สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ก๊อง (อุก๋อง) ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ประวัติความเป็นมา การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย จำนวนประชากร ลักษณะภูมิประเทศและที่อยู่อาศัย การแต่งกาย ภาษา โครงสร้างครอบครัว การเรียกชื่อ อาชีพและความเป็นอยู่ อาหารการกิน ศาสนาความเชื่อ สุภาพอนามัย วรรณกรรมมุขปาฐะ
Author มยุรี ถาวรพัฒน์
Title สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ก๊อง (อุก๋อง)
Document Type อื่นๆ Original Language of Text -
Ethnic Identity โอก๋อง อุก๋อง ก๋อง ก๊อง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  Total Pages 31 Year 2540
Source มยุรี ถาวรพัฒน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ก๊อง (อุก๋อง). (2540). บริษัท สหธรรมิก จำกัด : กรุงเทพมหานคร.
Abstract

ผู้เขียนได้อธิบายถึงข้อมูลพื้นฐานของการดำรงชีวิต สังคม ประเพณีและวัฒนธรรมโดยอธิบายครอบคลุมประเด็นเหล่านี้ ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์, ประวัติความเป็นมา, การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย, จำนวนประชากรในประเทศไทย, ลักษณะภูมิประเทศและที่อยู่อาศัย, การแต่งกายทั้งแบบดั้งเดิมและในปัจจุบัน, ภาษา ตระกูลและลักษณะภาษาของก๊อง,  โครงสร้างครอบครัว, อาชีพและความเป็นอยู่ การทอผ้าและการสานเปลไม้ไผ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวก๊อง, อาหารการกิน ศาสนาความเชื่อ สุภาพอนามัย และวรรณกรรมมุขปาฐะ ซึ่งมีการพบว่าวัฒนธรรมบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมและเวลา

Focus

เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลทั่วไปทางด้านสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ก๊อง (อุก๋อง)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ก๊อง (อุงก๋อง)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาก๊องจัดอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-พม่า อยู่ระหว่างสาขาพม่า(Burmese) กับสาขาโลโล(Loloish) (หน้า11)
พยัญชนะในภาษาก๊อง มีทั้งหมด 21 เสียง พยัญชนะทุกตัวสามารถเป็นพยัญชนะต้นได้ แต่สำหรับพยัญชนะท้าย จะมีเพียงแค่ 3 เสียงเท่านั้น (ก) (ง) (อ)
สระในภาษาก๊อง สระแต่ละตัวสามารถออกเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ สระประสม มี 3 เสียง และ วรรณยุกต์มี 5 เสียง (หน้า12)
โครงสร้างประโยค ประกอบด้วย ประธาน กรรม กริยา (หน้า13)
 

History of the Group and Community

          เชื่อว่าชาวก๊องมีภูมิหลังมาจากประเทศพม่า เข้ามาในประเทศไทย โดยการทำสงครามระหว่างกันระหว่างไทย-พม่า และถูกกองทัพไทยจับมาเป็นเชลย เพื่อเรียกเก็บภาษี หรือ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรให้แก่ประเทศไทย ซึ่งในสมัยนั้นนิยมทำกัน
          ชาวก๊องเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เมื่อนานมาแล้ว นานจนเรื่องราวของบรรพบุรุษชาวก๊อง ไม่สืบทอดไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน (หน้า5)
 

Settlement Pattern

          ชาวก๊องมักจะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบสูงเชิงเขา มีลำน้ำไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ มีศาลผีประจำหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันตก ก๊องจะทำการเลี้ยงผีเป็นประจำทุกปีที่ตรงนี้ หรือใช้อธิษฐาน ขอในสิ่งที่ต้องการ  (หน้า7)

Demography

ปัจจุบันพบคนที่ยังพูดภาษาก๊องประมาณ 500 คน โดยอาศัยตามที่ต่างๆ ดังนี้
          - บ้านละว้ากกเชียง จ.สุพรรณบุรี มี 20 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 104 คน
          - บ้านละว้าวังควาย จ.สุพรรณบุรี มี 14 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 78 คน
          - บ้านห้วยเข้ จ.สุพรรณพรรณบุรี มี 54 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 183 คน
          - บ้านคอกควาย จ.อุทัยธานี มี 29 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 129 คน
          - บ้านคลองแห้ง จ.อุทัยธานี มี 3 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 13 คน (หน้า7)
 

Economy

          ชาวก๊องส่วนมากทำอาชีพปลูกข้าวไว้บริโภค และ ปลูกข้าวโพด อ้อย พริกไว้ขาย นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการหาของป่าขาย คือ หน่อไม้ เห็ดโคน และไม้ไผ่
          ผู้เขียนยังกล่าวอีกว่า ลักษณะเด่นของชาวก๊อง คือ การทอผ้า และการสานเปลไม้ไผ่ (หน้า15) 
อาหารการกิน ผู้เขียนได้กล่าวถึงการเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์และวิธีการกินอาหารของชาวก๊อง การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถ้าต้องการรับประทานทั้งหนังและเนื้อจะใช้การเผาไฟ เพื่อให้ขนไหม้ แล้วถอนขนออกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับข้อกลางนิ้วชี้จนหมด แล้วค่อยนำไปล้างทำความสะอาด ส่วนสัตว์ที่ไม่ต้องการหนัง เช่น กระต่าย จะแล่หนังออกแล้วนำเนื้อมารับประทาน ส่วนวิธีการรับประทานอาหารของชาวก๊อง จะรับประทานร่วมกันในครอบครัว มื้อเย็น นิยมกินข้าวด้วยมือ (หน้า19-20)
 

Social Organization

          ในครอบครัวชาวก๊อง มีพ่อ แม่ ลูก บางครอบครัวก็มีครอบครัวของลูกสาวอยู่ด้วย ชาวก๊องให้ความสำคัญกับฝ่ายแม่มากกว่า เมื่อแต่งงานผู้ชายจะเป็นคนย้ายมาอยู่กับครอบครัวผู้หญิง หลังจากนั้นถึงจะแยกมาสร้างครอบครัวของตัวเองในบริเวณใกล้เคียงกัน สำหรับลูกคนสุดท้ายจะต้องมีหน้าที่ดูแลอยู่ดูแลพ่อแม่ตลอดไป แม้ว่าจะแต่งงานแล้วก็ตาม ทำให้ลูกคนสุดท้ายได้รับบ้านของพ่อแม่เป็นมรดก
           สังคมของชาวก๊องมีผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว มีภรรยาได้หลายคนเกิดจากเหตุผลต่างๆ กล่าวคือ ภรรยาคนแรกมีร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถช่วยสามีทำมาหากินได้ จึงมีภรรยาคนที่สอง
          ปัจจุบันชาวก๊องมักนิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้า14)
          การเรียกชื่อของชาวก๊องจะเรียกคำนำหน้าชื่อผู้หญิงว่า “อี” ส่วนผู้ชายส่วนมากจะใช้คำว่า “บัก” นำหน้าชื่อ ยังมีอื่นๆอีก เช่น ถ้าผ่านกระบวชเณรมาจะใช้คำว่า “เชียง” ถ้าเคยบวชพระมาจะใช้คำว่า “ทิด” เป็นต้น (หน้า14)
 

Political Organization

ระบบการปกครองของชาวก๊องเป็นการปกครองแบบผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน ถ้ามีลูกคนโตเป็นผู้ชายจะสืบทอดตำแหน่งต่อจากพ่อ (หน้า6)

Belief System

          ชาวก๊องส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ไม่นิยมบูชาพระพุทธรูป และห้อยพระเครื่อง ถ้ามีลูกชายอายุ20 ปีบริบูรณ์ พ่อแม่จะให้บวช นอกจากนี้ชาวก๊องยังนับถือผีอีกด้วย เช่น ผีบ้านผีเรือน เจ้าป่าเจ้าเขา ที่สำคัญคือ ผีหมู่บ้าน (หน้า21) พิธีที่ชาวก๊องให้ความสำคัญมาก คือ พิธีไหว้ผีหมู่บ้าน พิธีนี้จัดเป็นประจำทุกปี ในวันอังคาร ข้างขึ้นเดือน6 (อังคารแรก หรืออังคารหลังก็ได้) เป็นการเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา ผีต่างๆที่ชาวก๊องนับถือ ช่วงเวลาที่มีพิธีกรรมห้ามชาวก๊องในหมู่บ้านออกนอกหมู่บ้าน และคนภายนอกห้ามเข้าหมู่บ้าน แต่ถ้ามีความจำเป็นจริงๆ ต้องเสียค่าปรับให้ “จาจ้ำ” (ผู้นำในพิธีกรรม) ยังมีข้อห้ามอื่นๆอีก เช่น ห้ามเด็ดใบไม้สด ห้ามอาบน้ำ ห้ามจับเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ก่อนถึงวันประกอบพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันทำความสะอาดบริเวณรอบๆศาลผี ช่วยกันเตรียมของใช้ในพิธี และช่วยกันสร้างศาล “ตะนอตะบึ้ก” (ศาลเต่า) ตั้งอยู่ด้านหน้า เยื้องอยู่ด้านขวาของศาลผี มี 2 เสา มีบันไดพาด มีหลังคาปกคลุม มีพื้นที่สำหรับวางเครื่องเซ่น ส่วนศาลเจ้าที่ จะตั้งอยู่ด้านหน้าเยื้องอยู่ทางขวาเล็กน้อยของศาลผี มี 4 เสา มีบันได ไม่มีหลังคา มีพื้นที่สำหรับวางเครื่องเซ่น สัตว์ที่มีความสำคัญในพิธีไหว้ผีหมู่บ้าน มีไก่ เต่า หมู อ้น ซึ่งจะใช้อ้นกับหมูสลับกัน กล่าวคือ ใช้อ้นเป็นเครื่องเซ่นติดต่อกัน 3 ปี พอถึงปีที่ 4 จะใช้หมู ปีที่ 5-7 ใช้อ้น สลับวนเวียนกันไปอย่างนี้ เต่ากับอ้นที่นำมาประกอบพิธี ชาวบ้านจะช่วยกันหา แต่ถ้าใช้หมู ชาวบ้านก็จะช่วยกันออกเงินกันซื้อครอบครัวเท่าไรละเท่าไรก็ได้ เมื่อเสร็จพิธีชาวก๊องก็จะมาผูกด้ายขวัญ อวยพรให้จาจ้ำ และสมาชิกในครอบครัว (หน้า21-24)
          พิธีเรียกขวัญ และการผูกด้ายขวัญ ทำได้หลายโอกาส เช่น เวลาต้องจากบ้านไกลๆ เด็กร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มีคนเจ็บป่วย แสดงความยินดี ทำในพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน ในแต่ละโอกาสจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในการประกอบพิธีกรรม การเรียกขวัญจะมีผู้ทำพิธี คือ แม่เฒ่า 2 คน ที่รู้คำเรียกขวัญภาษาก๊อง (หน้า25)
การทำนายโชคชะตา และการเสี่ยงทาย มีดังนี้ 
           - การทำนายโชคชะตาด้วยกระดูกขาไก่ ทำในพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้านประจำปี “จาจ้ำ” เป็นผู้ทำนายโชคชะตาของหมูบ้าน โดยการเสียบไม้แทงกระดูกไก่ทั้ง 2 ข้าง ถ้ารูของขาไก่ทั้งคู่อยู่ในระดับเดียวกัน และอยู่ในตำแหน่งสูง ทำนายว่าปีนั้นพืชไร่จะอุดมสมบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาล
          - การเสี่ยงทายด้วยเม็ดข้าวสาร จะทำในหลายพิธี เช่น พิธีไหว้ผีบ้าน พิธีเรียกขวัญ
          - การเสี่ยงทายกิ่งไม้ คล้ายกับการเสี่ยงทายด้วยเม็ดข้าวสาร แตกต่างกันตรงที่นำกิ่งไม้มาใช้แทน
          - การเล่นผีกระด้ง ชาวบ้านนิยมทำในเวลาที่มีปัญหาเดือดร้อน หรือมีความวิตกกังวลต่างๆ จะมีผู้เชิญผี และผู้ที่จะเสี่ยงทาย
          - การเล่นผีไฟแช็ก จะทำการเสี่ยงทายเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น เพื่อเป็นการสอบถามว่าเป็นผีชนิดใดที่มาทำให้บุคคลนั้นเจ็บป่วย
          - การเสี่ยงทายด้วยไข่ในพิธีฝังศพ ทำเมื่อมีคนตายนำศพไปป่าช้า แล้วทำการเสี่ยงทายด้วยไข่ เพื่อดูว่าคนตายชอบบริเวณใด แต่ปัจจุบันชาวก๊องหันไปนับถือศาสนาพุทธ จึงนิยมนำศพไปเผาที่วัด (หน้า26-27)
 

Health and Medicine

          เมื่อชาวก๊องเจ็บป่วย หรือไม่สบาย มักจะไปพบแพทย์แผนปัจจุบันก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ชาวก๊องเชื่อว่าเกิดจากผีเป็นต้นเหตุ และจะทำการเสี่ยงทายเพื่อให้รู้ว่าเป็นผีอะไร และต้องการอะไร ชาวก๊องยังมีความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องขวัญ ต้องทำพิธีเรียกขวัญนอกจากนี้ในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยยังมีการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน เช่น การใช้ยาสมุนไพรกวาดคอเด็ก และผู้ใหญ่ เป็นการรักษาอาการระคายคอ ไอมีเสมหะ และเบื่ออาหาร (หน้า27-28)
          หลังจากที่คลอดบุตรแล้วจะอยู่ไฟเป็นเวลา 7-15วัน ขณะที่อยู่ไฟห้ามแม่ลูกอ่อน ขึ้นลงบันได หลังจากออกไฟมีการโกนผมไฟลูกแล้วห่อผมด้วยใบบอน นำไปเก็บไว้ใต้โอ่งน้ำ เชื่อว่าทำให้เด็กร่มเย็นเป็นสุข (หน้า28)
 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

           ผู้เขียนได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของชาวก๊องผ่านทางลักษณะของบ้านในสังคมชาวก๊อง ว่ามี4แบบ คือ 1.บ้านไม้ไผ่ สร้างจากวัสดุที่มีในท้องถิ่น ส่วนใหญ่ทำจากลำไม่ไผ่ขนาดใหญ่ และใช้หญ้าคาเย็บเป็นตับมามุงหลังคา พื้นแบบยกสูงประมาณ 1วาครึ่ง 2.บ้านเรือนไม้ผสมไม่ไผ่ โดยใช้ไม้เนื้อแข็งทำเสาและพื้นบ้าน ใช้ฟากทำฝาบ้าน ยกพื้นสูง มุงหลังคาด้วยสังกะสี บันไดบ้านสามารถเคลื่อนย้ายได้ 3.บ้านเรือนไม้ ชาวก๊องสร้างตามแบบคนไทยในท้องถิ่น  โดยใช้วัสดุในการสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหมด ใช้สังกะสีมุงหลังคา มีระเบียงหน้าบ้าน หรือไม่มีก็ได้ 4.บ้านแบบก่ออิฐถือปูน จะไม่ยกพื้นสูง บ้านตั้งอยู่บนดิน ใช้สังกะสีหรือกระเบื้องมุงหลังคา มีความคงทนกว่าบ้านสามแบบที่กล่าวมาข้างต้น (หน้า8-9)
          ชาวก๊องมีความโดดเด่นในเรื่องของงานฝีมือหรืองานหัตถกรรม ได้แก่ การทอผ้า และการสานเปลไม้ไผ่ ในการทอผ้าของชาวก๊องนั้นมีวิธีการทำโดยใช้ด้ายขึงกับท่อนไม้ในแนวนอน ไม้ท่อนแรกผูกติดกับหลักและไม้ท่อนที่สองจะอยู่ติดกับเอวด้านหน้าของคนที่ทอ คล้องปลายไม้ด้านหนึ่งด้วยสายหนัง แล้วอ้อมเอวไปคล้องปลายไม้อีกด้านหนึ่ง ผู้ที่ทำการทอผ้าจะต้องนั่งบนพื้นเหยียดขาตรงเพื่อยันไม้ให้ติดกับหลักด้านล่าง จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทอผ้าของชาวก๊องมีลักษณะคล้ายคลึงกับของกระเหรี่ยง โดยนิยมทอย่าม ผ้าถุง และผ้าห่ม (หน้า17) การสานเปลไม้ไผ่ ชาวก๊องจะเลือกใช้ไม้ไผ่ที่แก่จัดลำต้นตรงและโต ยาวประมาณ 3 เมตร หรือ 9-10 ปล้อง โดยจะตัดให้สุดที่ข้อของลำไม้ไผ่ เพราะข้อจะช่วยยึดทำให้ส่วนปลายเปลของเปลไม่ไผ่คงทน และใช้ส่วนข้อไม้ไผ่ทั้งสองข้างผูกเชือกไว้กับต้นไม้หรือเสา โดยจะเหลาข้อไม้ไผ่ให้เรียบ แล้วปาดด้านใดด้านหนึ่งของไม้ไผ่ออก ต้องปาดห่างจากปลายข้อไม้ไผ่ทั้งสองข้างประมาณ 30เซนติเมตร ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วผ่ากระบอกไม้ไผ่เป็นซี่ๆ กว้างประมาณ 1-2เซนติเมตร ผ่าประมาณ 15 ซี่ ผ่าตามแนวนอนยาวประมาณข้อของปลายทั้งสองข้าง เพื่อใช้สานเป็นโครง จากนั้นนำไม้ไผ่ที่มีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มาสานเป็นลายขัดกับโครงไม้ไผ่ 15 ซี่ดังกล่าว โดยมีระยะห่างพอประมาณ เมื่อสานเสร็จแล้วจะใช้เชือกรอยรูที่ข้อไม้ไผ่ทั้งสองด้าน แล้วแขวนไว้ที่ต้นไม้ใหญ่หรือใต้ถุนบ้าน (หน้า18)
           การแต่งกายของชาวก๊อง ในสมัยก่อนผู้ชายก๊องจะสวมใส่เสื้อผ้าสีดำแขนยาว มีปกตั้งคล้ายเสื้อคอจีน เป็นเสื้อผ่าหน้ามีกระดุมเรียงต่อกันลงมา มีสาบเสื้อทับกัน บริเวณสาบเสื้อและปกเสื้ออาจมีการปักลวดลายด้วยด้ายสีหรือไหมพรม กางเกงขาก๊วย ความยาวคลุมเข่าเล็กน้อย มีผ้าโพกโดยพับผ้าตามแนวยาวให้มีขนาดพอสมควร บริเวณกลางผ้าจะทาบอยู่บริเวณหน้าผากอ้อมไปทางหลังศีรษะแล้วดึงชายผ้าทั้งสองกลับมาทาบบริเวณด้านหน้าอีกครั้งแล้วเก็บชาย ใช้ยามสีแดงเวลาออกจากบ้าน ส่วนผู้หญิงชาวก๊อง สวมใส่ผ้าซิ่นเหน็บชายไว้ที่เอว ใช้เชือกมัดอีกทีนึ่ง หรือคาดเข็มขัด สีที่นิยมใส่กันได้แก่สีเขียวแก่ สัแดงคล้ำ และสีน้ำเงิน ใส่เสื้อสีดำแขนสั้นคล้ายเสื้อผู้ชาย โดยจะมีปกตั้ง หน้าผ้าผ่าตลอด สาปเสื้อชนกัน อาจมีกระดุมหรือใช้เชือกผูก บริเวณรอยต่อของแขนเสื้อกับตัวเสื้อด้านนอกจะเย็บเป็นลายกากบาทด้วยไหมพรม หรือฝ้ายสี สาปเสื้อและปกเสื้อ ปักลวดลายจาดฝ้ายสี มีการใช้ผ้าคลุมศีรษะ โดยเริ่มจากริมผ้าบริเวณท้ายทอยอ้อมมาเหน็บที่หน้าผาก และตลบผ้าที่เหลือขึ้นไปบนศีรษะ ทิ้งชายผ้าไว้ด้านหลัง ผู้หญิงจะใช้ย่ามสีขาว จะคาดสายสะพายย่ามไว้ที่หน้าผากและปล่อยให้ถุงย่ามห้อยอยู่บนแผ่นหลัง แต่ในปัจจุบันวัยหนุ่มสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าเหมือนคนไทยท้องถิ่นทั่วไป หรือตามสมัยนิยม ส่วนผู้สูงอายุส่วนมาก ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงหรือผ้าซิ่น ใส่เสื้อคอกระเช้า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ต เมื่ออยู่บ้านจะไม่ใส่เสื้อและสวมใส่กางเกงขายาว (หน้า10) 
 

Folklore

           วรรณกรรมมุขปาฐะของชาวก๊องที่ปรากฏในงานนี้ มีทั้งนิทาน เพลงกล่อมเด็ก และเพลงเกี้ยวสาว นิทานนอกจากเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ได้เรียนรู้การดำรงชีวิตและวัฒนธรรม กล่าวคือ ผู้ใหญ่ได้รับรู้ และเห็นสิ่งต่างๆมามากมาย จะเล่าสิ่งเหล่านั้นให้เด็กๆฟัง แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากชาวบ้าน สนใจสื่อใหม่ๆแทน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ทำให้นิทานแทบจะไม่มีบทบาทในสังคมก๊องอีกต่อไป เพลงกล่อมเด็กก็เช่นกัน แทบจะไม่มีผู้ร้องเพลงกล่อมลูกเหมือนสมัยก่อนแล้ว จะมีก็แต่คนเฒ่าคนแก่ ที่พอจะจดจำเนื้อร้องได้ ส่วนเพลงเกี้ยวสาว ปัจจุบันก็เลือนหายไป ในสมัยก่อนไม่ว่าจะมีงานเลี้ยงฉลองอะไรก็ตาม ชาวก๊องจะมาร่วมสนุกกัน ร้องรำทำเพลงกันแบบพื้นบ้าน แต่ปัจจุบันจะเห็นแต่วิทยุ และเครื่องขยายเสียงแทน (หน้า29-30)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          สิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงอัตลักษณ์ของชาวก๊อง ได้แก่ การแต่งกาย ภาษา การทอผ้าและการสานเปลไม้ไผ่ที่มีเอกลัษณะของชาวก๊อง ความเชื่อเรื่องผี โดยเฉพาะเรื่องของการโพกหัวทั้งชายและหญิง สีของย่าม ภาษาก๊องจะมีทำนองเสียงที่แต่ต่างกันระหว่างประโยคคำถามและประโยคชนิดอื่น ชาวก๊องยังมีความเชื่อเรื่องผีและมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีอีกด้วย
          ความสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่ม : ปัจจุบันก๊องมีการติดต่อกับกลุ่มที่พูดภาษาลาวครั่ง มีการแต่งงานกับคนนอกกลุ่ม เช่น คนไทยที่พูดภาษาลาวครั่ง คนไทยอีสาน (หน้า13-14)
 

Social Cultural and Identity Change

          ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง แต่จากงานเขียนทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า สังคมและวัฒนธรรมของก๊องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเวลาและสถานที่ ทั้งในเรื่องของการสร้างบ้าน การแต่งกาย ภาษา โครงสร้างครอบครัว  อาหาร และวรรณกรรมมุขปาฐะ กล่าวคือ ในเรื่องของการสร้างบ้านชาวก๊องหันมาสร้างบ้านแบบคนไทยท้องถิ่นมากขึ้น การแต่งกายก็แต่งกายตามสมัยนิยม ในเรื่องของภาษาปัจจุบันในคนรุ่นใหม่ไม่มีการใช้ภาษาก๊องแล้ว ใช้แต่ภาษาลาวและไทยเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ไม่พูดภาษาก๊อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆมากมาย เช่น การศึกษาเมื่อเด็กๆได้เข้าศึกษาในโรงเรียนที่สอนภาษาไทย เด็กๆก็หันมาพูดภาษาไทยมากขึ้น นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกมีมากขึ้น เนื่อจากถนนหนทางมีความเจริญ ทำให้ใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร โครงสร้างครอบครัวในปัจจุบันมักจะนิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่มชาติพันธุ์ ในเรื่องของอาหารการกิน ในปัจจุบันมีร้านค้านำของกินมาขาย ทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเลือกซื้อมารับประทานมากขึ้น และวรรณกรรมมุขปาฐะกำลังจะสูญหายไปเนื่องจากไม่มีการจดบันทึก และการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น 

Map/Illustration

รูปภาพ : ลักษณะภูมิประเทศและที่อยู่อาศัย ลักษณะของบ้าน (หน้า7-9) การแต่งกาย (หน้า9-10) ภาษา (หน้า13) โครงสร้างครอบครัว (หน้า14) อาชีพและความเป็นอยู่ (หน้า15-16) การทอผ้า (หน้า17) การสานเปลไม้ไผ่ (หน้า18) อาหารการกิน (หน้า19-20) ศาสนาและความเชื่อ (หน้า21) พิธีไหว้ผีหมู่บ้าน (หน้า21-24) พิธีเรียกขวัญและการผูกด้ายขวัญ (หน้า25) การทำนายโชคชะตาและการเสี่ยงทาย (หน้า26-27) การอยู่ไฟ (หน้า28) วรรณกรรมมุขปาฐะ (หน้า29)
แผนที่ : แสดงที่ตั้งกลุ่มชาติพันธุ์ก๊องในประเทศไทย (หน้า6) แสดงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านไม้ไผ่และบ้านเรือนไม้ผสมไม้ไผ่ (หน้า8)
แผนภูมิ : แสดงตระกูลภาษาก๊อง (หน้า11) แสดงกิจกรรมในรอบ1ปีของชาวก๊อง (หน้า15)
ตาราง : แสดงพยัญขนะ 21เสียงในภาษาก๊อง (หน้า12) แสดงเสียงสระในภาษาก๊อง (หน้า12)   
 

Text Analyst ชวรงค์ ใจหาญ Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG ก๊อง (อุก๋อง), ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์, ประวัติความเป็นมา, การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย, จำนวนประชากร, ลักษณะภูมิประเทศและที่อยู่, อาศัย, การแต่งกาย, ภาษา, โครงสร้างครอบครัว, การเรียกชื่อ, อาชีพและความเป็นอยู่, อาหารการกิน, ศาสนาความเชื่อ, สุภาพอนามัย, วรรณกรรมมุขปาฐะ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง