือศาสนาพุทธและมีวัดเป็นศูนย์กลางแห่งความศรัทธา ปัจจุบัน ยังมีภาพของคนเฒ่าคนแก่นุ่งขาวห่มขาวไปถือศีลที่วัดในวันพระ (หน้า 37)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไทพวนมักนิยมแต่งกายด้วยด้วยผ้าที่ทอด้วยมือซึ่งมีลวดลายแบบไทพวน เช่น ลายเปี้ยง (เปี่ยง) ลายตะขอ ลายซุ้มปราสาท เป็นต้น ผ้าดังกล่าวเรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" หรือที่คนพวนเรียกว่า "ซิ่นหมี่" เป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย (หน้า 36, และ ดูภาพประกอบในหน้า 58 - 61)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ของไทพวน ได้แก่ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับลาวพวกอื่น ๆ แต่ไทพวนจะมีผิวขาวเหลือง มีความขยัน รักสงบ โอบอ้อมอารี และรักพวกพ้อง พูดภาษาตระกูลไต อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเครือญาติ นับถือศาสนาพุทธ นิยมแต่งกายด้วยด้วยผ้าที่ทอด้วยมือซึ่งมีลวดลายแบบไทพวน เช่น ลายเปี้ยง (เปี่ยง) ลายตะขอ ลายซุ้มปราสาท เป็นต้น ผ้าดังกล่าวเรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" ลักษณะบ้านเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นกระดานเป็นไม่แผ่นใหญ่ๆ หนาและแข็งแรง ใต้ถุนมีคอกวัว เมื่อขึ้นบันใดไปจะพบชานบ้านที่กว้างขวาง มีเรือนครัวอยู่ด้านในสุด ด้านตรงข้ามเรือนครัวทางขวาของบันไดมีเรือนเล็กหลังหนึ่ง ตัวเรือนใหญ่อยู่ด้านซ้ายมีโถงกว้าง

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (หน้า 34),แผนที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (หน้า 56) ภาพการแต่งกลายของเด็กไทพวน (หน้า 58), ภาพการแต่งกลายของหญิงไทพวน (หน้า 59) ภาพการแต่งกลายของหญิงวัยกลางคนไทพวน (หน้า 60) ภาพการแต่งกลายของผู้เฒ่าไทพวน (หน้า 61)

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 09 พ.ค. 2556
TAG พวน, ประวัติศาสตร์, การอพยพ, บ้านหมี่, ลพบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง