สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์วัฒนธรรม ความเป็นมา ญ้อ ยโสธร
Author สุพัชฌาย์ ปาปะชะ
Title การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนเผ่าญ้อขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญ้อ ไทญ้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 84 หน้า Year 2556
Source รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาวิธีการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเผ่าญ้อ 5 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จากการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีแผนการดำเนินงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการตั้งสภาวัฒนธรรมเพื่อขอความร่วมมือในการทำงานด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสืบทอดได้เลือกคนที่มีความรู้มาฝึกฝนและสืบทอดการอนุรักษ์วัฒนธรรม มีการเผยแพร่ผ่านผู้นำชุมชนและมีการจัดระบบข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  ทำวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติของชุมชนญ้อและภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์และเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต 

Focus

         เพื่อศึกษาวิธีการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนญ้อ ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา  จังหวัดยโสธรและเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมญ้อ (หน้า 3)

Theoretical Issues

แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา
         ในการวิจัย ผู้วิจัยมีกรอบคิดในการศึกษาคือ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ ของเซนเก้ (Senge1990) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และ   แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น    ที่เสนอว่าองค์การแห่งการเรียนรู้  คือ องค์การที่สมาชิกในองค์การเพิ่มขีดความสามารถและปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ และเป็นองค์การที่ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (หน้า 8-9) ในอดีตสังคมต่างๆได้สร้างขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ และทักษะของการหาเลี้ยงชีวิต และความเชื่อทางศาสนาเพื่อสอนเยาวชนให้สืบทอดวัฒนธรรมของสังคม  กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมในอดีตจึงแทรกซึมอยู่กับวิถีชีวิต (หน้า 25) สมาชิกในองค์การแห่งการเรียนรู้จึงควรทำการจัดการความรู้ คือ รวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (หน้า 10) เพื่อป้องกันความรู้ที่อาจสูญหาย 
          ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนเผ่าญ้อ ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกระดับ ซึ่งจะนำไปสู่การสืบทอด การเผยแพร่ การจัดการข้อมูล ตามนโยบาย แผนและงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล (หน้า 43) 

Ethnic Group in the Focus

ไทยญ้อ ที่อยู่  5 หมู่บ้านในตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (หน้า 44)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาญ้อ  อยู่ในตระกูลภาษาไท- กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไตแสก ใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง ประกอบด้วยพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง (หน้า 4)

                    ตัวอย่างภาษาญ้อ

ภาษาพูด คำอ่าน ความหมาย
อิโผ่ะ อิ-โผ่ พ่อ
อิเบ๊ะ อิ-เบ๊ะ แม่
กะโป๊ กะ โป๊ะ กะลา
กะบวน กะ – บวน ดี, เข้าท่า
กะปอม กะ - ปอม กิ้งก่า
 ฯลฯ (หน้า 48) 

Study Period (Data Collection)

เมษายน – กันยายน 2555 (หน้า 4)

History of the Group and Community

ความเป็นมาของญ้อ          
           เมื่อก่อนไทยญ้อตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหงสา  แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และบางส่วนได้อพยพมาอยู่ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง หรือตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในทุกวันนี้เมื่อ พ.ศ.2351 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ในภายหลังได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2369  กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนไทยญ้อที่อยู่เมืองไชยบุรีให้ไปอยู่ที่เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แขวงคำม่วน ประเทศลาว และในเวลาต่อมาได้อพยพมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตั้งเมืองท่าอุเทน เมื่อ พ.ศ.2373ได้แก่พื้นที่ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (หน้า 1)  
 
ประวัติญ้อ ตำบลโคกสำราญ
          ชุมชนญ้อที่ตำบลโคกสำราญมีความเป็นมาดังนี้ ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้กับพม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น เมื่อก่อน คนเผ่าญ้อ  เผ่าข่า  เผ่าภูไท อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำโขง ขณะนั้นทางการไทยได้มีนโยบายอพยพผู้คนที่อยู่เมืองก้องแก้วมหาชัย ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาพักที่บ้านดงหัวกอง ซึ่งทุกวันนี้อยู่ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ (หน้า 1) กระทั่งกรุงศรีอยุธยาได้เสียให้แก่พม่าล้าเมื่อ พ.ศ. 2310ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น คนเผ่าข่า เผ่าญ้อ และภูไท ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ต่อมาสมเด็จไกรราช ซึ่งเป็นพระที่มีผู้คนศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงเข้ามาเจรจากับหัวหน้าทางการไทยที่ควบคุมคนเผ่าข่า เผ่าญ้อ เผ่าภูไท เพื่อเดินทางกลับบ้านเกิด  เมื่อทางการไทย อนุญาตจึงออกเดินทางบ้านดงหัวกอง ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำนาจเจริญ โดยใช้เวลาเดินทางเดือนกว่า เมื่อมาถึงเผ่าข่าและภูไท จึงทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ดังนั้นพระสมเด็จไกรราชจึงให้เสี่ยงทายดอกบัว ถ้าดอกบัวของผู้ใดโผล่พ้นน้ำมากที่สุดจะได้เป็นพี่ใหญ่  หลังจากเสี่ยงทายผลปรากฏว่า เผ่าข่าได้เป็นพี่ใหญ่เพราะบัวพ้นน้ำมากที่สุด ที่สองเป็นญ้อ และที่สามเป็นภูไท  หลังจากนั้นก็ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญและเฉลิมฉลองเพื่อความเป็นศิริมงคล (หน้า 2)    
             ต่อมาคนชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แยกย้ายไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆ  โดยเผ่าข่าได้ย้ายไปอยู่ที่ดงบักอี่ตอนใต้  เผ่าญ้อไปอยู่ที่คำบอนขอนขวาง  ส่วนภูไทให้ไปอยู่ที่ลุบึ้งลุบภู ในกลุ่มญ้อที่ย้ายมาอยู่ที่บ้านขอนขวางได้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นในหมู่บ้าน ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านโคกใต้โคกเหนือ หรือบ้านหินสิ่วในทุกวันนี้ กับบ้านกุดคอก่าน ซึ่งบริเวณที่ผู้คนอยู่ทำมาหากินนั้นเรียกว่ากุดก่าน พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ ในห้วยมีน้ำมาก (หน้า 2) เมื่อน้ำลดก็เกิดร่องรอยติดที่เปลือกต้นไม้ที่คนในพื้นที่เรียกว่า “ก่าน” จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านกุดคอก่าน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (หน้า3)

Demography

          ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทในท้องถิ่น 15 คนประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ, ปลัดองค์การบริหาร,ประธานสภาวัฒนธรรม,ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ,เจ้าอาวาสวัดกุดมงคลและปราชญ์ชุมชนญ้อจาก 5 หมู่บ้านอีก 10 คน (หน้า 44,4) ส่วนประชากรในพื้นที่ 5 หมู่บ้านประกอบด้วยบ้านกุดคอห่านหมู่ 3 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ 7และหมู่ 15 บ้านหินสิ่ว หมู่ 6 มีจำนวน 742 ครัวเรือน มีประชากร 3,020 คน แบ่งเป็นชาย 1,524 คน และผู้หญิง 1,496 คน  (หน้า 39, 47)  

Economy

           ผู้วิจัยไม่ได้ให้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของชุมชน แต่ระบุถึงงบประมาณในด้านการจัดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนญ้อ ว่าได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโคกสำราญ  ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งแสนบาท เพื่อสนับสนุนด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังขอความร่วมมือในการอนุรักษ์จากหน่วยงานราชการและประชาชน (หน้า 51) สำหรับแผนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนญ้อ  องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโคกสำราญ ได้ร่วมมือกับคนในชุมชนโดยได้ทำการประชาคม เพื่อฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อกำหนดแผนพัฒนาและกำหนดในข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี ที่เริ่มให้การสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนญ้อ มาตั้งแต่ พศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน (หน้า 52)

Social Organization

สภาพสังคม 
         ไทยญ้อเป็นคนจิตใจใสซื่อรักความสงบสุข มีความสมัครสมานสามัคคี ช่วยเหลือกันเมื่อมีการจัดงานบุญประเพณี สร้างบ้านและมีการลงแขกช่วยกันทำนา เป็นต้น (หน้า 47) นอกจากนี้ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนไทยญ้อได้มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลเพื่อร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และเครือข่ายวัฒนธรรม โดยร่วมมือกันระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน และคนในชุมชน (หน้า 52) ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ครู และผู้นำหมู่บ้าน (หน้า 53) 

Political Organization

การเมืองการปกครอง
         ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้รับการจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ. 2525 ประกอบด้วยหมู่บ้านต่างๆ ที่แยกหมู่บ้านจากตำบลบุ่งค้า คือ บ้านหนองยาง, บ้านห้วยสะแบก, บ้านดอนมะซ่อม, บ้านหินสิ่ว, บ้านกุดคอก่าน, บ้านโคกสำราญ กับที่แยกจากตำบลสวาท คือบ้านสมสะอาด และบ้านคำเกิ่ง  โดยได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ (หรืออบต.โคกสำราญ) เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 และปรับเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เพื่อ พ.ศ. 2552(หน้า 35)
ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ
         องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญมีภารกิจหลักคือ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต จัดระเบียบชุมชน รักษาความสงบเรียบร้อย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาการเมืองและการบริหาร สนับสนุนการศึกษา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภารกิจรองได้แก่ ฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี สนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มอาชีพ ส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน โครงสร้างการบริหารงาน ประกอบด้วยฝ่ายบริหาร คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหาร 2 คน เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญ มีสมาชิกสภาองค์การ 30 คน (หน้า 36) ฝ่ายข้าราชการประจำและพนักงานจ้าง ได้แก่ พนักงานส่วนตำบล 23 คน พนักงานจ้างในสำนักงานอบต. 2 คน พนักงานจ้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีก 19 คน (หน้า37)
 

Belief System

ชุมชนยังมีความเชื่อเรื่องผีปู่ตา และสืบทอดประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา 

Education and Socialization

กิจกรรมในการสืบทอดเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรม
          การจัดกิจกรรม ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนได้ร่วมกันประชุมประชาคมหมู่บ้านทุกเดือน เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสำราญได้มีนโยบายสนับสนุนทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งประสานกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาญ้อ และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ให้กับคนรุ่นลูกหลาน  (หน้า 58)รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ เช่น เรื่องสมุนไพร (หน้า 60) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การอนุรักษ์ควรประกอบด้วยการสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น ในด้านนโยบายและแผน  งบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน การสืบทอด การเผยแพร่ และการจัดการระบบข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบไป (หน้า 66) 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายในการรำ            
          ผู้ชาย  สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียว แล้วนำสไบไหมสีน้ำเงินนำมาพับครึ่งพาดไหล่ทั้งซ้าย ขวา และจะปล่อยชายผ้าไปทางด้านหลังให้ชายผ้าเสมอกัน และนุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงิน แล้วนำสไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายด้านซ้ายทางด้านหน้า สวมสร้อยเงิน ทัดใบหูด้วยดอกไม้      ผู้หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพู เสื้อทรงคอกลมขลิบดำหรือน้ำเงิน นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง(ตีนจก) คาดเข็มขัด พาดไหล่ด้วยสไบไหมสีน้ำเงิน ทางไหล่ซ้ายปล่อยชายผ้าให้เท่ากัน สวมสร้อย ต่างหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน เกล้าผมประดับด้วยดอกไม้ (หน้า 47-48)

Folklore

เรื่องเล่าพื้นบ้าน  
          แต่เดิมเผ่าข่า  เผ่าญ้อ และเผ่าผู้ไทเคยอยู่ในลาว ต่อมาด้วยเหตุผลทางการเมืองในสมัยนั้นจึงอพยพมาอยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาว ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ดงหัวกองในพื้นที่อำนาจเจริญ ต่อมาทั้งสามเผ่าได้ทะเลาะกันพระผู้นำกลุ่มจึงทำการเสี่ยงทายดอกบัว เพื่อให้เกิดความปรองดองกัน ผลการเสี่ยงทายเผ่าข่าบัวโผล่พ้นน้ำมากที่สุดจึงได้เป็นพี่คนโต เผ่าญ้อได้เป็นพี่คนกลางและผู้ไทเป็นน้องคนเล็ก จากนั้นได้บายศรีสู่ขวัญให้มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่ให้ทะเลาะเบาะแว้งกันถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ขอให้มีอันเป็นไป (หน้า 2)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          อบต.ได้ทำการประชาคม และสอบถามคนในชุมชนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนญ้อ ที่ควรอนุรักษ์ (หน้า 51) โดยส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น  เพื่อสามารถให้เป็นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนมีการเรียนรู้ เรื่องศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น (หน้า 55) เพื่อให้เกิดความหวงแหนในวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไปจากชุมชนและสืบทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อไป รวมทั้งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน (หน้า 60)

Map/Illustration

         ความสัมพันธ์ของสารสนเทศและความรู้ (หน้า 20) การพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร (หน้า 22) องค์ประกอบของการจัดการความรู้ (หน้า 23) กรอบแนวคิดในการศึกษา (หน้า 42) 

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การอนุรักษ์วัฒนธรรม, ความเป็นมา, ญ้อ, ยโสธร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง