สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,วิถีชีวิต,การส่งเสริมจิต,พุทธพิสัย,การใช้ภาษา,วรรณกรรมท้องถิ่น,นครนายก
Author ดวงเดือน ศาสตรภัทร และคณะ
Title ไทพวน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมการส่งเสริมจิต - พุทธพิสัย และปัญหาการใช้ภาษา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 165 Year 2542
Source คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ
Abstract

ไทพวนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก นับถือพุทธศาสนา และมีประเพณี พิธีกรรม และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ได้แก่ การสู่ขวัญ การผูกเสี่ยว งันเฮือนดี การอยู่กรรม การเกี้ยวพาราสี และความเชื่อด้านต่าง ๆ ประเพณีพิธีกรรมบางอย่างของไทพวนที่ยังคงอนุรักษ์อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ การทำบุญสร้างกุศลในโอกาสต่าง ๆ เช่น บุญกฐิน และการละเล่น เช่น โขนและหนัง เป็นต้น ส่วนประเพณีที่ไทพวนเลิกปฏิบัติแล้วแต่ยังปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของไทพวน คือ พิธีอยู่กรรม การเกี้ยวพาราสี ประเพณีลงข่วง ประเพณีการสู่ขวัญควาย พิธีแห่นางแมว เป็นต้น นอกจากนี้งานวิจัยยังกล่าวถึง การฝึกจิต - พุทธพิสัยให้แก่เด็กนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 และ 2 โดยใช้นิทานพื้นบ้านเป็นสื่อเชื่อมโยงให้เกิดพฤติกรรมแบบจิต - พุทธพิสัย และใช้คะแนนสอบของจิต - พุทธพิสัยก่อนทดลองเป็นตัวแปรร่วม และงานวิจัยยังกล่าวถึง การฝึกการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานให้แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ด้วย

Focus

วิเคราะห์วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม จากวรรณกรรมท้องถิ่นของไทพวน และตรวจสอบการใช้ภาษาของเด็กไทพวน ในตำบลเกาะหวาย และตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก (หน้า 2)

Theoretical Issues

เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีแบบแผนการทดลองเป็นแบบ Generalized Randomized Block Design โดยใช้การสุ่มและสอบก่อน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 3 ชุด ได้แก่ แบบทดสอบจิตพิสัย, แบบทดสอบพุทธพิสัย, และแบบฝึกจิต - พุทธพิสัย (หน้า 80) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) ในเรื่องของปฏิสัมพันธ์กับตัวแปรกลุ่มจิตพิสัย พบตัวแปรการบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย เพียงตัวเดียวที่พบปฏิสัมพันธ์มีนัยสำคัญ ตัวแปรอื่นที่ไม่พบผลของปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ ตัวแปรจิตพิสัย ความคิดสร้างสรรค์ ความมีน้ำใจ ความเป็นไทย และความมีวินัย (หน้า 109) 2) ในเรื่องของปฏิสัมพันธ์กับตัวแปรกลุ่มพุทธพิสัย พบตัวแปรที่ปฏิสัมพันธ์มีนัยสำคัญดังนี้ พุทธพิสัย การจัดไม่เข้าพวก และการสรุปความ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อ 4, 4.1 และ 4.2 ส่วนตัวแปรอุปมาอุปมัยและจำนวนนับไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการฝึกพุทธพิสัยและระดับชั้นเรียน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานข้อ 4.3 และ 4.4 (หน้า 109) ผลในข้อ 1 และข้อ 2 ตัวแปรที่ไม่พบผลของปฏิสัมพันธ์ อาจเนื่องมาจากตัวแปรบางตัว เช่น จำนวนนับ เป็นต้น ค่อนข้างยากเกินไป ไม่เหมาะที่จะนำมาฝึกกับเด็กระดับอนุบาล (หน้า 110) 3) ในเรื่องตัวแปรหลัก ตัวแปรแรก คือ การฝึกจิต - พุทธพิสัย พบว่าทุกตัวแปรพบตรงกันว่าการฝึกจิต - พุทธพิสัยทำให้คะแนนจิตพิสัย ความมีน้ำใจ ความเป็นไทย ความมีวินัย การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย พุทธพิสัย การจัดไม่เข้าพวก การสรุปความ อุปมาอุปมัยและจำนวนนับ สูงขึ้นกว่าการที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับสมมติฐาน ยกเว้นตัวแปรความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่พบอิทธิพลของการฝึก คือผลจากการฝึกไม่สูงขึ้น (หน้า 109) ทั้งนี้เป็นเพราะ ในการฝึก จิต-พุทธพิสัย จะเน้นระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ แบบแผนต่าง ๆ ทำให้ผลของตัวแปรความคิดสร้างสรรค์ไม่พัฒนาขึ้น เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ไปไม่ได้กับการรักษาวินัย วินัยเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่วางกรอบให้เด็กปฏิบัติตาม และกรอบกฏเกณฑ์ระเบียบแบบแผนจะทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก (Ellinger.1964 : 6308) (หน้า 111) 4) ในเรื่องตัวแปรหลัก ตัวแปรที่สองคือ ระดับชั้นเรียน พบว่า ยกเว้นตัวแปรจำนวนนับแล้ว ทุกตัวแปรได้ผลตรงกัน คือ ระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นทำให้คะแนนจิตพิสัย ความคิดสร้างสรรค์ ความมีน้ำใจ ความเป็นไทย ความมีวินัย การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย พุทธพิสัย การจัดไม่เข้าพวก การสรุปความ และอุปมาอุปมัย สูงขึ้นกว่าระดับขั้นเรียนที่ต่ำกว่า (หน้า 109) ผลที่ได้นี้สอดคล้องกับสมมติฐานและทฤษฎีของเพียเจท์ที่พูดถึงโครงสร้างการทำงานของสมองที่พัฒนาขึ้นตามอายุจนเข้าสู่วัยรุ่น (หน้า 12)

Ethnic Group in the Focus

ไทพวน / ลาวพวน

Language and Linguistic Affiliations

เป็นไปได้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับ "ภาษา" ของไทพวน ในปัจจุบันไทพวนใช้ภาษาไทยเป็นภาษาเขียนและสื่อสารอยู่ในชีวิตประจำวัน (หน้า 22) นอกจากนี้ ในหน้า 148 ระบุว่า ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มศึกษา คือ นักเรียนชายหญิงจากโรงเรียนเนินหินแร่และโรงเรียนชุมชนเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 3 ที่มีอยู่ทั้งหมด 116 คน ทั้งสองโรงเรียนใช้ภาษาไทพวนเป็นภาษาแรกและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด (หน้า 148)

Study Period (Data Collection)

ในหน้า 19 งานวิจัยระบุว่ามีการสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชนเมื่อปี 2536 - 2537 ต่อมาในหน้า 48 งานวิจัยระบุว่า ใช้ระยะเวลาในการฝึกจิต - พุทธพิสัย ตั้งแต่ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2542 ซึ่งเป็นปีเดียวกับปีที่พิมพ์งานวิจัยชิ้นนี้พอดี ดังนั้น จึงสรุปว่า งานวิจัยชิ้นนี้มีช่วงเวลาในการศึกษาอยู่ระหว่างปี 2536 - 2542.

History of the Group and Community

ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกทัพไปตีเวียงจันทน์และหัวเมืองอื่น ๆ ได้กวาดต้อนไพร่พลกลุ่มหนึ่งลงมาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองลพบุรี, นครนายก, สระบุรี, และฉะเชิงเทรา และไทพวนในหมู่บ้านท่าแดง คือ ส่วนหนึ่งของไพร่พลที่ถูกกวาดต้อนมาด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2322 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกทัพไปปราบหัวเมืองล้านช้างอีก และให้กองทัพเมืองหลวงพระบางไปตีเมืองทัณฑ์ ได้อพยพครอบครัวลาวทรงดำ ลาวเวียง และ ลาวหัวเมืองฟากโขงตะวันออกให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมือง สระบุรี, และราชบุรี ส่วน ไทพวน ให้ไปรวมอยู่กับกลุ่มแรกที่หมู่บ้านท่าแดง (หน้า 18) ในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงยกทัพไปปราบเมืองพวน และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำและลาวพวนส่งลงมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปที่เมืองเพชรบุรีส่วนลาวพวนถูกส่งมาไว้ที่กรุงเทพฯและตามหัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองนครนายก ไทพวนในหมู่บ้านเกาะหวาย อพยพมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เข้ามาทางจังหวัดปราจีนบุรี บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี และบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หู่บ้านเกาะหวาย จังหวัดนครนายก ต่อมาในปี พ.ศ. 2341 มีพวนอพยพจากเวียงจันทน์อีกกลุ่ม บางส่วนมาตั้งเป็นหมู่บ้านอยู่ที่บ้านเกาะหวาย บางส่วนไปรวมกับไทพวนที่บ้านท่าแดง ต่อมาเมื่อมีการขยายครอบครัวมากขึ้น ไทพวนทั้ง 2 หมู่บ้าน จึงขยายออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในบริเวณใกล้ ๆ เช่น หมู่บ้านคลองตะเคียน หมู่บ้านใหม่ฝั่งคลอง เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2370 สมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ยกกองทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ที่เมืองเวียงจันทน์ ได้มีการอพยพกลุ่มชนไทพวนลงมายังกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก และกลุ่มชนไทพวนบางส่วนถูกส่งให้อยู่ที่เมืองพนัสนิคม และต่อมาบางส่วนได้แยกมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่บ้านหนองหัวลิง ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก (หน้า 19)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อ ไทพวนแม้จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีด้วย เช่น ผีปู่ตา ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ เชื่อว่าเป็นผู้คอยช่วยเหลือคุ้มครองให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายต่างๆ ทุกหมู่บ้านจะต้องมีศาลผีปู่ตาประจำหมู่บ้านและจะมีการเซ่นไหว้กันในเดือน 6 หรือ เดือน 7 ของทุกปี นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อต่างๆ เช่น ศาลเจ้าพ่อสุนันทา ในหมู่บ้านท่าแดง, ศาลเจ้าพ่อกาละเกดและศาลเจ้าแม่มะลีจันทร์ ในหมู่บ้านกลางโสภา เป็นต้น (หน้า 22) นอกจากนี้ไทพวนยังมีความเชื่อเรื่อง แถน ด้วย คือเชื่อว่า แต่เดิม "แถน" เป็นมนุษย์มาก่อน ต่อมาได้ไปเกิดบนสวรรค์เนื่องจากทำความดี บนสวรรค์แถนมีหน้าที่ดูแลความทุกข์สุขของประชาชน บันดาลให้เกิดฝนตกเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่โลกมนุษย์ ความเชื่อเรื่องแถนทำให้เกิดประเพณีฮิตสิบสองประการ เช่น การเอาบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนจากแถนในเดือนหก เป็นต้น(หน้า 35 - 36) ประเพณีและพิธีกรรม ไทพวนมีประเพณีและพิธีกรรมตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และในความเชื่อเรื่องผีอยู่มากมายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตและปัจจุบันก็ยังปฏิบัติกันอยู่ ได้แก่ การทำบุญข้าวหลาม, การทำบุญข้าวจี่, การทำบุญข้าวเกรียบ, พิธีกำผี, พิธีสู่ขวัญข้าว, พิธีสูดเสื้อสูดผ้า, พิธีอาบน้ำก่อนกา, พิธีเลี้ยงผีปูตา, ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ, พิธีสงกระทง, และ การทำบุญข้าวเม่า อย่างไรก็ตาม มีประเพณีอีกมากมายที่ปัจจุบันไทพวนได้เลิกปฏิบัติกันแล้ว ได้แก่ พิธีสู่ขวัญควาย, พิธีสวดคาถาปลาช่อน, และพิธีแห่นางแมว เป็นต้น นอกจากนี้ ไทพวนยังมีประเพณีอื่นๆ ที่ปฏิบัติเหมือนคนทั่วไป เช่น สลากภัต, สารท, แต่งงาน, บวชนาค, สู่ขวัญ เป็นต้น (หน้า 23 - 24) อย่างไรก็ตาม ยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของไทพวน ได้แก่ ประเพณีแต่งงาน, ประเพณีสู่ขวัญ, ประเพณีการผูกเสี่ยว, ประเพณีงันเฮือนดี, ประเพณีการทำบุญ - กรวดน้ำ, ประเพณีบุญกฐิน, และพิธีอยู่กรรม, เป็นต้น (หน้า 27 - 32)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของไทพวนทั้งหมด มีเพียงข้อมูลเกี่ยวกับประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มศึกษา คือ นักเรียนชายหญิงจากโรงเรียนเนินหินแร่และโรงเรียนชุมชนเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 3 ที่มีอยู่ทั้งหมด 116 คน ทั้งสองเป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษาไทพวนเป็นภาษาแรกและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด (หน้า 148)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

การละเล่นและเพลงพื้นบ้าน : การละเล่นของไทพวนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ เช่น ผีนางดัง, ผีนางสาก, ผีกะลา, และผีลิงลม เป็นต้น ปัจจุบันยังมีการละเล่นอยู่บ้างในวันสงกรานต์ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนอดีต เพลงพื้นบ้านของไทพวนที่ยังพอได้ยินอยู่บ้าง ได้แก่ 1.เพลงลำพวน ซึ่งเป็นเพลงเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง 2. ลำพื้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสภาพสังคมและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของไทพวน และ เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ขับกล่อมเด็กในสังคมเกษตรกรรมสมัยโบราณของไทพวน (หน้า 24) การละเล่นของไทพวน : ในปัจจุบันไทพวนมีการละเล่นบางอย่างที่คล้ายคลึงกับการละเล่นที่กล่าวไว้ในวรรณกรรม เช่น การเล่นผีลิงลม ผีควาย ผีไก่ ผีนางดัง ผีนางสาก และผีสุ่ม เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของไทพวนทั้งสิ้น (หน้า 34) วรรณกรรมและนิทานของไทพวน : วรรณกรรมของไทพวนอาจจะมีมาก แต่ที่ถูกนำมาศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้มีทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องกาละเกด ท้าวแบ้ และจันทปัดโชติ แต่ในงานวิจัยไม่ได้ระบุเนื้อหาทั้งหมดของแต่ละเรื่อง เพียงแต่กล่าวถึงเฉพาะส่วนเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาบางตอนเท่านั้น เช่น - กาละเกด : กล่าวถึงหลายตอน ได้แก่ ตอนนางมะลีจันทร์กล่าวถึงประเพณีการแต่งงานของคู่บ่าวสาวที่ใช้เป็นข้อต่อรองกับยักษ์กุมพนไม่ให้ถูกเนื้อต้องตัวตน ตอนพญาครุฑกับฤาษีช่วยชีวิตของท้าวการะเกดให้ฟื้นคืนมาได้อีกครั้ง หลังจากที่ถูกหอกยนต์ของท้าวแสนเมืองตาย และได้จัดพิธีสู่ขวัญให้กับท้าวกาละเกดตามประเพณี ตอนท้าวท้าวสุริวงศ์ผูกเสี่ยวกับพญาครุฑ ตอนท้าวมะลีจันทร์จัดงานศพให้กับท้าวกาละเกดซึ่งถูกหอกยนต์ของท้าวแสนเมืองตาย เป็นต้น (หน้า 28-30) - ท้าวแบ้ : กล่าวถึงตอนท้าวแบ้หลงรักนางทำมาผู้เป็นธิดาของพระเจ้ากงจีน ก็รบเร้าให้นายสำเภาไปสู่ขอนางทำมาจากพระเจ้ากงจีน พระเจ้ากงจีนก็ถามความสมัครใจของลูกสาวทุกคน ปรากฏว่านางทำมายินยอมและสมัครใจที่จะแต่งงานกับท้าวแบ้ พระเจ้ากงจีนจึงเรียกสินสอดเป็นเงินแสนตาชั่ง ช้างร้อยตัว ม้าร้อยตัว สร้างสะพานเงิน สะพานทองจากท่าน้ำจนถึงเมือง และปลูกต้นกล้วยเครือเงินเครือทองตลอดทางมาจนถึงเมือง เมื่อท้าวแบ้ นายสำเภาและย่าจำสวนยกขบวนขันหมากไปในวันแต่งงาน ทางฝ่ายเจ้าสาวมีการกั้นประตูเงินประตูทองและทำพิธีบายศรีสู่ขวัญคู่บ่าวสาวตามประเพณี (หน้า 27-28), - จันทปัดโชติ : กล่าวถึงเพียงตอนเดียว คือ ตอนที่เกี่ยวกับประเพณีการทำบุญกรวดน้ำ ที่ว่า เมื่อพระยาเมคะวะราชกับนางรัตนคับพาพลัดพรากจากกันเพราะน้ำท่วมบ้านเมือง พระยาเมคะวะราชไม่ทราบข่าวนางรัตนคับพาว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร จึงทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ (หน้า 31)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ของไทพวน งานวิจัยมิได้ระบุเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่พอสรุปได้ว่า เอกลักษณ์ของไทพวน ได้แก่ 1. ความเชื่อ ไทพวนแม้จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีด้วย เช่น ผีปู่ตา และความเชื่อเรื่อง แถน เป็นต้น 2. ประเพณีและพิธีกรรม ไทพวนมีประเพณีและพิธีกรรมตามความเชื่อในศาสนาพุทธและในความเชื่อเรื่องผีอยู่มากมายทีปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตและปัจจุบันก็ยังปฏิบัติกันอยู่ ได้แก่ การทำบุญข้าวหลาม การทำบุญข้าวจี่ การทำบุญข้าวเกรียบ พิธีกำผี พิธีสู่ขวัญข้าว พิธีสูดเสื้อสูดผ้า พิธีอาบน้ำก่อนกา พิธีเลี้ยงผีปูตา ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสงกระทง และ การทำบุญข้าวเม่า และ ประเพณีอื่น ๆ ที่ปฏิบัติเหมือนคนทั่วไป เช่น สลากภัต สารท แต่งงาน บวชนาค สู่ขวัญ เป็นต้น 3. เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงลำพวน ลำพื้น และเพลงกล่อมเด็ก 4. การละเล่นของไทพวนที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ เช่น ผีนางดัง ผีนางสาก ผีกะลา และผีลิงลม เป็นต้น 5. วรรณกรรมและนิทานของไทพวนทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องกาละเกด ท้าวแบ้ และจันทปัดโชติ เป็นต้น รวมถึงการพูดภาษาไทพวนที่ยังหลงเหลืออยู่ด้วย

Social Cultural and Identity Change

สังคมและอัตลักษณ์ของไทพวนเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองของไทยในแต่ละยุคสมัย - ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งชนกลุ่มน้อยให้อยู่ต่างหากเป็นกลุ่ม ๆ ตามเชื้อสาย ต่อมาไทพวนได้ขยายตัวออกไปตั้งหมู่บ้านต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกัน - ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทพวนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างเมืองมากขึ้น และในสมัยเดียวกันไทพวนเริ่มมีบทบาททางสังคมการเมืองมากขึ้นด้วย เช่น ได้รับแต่งตั้งให้เป็น "นายกองลาว" มีหน้าที่คุมกำลังชาวลาว นอกจากนี้ เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงจัดให้มีการศึกษาสมัยใหม่ โดยจัดให้มีโรงเรียนวัดตามมณฑลต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ชาวพวนก็เริ่มสนับสนุนและพยายามส่งลูกหลานของตนไปเรียนหนังสือกันมากขึ้น - ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 พวนก็ยิ่งสนับสนุนและพยายามส่งลูกหลานของตนไปเรียนหนังสือกันมากขึ้น และต่อมาก็มีไทพวนเข้ารับราชการกันมากขึ้นด้วย ไทพวนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เป็นมณฑลหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี และอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร สภาพสังคมจึงค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไทพวนมีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างถิ่นมากขึ้น ประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันอยู่หลายอย่างก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมไทยมากขึ้นด้วย(หน้า 42 - 44)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การฝึกจิต - พุทธพิสัย คือ การใช้นิทานพื้นบ้านนำมาเล่าประกอบการปลูกฝังและพัฒนาส่งเสริมจิต - พุทธพิสัย จากนิทานได้มีการขยายความเพื่อให้คลอบคลุมในตัวแปรที่ต้องการฝึก การฝึกจะดำเนินตามกิจกรรมและสื่อตามที่คณะผู้วิจัยจัดสร้างขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียม 2) ขั้นเล่านิทาน 3) ขั้นขยายความ 4) ขั้นสรุปและการนำไปใช้ สำหรับขั้นขยายความ จะมีการประเมินความจำในการฟังนิทานของเด็กไว้ด้วย โดยมีการซักถามเรื่องราวโดยตลอด นอกจากนั้น ยังขยายไปสู่สิ่งที่ต้องการปลูกฝังตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ (หน้า 50) ส่วนผลการฝึกให้ดูที่หัวข้อ (Theoretical Issue) การออกเสียงภาษาไทยมาตรฐาน โดยทั่วไปไทพวนมีปัญหาในการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งทางด้านเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวและควบกล้ำ พยัญชนะสะกด สระและวรรณยุกต์ ในการศึกษาการออกเสียงมาตรฐานของนักเรียนในชุมชนไทพวน พบว่า หลังจากการฝึกแก้ไขการออกเสียงจากแบบฝึกที่ผู้วิจัยทำขึ้นแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์หลังนั้น ผู้วิจัยได้เลือกใช้เครื่องมือแบบเดิมกับที่วัดครั้งแรก และผลจากการเปรียบเทียบค่าผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังทั้ง 6 ขั้นตอน พบว่า มีพัฒนาการในการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานที่ดีขึ้น (หน้า 146 - 165)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, วิถีชีวิต, การส่งเสริมจิต, พุทธพิสัย, การใช้ภาษา, วรรณกรรมท้องถิ่น, นครนายก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง